22 กันยายน 2563

สติปัฏฐาน ๔ ก็อย่างหนึ่ง สติปัฏฐาน ๔ ภาวนาก็อย่างหนึ่ง

สติปัฏฐาน ๔ ก็อย่างหนึ่ง สติปัฏฐาน ๔ ภาวนาก็อย่างหนึ่ง
...บริขารแห่งสมาธิ ๗ ประการ...
สนทนาธรรม เช้าวันอาทิตย์ - 20-09-2563 - พุทธวจน โดยพระอาจารย์คึกฤทธิ์ วัดนาป่าพง (Cr. online-video-cutter.com)
CR. nirdukkha : นิรทุกข์ I พุทธวจน ธรรมะเข้าใจง่าย
https://www.youtube.com/user/nirdukkha
บริขารแห่งสมาธิ ๗ ประการนี้ อันพระผู้มีพระภาค ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติดีแล้วเพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งสัมมาสมาธิ 
บริขารแห่งสมาธิ ๗ ประการ เป็นไฉน 
คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ.
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย 
ความที่จิตตั้งมั่น แวดล้อมด้วยองค์ ๗ นี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สัมมาสมาธิอันเป็นอริยะมีอุปนิสัย ดังนี้บ้าง มีบริขารดังนี้บ้าง ฯ
ท่านผู้เจริญ 
สัมมาสังกัปปะ ย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมาทิฐิ 
สัมมาวาจา ย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมาสังกัปปะ
สัมมากัมมันตะ ย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมาวาจา
สัมมาอาชีวะ ย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมากัมมันตะ 
สัมมาวายามะ ย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มี
สัมมาอาชีวะ 
สัมมาสติ ย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมาวายามะ 
สัมมาสมาธิ ย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มี
สัมมาสติ 
สัมมาญาณะ ย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมาสมาธิ 
สัมมาวิมุตติ ย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมาญาณะ ฯ
ท่านผู้เจริญ 
ก็บุคคลเมื่อกล่าวถึงข้อนั้นโดยชอบ พึงกล่าวว่าพระธรรม อันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฉะนั้น ประตูพระนิพพาน เปิดเพื่อท่านแล้ว บุคคลเมื่อกล่าวโดยชอบกะบุคคลผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้นในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พึงกล่าวว่า ก็พระธรรม อันพระผู้มีพระภาค ตรัสดีแล้ว อันบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฉะนั้น ประตูพระ
นิพพานเปิดเพื่อท่านแล้ว ฯ

พระไตรปิฎกภาษาไทย(ฉบับหลวง)
เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๑๖๖ ข้อที่ ๒๐๖.

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...