ความว่า อุเบกขาและสติในจตุตถฌานเป็นความหมดจด หมดจดดี ขาวรอบ ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีอุเบกขาและสติ หมดจดดี.
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นทุกข์มี ๓ อย่างเหล่านี้ คือ
ทุกฺขทุกฺขตา (ความเป็นทุกข์ คือทุกขเวทนา)
วิปริณามทุกฺขตา (ความเป็นทุกข์ คือความเปลี่ยนแปลงของสุข)
สงฺขารทุกฺขตา (ความเป็นทุกข์ คือสังขาร)
ปฐมวรรค เวทนาสูตรที่ ๑
[๕๑๑] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า เวทนามีเท่าไร?
ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ เวทนานี้มี ๓ ประการ คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑
อทุกขมสุขเวทนา ๑.
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็สุขเวทนาเป็นอย่างไร ทุกขเวทนาเป็นอย่างไร อทุกขมสุขเวทนา
เป็นอย่างไร?
ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขสำราญ อันเป็นไปทางกาย หรือ
เป็นไปทางจิต นี่เป็นสุขเวทนา ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์ไม่สำราญ อันเป็นไปทางกาย
หรือเป็นไปทางจิต นี่เป็นทุกขเวทนา ความเสวยอารมณ์ที่มิใช่ความสำราญ และมิใช่ความไม่
สำราญ (เป็นส่วนกลางมิใช่สุขมิใช่ทุกข์) อันเป็นไปทางกาย หรือเป็นไปทางจิต นี่เป็น
อทุกขมสุขเวทนา.
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็สุขเวทนา เป็นสุขเพราะอะไร เป็นทุกข์เพราะอะไร?
ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ สุขเวทนา เป็นสุขเพราะตั้งอยู่ เป็นทุกข์เพราะแปรไป
ทุกขเวทนา เป็นทุกข์เพราะตั้งอยู่ เป็นสุขเพราะแปรไป อทุกขมสุขเวทนา เป็นสุขเพราะรู้ชอบ
เป็นทุกข์เพราะรู้ผิด.
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อนุสัยอะไร ตามนอนอยู่ในสุขเวทนา อนุสัยอะไร ตามนอน
อยู่ในทุกขเวทนา อนุสัยอะไร ตามนอนอยู่ในอทุกขมสุขเวทนา?
ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ราคานุสัย ตามนอนอยู่ในสุขเวทนา ปฏิฆานุสัย ตามนอน
อยู่ในทุกขเวทนา อวิชชานุสัยตามนอนอยู่ในอทุกขมสุขเวทนา.
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ราคานุสัยตามนอนอยู่ในสุขเวทนาทั้งหมด ปฏิฆานุสัยตามนอน
อยู่ในทุกขเวทนาทั้งหมด อวิชชานุสัยตามนอนอยู่ในอทุกขมสุขเวทนาทั้งหมด หรือหนอแล?
ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ราคานุสัย ตามนอนอยู่ในสุขเวทนาทั้งหมด หามิได้
ปฏิฆานุสัย ตามนอนอยู่ในทุกขเวทนาทั้งหมด หามิได้ อวิชชานุสัย ตามนอนอยู่ใน
อทุกขมสุขเวทนาทั้งหมด หามิได้.
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ธรรมอะไรจะพึงละได้ในสุขเวทนา ธรรมอะไร จะพึงละได้ใน
ทุกขเวทนา ธรรมอะไรจะพึงละได้ในอทุกขมสุขเวทนา?
ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ราคานุสัยจะพึงละได้ในสุขเวทนา ปฏิฆานุสัย จะพึงละได้ใน
ทุกขเวทนา อวิชชานุสัยจะพึงละได้ในอทุกขมสุขเวทนา.
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ราคานุสัยจะพึงละเสียได้ในสุขเวทนาทั้งหมด ปฏิฆานุสัยจะพึง
ละเสียได้ในทุกขเวทนาทั้งหมด อวิชชานุสัยจะพึงละเสียได้ในอทุกขมสุขเวทนาทั้งหมด หรือ
หนอแล?
ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ราคานุสัยจะพึงละเสียได้ในสุขเวทนาทั้งหมด หามิได้
ปฏิฆานุสัยจะพึงละเสียได้ในทุกขเวทนาทั้งหมด หามิได้ อวิชชานุสัยจะพึงละเสียได้ในอทุกขม-
*สุขเวทนาทั้งหมด หามิได้ ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม
สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ย่อม
ละราคะด้วยปฐมฌานนั้น ราคานุสัย มิได้ตามนอนอยู่ในปฐมฌานนั้น อนึ่ง ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นอยู่ว่า เมื่อไร เราจะได้บรรลุอายตนะที่พระอริยะทั้งหลายบรรลุแล้วอยู่
ในบัดนี้ ดังนี้ เมื่อภิกษุนั้นเข้าไปตั้งความปรารถนาในวิโมกข์ทั้งหลายอันเป็นอนุตตรธรรมอย่างนี้
โทมนัสย่อมเกิดขึ้น เพราะความปรารถนาเป็นปัจจัย ท่านละปฏิฆะได้ด้วยความโทมนัสนั้น
ปฏิฆานุสัยมิได้ตามนอนอยู่ในความโทมนัสนั้น อนึ่ง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน
อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็น
เหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ย่อมละอวิชชาได้ด้วยจตุตถฌานนั้น อวิชชานุสัยมิได้ตามนอนอยู่ในจตุต
ฌานนั้น.
เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ บรรทัดที่ ๙๕๒๙-๙๕๗๐ หน้าที่ ๓๙๑-๓๙๒.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9529&Z=9570&pagebreak=0
http://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=12&item=511&items=1&mode=bracket
[๔๔๕] เราขอบอกอัญญาวิโมกข์ อันมีอุเบกขาและสติหมดจดดี
มีความตรึกประกอบด้วยธรรม แล่นไปข้างหน้า เป็นเครื่อง
ทำลายอวิชชา.
[๔๔๖] ความวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ความเพิกเฉย ความสงบแห่งจิต ความที่จิต
เลื่อมใส ความที่จิตเป็นกลางด้วยจตุตถฌาน ชื่ออุเบกขา ในอุเทศว่า อุเปกฺขาสติสํสุทฺธํ ดังนี้.
ความระลึก ความตามระลึก ฯลฯ ความระลึกชอบ เพราะปรารภถึงอุเบกขาในจตุตถฌาน ชื่อว่า
สติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อุเบกขา และสติ.
คำว่า หมดจดดี ความว่า อุเบกขาและสติในจตุตถฌานเป็นความหมดจด หมดจดดี
ขาวรอบ ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความ
ไม่หวั่นไหว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีอุเบกขาและสติ หมดจดดี.
[๔๔๗] ความดำริชอบ ตรัสว่า ความตรึกประกอบด้วยธรรม ในคำว่า ธมฺมตกฺกปุเรชวํ
ดังนี้. ความตรึกประกอบด้วยธรรมนั้น มีในเบื้องต้น มีข้างหน้าเป็นประธานแห่งอัญญาวิโมกข์
แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้จึงชื่อว่า มีความตรึกประกอบด้วยธรรมแล่นไปข้างหน้า.
อีกอย่างหนึ่ง สัมมาทิฏฐิ ตรัสว่า ความตรึกประกอบด้วยธรรม. สัมมาทิฏฐินั้นมีใน
เบื้องต้น มีข้างหน้า เป็นประธานแห่งอัญญาวิโมกข์ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า มีความตรึก
ประกอบด้วยธรรมแล่นไปข้างหน้า.
อีกอย่างหนึ่ง วิปัสสนาในกาลเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งมรรค ๔ ตรัสว่า ความตรึกประกอบ
ด้วยธรรม. วิปัสสนานั้น มีในเบื้องต้นมีข้างหน้า เป็นประธานแห่งอัญญาวิโมกข์ แม้ด้วยเหตุ
อย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า มีความตรึกประกอบด้วยธรรมแล่นไปข้างหน้า.
[๔๔๘] อรหัตวิโมกข์ ตรัสว่า อัญญาวิโมกข์ ในอุเทศว่า อญฺาวิโมกฺขํ สํพฺรูมิ
ดังนี้ เราขอบอก ... ขอประกาศซึ่งอรหัตวิโมกข์ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เราขอบอกอัญญาวิโมกข์.
[๔๔๙] ความไม่รู้ในทุกข์ ฯลฯ อวิชชาเป็นดังลิ่มสลัก ความหลง อกุศลมูล ชื่อว่า
อวิชชา ในอุเทศว่า อวิชฺชาย ปเภทนํ ดังนี้.
คำว่า เป็นเครื่องทำลายอวิชชา ความว่า เป็นเครื่องทุบ ต่อย เครื่องทำลาย เครื่องละ
เครื่องสงบ เครื่องสละคืน เครื่องระงับ ซึ่งอวิชชา เป็นอมตนิพพาน เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า
เป็นเครื่องทำลายอวิชชา. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
เราขอบอก อัญญาวิโมกข์อันมีอุเบกขาและสติ หมดจดดี
มีความตรึกประกอบด้วยธรรมแล่นไปข้างหน้า เป็นเครื่อง
ทำลายอวิชชา.
อุทยมาณวกปัญหานิทเทส
รูปฌาน ๔
[๒๐] ดูกรคฤหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ-
*ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า
แม้ปฐมฌานนี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น
ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะ
และวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่ง
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้น
เป็นธรรมดา.
ดูกรคฤหบดี ธรรมอันหนึ่งแม้นี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่
จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึง
ธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ
อันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.
ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้ทุติยฌานนี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น
ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา
ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลิน ในธรรมคือสมถะและ
วิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพาน
ในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.
ดูกรคฤหบดี ธรรมอันหนึ่งแม้นี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่
จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึง
ธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบอันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อัน
พระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.
ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วย
นามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้ตติยฌานนี้อันเหตุ
ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น
สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้น
ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดี
เพลิดเพลินในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.
ดูกรคฤหบดี ธรรมอันหนึ่งแม้นี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่
จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึง
ธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ
อันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.
ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข
ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอพิจารณา
อยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้จตุตถฌานนี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้
เธอตั้งอยู่ในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึง
ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้น
เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.
ดูกรคฤหบดี ธรรมอันหนึ่งแม้นี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีคนส่งไปอยู่
จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุ
ธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ
อันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.
อัฏฐกนาครสูตร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น