"ภิกษุนั้นกำหนดฐานะ ๑๐ ประการนี้ด้วยปัญญาแล้ว
ย่อมเป็นผู้ฉลาดในอุทธัจจะในธรรม และย่อมไม่ถึงความหลงใหล"
ธัมมุทธัจจวารนิทเทส
แสดงอุทธัจจะในธรรมกั้นไว้
[๖] (ภิกษุ) มีใจถูกอุทธัจจะในธรรมกั้นไว้ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความไม่เที่ยง โอภาสย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงโอภาส
ว่า “โอภาสเป็นธรรม” เพราะนึกถึงโอภาสนั้น ความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมี
ใจถูกอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่รู้ชัดความปรากฏโดยความไม่เที่ยงตามความเป็นจริง
ไม่รู้ชัดความปรากฏโดยความเป็นทุกข์ตามความเป็นจริง ไม่รู้ชัดความปรากฏโดย
ความเป็นอนัตตาตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีใจถูกอุทธัจจะ
ในธรรมกั้นไว้ ในเวลาที่จิตตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่
มรรคก็เกิดแก่เธอ มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ภิกษุย่อม
ละสังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้
เมื่อมนสิการโดยความไม่เที่ยง ญาณ (ความรู้) ย่อมเกิดขึ้น ปีติ (ความอิ่มใจ)
ย่อมเกิดขึ้น ปัสสัทธิ (ความสงบกายสงบใจ) ย่อมเกิดขึ้น สุข (ความสุข) ย่อมเกิดขึ้น
อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ) ย่อมเกิดขึ้น ปัคคหะ (ความเพียรที่พอดี) ย่อมเกิดขึ้น
อุปัฏฐาน (สติแก่กล้า) ย่อมเกิดขึ้น อุเบกขา (ความมีใจเป็นกลาง) ย่อมเกิดขึ้น
นิกันติ (ความติดใจ) ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงนิกันติว่า “นิกันติเป็นธรรม” เพราะนึกถึง
นิกันตินั้น ความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจถูกอุทธัจจะนั้นกั้นไว้อย่างนี้ ย่อม
ไม่รู้ชัดความปรากฏโดยความไม่เที่ยงตามความเป็นจริง ไม่รู้ชัดความปรากฏโดย
ความเป็นทุกข์ตามความเป็นจริง ไม่รู้ชัดความปรากฏโดยความเป็นอนัตตา
ตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีใจถูกอุทธัจจะในธรรมกั้นไว้
ในเวลาที่จิตตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคก็
เกิดแก่เธอ มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ภิกษุย่อมละ
สังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา
โอภาสย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ ญาณย่อมเกิดขึ้น ปีติย่อมเกิดขึ้น ปัสสัทธิย่อมเกิดขึ้น
สุขย่อมเกิดขึ้น อธิโมกข์ย่อมเกิดขึ้น ปัคคหะย่อมเกิดขึ้น อุปัฏฐานย่อมเกิดขึ้น
อุเบกขาย่อมเกิดขึ้น นิกันติย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงนิกันติว่า “นิกันติเป็นธรรม”
เพราะนึกถึงนิกันตินั้น ความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจถูกอุทธัจจะนั้นกั้นไว้
ย่อมไม่รู้ชัดความปรากฏโดยความเป็นอนัตตาตามความเป็นจริง ไม่รู้ชัดความ
ปรากฏโดยความไม่เที่ยงตามความเป็นจริง ไม่รู้ชัดความปรากฏโดยความเป็นทุกข์
ตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีใจถูกอุทธัจจะในธรรมกั้นไว้ ฯลฯ
ภิกษุย่อมละสังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้
เมื่อมนสิการรูปโดยความไม่เที่ยง ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยความเป็นทุกข์
ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยความเป็นอนัตตา เมื่อมนสิการเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยความไม่เที่ยง
ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและ
มรณะโดยความเป็นอนัตตา โอภาสย่อมเกิดขึ้น ญาณย่อมเกิดขึ้น ปีติย่อมเกิดขึ้น
ปัสสัทธิย่อมเกิดขึ้น สุขย่อมเกิดขึ้น อธิโมกข์ย่อมเกิดขึ้น ปัคคหะย่อมเกิดขึ้น
อุปัฏฐานย่อมเกิดขึ้น อุเบกขาย่อมเกิดขึ้น นิกันติย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงนิกันติว่า
“นิกันติเป็นธรรม” เพราะนึกถึงนิกันตินั้น ความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจถูก
อุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่รู้ชัดชราและมรณะซึ่งปรากฏโดยความเป็นอนัตตาตาม
ความเป็นจริง ไม่รู้ชัดชราและมรณะซึ่งปรากฏโดยความไม่เที่ยงตามความเป็นจริง
ไม่รู้ชัดชราและมรณะซึ่งปรากฏโดยความเป็นทุกข์ตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า มีใจถูกอุทธัจจะในธรรมกั้นไว้ ในเวลาที่จิตตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน
มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ โดยความไม่เที่ยง มรรคก็เกิดแก่เธอ มรรค
ย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ภิกษุละสังโยชน์ได้อย่างนี้
อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุมีใจถูกอุทธัจจะในธรรมกั้นไว้อย่างนี้
[๗] จิตย่อมกวัดแกว่ง หวั่นไหว
เพราะโอภาส เพราะญาณ เพราะปีติ
เพราะปัสสัทธิ เพราะสุข
เพราะอธิโมกข์ เพราะปัคคหะ
เพราะอุปัฏฐาน เพราะอุเบกขา
เพราะน้อมนึกถึงอุเบกขาและนิกันติ
ภิกษุนั้นกำหนดฐานะ ๑๐ ประการนี้
ด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้ฉลาด
ในอุทธัจจะในธรรม
และย่อมไม่ถึงความหลงใหล
จิตกวัดแกว่ง เศร้าหมอง
จิตภาวนาย่อมเคลื่อน
จิตกวัดแกว่ง ไม่เศร้าหมอง
จิตภาวนาย่อมเสื่อมไป
จิตบริสุทธิ์ ไม่เศร้าหมอง
จิตภาวนาย่อมไม่เสื่อมไป
จิตไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เศร้าหมอง
จิตภาวนาย่อมไม่เคลื่อน
ด้วยฐานะ ๔ ประการนี้ ภิกษุย่อมรู้ชัดความที่จิตกวัดแกว่ง ฟุ้งซ่าน ถูกโอภาสเป็นต้นกั้นไว้ ด้วยฐานะ ๑๐ ประการนี้ ฉะนี้แล
(ธัมมุทธัจจวารนิทเทส จบ)
ยุคนัทธกถา จบ
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๔๑๓-๔๒๗.
http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=70
"อนึ่ง เพราะพระโยคาวจรเป็นผู้ฉลาด เป็นบัณฑิต เปรื่องปราชญ์ สมบูรณ์ด้วยความรู้ เมื่อโอภาสเป็นต้นเกิดขึ้น ย่อมกำหนด ย่อมสอบสวนโอภาสนั้นด้วยปัญญาว่า โอภาสนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็โอภาสนั้นแลเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นสิ่งปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายราคะเป็นธรรมดา มีการดับกิเลสเป็นธรรมดาด้วยประการดังนี้."
อรรถกถา ยุค นั ท ธ กถา
"ภิกษุนั้นเข้าฌานทั้ง ๒ ซึ่งมีปีติ ออกจากฌานแล้ว ย่อมพิจารณาปีติที่สัมปยุตด้วยฌาน โดยความสิ้น ความเสื่อม, ปีติชื่อว่าเป็นอันภิกษุรูปนั้นรู้แจ้งแล้วโดยความไม่งมงาย เพราะแทงตลอดลักษณะในขณะแห่งวิปัสสนา."
กถาว่าด้วยอานาปานัสสติสมาธิ
....................................................................
อนึ่ง เพราะพระโยคาวจรเป็นผู้ฉลาด เป็นบัณฑิต เปรื่องปราชญ์ สมบูรณ์ด้วยความรู้ เมื่อโอภาสเป็นต้นเกิดขึ้น ย่อมกำหนด ย่อมสอบสวนโอภาสนั้นด้วยปัญญาว่า โอภาสนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็โอภาสนั้นแลเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นสิ่งปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายราคะเป็นธรรมดา มีการดับกิเลสเป็นธรรมดาด้วยประการดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรนั้นมีความดำริอย่างนี้.
หากโอภาสพึงเป็นตัวตน พึงควรที่จะถือเอาว่าเป็นตัวตน แต่โอภาสนี้มิใช่ตัวตน ยังถือกันว่าเป็นตัวตน เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรเมื่อเห็นว่า โอภาสนี้มิใช่ตัวตน เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ จึงถอนทิฏฐิเสียได้.
หากว่า โอภาสพึงเป็นสภาพเที่ยง พึงควรเพื่อถือเอาว่าเป็นสภาพเที่ยง แต่โอภาสนี้เป็นสภาพไม่เที่ยง ยังถือกันว่าเป็นสภาพเที่ยง เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรนี้เมื่อเห็นว่าเป็นสภาพไม่เที่ยง เพราะมีแล้วไม่มีย่อมถอนมานะเสีย.
หากว่า โอภาสพึงเป็นความสุข พึงควรถือเอาว่า เป็นความสุข แต่โอภาสนี้เป็นความทุกข์ ยังถือเอาว่าเป็นความสุข เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรนี้เมื่อเห็นว่าเป็นความทุกข์ เพราะเกิดขึ้นสิ้นไปและบีบคั้น ย่อมถอนความพอใจ ดุจในโอภาส.
แม้ในบทที่เหลือก็อย่างนั้น.
พระโยคาวจรครั้นพิจารณาอย่างนี้แล้ว ย่อมพิจารณาเห็นโอภาสว่า นั่นไม่ใช่เรา เราไม่ใช่นั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เมื่อพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่กวัดแกว่ง ไม่หวั่นไหว ในโอภาสเป็นต้น เพราะฉะนั้น พระอานนทเถระเมื่อแสดงความนั้น จึงกล่าวคาถาว่า อิมานิ ทส ฐานานิ ฐานะ ๑๐ ประการเหล่านี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ทส ฐานานิ คือ มีโอภาสเป็นต้น.
บทว่า ปญฺญายสฺส ปริจฺจิตา ภิกษุนั้นกำหนดด้วยปัญญา คือ กำหนดถูกต้อง อบรมบ่อยๆ ด้วยปัญญา พ้นจากอุปกิเลส.
บทว่า ธมฺมุทฺธจฺจกุสโล โหติ เป็นผู้ฉลาด ในความนึกถึงโอภาสเป็นต้น อันเป็นธรรมฟุ้งซ่าน คือพระโยคาวจรเป็นผู้กำหนดฐานะ ๑๐ อย่างด้วยปัญญา เป็นผู้ฉลาดด้วยการแทงตลอดตามความเป็นจริงแห่งธรรมุทธัจจะ มีประการดังกล่าวแล้วในตอนก่อน.
บทว่า น จ สมฺโมหคจฺฉติ ย่อมไม่ถึงความหลงใหล คือไม่ถึงความหลงใหลด้วยการถอนตัณหา มานะและทิฏฐิ เพราะเป็นผู้ฉลาดในธรรมุทธัจจะ.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=31&A=7564&Z=7861
"ภิกษุนั้นเข้าฌานทั้ง ๒ ซึ่งมีปีติ ออกจากฌานแล้ว ย่อมพิจารณาปีติที่สัมปยุตด้วยฌาน โดยความสิ้น ความเสื่อม, ปีติชื่อว่าเป็นอันภิกษุรูปนั้นรู้แจ้งแล้วโดยความไม่งมงาย เพราะแทงตลอดลักษณะในขณะแห่งวิปัสสนา."
ข้อนี้ สมจริงดังคำที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทาว่า
เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น, ปีตินั้นย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้วด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น, เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว สติย่อมตั้งมั่น, ปีตินั้นย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้วด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น, เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจเข้าสั้น สติย่อมตั้งมั่น, ปีตินั้นย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้วด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น, เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจออกสั้น สติย่อมตั้งมั่น, ปีตินั้นย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้วด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น,
เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวง หายใจเข้าและหายใจออก สติย่อมตั้งมั่น. ปีตินั้นย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้วด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น, เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับกายสังขาร หายใจเข้าและหายใจออก สติย่อมตั้งมั่น, ปีตินั้นย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้วด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น,
เมื่อรำพึงถึง ปีตินั้นย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว, เมื่อรู้ เมื่อเห็น เมื่อพิจารณา เมื่ออธิษฐานจิต เมื่อน้อมใจไปด้วยศรัทธา เมื่อประคองความเพียร เมื่อเข้าไปตั้งสติไว้ เมื่อตั้งจิตไว้มั่น เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา เมื่อรู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อละธรรมที่ควรละ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ปีตินั้นย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว, ปีตินั้นเป็นอันภิกษุรู้แจ้งแล้วด้วยอาการอย่างนี้.๑-
____________________________
๑- ขุ. ปฏิ. เล่ม ๓๑/ข้อ ๔๐๘/หน้า ๒๘๑-๒๘๒.
แม้บทที่เหลือ ก็พึงทราบโดยเนื้อความตามนัยนี้นั่นแล.
แต่ในสองบทนี้มีความสักว่าแปลกกัน ดังต่อไปนี้ :-
พึงทราบความเป็นผู้รู้แจ้งสุข ด้วยอำนาจแห่งฌาน ๓ พึงทราบความเป็นผู้รู้แจ้งจิตสังขาร ด้วยอำนาจแห่งฌานทั้ง ๔. ขันธ์ ๒ มีเวทนาเป็นต้น ชื่อว่าจิตสังขาร.
ก็บรรดาสองบทนี้ ในสุขปฏิสังเวทิบท ท่านพระสารีบุตรเถระกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทา เพื่อแสดงภูมิแห่งวิปัสสนาว่า คำว่า สุข ได้แก่สุข ๒ อย่าง คือ กายิกสุข ๑ เจตสิกสุข ๑.
สองบทว่า ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขารํ ความว่า ระงับ คือดับจิตสังขารที่หยาบๆ เสีย. ความดับจิตสังขารนั้น พึงทราบโดยพิสดารตามนัยดังที่กล่าวแล้วในกายสังขารนั้นแหละ.
อีกอย่างหนึ่ง บรรดาบทเหล่านี้ ในปีติบท ท่านกล่าวเวทนาไว้ด้วยปีติเป็นประธาน, ในสุขปฏิสังเวทิบท ท่านกล่าวเวทนาไว้โดยสรูปทีเดียว, ในจิตสังขารบททั้งสอง เป็นอันท่านกล่าวเวทนาที่สัมปยุตด้วยสัญญาไว้ เพราะพระบาลีว่า สัญญาและเวทนาเป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตสังขาร๒- ดังนี้.
จตุกกะนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยเวทนานุปัสสนานัย ด้วยประการอย่างนี้.
____________________________
๒- ขุ. ปฏิ. เล่ม ๓๑/ข้อ ๔๐๙/หน้า ๒๘๓-๒๘๔.
แม้ในจตุกกะที่ ๓ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
บัณฑิตพึงทราบความเป็นผู้รู้แจ้งจิต ด้วยอำนาจแห่งฌาน ๔.
สองบทว่า อภิปฺปโมทยํ จิตฺตํ ความว่า ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักยังจิตให้บันเทิงคือให้ร่าเริง ได้แก่ให้เบิกบานหายใจเข้าหายใจออก. ในสองบทนั้น ความบันเทิงย่อมมีได้ด้วยอาการ ๒ อย่างคือ ด้วยอำนาจสมาธิและด้วยอำนาจวิปัสสนา.
ถามว่า ความบันเทิงย่อมมีได้ด้วยอำนาจสมาธิอย่างไร?
แก้ว่า ภิกษุย่อมเข้าฌานทั้ง ๒ (ปฐมฌานและทุติยฌาน) ซึ่งมีปีติ. เธอนั้นย่อมให้จิตรื่นเริง ด้วยปีติที่สัมปยุตในขณะแห่งสมาบัติ.
ถามว่า ความบันเทิงย่อมมีได้ด้วยอำนาจวิปัสสนาอย่างไร?
แก้ว่า ภิกษุครั้นเข้าฌานทั้ง ๒ ซึ่งมีปีติ ออกจากฌานแล้วพิจารณาอยู่ซึ่งปีติที่สัมปยุตด้วยฌาน โดยความสิ้น ความเสื่อม. เธอทำปีติสัมปยุตด้วยฌานให้เป็นอารมณ์ ในขณะแห่งวิปัสสนาอย่างนั้นแล้ว ให้จิตรื่นเริง บันเทิงอยู่. ผู้ปฏิบัติอย่างนั้น ท่านเรียกว่าย่อมสำเหนียกว่า เราจักยังจิตให้บันเทิง หายใจเข้าหายใจออก.
สองบทว่า สมาทหํ จิตฺตํ ความว่า ดำรงจิตไว้เสมอ คือตั้งจิตไว้เสมอในอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่งฌานมีปฐมฌานเป็นต้น. ก็หรือว่าเมื่อเธอเข้าฌานเหล่านั้นแล้วออกจากฌาน พิจารณาอยู่ซึ่งจิตที่สัมปยุตด้วยฌานโดยความสิ้น ความเสื่อม. ความที่จิตมีอารมณ์เดียวชั่วขณะ (ขณิกสมาธิ) ย่อมเกิดขึ้น เพราะการแทงตลอดลักษณะในขณะแห่งวิปัสสนา ภิกษุผู้ดำรงจิตไว้เสมอคือตั้งจิตไว้เสมอในอารมณ์ แม้ด้วยอำนาจแห่งความที่จิตมีอารมณ์เดียวชั่วขณะซึ่งเกิดขึ้นแล้วอย่างนั้น ท่านก็เรียกว่า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตไว้มั่น หายใจเข้าหายใจออก.
สองบทว่า วิโมจยํ จิตฺตํ ความว่า เมื่อเปลื้อง เมื่อปล่อยจิตให้พ้นจากนิวรณ์ทั้งหลายด้วยปฐมฌาน คือเมื่อเปลื้อง ปล่อยจิตให้พ้นจากวิตกวิจารด้วยทุติยฌาน จากปีติด้วยตติยฌาน จากสุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน.
ก็หรือว่าเธอเข้าฌานเหล่านั้นแล้วออกมาพิจารณาอยู่ซึ่งจิตที่สัมปยุตด้วยฌาน โดยความสิ้น ความเสื่อม ในขณะแห่งวิปัสสนา เธอนั้นเปลื้องคือปล่อยจิตให้พ้นจากนิจจสัญญา (ความสำคัญว่าเที่ยง) ด้วยอนิจจานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง), เปลื้องคือปล่อยจิตให้พ้นจากสุขสัญญา (ความสำคัญว่าเป็นสุข) ด้วยทุกขานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นว่าเป็นทุกข์), จากอัตตสัญญา (ความสำคัญว่าเป็นตัวตน) ด้วยอนัตตานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นว่าไม่ใช่ตัวตน), จากนันทิ (ความเพลิดเพลิน) ด้วยนิพพิทานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย), จากราคะ (ความกำหนัด) ด้วยวิราคานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นธรรมเครื่องคลายความกำหนัด), จากสมุทัย (ตัณหาที่ยังทุกข์ให้เกิด) ด้วยนิโรธานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นธรรมเห็นเครื่องดับ), จากอาทาน (ความยึดถือ) ด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นธรรมเป็นเครื่องสละคืนซึ่งอุปธิ) หายใจเข้าและหายใจออกอยู่.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักปล่อยจิตหายใจเข้า หายใจออก.
จตุกกะนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจแห่งจิตตานุปัสสนาอย่างนี้.
ส่วนในจตุกกะที่ ๔ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
ในบทว่า อนิจฺจานุปสฺสี นี้ พึงทราบอนิจจัง (ของไม่เที่ยง) พึงทราบอนิจจตา (ความเป็นของไม่เที่ยง) พึงทราบอนิจจตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นของไม่เที่ยง) พึงทราบอนิจจานุปัสสี (ผู้พิจารณาเห็นของไม่เที่ยง) เสียก่อน.
ในลักษณะ ๔ อย่างมีอนิจจังเป็นต้นนั้น ที่ชื่อว่าอนิจจัง ได้แก่เบญจขันธ์ เพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่า เบญจขันธ์มีความเกิดขึ้น มีความเสื่อมไปและมีความเป็นไปโดยประการอื่น.
ที่ชื่อว่าอนิจจตา ได้แก่ ข้อที่เบญจขันธ์เหล่านั้นนั่นเองมีความเกิดขึ้น มีความเสื่อมไปและมีความเป็นไปโดยอาการอื่น หรือมีแล้ว กลับไม่มี.
อธิบายว่า เบญจขันธ์เหล่านั้นเกิดขึ้นแล้ว ไม่ตั้งอยู่โดยอาการนั้นนั่นแล แตกดับเพราะความแตกดับไปชั่วขณะ.
ที่ชื่อว่าอนิจจานุปัสสนา ได้แก่ การพิจารณาเห็นในเบญจขันธ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้นว่าไม่เที่ยง ด้วยอำนาจแห่งความเป็นของไม่เที่ยงนั้น.
ที่ชื่อว่าอนิจจานุปัสสี ได้แก่ พระโยคาวจรผู้ประกอบด้วยอนุปัสสนานั้น. เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจรผู้เป็นแล้วอย่างนี้หายใจเข้าและหายใจออกอยู่ บัณฑิตพึงทราบในอธิการนี้ว่า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นว่า ไม่เที่ยง หายใจเข้า หายใจออก.
ส่วนวิราคะ ในบทว่า วิราคานุปัสสี นี้มี ๒ อย่าง คือ ขยวิราคะ คลายความกำหนัด คือความสิ้นไป ๑ อัจจันตวิราคะ คลายความกำหนัดโดยส่วนเดียว ๑.
บรรดาวิราคะ ๒ อย่างนั้น ความแตกดับไปชั่วขณะแห่งสังขารทั้งหลาย ชื่อว่าขยวิราคะ. พระนิพพาน ชื่อว่าอัจจันตวิราคะ. วิปัสสนาและมรรคที่เป็นไปด้วยอำนาจแห่งการเห็นวิราคะทั้ง ๒ อย่างนั้น ชื่อว่าวิราคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นการคลายความกำหนัด). พระโยคาวจรเป็นผู้ประกอบด้วยอนุปัสสนาแม้ทั้ง ๒ อย่างนั้น หายใจเข้าและหายใจออกอยู่ บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นวิราคะหายใจเข้าหายใจออก.
แม้ในบทว่า นิโรธานุปัสสี ก็มีนัยเหมือนกันนี้.
ปฏินิสสัคคะ (ความสละคืออุปธิ) แม้ในบทว่า ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี นี้ก็มี ๒ อย่าง คือปริจจาคปฏินิสสัคคะ ความสละคืนคือความเสียสละ ๑ ปักขันทนปฏินิสสัคคะ ความสละคืนคือความแล่นไป ๑. การพิจารณาเห็น คือความสละคืนนั่นเอง ชื่อว่าปฏินิสสัคคานุปัสสนา.
คำว่า ปฏินิสสัคคานุปัสสนา นั่นเป็นชื่อแห่งวิปัสสนาและมรรค.
จริงอยู่ วิปัสสนา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า การสละคืนคือการละ เพราะย่อมละกิเลสทั้งหลายพร้อมทั้งขันธาภิสังขาร ด้วยอำนาจตทังคปหาน และว่าการสละคืนคือการแล่นไปเพราะย่อมแล่นไปในพระนิพพานซึ่งผิดจากสังขารนั้น เหตุที่น้อมไปในพระนิพพานนั้น เพราะเห็นโทษแห่งสังขตธรรม.
มรรค พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า การสละคืนคือการละ เพราะย่อมละกิเลสพร้อมทั้งขันธาภิสังขาร ด้วยสามารถสมุจเฉทปหาน และว่า การสละคืนคือการแล่นไป เพราะย่อมแล่นไปในพระนิพพาน ด้วยการกระทำให้เป็นอารมณ์.
ก็วิปัสสนาญาณและมรรคญาณแม้ทั้ง ๒ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า อนุปัสสนา เพราะเล็งเห็นญาณต้นๆ ในภายหลัง. ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนาทั้ง ๒ อย่างนั้น หายใจเข้าและหายใจออกอยู่ บัณฑิตพึงทราบว่า สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้มีปกติเล็งเห็นญาณชื่อปฏินิสสัคคะในภายหลัง หายใจเข้าหายใจออก ดังนี้.
คำว่า เอวํ ภาวิโต ความว่า เจริญแล้วด้วยอาการอย่างนี้ คือด้วยอาการ ๑๖ อย่าง. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
กถาว่าด้วยอานาปานัสสติสมาธิ จบ.
คลิกเพื่ออ่านทั้งหมด
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=01.0&i=176&p=2
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น