06 กุมภาพันธ์ 2561

การทำจิตก่อนตาย จะทำอย่างไร ?

เรื่อง...
ทำจิตก่อนตายจะทำอย่างไร ?
ความจริงคนที่ไม่เคยทำการค้า ก็คุยได้ว่าถ้าฉัน
ทำการค้าบ้าง ฉันจะรวย ดีไม่ดีทำเข้าจริง อาจจะ
ขาดทุนมากกว่าชาวบ้านก็ได้ ถ้าเรายังไม่ตาย
ก็ทำท่าว่าจะไปสวรรค์ ฉันจะไปพรหมโลก ฉันจะ
ไปนิพพาน มันก็ไม่แน่นักเหมือนกันนะ ใช่ไหม
เวลาจะตายถ้าอกุศลมันครอบงำนิดเดียวมันแถ
ลงข้างล่าง ที่พระพุทธเจ้าให้ถือ "อนุสสติ" หรือ
เจริญพระกรรมฐานให้ยึดถือความดีเรื่องของบุญ
เป็นเกณฑ์จนชิน
คำว่า "ฌาน" ก็คือ อารมณ์ชิน
"วสี" แปลว่า คล่อง คือคล่องในการเข้าสมาธิ
การเข้าสมาธิไม่จำเป็นต้องหลับตา
ท่านจึงสอนว่า "ท่านทั้งหลาย จงอย่าตามนึกถึง
ความชั่วที่ผ่านมาแล้ว" "บาป" มันแปลว่าชั่ว
บาปฆ่ามดฆ่าปลวกอะไรก็ตาม มากก็ตาม
น้อยก็ตาม อย่านึกถึงมัน ให้นึกถึงเฉพาะ
ความดีไว้อย่างเดียว
อย่างเราเคยถวายทานกับพระ ให้ทานกับคนและ
สัตว์ เคยรักษาศีล โดยเฉพาะอย่างยิ่งซ้อมการ
ภาวนา คำภาวนานี่เป็นเรื่องของบุญ ตั้งใจอยู่ใน
ด้านของความดีให้ชิน คำว่าชินก็คือฌาน จิตว่าง
จากอย่างอื่นนึกได้ทันทีทันใดให้คล่องตัว นึกเมื่อ
ไหร่ใช้ได้เมื่อนั้น
ตามศัพย์ภาษาบาลีเรียก "วสี" แปลว่า คล่อง
ถ้าเป็นอย่างนี้ ถ้าเวลาเราจะตายจริงๆ เมื่อจิตมัน
หมดที่พึ่ง ถ้าจับคำภาวนา การภาวนาไม่จำเป็น
ต้องมาก จิตมีความเคารพในพระไตรสรณาคมน์ก็
ดี หรือพอใจในพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งก็ตาม
พอใจพระสงฆ์องค์ใดองค์หนึ่งก็ตาม หรือคิดถึง
บุญอย่างใดอย่างหนึ่งในขณะนั้น ถ้าจิตคิดถึงเรื่อง
ที่เป็นบุญแม้แต่นิดเดียว ตายเวลานั้น ไปนรกไม่ได้ ไปสวรรค์ทันที
ถ้าจิตออกจากร่าง ถ้าภาษาปฏิบัติเขาเรียก "อทิสสมานกาย" ออกไปจากร่างปุ๊บ บุญที่ทำทั้ง
หมดจะรวมตัว แล้วพาไปตามจุดกุศลที่จะพึงมี
ฉะนั้น พระพุทธเจ้าท่านจึงให้ภาวนาหรือ
พิจารณาไว้ จะได้ไม่ประมาท ให้จิตมันชิน
เวลาจะตายจริงๆ จิตมันไม่หมดที่พึ่ง
คว้าอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วมันก็ไปเกาะ
สมมติว่า ถ้าคนป่วยแล้วเอาพระพุทธรูปตั้ง
ไว้ก็ดี หรือให้พระมาให้ศีลถวายทานก็ตาม
จิตจะเกาะตลอดเวลา อันนี้ไม่ตกนรกแน่ !
ฉะนั้น จึงไม่ต้องสงสัยว่าแถวบ้านนอก เวลาคน
ใกล้จะตาย เขามักจะเอาพระพุทธรูปไว้ที่หัวนอน
คนตาย แล้วให้ภาวนา "อะระหังๆ" ทั้งนี้ก็เพื่อให้จิต
จับพระก่อนตายนั่นเอง แต่ว่าถ้าหากไม่ซ้อมไว้
ก่อนตอนมีชีวิตอยู่ก็ไม่แน่นักนะ (หลวงพ่อเคย
บอกเสมอว่า)
"จิตเต สังกิลิฏเฐ ทุคคติ ปาฏิกังขา"
ก่อนตายจิตเศร้าหมองก็ไปนรก
จาก : หนังสือ หลวงพ่อเล่าให้ฟัง เล่ม ๒ หน้า ๙๒-
๙๓-๙๔ โดย หลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...