“ใช้น้ำจิตน้ำใจของเรากรวดก็ได้ เขาเรียกกรวดแห้ง ไม่ต้องกรวดเปียก เรื่องการกรวดเปียกเขาเริ่มมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าพิมพิสาร เมื่อถวายของพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านกรวดน้ำให้เปรตญาติพี่น้องที่มาร้องขอบุญจากท่าน ตอนแรกท่านไม่รู้เลยทูลถามพระพุทธเจ้า ที่เขาเรียกว่า ทุ สะ นะ โส คือหัวใจเปรตนั่นแหละ”
เพิ่มเติม:
"ทุ สะ นะ โส" หรือหัวใจเปรต มาจาก
เปรตตัวแรก ต้องการพูดว่า
ทุชชีวิตะชีวิมหาเยสันโน นะทะทามหะเส วิชชะมาเนสุ โภเคสุ ทีปัง นากัมหะอัตตะโน
"เมื่อยังเป็นมนุษย์มีโภคทรัพย์มากมาย เราก็ไม่ได้ให้ทาน ไม่ทำที่พึ่งแก่ตัว ทำแต่ความชั่วช้าสารเลว"
ตัวที่ 2 ต้องการพูดว่า
สัฏฐีวัสสะหัสสานิ ปะริปุณณานิ สัพพะโส นิระเย ปัจจะมา นานัง กะทา อันโตภะวิสสะติ
"เราตกนรกหมกไหม้เป็นเวลา 6 หมื่นปีแล้ว เมื่อไรจะสิ้นเวรสิ้นกรรมเสียที"
ตัวที่ 3 ต้องการพูดว่า
นัตถิอันโต กุโต อันโต นะอันโต ปะฏิทิสสะติ ตะทาหิ ปะกะตัง ปาปัง มะมะตุยหัญจะ มาริสา
"ไม่มีที่สุดสิ้นดอก เมื่อไหร่เล่ามันจะสิ้นเวรสิ้นกรรม ก็พวกเราทำแต่ความชั่วช้าสารเลวนี่ เพื่อนเอ๋ย"
ตัวที่ 4 ต้องการพูดว่า
โสหัง นูนะอิโต คันตวา โยนิง ลัทธานะ มานุสิง วะทัญญู สีละสัมปันโน กาหามิ กุสะลัง พะหุง
"ถ้าเราได้เกิดเป็นมนุษย์อีก เราจะให้ทานรักษาศีลจะทำบุญกุศลเป็นอันมาก"
เมื่อเปรตตนใดที่มารบกวน หรือก่อกวนมนุษย์ผู้ทรงศีล ได้ยินพระคาถาหัวใจเปรตบทนี้ จักระลึกถึงเปรตทั้ง 4 ที่ยังเสวยกรรมอยู่ในอเวจีมหานรก จักได้สติ เกิดความรู้สึกหวาดกลัวผลแห่งกรรมที่ตนจักได้รับ รีบหลบหนีไป ไม่กล้ากระทำกรรมชั่ว อาศัยซึ่งเปรตทั้ง 4 ตนนั้น เป็นอุทาหรณ์ ดั่งนี้แลฯ
หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
Cr.SaRaN WiKi
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น