16 ตุลาคม 2564

อสุภะกรรมฐาน ๓๒ ประการ

⚔️⚔️

ดูก่อนอานนท์!!
บุคคลผู้ใดปรารถนา​ พระนิพพาน จงยังอสุภ กรรมฐานในตนให้เห็นแจ้งชัดเถิด 

ครั้งไม่เห็นก็ให้พิจารณา ปฏิกูลสัญญาลงในตนว่า 

แม้ตัวของเรานี้ถึงยังมีชีวิตอยู่ ก็เป็นของน่าพึงเกลียดพึงเบื่อหน่ายยิ่งนัก 

ถ้าหากว่าไม่มี หนังหุ้มห่อไว้แล้ว ก็จะเป็นของน่าเกลียดเหมือนอสุภะแท้

เพราะมีหนังหุ้มห่อไว้จึงพอดูได้

⚔️⚔️

อันที่แท้ตัวตนแห่งเรานี้ จะตั้งอยู่ได้ก็ด้วยลมอัสสาสะ ปัสสาสะเท่านั้น 

ถ้าขาดลมหายใจเข้าออกแล้ว ตัวตนนี้ก็จะเน่าเปื่อยผุพังไป

แต่นั้นก็จะเป็นอาหารของสัตว์ทั้งหลายมีหนอนเป็นต้น จะมาเจาะไชกิน 

ส่วนลมหายใจเข้าออกซึ่งเป็นเจ้าชีวิต นั้นเล่า ก็เป็นอนัตตา 

ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ของของตัว เขาอยากอยู่ เขาก็อยู่ เขาอยากดับเขาก็ดับ 

เราจะบังคับบัญชาไม่ได้ ตามปรารถนา 

ถ้าขาดลมหายใจเข้าออกแล้ว ความสวย ความงามในตน และความสวยความงามภายนอก

คือ บุตรภรรยาและข้าวของเงินทองเครื่องอุปโภคบริโภคทั้งปวง ก็ย่อมหายไปสิ้นด้วยกันทั้งนั้น

เหลียวซ้ายแลขวาจะได้เห็นบุตรภรรยาและหลานก็หามิได้

ต้องอยู่คนเดียวในป่าช้าหาผู้ใดจะเป็นเพื่อนสองมิได้ 

⚔️⚔️

ดูก่อนอานนท์ บุคคลผู้ใดพิจารณาเห็นอสุภะกรรมฐาน ๓๒ ประการ

เห็นซากผีดิบในตน ชื่อว่าได้ถือเอาความสุขในทางพระนิพพาน 

วิธีเจริญอสุภกรรมฐานตามลำดับ คือ ให้ปลงจิตลงในเกสา (ผม) ให้เห็นเป็นอสุภะ แล้วให้สำคัญในเกสานั้นว่าเป็นอนัตตา

แล้วให้เอาโลมา (ขน) ตั้งลงปลงจิตให้เห็นเป็นอสุภะเป็น อนัตตา 

แล้วเอานขา (เล็บ) ทันตา (ฟัน) ตั้งลงปลงจิต ให้เห็นเป็นอสุภะเป็นอนัตตา 

แล้วให้เอาตโจตั้งลงตาม ลำดับไป​ จนถึงมัตถเกมัตถลุงคังเป็นที่สุด

พิจารณาให้เห็นเป็นอสุภะเป็นอนัตตาโดยนัยเดียวกัน 

⚔️⚔️

ดูก่อนอานนท์ เรา ตถาคตแสดงมานี้โดยพิสดาร 
ให้กว้างขวางทั้งเบื้องต้นและ เบื้องปลาย

แท้จริงบุคคลผู้มีปัญญารู้แล้ว ก็ให้สงเคราะห์ลงใน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เท่านั้น

บุคคลผู้มีปัญญา จะเจริญอสุภกรรมฐาน ท่านมิได้เจริญแต่ต้นลำดับไปจน ถึงปลาย​ เพราะเป็นการเนิ่นช้า

ท่านยกอาการอันใดอันหนึ่งขึ้นพิจารณาสงเคราะห์ลงใน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ท่านก็ย่อมได้ถึงมรรคผลนิพพานโดยสะดวก

⚔️⚔️

การที่เจริญ อสุภกรรมฐานนี้ ก็เพื่อจะให้เบื่อหน่ายในร่างกายของตน

อันเห็นว่าเป็นของสวยของงามทั้งวัตถุภายในและภายนอก ให้เห็นเป็นของเปื่อยเน่าผุพัง

จะได้ยกตนให้พ้นจากกิเลส ตัณหา 

ผู้มีปัญญารู้แล้วไม่ควรชื่นชมยินดีในรูปตนและผู้อื่น

ทั้งรูปหญิงรูปชาย ทั้งวัตถุข้าวของดีงามประณีตบรรจงอย่างใดอย่างหนึ่งเลย

เพราะว่าความรักทั้งปวงนั้นเป็นกอง กิเลสทั้งสิ้น

ถ้าห้ามใจให้ห่างจากกองกิเลสได้ จึงจะได้รับ ความสุขทั้งชาตินี้และชาติหน้า

ถ้าหากใจยังพัวพันอยู่ใน กองกิเลสแล้ว ถึงแม้จะได้รับความสุขสบายก็เพียงชาตินี้ เท่านั้น

เบื้องหน้าต่อไปไม่มีทางที่จะได้เสวยสุข มีแต่ เสวยทุกข์โดยถ่ายเดียว

ผู้มีปัญญาเมื่อได้เจริญอสุภานุสสติ กรรมฐาน เอาทวัตติงสาการ ๓๒ เป็นอารมณ์

ก็ควรละกองกิเลสตัณหาให้ขาดสูญ

⚔️⚔️

เมื่อรู้แล้วปฏิบัติตามจึงจะเห็น ผลเป็นกุศลต่อไป

เมื่อรู้แล้วไม่ปฏิบัติตามก็หาผลอานิสงส์ มิได้ เพราะละกิเลสตัณหามิได้

เปรียบเหมือนบุคคลผู้ตก เข้าไปในกองเพลิง เมื่อรู้ว่าเป็นกองเพลิง

ก็รีบหลีกออกหนี จึงจะพ้นความร้อน

ถ้ารู้ว่าตัวตกเข้าอยู่ในกองเพลิง แต่มิได้พยายามที่จะหลีกออกหนีออก

จะพ้นจากความร้อน ความไหม้อย่างไรได้ 

ข้ออุปมานี้ฉันใด บุคคลรู้แล้วว่าสิ่งนี้เป็นโทษแต่มิได้ละเสีย

ก็มิได้พ้นจากโทษเหมือนกับผู้ไม่พ้นจากกองเพลิงฉะนั้น

⚔️⚔️

ดูก่อนอานนท์ ผู้รู้แล้วมิได้ทำตามนั้น จะนับว่าเป็นคนรู้ไม่ได้ เพราะไม่เกิดมรรคเกิดผลเลย 

เราตถาคตอนุญาตตั้งศาสนธรรมคำสั่งสอนไว้นี้

ก็เพื่อว่า เมื่อผู้รู้แล้วว่าสิ่งใดเป็นโทษให้ละเสีย

มิใช่ตั้งไว้เพื่ออ่านเล่น ฟังเล่น พูดเล่น เท่านั้น 

บุคคลทั้งหลายล้วนเสวยทุกข์ในมนุษย์และในอบายภูมิทั้งนั้น ไม่ใช่สิ่งอื่นเลย

เป็นเพราะ กิเลสราคะตัณหาอย่างเดียว

ถ้าบุคคลผู้ยังไม่พ้นจากกิเลสราคะตัณหาตราบใด ก็ยังไม่เป็นผู้พ้นจากอบายทุกข์ได้ จนตราบนั้น

.. 

คัดลอกมาจาก คีรีมานนทสูตร

🦌🦌

บทพิจารณาอาการ ๓๒ ประการ

อะยัง โข เม กาโย-กายของเรานี้แล

อุทธัง ปาทะตะลา-เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา

อะโธเกสะมัตถะกา-เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป

ตะจะปะริยันโต-มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ

ปุโรนานัปปะการัสสะ อสุจิโน-เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ

อัตถิ อิมัสมิง กาเย-มีอยู่ในกายนี้

เกสา-ผมทั้งหลาย

โลมา-ขนทั้งหลาย

นะขา-เล็บทั้งหลาย

ทันตา-ฟันทั้งหลาย

ตะโจ-หนัง

มังสัง-เนื้อ

นะหารู-เอ็นทั้งหลาย

อัฏฐี-กระดูกทั้งหลาย

อัฏฐิมิญชัง-เยื่อในกระดูก

วักกัง-ม้าม

หะทะยัง-หัวใจ

ยะกะนัง-ตับ

กิโลมะกัง-พังผืด

ปิหะกัง-ไต

ปัปผาสัง-ปอด

อันตัง-ไส้ใหญ่

อันตะคุณัง-สายรัดไส้

อุทะริยัง-อาหารใหม่

กะรีสัง-อาหารเก่า

ปิตตัง-น้ำดี

เสมหัง-น้ำเสลด

เสโท-น้ำเหงื่อ

เมโท-น้ำมันข้น

อัสสุ-น้ำตา

วะสา-น้ำมันเหลว

เขโฬ-น้ำลาย

สิงฆานิกา-น้ำมูก

ละสิกา-น้ำมันไขข้อ

มุตตัง-น้ำมูตร

มัตถะเก มัตถะลังคัง-เยื่อในสมอง

เอวะมะยัง เม กาโย-กายของเรานี้อย่างนี้

อุทธังปาทะตะลา-เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา

อะโธเกสะมัตถะกา-เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป

ตะจะปะริยันโต-มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ

ปุโรนานัปปะการัสสะ อะสุจิโน- เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆอย่างนี้แล

..

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...