27 มีนาคม 2563

"สัมมาสติ,สัมมาสมาธิ"มีกำหนดด้วยฌานเป็นบาทฐาน

แม้สัมมาสติ ชื่อว่าต่างกันในส่วนเบื้องต้น เพราะความต่างกันแห่งจิตกำหนดกายเป็นต้น. ส่วนในขณะแห่งมรรค สติอย่างเดียวย่อมเกิดขึ้น ยังองค์แห่งมรรคให้บริบูรณ์อยู่ด้วยสามารถให้สำเร็จกิจในฐานะ ๔ เหล่านี้ นี้ชื่อว่าสัมมาสติ. 
               พึงทราบในฌานเป็นต้น ในส่วนเบื้องต้น สัมมาสมาธิต่างกันด้วยสามารถสมาบัติ ในขณะแห่งมรรคด้วยสามารถมรรคที่ต่างกัน. 
               จริงอยู่ ปฐมมรรคของฌานอย่างหนึ่งย่อมมีปฐมฌาน แม้ทุติยมรรคเป็นต้นมีปฐมฌานหรือมีฌานอย่างใดอย่างหนึ่งในทุติยฌานเป็นต้น ปฐมมรรคของฌานอย่างหนึ่งย่อมมีฌานอย่างใดอย่างหนึ่งแห่งทุติยฌานเป็นต้น. แม้ทุติยมรรคเป็นต้นมีฌานอย่างใดอย่างหนึ่งแห่งทุติยฌานเป็นต้นหรือมีปฐมฌาน. มรรคแม้ ๔ จะเหมือนกัน ไม่เหมือนกันหรือเหมือนกันบางอย่าง ย่อมมีด้วยสามารถแห่งฌานอย่างนี้แล. 
               ส่วนความต่างกันแห่งมรรคนี้ ย่อมมีด้วยการกำหนดฌานที่เป็นบาท. 
               จริงอยู่ มรรคที่เกิดขึ้นแก่ผู้ได้ปฐมฌาน ออกจากปฐมฌานแล้วเห็นแจ้งอยู่ ย่อมมีปฐมฌานด้วยการกำหนดฌานที่เป็นบาท. ส่วนในฌานนี้ย่อมมีองค์แห่งมรรคโพชฌงค์และฌานบริบูรณ์แล้วแล. 
               มรรคที่เกิดขึ้นแก่ผู้ออกจากทุติยฌานแล้วเห็นแจ้งอยู่ ย่อมมีทุติยฌาน. ส่วนในฌานนี้ องค์มรรคมี ๗. มรรคที่เกิดขึ้นแก่ผู้ออกจากตติยฌานเห็นแจ้งอยู่ ย่อมมีตติยฌานก็ในฌานนี้มีองค์มรรค ๗ โพชฌงค์มี ๖. ตั้งแต่จตุตถฌานจนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะก็มีนัยนี้. 
               จตุกกฌานและปัญจมกฌานในอรูปฌานย่อมเกิดขึ้น และฌานนั้น ท่านกล่าวว่า เป็นโลกุตระหาเป็นโลกิยะไม่ ดังนี้. 
               แม้ในบทว่า กถํ นี้ในบทนั้น มรรคนั้นเกิดขึ้นแล้วในอรูปฌาน เพราะออกจากปฐมฌานเป็นต้นได้โสดาปัตติมรรคเจริญอรูปสมาบัติ. มรรค ๓ แม้มีฌานนั้น ย่อมเกิดขึ้นในอรูปฌานนั้นของฌานนั้น. 
               ฌานที่เป็นบาท ย่อมกำหนดอย่างนี้แล. 
               ส่วนพระเถระบางพวกย่อมกล่าวว่า ขันธ์เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาย่อมกำหนด. บางพวกกล่าวว่า อัธยาศัยของบุคคลย่อมกำหนด. บางพวกย่อมกล่าวว่า วุฏฐานคามินีวิปัสสนาย่อมกำหนด. 
               การวินิจฉัยในวาทะของพระเถระเหล่านั้น พึงทราบโดยนัยอันกล่าวไว้แล้วในอธิการว่าด้วยวุฏฐานคามินีวิปัสสนา ในวิสุทธิมรรค. 
               บทว่า อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว สมฺมาสมาธิ ดังนี้ นี้เป็นโลกิยะในส่วนเบื้องต้น ในส่วนเบื้องปลายเป็นโลกุตระ ท่านเรียกว่า สมาธิ.

                 อรรถกถาวิภังคสูตรที่ ๘

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...