๐
ทาน ทมะ สัญญมะ
ภิกษุทั้งหลาย ! ชาติที่แล้วมาแต่อดีต ตถาคตได้เคยเจริญเมตตาภาวนาตลอด ๗ ปี จึงไม่เคยมาบังเกิดในโลกมนุษย์นี้ ตลอด ๗ สังวัฏฏกัปป์ และวิวัฏฏกัปป์ ในระหว่างกาลอันเป็นสังวัฏฏกัปป์นั้น เราได้บังเกิดในอาภัสสรพรหม ในระหว่างกาลอันเป็นวิวัฏฏกัปป์นั้น เราก็ได้อยู่พรหมวิมานอันว่างเปล่าแล้ว.
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกัปป์นั้น เราได้เคยเป็นพรหม ได้เคยเป็นมหาพรหมผู้ยิ่งใหญ่ ไม่มีใครครอบงำได้ เป็นผู้เห็นสิ่งทั้งปวงโดยเด็ดขาด เป็นผู้มีอำานาจสูงสุด.
ภิกษุทั้งหลาย ! เราได้เคยเป็นสักกะ ผู้เป็นจอมแห่งเทวดา นับได้ ๓๖ ครั้ง เราได้เคยเป็นราชาจักรพรรดิผู้ประกอบด้วยธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม มีแว่นแคว้นจรดมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นที่สุด เป็นผู้ชนะแล้วอย่างดี มีชนบทอันบริบูรณ์ประกอบด้วยแก้วเจ็ดประการ นับด้วยร้อยๆ ครั้ง, ทำไมจะต้องกล่าวถึงความเป็นราชาตามธรรมดาด้วย.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ผลวิบากแห่งกรรมอะไรของเราหนอ ที่ทำาให้เราเป็นผู้มีฤทธิ์มากถึงอย่างนี้ มีอานุภาพมากถึงอย่างนี้ ในครั้งนั้นๆ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ผลวิบากแห่งกรรม ๓ อย่างนี้แล ที่ทำให้เรามีฤทธิ์มากถึงอย่างนี้ มีอานุภาพมากถึงอย่างนี้
วิบากแห่งกรรม ๓ อย่าง ในครั้งนั้น คือ
(๑) ผลวิบากแห่งทาน การให้
(๒) ผลวิบากแห่งทมะ การบีบบังคับใจ
(๓) ผลวิบากแห่งสัญญมะ การสำรวมระวัง ดังนี้.
(๒) ผลวิบากแห่งทมะ การบีบบังคับใจ
(๓) ผลวิบากแห่งสัญญมะ การสำรวมระวัง ดังนี้.
- อุปริ. ม. ๑๔/ ๓๗๖ /๕๗๙.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น