05 กันยายน 2563

การสร้างพระเครื่อง


การสร้างพระจากโลหะ...

                    การศึกษาพระเครื่อง มีหลักง่ายๆ คือ พิมพ์ต้องถูก เนื้อต้องใช่ ธรรมชาติต้องมี หลักทั้ง ๓ อย่างนี้ เป็นสิ่งที่ต้องยึดถือย่างเคร่งครัด เพราะสามารถเป็นเกราะป้องกัน เพื่อไม่ให้เช่าถูก พระปลอม ได้เป็นอย่างดี

เนื้อต้องใช่ ในการศึกษาพระเครื่องนั้น ขอเขียนถึงพระเนื้อโลหะ กรรมวิธีการสร้างพระเนื้อโลหะ จะประกอบด้วยการสร้าง ๓ ประเภท คือ พระหล่อ พระปั๊ม และพระฉีด

ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ คือ ระหว่าง พระเครื่องเนื้อชิน และ พระเครื่องโลหะอื่นๆ ก่อนว่าเหตุใดจึงแยกพระทั้งสองประเภทนี้ออกจากหมวดเดียวกัน


พระ เครื่องเนื้อชิน หมายถึง โลหะทุกชนิด อาจเป็นโลหะล้วนๆ หรือโลหะผสมกัน เช่น ตะกั่ว เหล็ก ดีบุก ทองเหลือง ทองแดง เงิน นาก ทอง เป็นต้น นำมาหลอมละลายแล้วหล่อลงในเบ้า หรือกดลงในแบบพิมพ์ ซึ่งทำมาจากดินเหนียว หิน หรือไม้แกะสลักก็ได้ สีขององค์พระจะเป็นไปตามลักษณะของโลหะ และสภาพของกรุที่ฝังอยู่ ซึ่งมีอายุและมีความร้อนชื้นแตกต่างกัน คราบกรุที่มีอายุมากๆ จะสังเกตได้จากผิวขององค์พระว่า มีคราบราที่ฝังแน่นลึกเข้าไปในเนื้อ บางแห่งจะเห็นการผุกร่อน หรือระเบิดออกมา

เหตุที่บูรพาจารย์ที่เป็นนักสะสมพระยุคแรกๆ ไม่นำมารวมอยู่ในพระเนื้อโลหะอื่นๆ เนื่องจาก

๑.พระ เครื่องเนื้อชิน ล้วนเป็นพระกรุ พระเก่า ที่มีอายุการสร้างนานเป็นร้อยๆ ปีขึ้นไป อันถือเป็นพระเครื่องยุคโบราณ ปัจจุบันไม่นิยมสร้างพระเครื่องเนื้อนี้อีกแล้ว



๒.ส่วนผสม หลักของพระเครื่องเนื้อชิน คือ ดีบุกและตะกั่ว มากน้อยตามแต่ผู้สร้างมีความประสงค์ ซึ่งปัจจุบันผู้สร้างได้ค้นพบโลหะอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติที่ดีกว่า สะดวกกว่า และคงทนกว่า มาใช้ในการสร้างพระเครื่องแทนพระเครื่องเนื้อชิน

ส่วนอีกเหตุผล หนึ่ง คือ ผู้ที่นิยมมีความคิดว่า พระเครื่องประเภทเนื้อชินจะต้องเป็นพระยุคเก่า เท่านั้น จึงได้รับความนิยมในการสะสม หากเป็นพระยุคหลังที่สร้างขึ้นใหม่ จะดูขาดธรรมชาติ ไม่เป็นที่น่าสนใจของประชาชน เพราะขึ้นชื่อว่า เป็นพระเครื่องเนื้อชิน ต้องดูเก่า มีธรรมชาติคราบไข ถ้าดูใหม่จะคาดคะเนให้เป็นพระปลอมไว้ก่อนเป็นอันดับแรก

ปัจจุบัน พระเครื่องเนื้อโลหะต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในวงการพระ โดยเฉพาะพระสร้างใหม่ ประกอบด้วยพระเนื้อโลหะ ๔ ชนิดหลักๆ คือ ๑.พระเนื้อทองคำ ๒.พระเนื้อเงิน ๓.พระเนื้อทองแดง ๔.พระโลหะผสม

ในจำนวนเนื้อโลหะสร้างพระทั้ง ๔ ชนิด พระเนื้อโลหะผสม ถือว่าเป็นพระที่มีมุมมองให้ศึกษามากมาย ด้วยเหตุที่ว่า พระโลหะผสมมีมากมายหลายเนื้อมวลสาร ซึ่งบางประเภทมีสูตรจากตำราชี้เฉพาะปริมาณของส่วนผสม และบางประเภทก็ไม่ชี้ชัด เพียงใส่มวลสารแร่ธาตุเดิมให้ครบตามจำนวนธาตุที่ต้องการผสมเท่านั้น

จึงเป็นที่มาของความไม่แน่นอน ในโลหะผสมของแต่ละเบ้า แต่ละครั้งในการหลอมละลาย

โลหะผสมที่ได้รับความนิยมในการสร้างพระเครื่องได้แก่

สุดยอดของพระเนื้อโลหะผสมต้องยกให้ พระเนื้อนวโลหะ หมายถึง การนำแร่ธาตุต่าง ๙ ชนิด มาหลอมรวมกัน

พระ เนื้อนวโลหะ ที่มีตำราชี้เฉพาะปริมาณของส่วนผสม ได้แก่ พระในกลุ่มพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ที่มี สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศนฯ กทม.เป็นองค์ปฐมการสร้าง สืบตำราต้นแบบที่บังคับในการสร้างพระกริ่งเนื้อนวโลหะสายวัดสุทัศนฯ ประกอบไปด้วย

๑.ชิน น้ำหนัก ๑ บาท (๑ บาท = ๑๕.๒ กรัม) ๒.จ้าวน้ำเงิน น้ำหนัก ๒ บาท (แร่ชนิดหนึ่ง สีเขียวปนน้ำเงิน) ๓.เหล็กละลายตัว น้ำหนัก ๓ บาท ๔.บริสุทธิ์ทองแดงบริสุทธิ์น้ำหนัก ๔ บาท ๕.ปรอท น้ำหนัก ๕ บาท ๖.สังกะสี น้ำหนัก ๖ บาท ๗.ทองแดง น้ำหนัก ๗ บาท ๘.เงิน น้ำหนัก ๘ บาท และ ๙.ทองคำ น้ำหนัก ๙ บาท



นำโลหะ ทั้ง ๙ นี้มาหลอมรวมกัน ได้เนื้อนวโลหะที่งดงามยิ่ง ส่วนกรรมวิธีที่แสนวิจิตรเข้มขลัง เคร่งครัด จะกล่าวอย่างละเอียดในการศึกษาเรื่องพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ให้ลึกซึ้งต่อไป

ส่วน พระเนื้อโลหะที่น่าสนใจศึกษาเป็นอันดับสอง คือ เนื้อสัตตโลหะ หมายถึง โลหะผสม ๗ ชนิด อันประกอบด้วย ๑.เหล็ก ๒.ปรอท ๓.ทองแดง ๔.เงิน ๕.ทองคำ ๖.จ้าวน้ำเงิน และ ๗ บริสุทธิ์ ตามอัตราส่วนของแต่ละตำรา และวัสดุที่ทำขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ เช่น อาวุธที่เป็นเนื้อสัตตโลหะจะมีปริมาณของแร่เหล็กมากกว่าแร่ชนิดอื่น เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีพระที่สร้างจากโลหะ ๕ ชนิด ที่เรียกว่า เบญจโลหะ หมายถึงโลหะผสม ๕ ชนิด อันประกอบด้วย ๑.เหล็ก ๒.ปรอท ๓.ทองแดง ๔.เงิน และ ๕.ทองคำ อัตราส่วนตามความเหมาะสมของวัตถุที่สร้าง แต่โลหะหนักส่วนมากมักจะเป็นเหล็ก เพราะเหล็กมีราคาถูกกว่าโลหะชนิดอื่นๆ

พระ เนื้อทองเหลือง นับเป็นโลหะผสมที่นิยมใช้กันมากในยุคหลังๆ ซึ่งเป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี และอาจจะมีธาตุอื่นปะปนอยู่บ้างเล็กน้อย เช่น ตะกั่ว ดีบุก อะลูมิเนียม เหล็ก แมงกานีส นิเกิล เป็นต้น

พระเนื้อบรอนซ์ เป็นชื่อดั้งเดิมของโลหะผสม ระหว่างดีบุกกับทองแดง ปัจจุบันหมายถึงโลหะผสมระหว่างทองแดงกับโลหะอื่นๆ ยกเว้นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี ซึ่งจะเป็นทองเหลือง ไม่ใช่บรอนซ์

พระ เนื้อเมฆพัด เป็นโลหะผสมที่เกิดจากการนำแร่โลหะต่างๆ หลายชนิด อาทิ เหล็ก ทองแดง ดีบุก ตะกั่ว เงิน ทองคำ เป็นต้น จะเป็นปริมาณเท่าใด หรือใช้กี่ประเภท ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้สร้าง ระหว่างหุงแร่จะซัดด้วยกำมะถัน จนเกิดเป็นสีดำมันวาว ออกเหลือบสีน้ำเงิน

พระเนื้อเมฆสิทธิ์ นับเป็นโลหะผสมที่มีความคล้ายคลึง และเป็นคู่แฝดกับเนื้อเมฆพัด กรรมวิธีการสร้างก็คล้ายกัน

ถ้า เป็นคนรุ่นเก่าจะเรียกการสร้างโลหะผสมเมฆสิทธิ์ และเมฆพัดว่า การเล่นแร่แปรธาตุ นับเป็นโลหะที่เชื่อว่า มีความศักดิ์สิทธิ์ในตัว เพราะขณะที่ทำการหลอมรวม จะต้องบริกรรมพระคาถาต่างๆ ไปด้วย

สำหรับโลหะผสมเมฆสิทธิ์ ประกอบด้วยแร่ธาตุ ๔ ชนิด คือ เงิน สังกะสี ทองแดง และปรอท

พระ เนื้อสัมฤทธิ์ เป็นโลหะผสมที่นิยมนำมาสร้างพระบูชา และรูปหล่อขนาดใหญ่ นับเป็นโลหะผสมยุคแรกๆ ที่มีการสร้างขึ้นมาแต่โบราณ บางคนเรียกว่า ทองสัมฤทธิ์ หรือ ทองบรอนซ์ ส่วนประกอบของโลหะผสมสัมฤทธิ์คือ ทองแดง ดีบุก เงิน และทองคำ

พระเนื้อโลหะประเภทสุดท้าย คือ ขันลงหิน เป็นเนื้อโลหะที่รู้จักกันมาแต่โบราณ และเป็นประเภทหนึ่งของโลหะผสมที่เรียกกันว่า บรอนซ์

แต่ โลหะผสมเนื้อขันลงหิน จะเจาะจงเฉพาะโลหะผสม ระหว่างทองแดงกับดีบุกเท่านั้น ส่วนบรอนซ์จะรวมถึงโลหะทุกประเภทที่ผสมกับทองแดง ยกเว้นสังกะสี ดังนั้นสีบรอนซ์จึงมีหลายสี เช่น บรอนซ์เงิน บรอนซ์ทอง บรอนซ์ออกสีนาก เป็นต้น

โลหะผสมที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นโลหะผสมที่นิยมนำมาสร้างพระบูชาและพระเครื่อง

นอก จากนี้ ก็มีพระที่สร้างจากเนื้อโลหะหลัก ที่มีส่วนผสมอื่นเจือปนอยู่บ้าง แต่เป็นส่วนน้อย เพื่อความสะดวกในการขึ้นรูป ทำให้สวยงาม และคงทนยิ่งขึ้น เช่น ทองคำ เงิน ตะกั่ว เป็นต้น แต่ไม่เป็นที่รู้จักนิยมแพร่หลายเช่นที่กล่าวมา



กระเบนท้องน้ำ:
วิธีการดูพระเครื่องประเภทรูปเหมือน

 
ขั้นตอนในการจัดสร้าง พระรูปเหมือนปั๊ม

เริ่มต้นจากนายช่างจะต้องแกะแม่พิมพ์ (หรือบล็อก) ขึ้นมาก่อน ทั้งด้านหน้าและ ด้านหลัง โดยแกะแม่พิมพ์นี้เพียง ชุดเดียว เท่านั้น
หลัง จากนั้นจึงนำแม่พิมพ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลังไปเข้าเครื่องปั๊ม โลหะแบบโบราณ โดยใช้แรงคนเหวี่ยงเครื่องปั๊ม ซึ่งเป็นลูกตุ้มโลหะขนาดใหญ่

จาก นั้นจึงนำโลหะที่ผ่านการหลอมแล้ว และวัดให้ได้ขนาด (กว้าง x ยาว x ความหนา) ให้ใกล้เคียงกับ "ชิ้นงาน" ที่ต้องการปั๊มให้เป็นองค์พระ

โลหะที่ เป็น "ชิ้นงาน" ต้องนำมาล้างให้สะอาดก่อน แล้วเผาไฟให้ร้อน เพื่อให้โลหะอ่อนตัวลง รอให้เย็นเล็กน้อย แล้วจึงนำเข้าเครื่องปั๊มกระแทกพิมพ์
ต้องทำเช่นนี้ ไม่ตํ่ากว่า ๔-๕ ครั้ง มิใช่กระแทกพิมพ์ครั้งเดียวก็เสร็จ ทั้งนี้เนื่อง จากโลหะที่ปั๊มเป็นพระรูปเหมือนจะมีความหนากว่า
โลหะที่ปั๊มเป็นเหรียญธรรมดาโดยทั่วไป

หลังจากที่ได้ชิ้นงานซึ่งมีรายละเอียดเป็นรูปทรงองค์พระสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว ช่างจะนำชิ้นงานซึ่งมีปีกล้นขอบข้างออกมา
ทำการเลื่อยตัดให้เข้ารูปทรงองค์พระ (ตัดชิดองค์พระ) เสร็จแล้วจะนำชิ้นงานมาตกแต่งด้วยตะไบที่ขอบและฐาน
รวมทั้งใต้ฐานเพื่อเก็บความเรียบร้อยให้สวยงามคมชัดยิ่งขึ้น

ในขั้นตอนสุดท้าย ช่างจะนำชิ้นงาน (องค์พระ) มาตกแต่งรายละเอียด อื่นๆ อีก เช่น แต่งขอบแขน (บั้ง) ให้เป็นริ้วจีวร และช่วงตะโพก
ฐาน ด้านหลัง โดยเครื่องมือที่ใช้แต่งริ้วจีวรนี้ ไม่ใช้เหล็กตะไบ แต่เป็นมีดแทงทอง ซึ่งเป็นเครื่องมือของช่างทองที่ใช้แกะทองคำโดยเฉพาะ
ฉะนั้นในช่องริ้วจีวรเหล่านี้ จะต้องไม่ปรากฏรอยเลื่อยตะไบอย่างเด็ดขาด

เมื่อตกแต่งองค์พระเป็นที่เรียบร้อยหมดแล้ว ก็จะนำพระรูปเหมือนปั๊มทั้งหมดมายังวัดหนองโพ จากนั้นจะมีการลงเหล็กจารอักขระที่ใต้ฐาน
และประกอบพิธีปลุกเสกโดยหลวงพ่อเดิม

       รูปเหมือนปั้มการดูพระรูปเหมือนปั๊มให้ใช้หลักการดูเหรียญปั๊มได้เลย เพราะ
พระหล่อปั๊มคือพระโลหะปั๊มเป็นรูปองค์เท่านั้น ถ้าปั๊มแบนเป็นแผ่นก็คือเหรียญ
ปั๊มนั่นเอง เช่นรูปเหมือนปั้มหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค รุ่นก้นระฆัง   
รูปเหมือนฉีด การดูพระรูปเหมือนฉีดให้ดูพิมพ์รวมเป็นหลัก พระทุกองค์จะ
ต้องมีรูปร่าง เท่ากันทุกองค์ 100% แต่ไม่คมชัดเหมือนพระปั๊ม บริเวณก้น
องค์จะมีรอยตะไบบริเวณรอยฉีดโลหะเข้าทุกองค์ เช่น พระหล่อใบโพธิ์ เจ้าคุณนรฯ ปี 13   
รูปเหมือนหล่อโบราณ มี 2 ชนิด คือ   
เบ้าทุบไม่มีรอยตะเข็บข้าง แต่จะมีรอยตะไบเดือยที่ก้นทุกองค์ เช่น หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พิมพ์นิยม   
เบ้าประกบมีรอยตะเข็บซ้าย-ขวาข้างองค์พระทุกองค์ ก้นจะมีรอยเนื้อเกิน
ไม่เต็ม เช่น หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พิมพ์ขี้ตา   



จุดสังเกตสำคัญ
พิมพ์หรือรูปร่างโดยรวมของพระรูปหล่อจะต้องเหมือนกัน 
รูปหล่อที่มีโค๊ด โค๊ดจะต้องคมชัดเพราะใช้ตอกด้วยโลหะ   
รอยปั๊มหรือรอยตะไบ ถ้าเป็นพระที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ควรที่จะไม่มีความคมและไปในทางเดียวกันไม่สับสน   

กระเบนท้องน้ำ:
หลักพิจารณาพระแท้ "พิมพ์ถูก เนื้อใช่ ความเก่ามี"   
       1. ถ้าพิมพ์ถูก ก็แท้แล้ว 50%  ต้องจำพิมพ์พระที่จะเช่าบูชาได้ทุกครั้งก่อนที่จะ
เช่าบูชาเสมอเพราะว่าถ้าพิมพ์ถูก โอกาสพระแท้ก็มี 50% แล้ว และถ้าพระผิด
พิมพ์ก็เก๊ 100% เลยเพราะฉะนั้น ต้องหมั่นศึกษาพิมพ์พระจากตำราต่าง ๆ ให้
้แม่นยำหรือถ้าศึกษาจากองค์จริงได้ก็ยิ่งดีครับ   

       2. ถ้าเนื้อใช่ ก็แท้แล้ว 25% เพื่อน ๆ ต้องจำสูตรเนื้อพระแต่ละรุ่นให้คุ้นเคย โดย
ศึกษาจากองค์จริงเท่านั้นจะดูจากรูปไม่ได้ เช่นพระเนื้อทองเหลืองของพระแต่ละ
ชนิดไม่เหมือนกันกระแสโลหะและผิวไฟก็ไม่เหมือนกัน ฉะนั้นถ้าเนื้อถูกกระแสและผิวไฟถูกก็แท้ขึ้นอีก 25% ครับ   

       3. ถ้าความเก่ามี ก็แท้แล้ว 25% พระเครื่องที่มีอายุต้องมีความเก่าสมอายุด้วย ถึงแม้จะเป็นพระที่เก็บรักษาดีไม่ถูกจับต้องเลย ก็ต้องใหม่แบบเก่า ๆ คือไม่มี ความแวววาวแล้ว เช่นพระหูยานลพบุรี กรุใหม่ ปี 08 เป็นต้น ถ้า พิจารณาพระทุกองค์ได้ครบถูกต้อง 3 ข้อนี้ก็เป็นพระแท้ดูง่ายควรค่ากับการสะสมครับ ภูมิคุ้มกันพระเก๊ ก่อนอื่นขอขยายความเรื่อง"พิมพ์ถูก"ก่อนนะครับ เพื่อน ๆ คงเคยได้ยินคำพูดว่า "พระผิดพิมพ์"บ่อย ๆ ใช่ไหมครับซึ่งก็มีความหมายเดียวกันกับพระเลียนแบบหรือพระเก๊นั่นเอง


 แล้ว คำถามต่อมาก็คือแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าถูกพิมพ์หรือผิดพิมพ์ การสร้างพระทุกชนิด ทุกครั้งจะต้องมีแม่พิมพ์เสมอ แต่อาจจะมีหลายแม่พิมพ์ในพระชนิดเดียวกันก็ได้เพราะฉะนั้นต้องศึกษาว่าพระ ชนิดนั้น ๆ มีกี่แม่พิมพ์หรือกี่บล็อกถ้าเป็นพระรุ่นใหม่พระที่สร้างมาจากแม่พิมพ์เดียว กันจะต้องมีรายละเอียดในองค์พระนั้น ๆเหมือนกัน100% เช่น ตุ่มนูน, ลายเส้นต่าง ๆ , รอยเนื้อเกิน เป็นต้นฉะนั้นพระที่มีลักษณะใด ๆ ที่แตกต่างจากพระที่มาจากแม่พิมพ์เดียวกันย่อมเป็นพระผิดพิมพ์หรือมาจากแม่ พิมพ์อื่นหรือเก๊นั่นเอง ยกเว้นการเปลี่ยนแปลงในพิมพ์ที่อธิบายด้วยเหตุผลได้

กระเบนท้องน้ำ:
ออกไซด์ในพระเนื้อโลหะคืออะไร ?


พระเครื่อง หรือ พระบูชา ถ้าหากสร้างจากเนื้อโลหะแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเนื้อชินเงิน เนื้อตะกั่ว หรือเนื้อสำริด ก็ตาม เมื่อวันเวลาผ่านไป โลหะนั้นจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงสภาพ ตามสภาวะแวดล้อมของสถานที่และ ระยะเวลาของอายุการสร้าง

สิ่งที่เป็นตัวนำ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อและ ผิวของพระเครื่องนั้น เกิดจากออกซิเจนใน อากาศทำปฏิกิริยากับโลหะ ศัพท์ทางวิทยาศาสตร์เรียกว่า ออกไซด์ ซึ่งแปลว่า สนิม นั่นเอง

พระเครื่องที่สร้างจากเนื้อชิน เงิน เมื่อระยะเวลาผ่านไป ออกไซด์ก็จะเกาะกินผิวพระ อาจเกาะกินบางส่วน หรือกินทั่วทั้งองค์ สนิมที่เกาะกินผิวพระเนื้อชินเงินนั้น จะเป็นสนิมสีค่อนข้างดำ ซึ่งเรียกว่า สนิมตีนกา ส่วนสนิมออกไซด์ที่เกาะกินผิวพระจนลึกลงไปในเนื้อขององค์พระ ซึ่งจะมีสีค่อนข้างดำเช่นกัน

เนื้อของพระจะมีลักษณะเป็นชั้นขุย เกล็ดๆ นั้นเราเรียกกันว่า สนิมพระเกล็ดกระดี่ พระบางองค์สนิมก็กินเข้าไปลึก จนทำให้เนื้อพระปะทุและระเบิดเลยก็มี ขึ้นอยู่กับสภาวะแต่ละกรุ แต่ละพื้นที่ที่บรรจุพระนั้นๆ

พระที่ สร้างจากเนื้อชินตะกั่ว พบส่วนมากเป็นพระที่มีอายุการสร้างในยุคลึกๆ เช่น ยุคลพบุรี เชียงแสน สุโขทัย และอู่ทอง เป็นต้น มีทั้งที่สร้างจากเนื้อชินแก่ตะกั่ว และที่สร้างจากเนื้อ ตะกั่วแก่ชิน

พระ ที่สร้างเนื้อตะกั่วแก่ชิน นั้น เมื่อเปิดกรุส่วนใหญ่องค์พระ จะคงอยู่ในสภาพสวยสมบูรณ์มากกว่าชำรุด น่าจะเกิดจากการผสมผสานเนื้อพระได้เข้ากันพอดิบพอดี ทำให้เนื้อพระเกิดความคงทนขึ้น สนิมแดงจะเกิดขึ้นค่อนข้างน้อยหรือเกิดขึ้นบางส่วนเท่านั้น

พระที่ สร้างจากเนื้อชินแก่ตะกั่ว นั้น ส่วนใหญ่เนื้อพระจะเกิดสนิมแดงเกาะทั่วองค์ บางองค์สนิมแดงจัดมากจนกินเข้าถึงเนื้อในของพระ ทำให้เนื้อตะกั่วเสื่อมสภาพลง ผิวพระเกิดรอยลั่นร้าวปริแยกคล้ายใยแมงมุม

สนิม แดงของพระเนื้อชินตะกั่วนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายสี ขึ้นอยู่ที่การผสม ของเนื้อพระหรือสภาวะภายในกรุนั้นๆ พระที่เกิดสนิมแดงเกาะขึ้นบางๆ เราเรียกว่า สนิมลูกหว้า

ถ้าสนิมแดงเกาะค่อนข้างหนา สีสนิมออกแดงม่วงผสมดำ เราเรียกกันว่า สนิมเปลือกมังคุด ส่วนพระองค์ที่มีสนิมแดงเกาะค่อนข้างหนาและเป็นสีค่อนข้างแดงจัด เหมือนสีเลือด เราเรียกว่า สนิมเลือดนก เช่น พระกรุบ้านหัวเกาะ สุพรรณบุรี เป็นต้น

ส่วนพระที่ทำจากเนื้อสำริดนั้น จะมีสภาพคงทน เสื่อมสภาพได้ยากมาก เช่นพระในสมัยศรีวิชัย เชียงแสน หรือลพบุรี เป็นต้น ซึ่งบางองค์มีอายุเป็น ๑,๐๐๐ ปี ยังมีสภาพสวยสมบูรณ์อยู่เลย

พระ เนื้อสำริดนั้น จะมีสนิมออกไซด์เกาะกินเช่นกัน ส่วนจะมากหรือน้อย ก็คงอยู่กับสภาวะที่เก็บ บวกกับระยะเวลาในการสร้างเช่นกัน สนิมที่เกาะในเนื้อสำริด มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด หลายสี เช่น สนิมขุม สนิมสีเขียว สนิมสีแดง สนิมสีดำ และสนิมน้ำเงิน เป็นต้น



สนิม ขุมนั้นเป็นสนิมอย่างเดียวที่ต้องขึ้นกับพระเนื้อสำริด ที่มีอายุการสร้างมากๆ ทุกองค์ ซึ่งถือว่าเป็นตัวชี้ขาดในการพิจารณาความแท้-ปลอมของพระเครื่อง พระบูชาเนื้อสำริดได้เลย ไม่ว่าพระเนื้อสำริดองค์นั้นจะลงกรุหรือไม่ก็ตาม

ลักษณะ ของสนิมขุมพบเห็นด้วยกัน ๒ ลักษณะ คือ สนิมที่เกาะนูนขึ้นมาจากผิวพระ และที่เกาะกินจนเนื้อพระทรุดตัว เป็นหลุม เป็นร่อง ตัวสนิมส่วนมากจะมีสีแดง และสีเขียว ผิวมัน แบบช้ำๆ เกาะติดแน่นจนเป็นเนื้อเดียวกับผิวพระ

ส่วน สีของเนื้อพระที่ถูกสนิมออกไซด์เกาะคลุมผิว ไม่ว่าจะเป็นสนิมสีเขียว สีแดง สีดำ หรือสีน้ำเงิน ส่วนใหญ่จะเป็นพระที่ผ่านการลงกรุแทบทั้งสิ้น สีของสนิมนั้นจะเป็นสีอะไร ก็คงขึ้นอยู่กับสภาวะภายในกรุนั้นๆ

พระ เนื้อสำริดโบราณ ที่มีอายุการสร้างมานาน เนื้อโลหะจะต้องมีลักษณะแห้ง สีจืด ซีด น้ำหนักเบาลงมาก เรียกกันว่า เนื้อหมดยาง การเคลื่อนย้ายต้องระมัดระวัง หากตกก็จะแตกหักง่าย

เนื้อสำริดที่ เห็นทั่วไป ส่วนมากก็เป็นพระบูชา มีทั้งที่บรรจุภายในกรุ ในเจดีย์ และตั้งเก็บไว้เฉยๆ ในวัดวาอาราม หรือในปราสาทราชวัง จึงทำให้สีของสนิมต่างกันไป สนิมที่มีสีดำหรือสีแดง ส่วนมากจะเป็นพระที่ตั้งบูชาเอาไว้เฉยๆ ไม่ได้บรรจุเอาไว้ในกรุ


ถ้า เป็นพระที่บรรจุไว้ภายในกรุ ในเจดีย์ หรือถูกฝังอยู่ใต้ดินนั้น จะมีสนิมเกาะค่อนข้างมาก เรียกว่า สนิมจัด ส่วนใหญ่สนิมจะเป็น สีแดงจัด หรือ เขียวจัด ที่เรียกกันว่า สนิมเขียวหยก

ส่วนสนิมสีน้ำเงินนั้น เป็นสนิมที่พบเจอน้อยมาก จะขึ้นอยู่เหนือสนิมเขียว สนิมแดงอีกชั้นหนึ่ง พูดได้ว่าถ้าพบเจอสนิมสีน้ำเงินในพระนั้น ก็สันนิษฐานได้เลยว่าเป็นพระแท้แน่นอน

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นสนิมสีอะไรก็ตาม เทคโนโลยีพัฒนา ได้ใกล้เคียงมาก ต้องใจเย็นๆ ค่อยๆ ดูให้ดี จะได้ไม่พลาด ไม่ยากเกินไปหรอกครับ

สำหรับ พระบูชาหรือเทวรูป ถ้าเป็นเนื้อสำริด ให้ดูที่เนื้อโลหะก่อนว่าแห้งสนิทไหม ไม่ดูสดตา น้ำหนักต้องเบา (โลหะเซตตัวแล้ว) สนิมสีต่างๆ ต้องกินตัวเข้าไปในเนื้อพระ (ไม่ใช่เหมือนเอาสีย้อมมาทา)

ถ้ามีดิน ใต้ฐาน ดินต้องแห้งสนิท มีฝ้าคราบขาวเกาะหน้าดินแบบธรรมชาติ เมื่อใช้น้ำหยดลงไป ดินต้องดูดน้ำเข้าไปทันที (ของเก๊จะใช้ดินผสมกาวไม่ค่อยดูดน้ำ)

แต่ที่สำคัญที่สุด คือ พระเนื้อสำริดจำเป็นต้องมีสนิมขุมทุกองค์ จะมากหรือน้อยก็ต้องมีเพราะนี่คือ ธรรมชาติของเนื้อพระโลหะสำริดที่มีอายุเก่าแก่


กระเบนท้องน้ำ:
เรื่อง: "ยุค-อายุ" ของ...เหรียญ  


"ยุค-อายุ" ของ...เหรียญ
 
ใน ปัจจุบันนี้ พระเครื่องประเภทเหรียญพระพุทธ และเหรียญคณาจารย์รุ่นเก่าๆ โดยเฉพาะเหรียญหลักยอดนิยมในอันดับต้นๆ มีค่านิยมสูงมาก การทำปลอม จึงมีการพัฒนาวิธีการทำได้ใกล้เคียงของแท้มาก เนื่องจากของปลอมนำเหรียญแท้ไปถอดพิมพ์ จึงทำให้ของปลอมมีจุดตำหนิที่ด้านหน้าและด้านหลังของเหรียญ ใกล้เคียงกับของแท้มาก จะแตกต่างกัน

ที่ความชัดของตัวหนังสือ และความชัดของเส้นแตก รูเจาะหูเหรียญ ตลอดจน ขอบข้างของเหรียญ ซึ่งเป็นจุดสำคัญ ในการพิจารณาเหรียญที่สำคัญที่สุด



ท่านจะ เห็นได้ว่า ในการซื้อ-ขายเหรียญนั้น ผู้ชำนาญการจะจบลงที่การพิจารณาขอบข้างของเหรียญ ซึ่งเป็นบทสรุปในการพิจารณาว่า แท้หรือไม่ เพราะขอบด้านข้างของเหรียญ ยังไม่สามารถปลอมแปลงได้เหมือน เนื่องจากร่องรอยที่เกิดขึ้นที่ด้านข้างของเหรียญนั้น เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ จากขั้นตอนการผลิต

อย่างไรก็ตาม การปั๊มตัดข้างเหรียญนั้น แบ่ง ออกเป็น ๓ ยุค คือ

๑.ยุคประมาณ พ.ศ.๒๔๔๐-พ.ศ.๒๔๘๕

๒.ยุคประมาณ พ.ศ.๒๔๘๖-พ.ศ.๒๔๙๙

๓.ยุคประมาณ พ.ศ.๒๕๐๐-ปัจจุบัน




๑. เหรียญช่วงปี พ.ศ.๒๔๔๐-๒๔๘๕ นิยมสร้างเหรียญที่มีลักษณะเป็นรูปทรงกลม รูปไข่ รูปทรงอาร์ม และทรงเสมา รูปทรงเหรียญทั้งสี่แบบนี้ สามารถแยกกรรมวิธีการสร้างได้เป็น ๒ ชนิด คือ เหรียญปั๊มชนิดข้างเลื่อย และเหรียญปั๊มชนิดข้างกระบอก ซึ่งเหรียญที่มีกรรมวิธีการสร้างทั้ง ๒ ชนิดนี้มีรายละเอียด คือ

เหรียญปั๊มข้างเลื่อย คือ การนำแผ่นโลหะที่มีขนาดใหญ่กว่าขนาดของตัวเหรียญ มาทำการปั๊มขึ้นรูปเหรียญ ให้ได้ตามลักษณะรูปทรงของเหรียญ ตามต้องการ จากนั้นนำมาเลื่อยฉลุโลหะส่วนที่เกินออกมาเป็นเหรียญตามรูปทรงนั้นๆ วิธีการนี้จึงเรียกว่า "เหรียญปั๊มข้างเลื่อย" ซึ่งบริเวณด้านข้างของเหรียญจะปรากฏรอยเลื่อยให้เห็น

เหรียญปั๊ม ข้างกระบอก คือ เหรียญปั๊มข้างกระบอกนั้น ส่วนใหญ่โรงงานปั๊มเหรียญจะทำบล็อกกระบอกเป็นรูปทรงกลม และรูปไข่เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากการทำกระบอกที่จะนำมาปั๊มเหรียญจะมีวิธีทำที่ไม่ยุ่งยาก และไม่เสียเวลามากนัก แต่เหรียญที่มีข้างกระบอกไม่ได้มีเพียงรูปทรงกลมและรูปไข่เท่านั้น รูปทรงเสมาและรูปทรงอาร์มก็มีเช่นกัน แต่น้อยมาก เนื่องด้วยกรรมวิธีการทำที่ยุ่งยากกว่า




เท่าที่พบในการ สร้างเหรียญปั๊มข้างกระบอก รูปทรงอาร์ม และรูปทรงเสมา ในปี พ.ศ.๒๔๔๐-๒๔๘๕ ก็มีเหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติฯ พิมพ์ขอเบ็ด เหรียญหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก พิมพ์หน้าใหญ่ เป็นต้น

การปั๊มแบบข้างกระบอก คือ การนำแผ่นโลหะมาเลื่อยตามรูปทรงของเหรียญที่จะทำการปั๊ม เพื่อเข้ากระบอก และทำการปั๊มรูปเหรียญนั้นๆ แผ่นโลหะที่ถูกแรงกระแทกจากการปั๊มขึ้นรูปนั้นขอบด้านข้างจะปลิ้น ไปเบียดกับขอบกระบอก ที่เป็นตัวบังคับ

ดังนั้น ด้านข้างของเหรียญปั๊มชนิดนี้จึงเรียบเนียน เนื่องจากการปั๊มเข้ากระบอก โดยมีตัวกระบอกเป็นตัวบังคับ แต่หากพบรอยเส้นทิวบางๆ ในขอบข้างของเหรียญชนิดนี้ก็อย่าตกใจ เพราะสาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากการที่ช่างแต่งตัวบล็อกกระบอก ที่จะปั๊มเหรียญไม่เรียบ เวลาปั๊มออกมาจึงมีลักษณะไม่ค่อยเรียบตามตัวบล็อค




๒.เหรียญ ปั๊มข้างตัด (ปั๊มตัดแบบยุคเก่า) การสร้างเหรียญชนิดนี้จะอยู่ในช่วงประมาณ พ.ศ.๒๔๘๖-๒๔๙๙ เนื่องจากการสร้างชนิดแบบเก่าที่มีการเข้ากระบอก และแบบเลื่อยขอบ มีความยุ่งยาก และเสียเวลา อีกทั้งในช่วงนี้เริ่มมีวิวัฒนาการในการสร้างเหรียญปั๊มขึ้นมาตลอด เครื่องจักรก็เริ่มมีความทันสมัยขึ้น โรงงานมีการทำตัวตัดขึ้นเพื่อความสะดวกในการตัดเหรียญให้ขาด โดยไม่ต้องมาเลื่อยให้เสียเวลาอีก

แต่การปั๊มเหรียญและตัดในยุคนั้น จะแตกต่างกับเหรียญในปัจจุบัน คือ ด้านข้างของเหรียญจะมนๆ ไม่ค่อยมีริ้วรอยมากนัก อีกทั้งเหรียญช่วง พ.ศ.นี้ลักษณะของเหรียญด้านหน้าจะนูนเล็กน้อย แต่ด้านหลังจะเป็นแอ่งกระทะ ซึ่งเกิดจากการปั๊มและตัดเหรียญนั่นเอง ตัวอย่างของเหรียญที่สร้างขึ้นในยุคนี้ เช่น เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง บล็อกยันต์วรรค ปี ๒๔๘๖ เป็นต้น




๓.เหรียญปั๊มยุค พ.ศ.๒๕๐๐-ปัจจุบัน ในยุคนี้มีการพัฒนาตัวตัดด้านข้างเหรียญที่ทันสมัย เพื่อความสะดวกในการตัดเหรียญจำนวนมากๆ การพัฒนาตัวตัดยุคนี้จึงค่อนข้างคมชัด บางครั้งในเหรียญหลวงพ่อเดียวกัน มีตัวตัด ๒ ตัว เนื่องจากการสร้างเหรียญในแต่ละครั้งมีจำนวนมากขึ้น เช่น หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ รุ่น ปี พ.ศ.๒๕๐๐ และเหรียญ ๒๕ พุทธศตวรรษ เนื้อทองคำ และเนื้อเงิน ด้วยเหตุนี้ตัวตัดในยุคนี้จึงค่อนข้างคม เพื่อสะดวกในการตัดเหรียญจำนวนมากๆ

อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นวิทยาทานสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องเหรียญ สามารถศึกษาข้อมูลได้ในหนังสือ "เปิดตำนานเหรียญ" ซึ่งเป็นหนังสือที่รวบรวมเหรียญดังทุกยุค ทุกรุ่น ทุกพิมพ์ ที่นิยมในวงการพระเครื่อง รวมทั้งเรื่องของเหรียญเก่า เหรียญแพง เหรียญหายาก ที่ยังไม่มีการทำปลอม โดยจะมีรายละเอียดทั้งด้านหน้า ด้านหลัง และขอบของเหรียญ

ทั้งนี้รายได้ในการจัดทำหนังสือเล่มนี้จะสมทบทุนการจัดสร้างศาลาการเปรียญ วัดวังพิกุลวราราม อ.วังทอง จ.พิษณุโลก




--------------------------------------------------------------------------------
ขอ ขอบคุณข้อมูลโดยการเขียนของคุณ chuthatip จากเวปไซต์  http://www.amulet.in.th/forums/view_topic.php?t=948&sid=9639116b93c7fd17f98aca40c84fe715
และhttp://www.alangkarnprakruang.com/webboard/index.php?topic=24.0

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...