การบูชาพระจะ
สวดมนต์มาก สวดมนต์น้อย อันนี้ไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่กำลังใจ
ถ้าเราสวดมนต์ไม่ได้เลย ก็ตั้งใจว่า
“ นะโม ตัสสะ ภะคะว ะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ”
ซึ่งแปลว่า ข้าพเจ้าขอเคารพพระพุทธเจ้า พระอรหันต์องค์นี้
เพียงเท่านี้ ก็เหลือแหล่แล้ว ว่าด้วยความเคารพจริงๆ ตั้งใจจริงๆ หรือถ้าว่ามากกว่านี้
พุทธัง สรณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ
สังฆัง สรณัง คัจฉามิ
ไปอีก ๓ วาระ ตามที่ว่ากันมา เวลาที่ว่านั้น ก็ว่าด้วยความตั้งใจ ด้วยเคารพ ด้วยความจริงใจ เวลานั้นอานิสงส์สูงขึ้น
เป็นทั้ง พุทธานุสสติ ด้วย
เป็นทั้ง ธัมมานุสสติ ด้วย
เป็นทั้ง สังฆานุสสติ ด้วย
เอาเพียงแค่อย่างเดียวแค่นี้
บรรดาท่านพุทธบริษัทให้ท่านสังเกตว่าถ้าถึงเวลาจะบูชาพระ ถ้าวันไหนยังไม่ได้บูชาพระ วันนั้นไม่สบายใจ ต้องบูชาพระให้ได้ ถ้าจิตใจของท่านเป็นอย่างนี้ แสดงว่าท่านมีกำลังใจเป็น ฌานในพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ
คำว่า “ ฌาน ” นี่เป็นกำลังสูง
คำว่า “ ฌาน ” ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่า
ต้องไปนั่งขัดสมาธิจนเป็นฌาน ไอ้อย่างนั้นเรียกว่า “ ฝึกความเป็นฌาน ” ฌานจริงๆ ที่ทรงตัวก็คือ จิตนึกอยู่ เมื่อถึงวาระจริงๆ จิตต้องการบูชาพระ
ถ้ามีพระพุทธรูป นั่งมองดูพระพุทธรูปเป็น พุทธานุสสติ กล่าวถึงพระธรรมเป็น ธัมมานุสสติ กล่าวถึงพระสงฆ์เป็น สังฆานุสสติ ถ้าอย่างเก่งจริงๆ ก็ว่า อิติปิ โส อีกสักจบก็จะดีมาก
บท อิติปิ โส บทต้นพรรณนาความดีของพระพุทธเจ้า
บท สวากขาโต พรรณนาความดีของพระธรรม
บท สุปฏิปันโน พรรณนาความดีของพระสงฆ์
แค่เท่านี้ บรรดาท่านพุทธบริษัท
เพียงแค่นี้ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
ถ้าทำได้ทุกวัน เวลาจะตายมันลงนรกกันไม่ได้แน่
“ นะโม ตัสสะ ภะคะว ะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ”
ซึ่งแปลว่า ข้าพเจ้าขอเคารพพระพุทธเจ้า พระอรหันต์องค์นี้
เพียงเท่านี้ ก็เหลือแหล่แล้ว ว่าด้วยความเคารพจริงๆ ตั้งใจจริงๆ หรือถ้าว่ามากกว่านี้
พุทธัง สรณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ
สังฆัง สรณัง คัจฉามิ
ไปอีก ๓ วาระ ตามที่ว่ากันมา เวลาที่ว่านั้น ก็ว่าด้วยความตั้งใจ ด้วยเคารพ ด้วยความจริงใจ เวลานั้นอานิสงส์สูงขึ้น
เป็นทั้ง พุทธานุสสติ ด้วย
เป็นทั้ง ธัมมานุสสติ ด้วย
เป็นทั้ง สังฆานุสสติ ด้วย
เอาเพียงแค่อย่างเดียวแค่นี้
บรรดาท่านพุทธบริษัทให้ท่านสังเกตว่าถ้าถึงเวลาจะบูชาพระ ถ้าวันไหนยังไม่ได้บูชาพระ วันนั้นไม่สบายใจ ต้องบูชาพระให้ได้ ถ้าจิตใจของท่านเป็นอย่างนี้ แสดงว่าท่านมีกำลังใจเป็น ฌานในพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ
คำว่า “ ฌาน ” นี่เป็นกำลังสูง
คำว่า “ ฌาน ” ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่า
ต้องไปนั่งขัดสมาธิจนเป็นฌาน ไอ้อย่างนั้นเรียกว่า “ ฝึกความเป็นฌาน ” ฌานจริงๆ ที่ทรงตัวก็คือ จิตนึกอยู่ เมื่อถึงวาระจริงๆ จิตต้องการบูชาพระ
ถ้ามีพระพุทธรูป นั่งมองดูพระพุทธรูปเป็น พุทธานุสสติ กล่าวถึงพระธรรมเป็น ธัมมานุสสติ กล่าวถึงพระสงฆ์เป็น สังฆานุสสติ ถ้าอย่างเก่งจริงๆ ก็ว่า อิติปิ โส อีกสักจบก็จะดีมาก
บท อิติปิ โส บทต้นพรรณนาความดีของพระพุทธเจ้า
บท สวากขาโต พรรณนาความดีของพระธรรม
บท สุปฏิปันโน พรรณนาความดีของพระสงฆ์
แค่เท่านี้ บรรดาท่านพุทธบริษัท
เพียงแค่นี้ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
ถ้าทำได้ทุกวัน เวลาจะตายมันลงนรกกันไม่ได้แน่
หลวงพ่อพระราชพรหมยาน หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
หนังสือ ธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๓๖๒
ประจำเดือน พฤษภาคม ๒๕๕๑
หนังสือ ธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๓๖๒
ประจำเดือน พฤษภาคม ๒๕๕๑
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น