"...ประวัติพระพนรัตน มหาเถรคันฉ่อง..."
พระมหาเถรคันฉ่อง เกิดที่ประเทศพม่า สมัยพระเจ้าสิริชัยสุระ(พระเจ้าเมงจีโย) ท่านมีเชื้อมอญ ลูกครึ่งจีน พูดได้ ๔ ภาษา คือ มอญ พม่า ไทย จีน ท่านมีนามเดิมว่า เกี้ยะจ้อง เมื่อเจริญวัยบิดา-มารดาพาไปขึ้นพระกัมมัฏฐานกับพระมหาเถรชาวมอญ เรียนพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ท่านจบสมถะ และวิปัสสนา ตั้งแต่เป็นฆราวาส และเรียนวิชาพิชัยสงครามด้วย เมื่ออายุครบบวช ได้อุปสมบทๆแล้วได้แปดเดือน ถึงสมัยพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ๆท่านได้ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารชายหนุ่ม ชาวพม่า ชาวมอญต้องไปออกรบ ท่านได้เป็นนักรบในครั้งนั้นด้วย เมื่อพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ๆสวรรคตแล้ว พระเจ้าบุเรงนองปราบดาภิเษกตั้งราชวงศ์แล้ว ต่อมาท่าน เกี้ยะจ้อง ก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ประมาณ พ.ศ.๒๐๙๓ ปลายรัชสมัยพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ ท่านเกี้ยะจ้องได้บำเพ็ญพระกัมมัฏฐานทุกวัน ถือวัตรปฏิบัติตามแบบพระอาจารย์ อยู่ป่าเป็นวัตร บิณฑบาตเป็นวัตร นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร แล้วต่อมาท่านระลึกถึงทหารที่ได้รับบาดเจ็บในการสู้รบ ท่านก็ปรารถนาอยากจะช่วยเหลือ ช่วยหาทางรักษา จึงตั้งจิตอธิษฐานอยากช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ คืนวันหนึ่งท่านนั่งสมาธิ เห็นภิกษุชราโบราณ มาบอกให้ไปนำบาตรดิน และไม้เท้าเบิกไพร ที่ถ้ำแห่งหนึ่ง ในเขตเมืองมอญ ต่อมา ท่านได้ออกเที่ยวธุดงค์ ไปในป่าลึกในเขตเมืองมอญ ไปที่ถ้ำแห่งนั้น มีเทวดาที่เฝ้าอยู่หน้าถ้ำ นำพาท่านไปในถ้ำนั้น ท่านจึงได้นำเอาบาตรดินโบราณ และไม้เท้าเบิกไพรออกมา แล้วท่านเรียนวิชาเรียกธาตุทั้ง ๔ เพื่อมาปรุงยา โดยมีพระอาจารย์ในสมาธิเป็นผู้สอน ต่อมาท่านได้จาริกธุดงค์ มาอยู่ป่าใกล้ๆพระธาตุมุเตา ชาวบ้านทราบเรื่องก็มากราบสักการะท่าน ๆพูดได้ทั้งภาษามอญ ภาษาพม่า การต่อมาพระนเรศทราบเรื่องราวว่ามีภิกษุเก่งกล้าวิชาอาคม มาอยู่ที่ป่ามุเตานั้น พระนเรศจึงขออนุญาต พระเจ้าบุเรงนอง เพื่อมาศึกษาพระธรรมกับ ที่อยู่ในป่านั้น ต่อมาพระเจ้าบุเรงนอง ได้อนุญาติและส่งพระนเรศมาเรียนพระธรรมกัมมัฏฐานมัชฌิมาและคาถา อาคม กับพระเกี้ยจ้องๆ ท่านรู้อนาคตว่า พระนเรศจะได้เป็นใหญ่ในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา จึงคิดทำน้ำมันว่านยา เมื่อปรุงยาเสร็จก็ให้พระนเรศอาบน้ำว่าน เพื่อไว้ป้องกันพระองค์ เมื่อสิ้นพระเจ้าบุเรงนองแล้ว พระเกี้ยะจ้อง ย้ายมาอยู่เมืองแครง กาลต่อมาย้ายเข้ามาอยู่กรุงศรีอยุธยา แล้วท่านก็ได้ศึกษาวิชาพิเศษต่างๆในคัมภีร์สติปัฏฐาน วิธีทำสันโดด ในทางสมาธิ กับพระพนรัต (รอด หรือหลวงปู่เฒ่า)จนสำเร็จ และได้ศึกษาเพิ่มเติมวิชาต่างจากปู่เฒ่าด้วย-ต่อมาพระเกี้ยะจ้อง ได้เปลี่ยนนามใหม่ว่า คันฉ่อง เป็นภาษาไทย หมายความว่าผู้มีแสงสว่างเหมือนคันฉ่อง(กระจก) เพราะรัศมีกายท่านสว่างไสว อีกตำนานกล่าวเรียกท่านอีกนามหนึ่งว่า พระมหาโอสถะวิชา เพราะท่านเป็นผู้รอบรู้ในสมถะ-วิปัสสนากัมมัฏฐาน-รู้สารพัดว่านยา รู้การปรุงว่านยาสูตรต่างๆ หรือแม้กระทั่งว่านยาที่ฆ่าพิษปรอท ว่านยาอันชำระร่างกายให้บริสุทธิ์ น้ำมันว่านยาคงกระพันชาตรี ปราศจากโรคาพยาธิทั้งหลาย ต่อมาพระมหาเถรคันฉ่อง-ได้รับสถาปนา จากสมเด็จพระนเรศมหาราช ให้ดำรงตำแหน่งพระสังฆราชฝ่ายซ้าย เจ้าคณะอรัญวาสี ที่พระพนรัตน สถิตวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว คลองตะเคียน อยู่หลังวัดพุทไธศวรรค์ ท่านถือข้อวัตร ๓ อย่าง ๑.อยู่ป่าเป็นวัตร ๒.บิณฑบาตเป็นวัตร ๓.นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ตามแบบอย่างพระมหากัสสปเถรเจ้า และแบบคณะป่าแก้ว พระพนรัตนมหาเถรคันฉ่องพระองค์ท่านสิ้นพระชนม์ในต้นรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวเอกาทศรส
ถึงรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงเปลี่ยนนาม พระพนรัตน เจ้าคณะอรัญวาสีฝ่ายซ้าย เป็น พระวันรัต เจ้าคณะคามวาสี ฝ่ายขวา วัดป่าแก้ว จึงมาอยู่ในเมือง แล้วตั้งให้พระอริยะโคดม ไปครองวัดแก้วฟ้า–ป่าแก้วๆ เหลือเพียงชื่อว่า วัดแก้วฟ้า อย่างเดียว แล้วตั้งให้ พระพุทธาจารย์ วัดโบสถ์ราชเดชะ เป็นเจ้าคณะอรัญวาสีฝ่ายซ้าย
ถึงรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงเปลี่ยนนาม พระพนรัตน เจ้าคณะอรัญวาสีฝ่ายซ้าย เป็น พระวันรัต เจ้าคณะคามวาสี ฝ่ายขวา วัดป่าแก้ว จึงมาอยู่ในเมือง แล้วตั้งให้พระอริยะโคดม ไปครองวัดแก้วฟ้า–ป่าแก้วๆ เหลือเพียงชื่อว่า วัดแก้วฟ้า อย่างเดียว แล้วตั้งให้ พระพุทธาจารย์ วัดโบสถ์ราชเดชะ เป็นเจ้าคณะอรัญวาสีฝ่ายซ้าย
กราบสักการะ รูปเหมือนพระมหาเถร คันฉ่อง ได้ที่ คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม บางกอกใหญ่ กทม. และวัดสมเด็จนางพญา อ.เมือง จ.พิษณุโลก
ข้อมูลโดยหลวงพ่อวีระ วัดราชสิทธาราม กทม.
กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น