สังโยชน์ ๑๐ เป็นอย่างไรครับ?
หลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุงตอบปัญหาธรรม
จากหนังสือ "สู่แสงธรรม" โดย พล.อ.ต.มนูญ ชมภูทีป
หลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุงตอบปัญหาธรรม
จากหนังสือ "สู่แสงธรรม" โดย พล.อ.ต.มนูญ ชมภูทีป
"ครับ หลวงพ่อ แต่ผมจะรู้ได้อย่างไรว่าพระอริยสงฆ์
องค์ใดท่านเป็นพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี
หรือพระอรหันต์ล่ะครับ?" ข้าพเจ้ารีบถามต่อเพราะเห็น
หลวงพ่อเมตตา
องค์ใดท่านเป็นพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี
หรือพระอรหันต์ล่ะครับ?" ข้าพเจ้ารีบถามต่อเพราะเห็น
หลวงพ่อเมตตา
"อ้าว! จะรู้ได้ก็ต้องเอาสังโยชน์ ๑๐ มาเป็นเครื่องมือวัดซิคุณ..!" หลวงพ่อตอบอย่างเห็นเป็นเรื่องธรรมดา แต่สำหรับข้าพเจ้าแล้วมันไม่ธรรมดาเลยเพราะคำว่า สังโยชน์ ๑๐ ตั้งแต่เกิดมายังไม่เคยได้ยินเลย
จึงถามหลวงพ่อว่า "สังโยชน์ ๑๐ เป็นอย่างไรครับ หลวงพ่อ?"
"สังโยชน์ ๑๐ ก็แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดจิตใจให้ตก
อยู่ในวัฏฏะ มี ๑๐ อย่างด้วยกัน คือ
อยู่ในวัฏฏะ มี ๑๐ อย่างด้วยกัน คือ
๑.สักกายทิฏฐิ เห็นว่าขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนี้เป็นของเรา เป็นของเรา เรามีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕
มีในเรา
มีในเรา
๒.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัยและสงสัย
ในผลการปฏิบัติว่าจะไม่มีผลจริง
ในผลการปฏิบัติว่าจะไม่มีผลจริง
๓.สีลัพพตปรามาส รักษาศีลแบบลูบๆ คลำๆ คือ
ไม่รักษาศีลจริงจังเคร่งครัดตามพอสมควร
ไม่รักษาศีลจริงจังเคร่งครัดตามพอสมควร
๔.กามราคะ มีจิตมั่วสุม หมกมุ่น ใคร่อยู่ในกามารมณ์เป็นปกติ
๕.ปฏิฆะ มีอารมณ์ผูกโกรธ จองล้างจองผลาญเป็นปกติ
๖.รูปราคะ ยึดถือมั่นในรูปฌาน โดยคิดเอาว่ารูปฌานเป็นคุณธรรมพิเศษสูงสุด ที่ทำให้พ้นจากวัฏฏะได้
๗.อรูปราคะ ยึดมั่นในอรูปฌาน โดยคิดเอาว่าอรูปฌานเป็นคุณธรรมพิเศษสูงสุด ที่ทำให้พ้นจากวัฏฏะได้
๘.อุทธัจจะ มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน ครุ่นคิดอยู่ในอกุศล
มีอกุศลวิตกเป็นอารมณ์
มีอกุศลวิตกเป็นอารมณ์
๙.มานะ มีอารมณ์ถือตัว ถือตน ถือชั้นวรรณะเกินพอดี
๑๐.อวิชชา มีความคิดเห็นว่า โลกามิส เป็นสมบัติที่
ทรงสภาพไม่เปลี่ยนแปลง ไม่สลายตัว
ทรงสภาพไม่เปลี่ยนแปลง ไม่สลายตัว
กิเลสทั้ง ๑๐ ประการนี้แหละ ท่านเรียกว่า สังโยชน์ ๑๐ ละ
เข้าใจไหม? จดทันไหม? แต่ความจริงไม่ต้องจดก็ได้
เพราะฉันจะเขียนไว้ให้ในคู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน"
หลวงพ่ออธิบาย
เข้าใจไหม? จดทันไหม? แต่ความจริงไม่ต้องจดก็ได้
เพราะฉันจะเขียนไว้ให้ในคู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน"
หลวงพ่ออธิบาย
1 ความคิดเห็น:
สาธุ
แสดงความคิดเห็น