โรคห่า ในพระไตรปิฎก และมุมมองต่อสถานการณ์ ?
@ โรคห่าในพระไตรปิฎก
หลายคนคงจะถามว่าเรื่องโรคห่าหรือโรคระบาดในพระไตรปิฎกนั้นมีอยู่หรือไม่ คำตอบสั้นๆก็คือ "มีครับ"โดยเรื่องโรคระบาดหรือโรคห่าที่เกิดขึ้นในสมัยพุทธกาลนั้นมีปรากฎในพระสูตรชื่อว่า "รตนสูตร"ซึ่ง เป็นพระสูตรที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องสารณสุขมูลฐานได้ก็คือเรื่องของความสะอาดดับสุขภาพ และเรื่องความไม่สะอาดของบ้านเมืองทำให้เกิดโรคดังปรากฏในข้อความว่า ต่อมากรุงเวสาลีนั้นเกิดทุพภิกขภัย ฝนแล้งข้าวกล้าตายจนไม่สามารถที่จะปลูกข้าวหรือพืชพันธุ์อันอื่นได้ เมื่อไม่มีผลิตก็ทำให้ผู้คนเกิดปัญหาเมื่อเกิดปัญหาก็เกิดภัยต่างๆขึ้นมา ภัยที่เป็นภัยร้ายแรงที่เกิดมาจากความแออัดของจำนวนของผู้คนที่มีจำนวนมากทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาวะคือเกิดโรคระบาด เมื่อเกิดโรคขึ้นนั้นในตอนแรกคนยากคนจนตายก่อน เมื่อมีคนตายชาวเมืองก็นำมาทิ้งนอกเมืองกองเน่าเหม็นเป็นอย่างมาก เมื่อเป็นเช่นนั้นอรรถกถาก็อธิบายเพิ่มเติมว่า ความเน่าเหม็นของศพทำให้บรรดาอมนุษย์ทั้งหลายก็ได้เข้ามาสู่พระนคร(ขุ.ขุ.(ไทย) ๒๕/ ๑-๑๘/ ๙-๑๔.)
@ พระพุทธเจ้าเสด็จมาสู่เมืองเวสาลี
ในรตนสูตรนั้นเมื่อกล่าวถึงงมูลเหตุที่ชาวเมืองเกิดความทุกข์ร้อนคือเกิดโรคระบาดแล้วพระเจ้าลิจฉวีจึงได้ส่งสาส์นไปหาพระเจ้าพิมพิสารเพื่อขอกราบทูลเชิญพระพุทธองค์เสด็จมาโปรด ซึ่งพระเจ้าพิมพิสารก็ทรงอนุเคราะห์คือเข้าเฝ้ากราบทูลเรื่องราวนั้นแด่พระพุทธองค์ ซึ่งพระองค์ก็ทรงรับนิมนต์โดยได้ทรงเสด็จไปที่เมืองเวสาลี
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงกรุงเวสาลี ท้าวสักกะจอมเทพ ก็เสด็จมาเฝ้า ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประทับ ยืนใกล้ประตูพระนครทรงเรียกท่านพระอานนท์ที่มาส่งว่า อานนท์ เธอจงเรียนรัตนสูตรนี้ ถือเครื่อง ประกอบพลีกรรม เที่ยวเดินไประหว่างกำแพง ๓ ชั้นแห่งกรุงเวสาลีกับพวก เจ้าลิจฉวีราชกุมาร ทำพระปริตร แล้วได้ตรัสรัตนสูตร จึงพบว่า ในวันที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงกรุงเวสาลี พระองค์ทรงตรัสรัตนสูตร ณ ที่ใกล้ ประตูกรุงเวสาลี เพื่อกำจัดอุปัทวะเหล่านั้น ท่าน พระอานนท์ก็เรียนเอา เมื่อจะกล่าวเพื่อเป็นปริตร [ป้องกันอุปัทวะ] จึงเอาบาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้าตักน้ำมา เดินประพรมไปทั่วพระนคร พอ พระเถระกล่าวว่า ยงฺกิญฺจิ เท่านั้น พวกอมนุษย์ที่อาศัยกองขยะและที่ฝาเรือน เป็นต้น ซึ่งยังไม่หนีไปในตอนแรก ก็พากันหนีไปทางประตูทั้ง ๔ ประตูทั้งหลาย ก็ไม่มีที่ว่าง อมนุษย์บางพวก เมื่อไม่ได้ที่ว่างที่ประตูทั้งหลาย ก็ หลายกำแพงเมืองหนีไป พอพวกอมนุษย์พากันไปแล้ว ที่เนื้อตัวของพวก ชาวเมืองทั้งหลาย โรคก็สงบไป ชาวเมืองก็พากันออกมาบูชาพระ เถระ ด้วยดอกไม้ของหอมเป็นต้นทุกอย่าง มหาชนเอาของหอมทุกอย่างฉาบทา สัณฐาคารที่ประชุม ท่ามกลางพระนคร ทำเพดานประดับด้วยรัตนะ ประดับ ด้วยเครื่องประดับทั้งปวง ปูพุทธอาสน์ลง ณ ที่นั้นแล้วนำเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าสู่สัณฐาคาร ประทับนั่งเหนืออาสนะที่ได้ปูไว้ ทั้งภิกษุสงฆ์ คณะเจ้า และมนุษย์ทั้งหลายก็นั่ง ณ อาสนะที่เหมาะที่ ควร แม้ท้าวสักกะ จอมทวยเทพก็ประทับนั่งใกล้กับเทวบริษัท ในเทวโลก ทั้งสอง ทั้งเทวดาอื่น ๆ ด้วย แม้ท่านพระอานนทเถระ ก็เที่ยวเดินไปทั่วกรุง เวสาลี ทำอารักขาแล้ว ก็มาพร้อมกับชาวกรุงเวสาลี นั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสรัตนสูตรอีกครั้งเพื่อป้องกันภัยให้กับทุกคน ณ ที่นั้น ก็จากนั้น เมืองเวสาลีก็เป็นเมืองที่หายจากโรคระบาดและภัยที่เข้ามาเบียดเบียนนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อเสร็จจากการโปรดชาวเมืองแล้วพระพุทธองค์ก็ทรงเสด็จกลับสู่ราชคฤห์ตามเส้นทางเดิม (ขุ.ขุ.อ.(ไทย) ๑/๒๓๒-๒๓๔.)
@ ปัญหาเรื่องอมนุษย์ที่เมืองเวลสาลี คืออะไร ?
สำหรับมูลเหตุของโรคระบาดหรือโรคห่าที่เกิดที่เมืองเวสาลีนั้นเป็นเรื่องที่เกิดมาจาก (๑) ความสกปรกของเมือง อันเนื่องมาจากความแออัดของจำนวนของผู้คนที่มีจำนวนมากทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาวะคือเกิดโรคระบาด เมื่อเกิดโรคขึ้นนั้นในตอนแรกคนยากคนจนตายก่อน เมื่อมีคนตายชาวเมืองก็นำมาทิ้งนอกเมืองกองเน่าเหม็นเป็นอย่างมาก เมื่อเป็นเช่นนั้นอรรถกถาก็อธิบายเพิ่มเติมว่า ความเน่าเหม็นของศพทำให้บรรดาอมนุษย์ทั้งหลายก็ได้เข้ามาสู่พระนคร(ขุ.ขุ.อ.(ไทย) ๑/๒๓๒-๒๓๔.)(๒)เกิดมาจากการถูกอมนุษย์เข้าไปรุกราน ซึ่งคำว่า อมนุษย์นี้ในภาษาที่ต้องตีความก็น่าจะหมายถึงโรคระบาดอื่นๆก็เกิดขึ้นเพราะความสกปรกของชาวเมือที่ไม่ได้จัดการให้เป็นระบบ เมื่อเกิดโรคระบาดก็ทำให้ชาวเมืองที่เหลือเริ่มล้มตายเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่สุดเพราะความสกปรกนั้น อหิวาตกโรคก็คือโรคท้องร่วงก็เกิดแก่ทั้งคนและสัตว์ที่อาศัยอยู่ในเมืองนั้นทำให้คนยิ่งตายเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ชาวเมืองเกิดความทุกข์เป็นอย่างมาก จะเห็นได้ว่าในสมัยก่อนก็มีความรู้กันอยู่ว่าความสะอาดเป็นเหตุให้มีสุขภาวะที่ดี ไม่มีโรค แต่ถ้ามีความสกปรกไม่สะอาดก็จะก่อให้เกิดโรค
ซึ่งมูลเหตุของโรคระบาดในเมืองเวสาาลี เมื่อพิจารณากันอย่างถี่ถ้วนแล้วก็จะพบว่ามีอยู่ ๒ ประการก็คือ (๑) ความสกปรกอันเนื่องมาจาก "ศพคนตาย"หรือขยะที่เหลือใช้แล้วทิ้งไม่เป็นที่ไม่รู้จักการกำจัดขยะให้ดีพอ เมื่อมีความหมักหมมของสิ่งสกปรกในที่สุดก็จะก่อให้เกิดเชื้อโรค ซึ่งนี่ก็เป็นแนวทางอธิบายที่ตรงตามหลักสาธารณสุขมูลฐานในปัจจุบันทีเดียว คือไม่สะอาด หมักหมมก็ก่อให้เกิดโรค (๒) อมนุษย์ หรือเชื้อโรคที่มาพร้อมกับความสกปรกที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น แต่ในภาษาคัมภีร์ท่านใช้คำว่า "อมนุษย์"ก็คือเชื่้อโรคนั่นเอง
@ วิธีการรักษา "โรคห่า"ในพระไตรปิฏก ?
สำหรับวิธีการรักษาโรคห่าในพระไตรปิฎกนั้น พระพุทธองค์ทรงใช้วิธีการดังนี้ก็คือ
(๑) การชำระเมือง คือ Big Cleanning สถานที่ก็คือเมืองเพื่อเป็นการ กำจัดสาเหตุของโรคคือสถานที่หรือสิ่งที่เป็นแหล่งเพาะเชื้อได้แก่ขยะ ความเน่าเหม็นหรือสิ่งสกปรกต่างๆออกไปจาเมือง ดดยพระพุทธองค์ทรงบันดาลให้ฝนตกลงมา "ล้างเมืองให้สะอาด" เมื่อความสะอาดมาถึง บรรดาเชื้อโรคทั้งหลายก็ไม่มี โดยในคัมภีร์ท่านว่าเมื่อฝนตกลงมา "บรรดาซากศพทั้งหลายก็ถูกพัดออกไปจากเมือง
(๒) เสริมดวงเมือง โดยการเรียกบรรดาเทพเจ้าผู้รักษาเมืองโดยทรงตรัสเรียกท้าวสักะซึ่งเป็นหัวหน้าเทพเจ้ามาก่อนจากนั้นทรงอธิบายให้ท้าวสักกะฟังว่า "เมื่อชาวเมืองทำพลีแก่พระองคืหรือเทวดาทั้งหลายแล้ว บัดนี้เมื่อชาวเมืองเดือดร้อนก็ควรออกมาช่วยเพราะความกตัญญูนั้นเป็นธรรมของคนดีที่ควรทำ"ทรงตรัสไปอย่างนี้ท้าวสักกะจึงสั่งให้บรรดาเทพเจ้ามาเฝ้าแล้วมอบหมายงานให้ไปทำการขับไล่พวกอมนุษย์ทั้งหลายออกไปจากเมือง
(๓) นำพระพุทธมนต์ไปเพื่อขับไล่และบำรุงขวัญประชาชน เมื่อทรงเสด็จถึงเมืองเวสาลีแล้ว พระพุทธองค์ทรงเรียกท่านพระอานนท์ที่มาส่งว่า อานนท์ เธอจงเรียนรัตนสูตรนี้ ถือเครื่อง ประกอบพลีกรรม เที่ยวเดินไประหว่างกำแพง ๓ ชั้นแห่งกรุงเวสาลีกับพวก เจ้าลิจฉวีราชกุมาร ทำพระปริตร แล้ว เดินประพรมไปทั่วพระนคร พอ พระเถระกล่าวว่า ยงฺกิญฺจิ เท่านั้น พวกอมนุษย์ที่อาศัยกองขยะและที่ฝาเรือน เป็นต้น ซึ่งยังไม่หนีไปในตอนแรก ก็พากันหนีไปทางประตูทั้ง ๔ ประตูทั้งหลาย ก็ไม่มีที่ว่าง อมนุษย์บางพวก เมื่อไม่ได้ที่ว่างที่ประตูทั้งหลาย ก็ หลายกำแพงเมืองหนีไป พอพวกอมนุษย์พากันไปแล้ว ที่เนื้อตัวของพวก ชาวเมืองทั้งหลาย โรคก็สงบไป เมื่อประชาชนเห็นดังนั้นก็เกิดความอุ่นใจมีความเลื่อมใสศรัทธาพากันออกมาบูชาพระพุทะองค์และเหล่าพระสงฆ์ด้วยเครื่องสักการะต่างๆมากมาย
จะเห็น่าในการรักษาโรคห่านี้พระพุทะองค์ทรงใช้หลักการของเรื่องสาธารณสุขมูลฐานเป็นที่ตั้ง คือ (๑) ทำความสะอาดพ้นที่ (๒) กำจัดโรค และ (๓) บำรุงขวัญประชาชน หลักการในการกำจัดโรคห่าก้มีเพียงหลักการ ๓ ประการนี้เท่านั้น เพราะเรื่องความสะอาดต้องมาเป็นอันดับแรกๆก่อนจากนั้นก็ทำการรักษาในที่นี้ทรงใช้พระปริตรหรือพระพุทธมนต์เพื่อทรงรักษาตามอาการ คือหากเป็นอมนุาย์ก็ทรงใช้กำลังมนต์บังคับ แต่ถ้าเป็นโรคที่เกิดก็รักษาตามอาการด้วยยาหรือเภสัชที่มี จากนั้นสิ่งที่ทรงทำก็คือการบำรุงขวัญกับประชาชนไม่ให้ตื่นตระหนก หลักการ ๓ อย่างนี้ผมว่าจพำเป็นและรัฐบาลไทยเราก็ควรใช้หลักการ ๓ อย่างนี้เป็นพื้นฐานในการรักษาโรคของสังคมให้ได้
@ เรื่องพระปริตรหรือพระพุทะมนตืหรือเทวดา ผี จำเป็นไหมสำหรับการรักษาโรค ?
สำหรับผม ผมเห็นว่ามีความจำเป็นครับ เพราะเรื่องของจิตวิญญาณในโลกและจักรวาลนี้มีอยู่พระพุทธศาสนาไม่ได้ปฏิเสธเรื่องนี้ เพราะพระพุทธศาสนาสอนว่าภพภูมที่เป็นที่รองรับสัตว์ที่ละสังขารนี้ไปแล้วไปเกิดในภพภูมิใหม่มีอยู่ทั้งในส่วนของ (๑)สวรรค์(๒)มนุษย์และสัตว์ดิรัจฉาย (๓) สัตว์นรก มีอยู่ใน ๓๑ ภพภูมิที่มีอยู่ในหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา คนยุคใหม่อาจจะไม่เชื่อ แต่หากไม่เชื่อก็ลองพิจารณาให้ดีว่าเรื่องเหล่านี้มีผลกับความรู้สึกของผูคนหรือไม่ ส่วนกลุ่มที่เชื่อโดยเแพาะเชื่อในหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาก็จะพบว่า ภพภูมิได้บอกอะไรเรามากมายเกี่ยวกับการตั้งบ้านเรือนการพลีเทวดา เป็นต้นซึ่งก็เป็นเรื่องที่มีอยู่ นอกจากนั้นในภพภูมิก็มีทั้งที่ดีและไม่ดีที่ดีย่อมให้คุณกับเราส่วนที่ไม่ดีก็จะให้โษกับเรา ดังนั้น พระโบราณาจารย์ท่านจึงแนะนำไว้ว่าให้ทำการ "ชำระเมือง"ด้วยพระปริตรทุกครั้งและทุกปีเพื่อเป็นการชำระสิ่งที่เป็นอัปมงคลออกไปจากเมืองและเป้นการเสริมดวงเมืองด้วยการให้ประชาชนได้แผ่เมตตาและทำบุญให้ทาานรักษาศีลและเจริญภาวนาเพื่อแผ่นดินให้มากขึ้น ซึ่งการกระทำดังกล่าวย่อมมีผลต่อการรักษาเมืองและรักษาป้องกันโรคได้ด้วยความดีและกุศลกรรมที่ได้ทำร่วมกัน ผมว่าเรื่องนี้ก็เป็นสิ่งที่จำเป้นอยู่นะครับ
ที่มา
ขอบคุณครับ
Naga King
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น