สัญญากับสติต่างกันอย่างยิ่ง
สัญญาความจำต้องประกอบด้วยสติ
สัญญา คือ ความจำ เป็นอนัตตา คือไม่เป็นไปตามความปรารถนาต้องการ
ปรารถนาให้จำไว้ก็ไม่จำ
ปรารถนาให้ลืมก็ไม่ลืม
ปรารถนาไม่ให้จำก็จำ
ปรารถนาไม่ให้ลืมก็ลืม
ปรารถนาให้ลืมก็ไม่ลืม
ปรารถนาไม่ให้จำก็จำ
ปรารถนาไม่ให้ลืมก็ลืม
และความจำที่เป็นสัญญา ก็เป็นความจำที่ตรงไปตรงมาทั้งชิ้นทั้งเรื่อง ดังนั้น สัญญาจึงต้องประกอบพร้อมด้วยสติ เพราะสติเป็นความระลึกได้ที่ประกอบด้วยเหตุและผล สติไม่ได้เป็นความจำแบบสัญญา
“สัญญา” กับ “สติ” ต่างกันอย่างยิ่ง
ความจำคือสัญญานั้น แม้จะตั้งใจรักษาไว้ก็อาจรักษาไว้ไม่ได้ ต้องลืม แต่สติความระลึกได้นั้น เมื่อสติตั้งไว้ รู้เรื่องพร้อมกับรู้เหตุรู้ผล เมื่อมีสติระลึกได้ ก็จะระลึกได้พร้อมทั้งเหตุทั้งผลทั้งปวง
สัญญาความจำกับสติความระลึกได้มีความแตกต่างกันที่สำคัญอย่างยิ่ง ในเรื่องเดียวกัน สัญญาอาจเป็นคุณ แต่ก็อาจเป็นโทษ ส่วนสติเป็นแต่คุณไม่เป็นโทษ ความพยายามมีสติระลึกรู้ จึงเป็นความถูกต้อง และเป็นไปได้อย่างยิ่งกว่าพยายามจดจำด้วยสัญญา
ความจำอันเป็นสัญญานั้นมีผิด เพราะมีลืมและมีโทษเพราะไม่ประกอบพร้อมด้วยเหตุผลความรู้ถูกรู้ผิด โทษของสัญญาคือความไม่สงบแห่งจิต แตกต่างกับความไม่ลืมมีสติระลึกได้ ซึ่งประกอบด้วยพร้อมด้วยเหตุผล ความรู้ถูกรู้ผิดอันเป็นปัญญา
และปัญญานั้นไม่มีโทษ มีแต่คุณ มีแต่นำไปสู่ความสงบแห่งทุกข์ ความสงบแห่งจิต และจิตยิ่งสงบเพียงใด ยิ่งตั้งมั่นเพียงใด ปัญญายิ่งสว่างรุ่งโรจน์มีพลังเพียงนั้น
: ตนอันเป็นที่รักยิ่งของตน
: สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
: สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น