: อานุภาพของศีล :
โดยพระราชพรหมยานเถระ
โดยพระราชพรหมยานเถระ
รวบรวม โดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
จากหนังสือธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๖๑ ถึง ฉบับที่ ๑๒๗
จาก พ.ศ. ๒๕๒๘ ถึง พ.ศ. ๒๕๓๔
จากหนังสือธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๖๑ ถึง ฉบับที่ ๑๒๗
จาก พ.ศ. ๒๕๒๘ ถึง พ.ศ. ๒๕๓๔
.....จุดประสงค์เพื่อให้ผู้อ่านจำให้ได้ก่อนเป็นประการแรก (เป็นสุตมยปัญญา) แล้วจึงนำไปพิจารณาด้วยปัญญาขั้นต้นของตนเอง เมื่อเข้าใจและตีธรรมะนั้นได้ถูกตรงตามความเป็นจริงแล้ว ก็จะเกิดปัญญาขั้นที่ ๒ คือ จินตมยปัญญา และทำซ้ำ ๆ พิจารณาซ้ำ ๆ จนเกิดความชำนาญ จนเกิดความอัตโนมัติขึ้นกับจิต หมายความว่า เพียรรักษาศีลด้วยอิทธิบาท ๔ จนศีลรักษาจิตของผู้นั้นเองเป็นอัตโนมัติ กลายเป็นสีลานุสสติ หรือจิตเป็นฌานในศีล หรือจำง่าย ว่า เพียรรักษาศีล จนกระทั่งศีลรักษาศีลเรา ไม่ให้ผิดศีลอีกตลอดกาล ความเป็นพระโสดาบันปัตติผลเกิดขึ้นที่จุดนี้เอง
.....เรื่องมูลเหตุของศีล, พระพุทธเจ้าบัญญัติศีลเพื่อใคร, ทรงยกย่องศีลไว้มากมายอย่างไร, ตัวอย่างอานุภาพของศีล มีอยู่แล้วในตอนต้น ผมจึงเลือกเอาข้อความที่หลวงพ่อท่านเน้น ต้องการให้พวกเรารู้แล้วนำไปปฏิบัติต่อให้เกิดผล โดยเขียนเป็นข้อ ๆ เพื่อสะดวกในการจดจำดังนี้...
๑.หากศีลไม่บริสุทธิ์ ความหวังเรื่องสมาธิ หรือมรรคผล ย่อมไม่เกิด ถือเป็นกฎตายตัว พระองค์สอนหลักการปฏิบัติในพระพุทธศาสนาไว้ ๓ ประการ คือ ศีล-สมาธิ-ปัญญา ซึ่งย่อมาจากอริยมรรค ๘ นั่นเอง
๒.พระอินทร์ท่านว่า กลิ่นของศีลของพระพุทธเจ้านั้นหอมทวนลม หอมมาก จนกลบกลิ่นพระบังคนหนัก (ขี้หรืออุจจาระ) ของพระองค์หมด ท่านจึงไม่รังเกียจที่มาคอยเทพระบังคนหนัง (ขี้) และพระบังคนเบา (เยี่ยว) ให้พระพุทธเจ้า
๓.บุคคลใดที่มีศีลบริสุทธิ์ จึงเป็นที่รักของสัตว์-คน-เทวดา และพรหม
๔.ศีลเป็นด่านแรกของการปฏิบัติพระกรรมฐานในพุทธศาสนา
๕.ศีลเป็นด่านแรกของการป้องกันอบายภูมิ ๔ คือ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดียรัจฉาน
๖.ศีลจะบริสุทธิ์ได้ ต้องอาศัยมีสมาธิคุม
สมาธิจะทรงตัวได้ ต้องอาศัยศีลบริสุทธิ์
คนใดไร้ปัญญา คนนั้นหาศีลไม่ได้
คนใดไร้ศีล คนนั้นมีสมาธิตั้งมั่นไม่ได้
คนใดไร้สมาธิ คนนั้นไม่เกิดปัญญา
.....ดังนั้นศีล สมาธิ ปัญญา จึงสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน แยกจากกันหรือขาดตัวหนึ่งตัวใดไม่ได้ มิจฉาทิฎฐิจะเกิดกับจิตผู้นั้นได้ตลอดเวลา
๗.ผู้ใดจิตทรงศีลเป็นปกติจนเกิดสมาธิเอง ชื่อว่าเป็นสีลานุสสติ เป็นผู้เข้าถึงไตรสรณคมณ์อย่างแท้จริง
๘.ประโยชน์ของศีลหรือผลของศีลที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้
สีเลนะ สุคติง ยันติ ปัจจุบันอยู่ก็เป็นสุข ตายไปก็เป็นสุข เกิดใหม่ก็เป็นสุข
สีเลนะ โภค สัมปทา ปัจจุบันจะไม่อดตาย, ตายไปก็มีอริยทรัพย์มาก, เกิดใหม่ก็มีทรัพย์
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ศีลเป็นปัจจัยให้เข้าถึงพระนิพพานได้ง่าย
.....พระองค์ทรงรับรองถึงขนาดนี้ ผู้มีปัญญาเท่านั้นจึงจะเข้าถึงพระนิพพานได้
๙.ทรงตรัสไว้ว่า คนที่ควรยกย่อง คือ ภิกษุที่ไม่ถูกตำหนิเรื่องศีล
๑๐.ทรงตรัสว่า ปัญญาอันศีลชำระให้บริสุทธิ์ ศีลอันปัญญาชำระให้บริสุทธิ์ ศีลมีในบุคคลใด ปัญญาก็มีในบุคคลนั้น ศีลเป็นของบุคคลผู้มีปัญญา, ปัญญาของบุคคลผู้มีศีล, ศีลกับปัญญา เป็นยอดในโลก
.....เรื่องมูลเหตุของศีล, พระพุทธเจ้าบัญญัติศีลเพื่อใคร, ทรงยกย่องศีลไว้มากมายอย่างไร, ตัวอย่างอานุภาพของศีล มีอยู่แล้วในตอนต้น ผมจึงเลือกเอาข้อความที่หลวงพ่อท่านเน้น ต้องการให้พวกเรารู้แล้วนำไปปฏิบัติต่อให้เกิดผล โดยเขียนเป็นข้อ ๆ เพื่อสะดวกในการจดจำดังนี้...
๑.หากศีลไม่บริสุทธิ์ ความหวังเรื่องสมาธิ หรือมรรคผล ย่อมไม่เกิด ถือเป็นกฎตายตัว พระองค์สอนหลักการปฏิบัติในพระพุทธศาสนาไว้ ๓ ประการ คือ ศีล-สมาธิ-ปัญญา ซึ่งย่อมาจากอริยมรรค ๘ นั่นเอง
๒.พระอินทร์ท่านว่า กลิ่นของศีลของพระพุทธเจ้านั้นหอมทวนลม หอมมาก จนกลบกลิ่นพระบังคนหนัก (ขี้หรืออุจจาระ) ของพระองค์หมด ท่านจึงไม่รังเกียจที่มาคอยเทพระบังคนหนัง (ขี้) และพระบังคนเบา (เยี่ยว) ให้พระพุทธเจ้า
๓.บุคคลใดที่มีศีลบริสุทธิ์ จึงเป็นที่รักของสัตว์-คน-เทวดา และพรหม
๔.ศีลเป็นด่านแรกของการปฏิบัติพระกรรมฐานในพุทธศาสนา
๕.ศีลเป็นด่านแรกของการป้องกันอบายภูมิ ๔ คือ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดียรัจฉาน
๖.ศีลจะบริสุทธิ์ได้ ต้องอาศัยมีสมาธิคุม
สมาธิจะทรงตัวได้ ต้องอาศัยศีลบริสุทธิ์
คนใดไร้ปัญญา คนนั้นหาศีลไม่ได้
คนใดไร้ศีล คนนั้นมีสมาธิตั้งมั่นไม่ได้
คนใดไร้สมาธิ คนนั้นไม่เกิดปัญญา
.....ดังนั้นศีล สมาธิ ปัญญา จึงสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน แยกจากกันหรือขาดตัวหนึ่งตัวใดไม่ได้ มิจฉาทิฎฐิจะเกิดกับจิตผู้นั้นได้ตลอดเวลา
๗.ผู้ใดจิตทรงศีลเป็นปกติจนเกิดสมาธิเอง ชื่อว่าเป็นสีลานุสสติ เป็นผู้เข้าถึงไตรสรณคมณ์อย่างแท้จริง
๘.ประโยชน์ของศีลหรือผลของศีลที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้
สีเลนะ สุคติง ยันติ ปัจจุบันอยู่ก็เป็นสุข ตายไปก็เป็นสุข เกิดใหม่ก็เป็นสุข
สีเลนะ โภค สัมปทา ปัจจุบันจะไม่อดตาย, ตายไปก็มีอริยทรัพย์มาก, เกิดใหม่ก็มีทรัพย์
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ศีลเป็นปัจจัยให้เข้าถึงพระนิพพานได้ง่าย
.....พระองค์ทรงรับรองถึงขนาดนี้ ผู้มีปัญญาเท่านั้นจึงจะเข้าถึงพระนิพพานได้
๙.ทรงตรัสไว้ว่า คนที่ควรยกย่อง คือ ภิกษุที่ไม่ถูกตำหนิเรื่องศีล
๑๐.ทรงตรัสว่า ปัญญาอันศีลชำระให้บริสุทธิ์ ศีลอันปัญญาชำระให้บริสุทธิ์ ศีลมีในบุคคลใด ปัญญาก็มีในบุคคลนั้น ศีลเป็นของบุคคลผู้มีปัญญา, ปัญญาของบุคคลผู้มีศีล, ศีลกับปัญญา เป็นยอดในโลก
๑๑.พระสารีบุตรเทศน์ว่า คนที่มีศีลแล้วทำบุญ หากตั้งใจจะไปเกิดที่ไหนก็มีผลตามนั้น เหตุเพราะความบริสุทธิ์ของศีล
๑๒.คุณสมบัติของพระโสดาบันในสังโยชน์ ๓ ข้อแรกนั้น ข้อที่เป็นหลักใหญ่ก็คือ การมีศีลบริสุทธิ์ตลอดเวลา
๑๓.ผู้ใดมีธรรม ๔ ประการในตน และรักษาไว้ได้ไม่เสื่อม ชื่อว่าประพฤติใกล้พระนิพพานแล้ว ธรรม ๔ ประการนั้นก็คือ ๔ ข้อในจรณะ ๑๕ (ศีลสังวร, อินทรีย์สังวร, โภชเนมัตตัญญุตา และชาคริยานุโยค ๒ ข้อแรก สำรวมเรื่องกาม ข้อที่ ๓ สำรวมเรื่องการกิน ข้อที่ ๔ สำรวมเรื่องการนอน
๑๔.ศีลไม่บริสุทธิ์ สัมมาสมาธิก็ไม่บริบูรณ์ สัมมาญาณก็ไม่เกิด สัมมาวิมุตติก็ไม่มี ดังนั้น ศีลจึงเป็นรากฐานใหญ่ของการปฏิบัติในมรรค ๘ (ศีล-สมาธิ-ปัญญา) มิจฉาทิฎฐิ หรือสัมมาทิฎฐิ จึงมีศีลเป็นเครื่องวัด
๑๕.พระพุทธองค์ตรัสแก่อนาถบิณฑิกเศรษฐีว่า สมัยที่ท่านเป็นพราหมณ์ได้ทำทานมามาก แต่ผู้รับทานไม่ใช่ทักขิไณยบุคคล หมายถึงบุคคลที่ไม่มีศีล ไม่ใช่พระอริยเจ้า ทำให้อานิสงส์ของทานมีน้อย ถ้าผู้รับบริสุทธิ์มากเท่าใด ผลของทานจะคูณด้วย ๑๐๐ ตามลำดับ (ต่ำที่สุดจนถึงสูงที่สุดที่ทรงตรัสไว้โดยย่อ ๆ ดังนี้...
๑๒.คุณสมบัติของพระโสดาบันในสังโยชน์ ๓ ข้อแรกนั้น ข้อที่เป็นหลักใหญ่ก็คือ การมีศีลบริสุทธิ์ตลอดเวลา
๑๓.ผู้ใดมีธรรม ๔ ประการในตน และรักษาไว้ได้ไม่เสื่อม ชื่อว่าประพฤติใกล้พระนิพพานแล้ว ธรรม ๔ ประการนั้นก็คือ ๔ ข้อในจรณะ ๑๕ (ศีลสังวร, อินทรีย์สังวร, โภชเนมัตตัญญุตา และชาคริยานุโยค ๒ ข้อแรก สำรวมเรื่องกาม ข้อที่ ๓ สำรวมเรื่องการกิน ข้อที่ ๔ สำรวมเรื่องการนอน
๑๔.ศีลไม่บริสุทธิ์ สัมมาสมาธิก็ไม่บริบูรณ์ สัมมาญาณก็ไม่เกิด สัมมาวิมุตติก็ไม่มี ดังนั้น ศีลจึงเป็นรากฐานใหญ่ของการปฏิบัติในมรรค ๘ (ศีล-สมาธิ-ปัญญา) มิจฉาทิฎฐิ หรือสัมมาทิฎฐิ จึงมีศีลเป็นเครื่องวัด
๑๕.พระพุทธองค์ตรัสแก่อนาถบิณฑิกเศรษฐีว่า สมัยที่ท่านเป็นพราหมณ์ได้ทำทานมามาก แต่ผู้รับทานไม่ใช่ทักขิไณยบุคคล หมายถึงบุคคลที่ไม่มีศีล ไม่ใช่พระอริยเจ้า ทำให้อานิสงส์ของทานมีน้อย ถ้าผู้รับบริสุทธิ์มากเท่าใด ผลของทานจะคูณด้วย ๑๐๐ ตามลำดับ (ต่ำที่สุดจนถึงสูงที่สุดที่ทรงตรัสไว้โดยย่อ ๆ ดังนี้...
.....ทำบุญหรือทำทานกับสัตว์เดียรัจฉาน ๑๐๐ ครั้ง สู้ทำบุญกับคนไม่มีศีลหนึ่งครั้งไม่ได้ ตามลำดับขึ้นไป มีผลคูณด้วย ๑๐๐ เท่าตามลำดับ คือ ทำบุญกับคนมีศีล กับพระอริยเจ้า ๘ ระดับ คือ พระโสดาปัตติมรรค พระโสดาปัตติผล จึงถึงพระอรหันตผล ถึงพระปัจเจกพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า ถวายสังฆทาน วิหารทาน ธรรมทาน และสูงที่สุด คือ อภัยทาน ความจริงแล้วทรงตรัสไว้ละเอียดยิ่งกว่านี้อีก แต่ขอเขียนไว้แต่พอประมาณเพื่อให้จำง่าย ๆ เท่านั้น ผู้มีปัญญาจึงเลือกทำบุญ เพื่อให้ได้บุญมาก ๆ ไว้ก่อน ส่วนใหญ่จึงมักถวายสังฆทานกันเป็นส่วนใหญ่ สรุปว่า บุคคลในโลกนี้จะหาคนที่มีศีลบริสุทธิ์เท่ากับพระพุทธเจ้านั้นไม่มี
๑๖.ศีลสร้างคนให้เป็นพระได้ หรือสร้างสมมติสงฆ์ (นักบวช) ให้เป็นพระอริยเจ้าได้
๑๗.ผู้มีศีลบริสุทธิ์ตลอดเวลา จึงเท่ากับพกพระไว้กับตัวตลอดเวลา (หมายความว่าบุคคลใด ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย หรือเด็กตั้งแต่อายุ ๗ ขวบขึ้นไป หากรักษาศีลจนกระทั่งศีลรักษาจิตเขาไม่ให้กระทำผิดศีลอีก บุคคลนั้นไม่มีทางจะตกนรกอีก (อบายภูมิ ๔) ตลอดกาล เพราะจิตดวงนั้นได้เป็นพระเบื้องต้นในพระพุทธศาสนา คือ พระโสดาบัน จึงเท่ากับพกพระภายในไว้กับจิต เป็นวัตถุมงคลภายใน ในมงคล ๓๘ ซึ่งพระองค์ทรงตรัสสอนไว้อยู่อันดับที่ ๒๙ (การเห็นสมณะหรือพระภายใน จัดเป็นอุดมมงคล หรือเอาจิต เอาปัญญาของเราเห็นพระ ไม่ใช่เอาลูกตาเห็นพระ) ซึ่งไม่มีการเสื่อม หรือสลายตัว หรือถอยหลัง หรืออนัตตาตลอดไป
๑๖.ศีลสร้างคนให้เป็นพระได้ หรือสร้างสมมติสงฆ์ (นักบวช) ให้เป็นพระอริยเจ้าได้
๑๗.ผู้มีศีลบริสุทธิ์ตลอดเวลา จึงเท่ากับพกพระไว้กับตัวตลอดเวลา (หมายความว่าบุคคลใด ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย หรือเด็กตั้งแต่อายุ ๗ ขวบขึ้นไป หากรักษาศีลจนกระทั่งศีลรักษาจิตเขาไม่ให้กระทำผิดศีลอีก บุคคลนั้นไม่มีทางจะตกนรกอีก (อบายภูมิ ๔) ตลอดกาล เพราะจิตดวงนั้นได้เป็นพระเบื้องต้นในพระพุทธศาสนา คือ พระโสดาบัน จึงเท่ากับพกพระภายในไว้กับจิต เป็นวัตถุมงคลภายใน ในมงคล ๓๘ ซึ่งพระองค์ทรงตรัสสอนไว้อยู่อันดับที่ ๒๙ (การเห็นสมณะหรือพระภายใน จัดเป็นอุดมมงคล หรือเอาจิต เอาปัญญาของเราเห็นพระ ไม่ใช่เอาลูกตาเห็นพระ) ซึ่งไม่มีการเสื่อม หรือสลายตัว หรือถอยหลัง หรืออนัตตาตลอดไป
.....ต่างกับการสร้างพระภายนอก ซึ่งพวกเราซึ่งมีศรัทธาเข้ามาในพุทธศาสนา ต่างก็สร้างพระภายนอกกันมาเป็นอสงไขยชาติ สร้างแล้วสร้างอีก พระภายนอกในที่สุดก็เสื่อม-แตก-พัง-สลายตัว หรืออนัตตาทุกครั้งไป จึงสู้สร้างพระภายในไม่ได้ ผู้มีปัญญาท่านเชื่อพระพุทธเจ้าจริงด้วยการปฏิบัติ โดยการตัดสังโยชน์ ๓ ข้อแรกให้ได้ ซึ่งความสำคัญอยู่ที่ข้อ ๓ คือ รักษาศีลจนศีลรักษาเรา (จิต) ให้เป็นสีลานุสสติเท่านั้นเอง พระภายในก็เกิดขึ้นมั่นคงถาวรตลอดกาล รายละเอียดมีมาก ขอกล่าวไว้เพียงเท่านี้)
๑๘.เมตตาเป็นอาหารของศีล หรือพรหมวิหาร ๔ เป็นอาหารของศีล-สมาธิและปัญญา
๑๙.ศีลนำไปสู่ความมีหิริ-โอตตัปปะ (หมายความว่าศีลเปลี่ยนคนซึ่งแปลว่ายุ่ง ชอบสร้างแต่ปัญหา ขยันหาทุกข์ใส่ตัวให้มาเป็นมนุษย์ซึ่งแปลว่าประเสริฐ แต่มนุษย์ยังมีคุณธรรมต่ำกว่าเทวดา ซึ่งมีหิริและโอตตัปปะเป็นคุณธรรม จะเข้าใจดีให้ศึกษาเรื่องอนุปุพกถา ๕ ซึ่งพระองค์ทรงตรัสสอนบุคคลกลุ่มใหญ่บ่อย ๆ ให้มีดวงตาเห็นธรรมกันมากมาย) (อนุปุพกถา ๕ มีทานกถา, ศีลกถา, สักกะกถา, โทษของกาม หรือ กามกถา, และ เนกขัมมกถา หรือ คุณของการออกจากกาม)
๒๐. ทรงตรัสกล่าวถึง โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีลไว้ ๕ อย่าง คือ...
๑๘.เมตตาเป็นอาหารของศีล หรือพรหมวิหาร ๔ เป็นอาหารของศีล-สมาธิและปัญญา
๑๙.ศีลนำไปสู่ความมีหิริ-โอตตัปปะ (หมายความว่าศีลเปลี่ยนคนซึ่งแปลว่ายุ่ง ชอบสร้างแต่ปัญหา ขยันหาทุกข์ใส่ตัวให้มาเป็นมนุษย์ซึ่งแปลว่าประเสริฐ แต่มนุษย์ยังมีคุณธรรมต่ำกว่าเทวดา ซึ่งมีหิริและโอตตัปปะเป็นคุณธรรม จะเข้าใจดีให้ศึกษาเรื่องอนุปุพกถา ๕ ซึ่งพระองค์ทรงตรัสสอนบุคคลกลุ่มใหญ่บ่อย ๆ ให้มีดวงตาเห็นธรรมกันมากมาย) (อนุปุพกถา ๕ มีทานกถา, ศีลกถา, สักกะกถา, โทษของกาม หรือ กามกถา, และ เนกขัมมกถา หรือ คุณของการออกจากกาม)
๒๐. ทรงตรัสกล่าวถึง โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีลไว้ ๕ อย่าง คือ...
ย่อมเสื่อมโภคทรัพย์เพราะความประมาท
ย่อมเสียชื่อเสียงไปในทางไม่ดี
ย่อมเข้ากับใครไม่ได้สนิท
ย่อมหลงตาย ตายแล้วย่อมไปสู่ทุคติ
ส่วนคุณของศีลก็มี ๕ ข้อ มีผลตรงข้ามกับโทษของศีล
๒๑.ทรงตรัสไว้มีใจความว่า “การให้ทาน ๕ อย่าง หรือการให้ศีล ๕ นี้จัดเป็นมหาทาน อันบัณฑิตรู้ว่าเป็นเลิศของทาน ซึ่งมีมานานแล้ว จัดเป็นเชื้อสายแห่งพระอริยะ
๒๒. เป็นข้อสรุป “อานุภาพของศีล
.....ศีลเป็นกำลังอย่างไม่มีที่เปรียบ, ศีลเป็นอาวุธอันสูงสุด, ศีลเป็นเครื่องประดับอันประเสริฐ, ศีลเป็นเกราะอันอัศจรรย์, ศีลเป็นคุณ รวมกำลังเป็นเลิศ, ศีลเป็นเสบียงเดินทางอย่างสูงสุด, ศีลเป็นผู้นำทางอย่างประเสริฐ, ศีลเป็นเครื่องขจรไปทั่วทุกทิศ, ศีลเท่านั้นที่เป็นเลิศในโลก, ส่วนผู้มีปัญญาย่อมเป็นผู้มีศีล, ศีลเป็นผู้ชนะในหมู่มนุษย์และเทวดา เพราะศีลและปัญญาเป็นธรรมคู่กัน, ศีลเป็นรากฐานของการบำเพ็ญเพียรภาวนา การภาวนาถ้าไม่มีฐาน คือ ไม่มีศีลรองรับ ก็ยากที่จะสำเร็จได้ หรือไม่มีทางสำเร็จ
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
ศีลเป็นประมุขของธรรมทั่วไป จึงควรพากันชำระศีลให้บริสุทธิ์
ย่อมเสียชื่อเสียงไปในทางไม่ดี
ย่อมเข้ากับใครไม่ได้สนิท
ย่อมหลงตาย ตายแล้วย่อมไปสู่ทุคติ
ส่วนคุณของศีลก็มี ๕ ข้อ มีผลตรงข้ามกับโทษของศีล
๒๑.ทรงตรัสไว้มีใจความว่า “การให้ทาน ๕ อย่าง หรือการให้ศีล ๕ นี้จัดเป็นมหาทาน อันบัณฑิตรู้ว่าเป็นเลิศของทาน ซึ่งมีมานานแล้ว จัดเป็นเชื้อสายแห่งพระอริยะ
๒๒. เป็นข้อสรุป “อานุภาพของศีล
.....ศีลเป็นกำลังอย่างไม่มีที่เปรียบ, ศีลเป็นอาวุธอันสูงสุด, ศีลเป็นเครื่องประดับอันประเสริฐ, ศีลเป็นเกราะอันอัศจรรย์, ศีลเป็นคุณ รวมกำลังเป็นเลิศ, ศีลเป็นเสบียงเดินทางอย่างสูงสุด, ศีลเป็นผู้นำทางอย่างประเสริฐ, ศีลเป็นเครื่องขจรไปทั่วทุกทิศ, ศีลเท่านั้นที่เป็นเลิศในโลก, ส่วนผู้มีปัญญาย่อมเป็นผู้มีศีล, ศีลเป็นผู้ชนะในหมู่มนุษย์และเทวดา เพราะศีลและปัญญาเป็นธรรมคู่กัน, ศีลเป็นรากฐานของการบำเพ็ญเพียรภาวนา การภาวนาถ้าไม่มีฐาน คือ ไม่มีศีลรองรับ ก็ยากที่จะสำเร็จได้ หรือไม่มีทางสำเร็จ
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
ศีลเป็นประมุขของธรรมทั่วไป จึงควรพากันชำระศีลให้บริสุทธิ์
ศีลเปรียบเสมือนรากแก้วของต้นไม้
ศีลเป็นคุณสมบัติของพระและฆราวาส คนจะเป็นพระได้อยู่ที่ศีล ฆราวาส ก็เช่น พระโยคาวจรและพระโสดาบัน เป็นต้น
ศีลรักษาง่าย ถ้าผู้นั้นเห็นโทษของการทำบาปจริง ๆ (คือเห็นและเข้าใจเรื่องกฎของกรรม)
ศีลเป็นเครื่องวัดความดีของหมู่สัตว์
ศีลเป็นทรัพย์อันประเสริฐ-ไม่อด-ไม่จน-มีอริยทรัพย์
ศีลส่งเสริมความดีให้กับผู้รักษาตั้งแต่ต้นจนอวสาน สร้างคนให้เป็นพระ
ศีลสร้างพระธรรมดา ให้เป็นพระอริยเจ้า และพาส่งให้เข้าถึงพระนิพพาน
ใครมีศีล เท่ากับพกพระไว้กับตัว ไปไหนก็มีพระไปด้วย มีวัตร (วัด) ไปกับตัว เป็นมงคล เป็นของประเสริฐ
เมตตาเป็นอาหารของศีล ผู้ใดเจริญเมตตา ศีลไม่มีขาด
ศีลนำไปสู่ความมีหิริ โอตตัปปะ
ดังนั้นผู้ใดอ่านข้อที่ ๒๒ เพียงข้อเดียว และจำได้ แล้วนำไปปฏิบัติให้เกิดมรรคเกิดผล ก็เท่ากับรู้เรื่องศีลตั้งแต่ข้อที่ ๑-๒๑ ได้ทั้งหมด
พระพุทธองค์ทรงตรัสแก่พระอานนท์ว่า " ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศล ย่อมถึงอรหันต์โดยลำดับด้วยประการดังนี้แล "
*** สรุปส่งท้าย ๙ ข้อ ***
๑.การให้ทาน ๕ อย่าง หรือศีล ๕ จัดเป็นมหาทาน
๒.ศีลเป็นคุณสมบัติของพระและฆราวาส
๓.ศีลเป็นแม่ของพระธรรม
๔.ศีลเป็นมารดาของพระพุทธศาสนา
๕.ศีลเป็นรากฐานของการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา
๖.การให้ธรรม (ศีล) เป็นทานชนะทานทั้งปวง
๗.การสร้างพระภายในให้เกิดขึ้น ความสำคัญอยู่ที่ศีล
๘.แม้ตถาคตเอง เมื่อยังมีพระชนม์ชีพอยู่ ก็เคารพในศีล (พระธรรม)
๙.พระธรรม (ศีล) จึงมีคุณค่าสูงสุดในโลกนี้
ศีลเป็นคุณสมบัติของพระและฆราวาส คนจะเป็นพระได้อยู่ที่ศีล ฆราวาส ก็เช่น พระโยคาวจรและพระโสดาบัน เป็นต้น
ศีลรักษาง่าย ถ้าผู้นั้นเห็นโทษของการทำบาปจริง ๆ (คือเห็นและเข้าใจเรื่องกฎของกรรม)
ศีลเป็นเครื่องวัดความดีของหมู่สัตว์
ศีลเป็นทรัพย์อันประเสริฐ-ไม่อด-ไม่จน-มีอริยทรัพย์
ศีลส่งเสริมความดีให้กับผู้รักษาตั้งแต่ต้นจนอวสาน สร้างคนให้เป็นพระ
ศีลสร้างพระธรรมดา ให้เป็นพระอริยเจ้า และพาส่งให้เข้าถึงพระนิพพาน
ใครมีศีล เท่ากับพกพระไว้กับตัว ไปไหนก็มีพระไปด้วย มีวัตร (วัด) ไปกับตัว เป็นมงคล เป็นของประเสริฐ
เมตตาเป็นอาหารของศีล ผู้ใดเจริญเมตตา ศีลไม่มีขาด
ศีลนำไปสู่ความมีหิริ โอตตัปปะ
ดังนั้นผู้ใดอ่านข้อที่ ๒๒ เพียงข้อเดียว และจำได้ แล้วนำไปปฏิบัติให้เกิดมรรคเกิดผล ก็เท่ากับรู้เรื่องศีลตั้งแต่ข้อที่ ๑-๒๑ ได้ทั้งหมด
พระพุทธองค์ทรงตรัสแก่พระอานนท์ว่า " ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศล ย่อมถึงอรหันต์โดยลำดับด้วยประการดังนี้แล "
*** สรุปส่งท้าย ๙ ข้อ ***
๑.การให้ทาน ๕ อย่าง หรือศีล ๕ จัดเป็นมหาทาน
๒.ศีลเป็นคุณสมบัติของพระและฆราวาส
๓.ศีลเป็นแม่ของพระธรรม
๔.ศีลเป็นมารดาของพระพุทธศาสนา
๕.ศีลเป็นรากฐานของการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา
๖.การให้ธรรม (ศีล) เป็นทานชนะทานทั้งปวง
๗.การสร้างพระภายในให้เกิดขึ้น ความสำคัญอยู่ที่ศีล
๘.แม้ตถาคตเอง เมื่อยังมีพระชนม์ชีพอยู่ ก็เคารพในศีล (พระธรรม)
๙.พระธรรม (ศีล) จึงมีคุณค่าสูงสุดในโลกนี้
*** ศีลมี ๓ ขั้น ***
.....ขั้นที่ ๑ ไม่เอากายไปกระทำผิดศีล พวกนี้ตายแล้วไม่ตกนรก แต่ยังต้องเกิดอีก ๗ ชาติ จึงจะไปพระนิพพานได้
.....ขั้นที่ ๒ ปากไม่พูดให้ผู้อื่นกระทำผิดศีลเพื่อตน ตายแล้วต้องเกิดอีก ๓ ชาติ จึงจะไปพระนิพพานได้
.....ขั้นที่ ๓ จิตไม่ยินดีด้วยเมื่อเห็นผู้อื่นกระทำผิดศีล ตายแล้วต้องเกิดอีก ๑ ชาติ จึงจะไปพระนิพพานได้
.....ขั้นที่ ๑ ไม่เอากายไปกระทำผิดศีล พวกนี้ตายแล้วไม่ตกนรก แต่ยังต้องเกิดอีก ๗ ชาติ จึงจะไปพระนิพพานได้
.....ขั้นที่ ๒ ปากไม่พูดให้ผู้อื่นกระทำผิดศีลเพื่อตน ตายแล้วต้องเกิดอีก ๓ ชาติ จึงจะไปพระนิพพานได้
.....ขั้นที่ ๓ จิตไม่ยินดีด้วยเมื่อเห็นผู้อื่นกระทำผิดศีล ตายแล้วต้องเกิดอีก ๑ ชาติ จึงจะไปพระนิพพานได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น