29 มิถุนายน 2563

ท่านปู่ - ท่านย่า (พระอินทร์ - พระชายา) ณ วัดจันทาราม (ท่าซุง) อุทัยธานี


...คำนี้เป็นคำที่ลูกหลานหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) นิยมเรียกกัน ท่านเล่าว่าเคยเป็น "พ่อแม่" ของหลวงพ่อมานับชาติไม่ถ้วน

โดยเฉพาะสมัยพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า "พระพุทธกัสสป" ดินแดนทางภาคเหนือ พ่อเมืองใหญ่ชื่อ "ศรีธรรมวราบดี" คือพระอินทร์องค์ปัจจุบัน พระบรมราชินีชื่อว่า "ศิริจันทราราชเทวี" คือพระชายาองค์ปัจจุบันของพระอินทร์
แล้วลูกเมืองก็ชื่อ "ศรีทรงธรรม" กับ "พรรณวดีศรีโสภาค" ครองอาณาจักรข้างเหนือไปยันเชียงตุง ข้างใต้กินไปถึงเมืองลพบุรี ตอนนั้นยังเป็นชายทะเลอยู่ แล้วไปถึงนครปฐม เป็นเมืองที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก ส่วนมากก็ทำการค้าขายกับกสิกรรม ๒ อย่าง มีความเป็นอยู่เป็นสุข โดยมากอยู่กันโดยธรรม ไม่รุกรานใคร

พระเจ้าศรีทรงธรรมได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ

...ต่อมามีพวกแขกอาบัง อยู่ต่อจากอิมพันออกไป พวกนี้นิสัยไม่ดีเกกมะเหรก ถือว่ามีพวกมากกว่าก็จะมารุกราน เรียกว่าชาวปาฐะ เมื่อมันโกงเราก็รวมกับเมืองเพื่อนอีก ๒ เมือง ตีกันไปมันสู้ไม่ได้เราก็ยึดเรื่อยไป พอตีแดนนี้หมดเลยได้เครื่องจักรพรรดิ คราวนี้เลยไม่ต้องตี เหาะได้แล้ว ทีนี้ใครๆ ก็มาขอขึ้น

(ผู้เรียบเรียง อธิบาย - บุคคลใดได้เป็น "พระเจ้าจักรพรรดิ" จะเป็นผู้ปกครองในทวีปทั้ง ๔ ในกาลนั้นจะมีแก้ว ๗ ประการ ปรากฏขึ้นเป็นของคู่พระบารมี คือ แก้วมณีรัตนะ, จักรแก้ว, นางแก้ว, ขุนพลแก้ว, ขุนคลังแก้ว, ช้างแก้ว, ม้าแก้ว)

หลวงพ่อเล่าต่อไปว่า ท่านบอกว่าการเกิดชาตินี้ เป็นการชำระกรรมครั้งสุดท้ายของพวกนี้ทั้งหมด คือพวกถวายเครื่องประดับกับพระพุทธเจ้านี่แหละ จากชาตินี้ก็ยกล้อกันแล้ว คือตายไปแล้ว ไปเป็นเทวดาบ้าง เป็นพรหมบ้าง บางคนก็จะไปนิพพานในชาตินี้บ้าง
พวกที่ไปเป็นเทวดาเป็นพรหมน่ะ เกิดอีกชาติเดียวก็นิพพานไม่มีเหลือ เพราะอำนาจการถวายเครื่องประดับเป็นพุทธบูชา

คาถาบูชาท่านปู่-ท่านย่า
ตั้งนะโม ๓ จบ ก่อนจากนั้นว่า

สะหัสสะเนตโต เทวินโท ทิพพะจักขุง วิโสทายิ

...ปกติให้ท่องก่อนนอนอยู่เสมอ แต่เวลาทำข้อสอบให้อ่านข้อสอบก่อน เขียนตอบข้อที่รู้ก่อน ส่วนข้อที่ตอบไม่ได้ให้คว่ำข้อสอบลง ตั้งใจขอบารมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พรหม เทวดาทั้งหมด มีท่านปู่พระอินทร์เป็นที่สุด ขอให้ทำข้อสอบนี้ได้ถูกต้องและก็ถูกใจผู้ตรวจข้อสอบด้ว
ตั้งใจว่านะโม ๓ จบ แล้วก็ว่าคาถานี้ ๓ จบ แล้วพลิกขึ้นมาอ่านคำถามดู ถ้ายังทำได้ไม่หมดก็คว่ำลง ว่าคาถาอีก ๗ จบ (ไม่ต้องตั้งนะโม) คราวนี้รู้สึกอยากตอบอย่างไรก็ให้ทำไปเลย (ต้องทำเงียบๆ โดยไม่ให้ผู้อื่นรู้)

ที่มา
#เรียบเรียงโดย พระอาจารย์ชัยวัฒน์ อชิโต

28 มิถุนายน 2563

#กรรมฐานแบบคนขี้เกียจ


การเจริญกรรมฐานจริงๆ ถ้าทำเป็นล่ำเป็นสันมันอาจจะเกินพอดีไปก็ได้ เอากันแบบคนขี้เกียจ แต่ตายแล้วไม่ลงนรกดีกว่า ง่ายดีนะ คนขี้เกียจเขาทำแบบนี้

ก่อนนอนหลับใจนึกถึงพระพุทธเจ้าหรือนึกถึงพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งโดยเฉพาะที่เราชอบ จิตก็จับลมหายใจเข้าออก ภาวนา " #พุทโธ" ก็ได้ อะไรก็ได้นะ

เอาพุทโธเป็นเกณฑ์ก็แล้วกัน หายใจเข้านึกว่า " #พุท" หายใจออกนึกว่า " #โธ" เพียงแค่ ๒ - ๓ ครั้ง มันหลับไปก็ใช้ได้ ขณะที่ภาวนาอยู่ถ้าจิตเข้าไม่ถึงฌานมันจะไม่หลับ ถ้าจิตสงบถึงฌานมันจะตัดหลับทันที

จะเป็นฌานขั้นไหนก็ตาม ขณะที่หลับอยู่กี่ชั่วโมงก็ตาม ท่านถือว่า ทรงฌานตลอดเวลา ถ้าตายเวลานั้นจะเป็นพรหมทันทีเป็นอย่างน้อย

ถ้าบังเอิญก่อนจะตายก่อนจะหลับเรานึกถึงพระนิพพาน ภาวนาด้วย นึกถึงนิพพานไว้ก่อนด้วย แล้วก็หลับ จิตเป็นฌานก็หลับเขาถือว่าจิตทรงฌานในด้านของนิพพานที่เรียกว่า #อุปสมานุสสติกรรมฐาน ถ้าตายเวลาหลับจะไปนิพพานทันที

ถ้ามันไม่ตาย มันตื่น ก่อนจะขยับตัวไปไหน ก่อนจะหลับจิตเราเป็นฌาน เมื่อตื่นขึ้นแล้วฌานยังไม่คลายตัวยังทรงอยู่ก็เริ่มจับลมหายใจเข้าออกใหม่ ภาวนาใหม่แค่ ๒ - ๓ ครั้งก็ตาม เพียงแค่นี้ทำทุกวัน ทุกคนเวลาจะตายจะไม่นึกถึงอกุศลจะนึกเฉพาะกุศลอย่างเดียว ถ้าทำอย่างนี้ทุกวัน ทำแบบคนขี้เกียจนะ ฉันมันคนขี้เกียจก็เลยสอนให้ลูกศิษย์เป็นคนขี้เกียจด้วย

ถ้าทำอย่างนี้ทุกวัน ถ้าเราป่วยหนักขนาดไหนก็ตาม ถ้ายังไม่เห็นเทวดา ไม่เห็นนางฟ้า ไม่เห็นพรหม ไม่เห็นพระอริยเจ้า ไม่เห็นพระพุทธเจ้า ยังไม่ตาย

ถ้าขณะที่ป่วยถึงแม้มันจะไม่หนัก เห็นเทวดาเห็นนางฟ้าเต็มจักรวาล เห็นพรหม เห็นพระอริยเจ้า เห็นพระพุทธเจ้า คราวนั้นตายแน่

ถ้าก่อนจะตายทุกขเวทนาหนัก ปวดเสียด แต่ก่อนจะตายจริงสักอย่างน้อยที่สุด ๒๐ นาที หรืออาจจะ ๒ - ๓ วันก็ได้นะ จิตที่มีทุกขเวทนามันจะหายไป จิตจะไปจับที่เทวดา ที่นางฟ้า ที่พรหม ที่พระอริยเจ้า มีความเพลิดเพลินคุยกับท่านแบบสบายๆ และในที่สุดจิตก็ดับ ก็ไปสวรรค์ ไปพรหมโลก ไปนิพพานได้ตามชอบใจ

🔳..ก่อนจะหลับให้ภาวนาว่า " #พุทโธ" สัก ๒ - ๓ ครั้ง แล้วภาวนาว่า
#นิพพานัง_สุขัง" ไปจนกว่าจะหลับ

🔳..เมื่อเวลาตื่นขึ้นมาใหม่ๆ ให้ภาวนาว่า
#นิพพานัง_สุขัง"สัก ๒ - ๓ ครั้ง อย่างนี้ทุกคืน จะไปนิพพานได้ในชาตินี้

🔳ใครภาวนา "นิพพานัง สุขัง" ไม่ได้ ให้ภาวนาว่า "พุทโธ" อย่างน้อยที่สุดตายจากชาตินี้แล้วไปสวรรค์

#พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน
วัดจันทาราม(ท่าซุง)จ.อุทัยธานี
📖:พ่อสอนลูก หน้า ๑๗๘-๑๗๙
🖋..Moddam Thammawong

การเจริญภาวนาจิตนี้เป็นการบ่มจิตกำจัดกิเลสและมารทั้งหลาย


การเจริญภาวนาจิตนี้เป็นการบ่มจิตให้จิตเกิดความร้อนภายใน ให้มันเกิดความสว่างภายใน คือโยมต้องเจริญมนต์เจริญภาวนา เพราะมันกำจัดอวิชชาหรือคุณลมคุณไสยทั้งปวงที่เรานั้นถูกถอดถอนมา ด้วยอำนาจเวรกรรมที่เราสร้างมา ด้วยการสาปแช่งก็ดี สิ่งเหล่านี้เรียกว่าคุณลมคุณไสยทั้งนั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ

คนที่ถูกสาปแช่งซะแล้วชีวิตหาความเจริญได้ยาก แต่ถ้าเราไม่เคยสาปแช่งใคร แต่ถ้าใครสาปแช่งมา..สิ่งนั้นย่อมเข้าตัวบุคคลนั้นไม่ได้ ย่อมไปทำลายพินาศกับบุคคลที่เป็นผู้ที่สาปแช่ง มันก็ไม่ต่างอะไรกับบุคคลที่มีไฟ ย่อมให้โทษกับบุคคลที่ถือ นั้นการภาวนานี้จะทำให้โยมนั้นจิตตื่นรู้ จิตสว่าง แม้โยมจะอยู่ในที่มืดก็ตาม

เมื่อใครมีองค์ภาวนาแล้ว ความกลัวก็ดี ความสะดุ้งผวา ขนลุกขนพองสยองเกล้าก็ดีนั้น..จักไม่มี ด้วยอำนาจการภาวนา ถ้าผู้ใดกลัวตกนรกให้ภาวนาว่า พุทธัง สรณัง คัจฉามิ, ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ, สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ให้ภาวนาไว้ นรกจะไม่ต้องการโยม เพราะแม้ในขณะจิตสุดท้ายโยม แม้จะมีเวทนามาคืบคลานจิต มัดจิต ตราตรึงจิตในกายสังขาร..ว่าโยมเกิดเวทนาเพียงใดก็ตาม แต่อานุภาพที่โยมเคยภาวนาไว้จักมารวมตัวในจิตสุดท้าย จักให้ผลน้อมนำโยมนั้นพ้นจากนรกอเวจีหรือภัยพิบัติทั้งปวง..

แต่ถ้าโยมต้องการไปสวรรค์นิพพาน มันต้องมีคาถาสืบสร้างเสียก่อน รู้จักมั้ยจ๊ะ คาถาสืบสร้างสวรรค์นิพพานน่ะจ้ะ อ้าว..ใครรู้จักคาถาสืบสร้างทางสวรรค์นิพพานบ้างจ๊ะ (ลูกศิษย์ : พุทธะ พุทธา พุทเธ พุทโธ พุทธัง อะระหัง พุทโธ อิติปิโส ภะคะวา นะโม พุทธายะ) โยมต้องจำไว้นะจ๊ะ คราใดที่โยมออกเปล่งวาจาในคาถาใดก็ตาม..ต้องพนมมือ ถ้าว่าในใจไม่จำเป็นต้องพนมมือ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

ดังนั้นไม่ว่าคาถาอันใดนั้นเราต้องนอบน้อม เพราะจักเป็นคุณและก็กลับเป็นโทษ ดังนั้นการภาวนานี้สำคัญนัก แม้องค์พระสัพพัญญู พระอรหันต์ขีณาสพทั้งหลาย..ก็จักภาวนา เพราะการภาวนานี้บอกได้ว่ามีคุณวิเศษอย่างไร แม้ภัยจะมาทั่วสารทิศ แต่ผู้ใดมีภาวนาอยู่..ภัยนั้นก็จักกล้ำกรายไม่ได้ ด้วยอานิสงส์อานุภาพแห่งการภาวนาจิตนี้ ย่อมตราตรึงไตรภพอยู่ถึงสามโลกธาตุ สามภพภูมิทั้งหลายทั้งปวง ดังนั้นการภาวนาจิตนี้เมื่อจิตรวมตัวกันแล้ว ด้วยอำนาจแห่งดิน น้ำ ไฟ ลม จิตย่อมตั้งมั่นในคุณงามความดีทั้งหลาย พระธรรมธาตุทั้งหลาย เทวดาทั้งหลายย่อมมาห้อมล้อมในขณะบุคคลผู้นั้นเจริญจิตอยู่..ย่อมมีอานุภาพมาก เข้าใจมั้ยจ๊ะ


ที่มา

ธรรมะมหัศจรรย์ วันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๐
ณ สถานปฏิบัติธรรมพรหมรังสี บ้านโปร่งวิเชียร จ.เพชรบุรี
โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ (เพชรบุรี)
๐๘๔ ๘๙๓๖๙๖๑ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒ (กรุงเทพ)

ตะกรุดคู่ชีวิต เนื้อทองแดง ที่หลวงพ่อโพธิ์ วัดวังหมาเน่า




ตะกรุดคู่ชีวิต เนื้อทองแดง ที่หลวงพ่อโพธิ์ วัดวังหมาเน่า จารและปลุกเสกเอง ให้ลูกศิษย์ช่วยเชื่อมวงแหวนปิดตะกั่วหัว ท้ายให้ เพื่อไม่ให้ตะกรุดดอกในหลุดหาย จึงเป็นที่มาตะกรุดคู่ชีวิต เพราะมีสองดอกนั้นเอง

หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง ลูกศิษย์สืบสานต่อเต็มรูปแบบของหลวงพ่อโพธิ์ หลวงพ่อพิธ ไม่ใช่ลูกศิษย์หลวงพ่อเงินตามที่เข้าใจ แต่เป็นศิษย์หลวงพ่อโพธิ์ เช่นเดียวกับหลวงพ่อเงิน เพียงเป็นศิษย์รุ่นน้องและอาจติดตามหลวงพ่อเงินเพื่อหาประสบการณ์ครับ

จงรับรู้พลังอำนาจของกายละเอียดที่มีอยู่ในกายเนื้อของเรา?...


พลังอำนาจของกายละเอียด แท้จริงแล้ว คือ "พลังจิตใต้สำนึก" ของกายเนื้อเรานั่นเอง
ดังที่พวกเราทราบกันดีแล้วว่า จิตใต้สำนึกภายในเป็นตัวกายเบื้องสูง และ จิตสำนึกเป็น
ตัวรู้ จิตสำนึกเป็นกายทิพย์ และ จิตสำนึกเป็นจิตวิญญาณของเรานั่นเอง

ถ้าจะเปรียบเทียบแล้วก็เหมือนกายทิพย์ของเรา คือผู้ทรงอำนาจที่ซ่อนเร้นอยู่ในกายเรา
คราใดที่กายเนื้อต้องการความช่วยเหลือ ก็เพียงแต่ตั้งสมาธิจิตให้แน่วแน่ เพื่อเจริญสติ
มันเป็นวิธีการเรียกหรือขอร้องให้กายทิพย์ภายในกายเนื้อได้ยิน

และรับรู้ถึงความต้องการความปรารถนาของตัวเรา และ แล้วพลังอำนาจนั้นก็จะออกมา
ปรากฎกายในภวังค์จิตของเรา เพื่อช่วยเหลือ ความปรารถนาของเราให้สำเร็จตามวัตถุ
ประสงค์ที่เราต้องการทุกครั้งไป ถ้าหากเราทำถูกวิธีการนะ

ดังนั้น ขอให้พวกเราเชื่อว่า จิตใต้สำนึกของพวกเรา ก็คือผู้ทรงอำนาจที่มีอยู่ในกายเนื้อ
ของเรา เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ที่จะช่วยให้เราประสบความสำเร็จทุกครั้งไป จง
เชื่อมั่นในพลังอำนาจที่มีอยู่ของเราเถิด

ร่างกาย จิต และวิญญาณ ของมนุษย์เป็นสามส่วนที่แยกจากกัน และ เมื่ออยู่รวมกันแล้ว
มันจะเป็นหนึ่งเดียวกัน หรือ ร่างกาย จิต และวิญญาณนับเป็นหนึ่งหน่วย ไม่แยกออกเป็น
แต่ละหน่วยย่อย

คำตอบคือ จะใช่หรือไม่ใช่ก็ได้ หากเราจะสอนผู้อื่นว่าเป็นอย่างไรก็ได้ ซึ่งจะถูกหรือไม่
ขึ้นอยู่ที่ว่าเราจะมองดูมันในแง่ไหนต่างหาก มีหลายสิ่งที่อาจทำให้เรามั่นใจได้ว่า ร่างกาย จิตวิญญาณของพวกเราสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด อย่างน้อยที่สุดก็เป็นอยู่ในขณะ
มีชีวิตในปัจจุบัน แต่องค์ประกอบทั้งสามนี้ไม่เป็นมิตรต่อกันเสมอไป

เมื่อใดที่มันไม่เป็นมิตรกัน ชีวิตของเราก็จะประสบความทุกข์ยาก แต่เมื่อมันเป็นมิตรต่อกันชีวิตของเราก็จะดีอย่างน่ามหัศจรรย์ เราสามารถนำพลังอำนาจนั้นมาใช้ให้เป็นประ
โยชน์ต่อตัวเราได้ในที่สุด

เมื่อร่างกาย จิต และวิญญาณไม่ปรองดองกัน ก็จะทำให้ระดับความสั่นสะเทือนของทั้ง
สามสิ่งไม่ประสานสอดคล้องกัน เหมือนนักร้องสามคน ช่วยกันร้องเพลงแต่เป็นคนละระดับเสียงกัน ฉะนั้น เมื่อร่างกาย จิต และวิญญาณ ไม่ประสานกันก็จะเกิดอุปสรรค์ขึ้นใน
กายเนื้อ (รูป) อารมณ์ จิต หรือวิญญาณ

ถ้าร่างกาย จิต และวิญญาณ เป็นมิตรต่อกัน มันก็จะทำงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยร่วมกันบรรเลงบทเพลงแห่งชีวิตที่ประสานความไพเราะให้ปรากฎในกายทุกระดับ และ
พลังอำนาจที่ซ่อนเร้นของเราก็จะทำงานได้อย่างไหลรื่นขึ้นเอง

เราจะต้องใช้พื้นที่ในใจให้คล่องพอหรือเปล่า หมายความว่าคิดให้ออกมาเป็นเรื่องที่ดีงาม สิ่งต่างๆ รอบตัวของพวกเรานั้น พวกเราเป็นคนจินตนาการวาดมันขึ้นมาเอง แล้วมัน
จะกลายเป็นเหตุการณ์จริงในชีวิตของพวกเรา โดยมีระยะห่างก่อนจะเกิดขึ้นจริง

สิ่งที่พวกเราคิดสร้างโลกนี้ขึ้นมา พวกเราแต่ละคนนั้น ต่างได้รับพรสวรรค์ในการสร้าง
สรรค์ เพราะพวกเราแต่ละคนนั้นคือพระเจ้า เป็นธุลีเล็กๆ หน่วยหนึ่งของพระผู้สร้าง ขอ
ให้พวกเราลองวาดจินตนาการที่ดีงามเข้าไปในจิตใจของพวกเราดู

ไม่ใช่คิด และ จินตนาการเฉยๆ โปรดจงใส่รายละเอียดสิ่งที่เราต้องการไปจนถึงระดับที่
สามารถกลายเป็นความจริงได้ อย่าเพ้อฝันจนเกินไป ให้มันอยู่ในวิสัยที่จะกลายเป็นความ
จริงได้ ทั้งความเจริญก้าวหน้าในชีวิตเรา ธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อมที่สวยงาม โลกที่
ปราศจากมลพิษ ที่ทำให้โลกไม่น่าอยู่ที่เรื้อรังและยาวนาน

และ สิ่งที่เราจินตนาการวาดฝันมันนั้น จะเป็นพิมพ์เขียวให้กับยุคพลังงานใหม่ ที่งดงาม
ตามความปรารถนาของพวกเราในยุคถัดไปแน่นอน...


ขอบคุณที่มา

Tr1S Oranger....

แสงสว่าง มองการไกล...ผู้เรียบเรียง...

27 มิถุนายน 2563

การปลุกพลังอำนาจที่ไร้ขีดจำกัดที่ซ่อนเร้นอยู่ใน "จิต" และ "กายทิพย์" ของเรา ?


พลังของผู้ทรงอำนาจ ภายในกายทิพย์แท้จริงนั้น คือ อะไร ?.

"กายทิพย์" ของมนุษย์เราทุกคนต่างล้วนมีพลังอำนาจที่ยิ่งใหญ่ ซุกซ่อนอยู่ เพียงแต่เราไม่เคยล่วงรู้มาก่อน หรืออาจจะรู้แต่ก็เพียงผิวเผิน ประกอบกับเราไม่รู้เทคนิคการที่จะนำ
พลังอำนาจผู้ทรงฤทธิ์ ให้ลุกฟื้นคืนตื่นขึ้นมารับใช้กายเนื้อของเรา

การปลุกพลังผู้ทรงอำนาจ แท้จริงแล้วก็คือกุญแจสำคัญที่ใช้เปิดประตูแห่งจักรวาลภาย
ในตัวตนของเราเอง เพื่อเชื้อเชิญและต้อนรับศักยภาพที่ซ่อนเร้นดังกล่าวนั้นออกมาใช้
ให้เกิดประโยชน์ และ เกิดผลดีแก่ตัวตนพวกเรา

ผู้ทรงอำนาจและใจดีตนนี้ จะช่วยส่งเสริมให้เรามีศักยภาพและความสามารถในการดำเนินหน้าที่และการงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เปรียบเสมือนเส้นทางถนนที่ราบเรียบ
ชั้นดี ที่อำนวยความสะดวกสบายของชีวิตรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เพื่อให้จิตของเราพุ่งทะยาน
ไปสู่จุดมุ่งหมายแห่งความสำเร็จในการปวารณาตัวเพื่อรับใช้ภารกิจที่เราอาสาผู้เป็นใหญ่ในการลงมาจุติเกิดในภพชาตินี้เท่านั้นเอง

ซึ่งในโอกาสอันดีนี้ พ่อจะได้นำศาสตร์แห่งวิธีการปลุกพลังอำนาจที่มีอยู่ในตัวเรามาใช้อย่างจริงจัง ศาสตร์นี้ได้ผ่านการใช้งานในยุค แอตแลนติส และอิยิปต์โบราณมาแล้วจาก
ตำหรับตำราโบราณต่างๆ ที่พ่อมี และ จะนำมาเผยแพร่แก่พวกเราเหล่า "จิตอาสาแสงสว่าง"
ขอให้มีความอดทนต่อการเรียนรู้นี้เถิด เราต้องเพียรฝึกฝนอย่างต่อเนื่องจึงจะบรรลุความ
สำเร็จได้

โดยเฉพาะ "การจินตนาการ" ซึ่งถือได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยผลักดันให้สามารถสร้าง
สรรค์ศาสตร์ที่พ่อจะนำมาให้พวกเราเรียนรู้ ให้เป็นผลสำเร็จขึ้นมาได้ในที่สุดโดยมีการ
กำหนดกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ พวกเราเหล่า "อาสาแสงสว่าง" พร้อมแล้วหรือยัง" หากมีเสียงตอบรับที่ไม่พร้อมพ่อก็จะระงับทันที

ที่สำคัญมันจะสร้างเสริมพลังจิตและพลังกายทิพย์ให้เข้มแข็ง กล้าแกร่ง บึกบึน อดทน
และ อดกลั้นต่อสิ่งยั่วยุได้ดีขึ้น ซึ่งทั้งนี้เราสามารถรับรู้ สัมผัส และ เห็นได้เฉพาะตัวเอง
รวมทั้งผู้ที่มีมิติความตระหนักรู้ที่ใกล้เคียงกันก็จะสามารถรู้สึกได้อย่างชัดเจน เช่นเดียวกัน

เบื้องแรก เราต้องทนุถนอมร่างกายเนื้อของเราให้อยู่ดีมีสุข มิใช่มุ่งแต่จะบากบั่นทำงาน
โดยไม่สนใจสุขภาพกายของเรา แม้เราประสบความสำเร็จในชีวิตการงานแต่สุขภาพเรา
เสื่อมโทรมสิ่งที่เราหามาได้ก็คงไร้ประโยชน์

จงปฎิบัติต่อร่างกายเหมือนเป็นเพื่อนสนิท ชอบพอที่สุดของตัวเราเอง ร่างกายเป็นเพื่อน
ในธุรกิจของชีวิต ขอให้เราปฎิบัติต่อร่างกายของเราเหมือน พวกเราปฎิบัติกับหุ้นส่วนที่สำคัญที่
สุดในชีวิตของเรา อย่า!! ทำให้เขาตกใจ เพราะการเปลี่ยนแปลงอย่างปุบปับจนเขาไม่ทัน
ระวังตน

อย่าทำร้ายตัวเราด้วยความคิดที่ไม่น่าอภิรมณ์ และ อย่าเอาความดีความชอบจากสิ่งที่ร่าง
กายทำให้แก่เรา อย่าโกรธ หรือ ทำร้าย หรือ ทารุณ ตัวเอง อย่าทำให้เขาเสียใจเพราะเรา
เมินไม่ดูแลตัวของเราเอง

และ จงให้โอกาสให้เขาได้ช่วยท่าน และ จงให้กำลังใจเขาทุกๆ วัน จงให้ความดีความชอบ เมื่อเขาทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้สำเร็จ และ จงให้เขามีส่วนในความสุขของตัวเราเอง และ
รักร่างกายของตัวเราให้มากๆ

จงจำไว้ร่างกายของพวกเราเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ด้วยการสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นทดแทน
เซลล์เก่าที่ตายไป จงใช้กฎง่ายๆ ที่กล่าวมานี้รักษาร่างกายของเราให้มีสภาพดีที่สุดเท่าที่
พวกเราจะทำได้ เพราะนี้เป็นร่างกายเพียงร่างเดียวที่พวกเรามีในภพชาตินี้..

ในเบื้องที่สอง พวกเราต้องเชื่อมั่นในตัวเอง อย่าเผลอจำกัดตัวเองตามอำเภอใจ หรือ
เพราะความผิดพลาดในอดีตหรือการคาดหวังจากคนรอบข้าง ทำให้พวกเราสูญเสียพลัง
ในการเชื่อมั่นตัวเองไป

ถ้าตัวเราเองไม่สามารถเชื่อมั่นในตัวเราเองได้ คนอื่นๆ ก็คงไม่สามารถเชื่อมั่นตัวเราได้
เช่นเดียวกัน ฉะนั้น จงเชื่อมั่นในตัวเองอย่างสุดจิตสุดใจ เพราะทุกสิ่งมันเริ่มจากตรงนั้น
พวกเรามีพลังอำนาจที่ไร้ขีดจำกัด

โปรดอย่าลืมว่าพลังอำนาจที่ยิ่งใหญ่แท้จริงอยู่ในตัวของพวกเราเอง....


ที่มา

Tr1S Oranger...

แสงสว่าง มองการไกล...ผู้เรียบเรียง...

26 มิถุนายน 2563

ปัญญาญาณ อยู่เบื้องบน


ตาญาณ..อยู่ข้างบน.

การทำวิปัสสนา ลัดสั้น. ให้ตาญานอยู่ข้างบน ไม่ไปยุ่งกับจิต เพราะแต่ละฐานจิต มีทุกข์ จึงยึดติดไม่ได้ ญานข้างบน เป็นสติมหาสติ รู้ทันจิตทั้งหมด. เป็นปัญญา ไม่ไปหลงอยู่ในจิตที่ปรุงแต่ง.

......... ตาญาณ..คือ ตัวรู้. อยู่ข้างบน ในศรีษะ เมื่อญานไม่ไปอยู่ในจิต อุปทานขันธ์ก็ไม่เกิด ตาญาน..ได้เห็น ทุกข์กาย- ทุกข์จิต- ทุกข์อุปปาทาน ( รู้และว่างอยู่อย่างเดียว.)

ให้ตัวรู้.ตาญาน.อยู่ข้างบน แล้ว เจริญสติปัฏฐาน ดูกายที่ยืน ดูกระดูกยืน ดูเป็นส่วนๆไป จาก เท้า ขา ขึ้นมา ตัว แขน หัว ดูกลับไปกลับมา ดูซี่โคลง กระดูกนี้เป็นโคลงสร้าง ให้ตัวร่างนี้อยู่ได้

…… ต่อไปให้ดูเนื้อที่ห่อหุ้มกระดูก มีเนื้อ เส้นเอ็น มีหนังหุ้มเนื้อ ดูย้อนไป ย้อนมา จะเห็นว่าร่างกายนี้ไม่มีอะไร

........ต่อไปมาดูความรู้สึกต่อ ความรูสึกกายนี้โยกไปมา โยกซ้าย ขวา บังคับไม่ได้ เป็นความรูสึก สบายบ้าง ไม่สบายบ้าง

.......จะเห็นว่า.. กายก็ไม่เที่ยง เวทนาก็ไม่เที่ยง จิตและอารมณ์ทั้งหลายก็ไม่เที่ยง สิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไปยึดเอาไม่ได้เลย สิ่งที่เกิด ย่อมดับทั้งหมด

....สิ่งที่เป็นทุกข์ทั้งหมดนั้นไม่มีตัวตน. ญานรู้ทั้งหมดก็ไม่มีตัวตน.
....เมื่อ..พิจารนาเห็นความเบื่อหน่าย วางไปเรื่อยๆ จนปัญญาญาน จนว่าง ไม่มีตัวตน เป็นอนัตตาเกิดเป็นวิมุติหลุดพ้น จนถึงพระนิพพาน

***…. ญานรู้นี้บริสุทธิ อยู่ข้างบน มันเห็นญาน..ที่ไปเห็นจิตในอารมณ์ต่างๆ แต่ไม่เข้าไปร่วมด้วย เอาตาญาน...มารู้-เห็นจิต,กาย,เวทนา,ธรรม ...ญานของพระอริยะนั้น รู้เห็นแล้วปล่อยวาง ปล่อยวางแล้วไม่ลังเล เพื่อพ้นทุกข์อย่างเดียว ส่วน ญานของปุถุชน เข้าไปยึดทุกอย่าง แต่ไม่ได้อะไรจากสิ่งที่ยึดนั้น..


***...จะ เดิน ยืน นั่ง ให้เอาญานรู้อยู่ข้างบน เห็นกายเดิน ยืน นั่ง ไป ดูความรู้สึก เพราะตัวรู้..ไม่มีตัวตน เป็นอนัตตา ...ส่วนสิ่งที่ถูกรู้...ก็ไม่มีตัวตน เป็นอนัตตา …แล้วพิจารณา ว่ากายนี้ ไม่เที่ยงบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เป็นอนัตตาบ้าง ..เมื่อเราเห็นว่าขันธ์ ๕ มันไม่มีอยู่จริง ความยึดมั่นอุปทานจึงลดลง ความทุกข์ก็ลดลง

….เมื่อญานรู้เห็นชัด ญานก็ปล่อยวางจนพ้นทุกข์ ญานผู้รู้เข้าถึงอนัตตา มีแต่ญานผู้รู้และผู้ถูกรู้. ญานใสบริสุทธิ์ดีแล้ว มีแต่ธาตุ ญานก็เป็นธาตุ สิ่งที่ถูกรู้ก็เป็นธาตุ ทั้งหมดนี้ไปสู่ความดับทั้งสิ้น


ที่มา

มโนธาตุ โพธิญาณ

25 มิถุนายน 2563

#วิธีจับภาพพระพุทธรูปเพื่อภาวนา

#วิธีจับภาพพระพุทธเจ้ากับความใส อันนี้ขอแนะนำไว้หน่อยหนึ่งคือว่า #อย่าหลงกายเกินไป #จงอย่าบังคับกายว่าต้องนั่งแบบนั้น #ต้องนั่งแบบนี้ #ห้ามนอน #ห้ามยืน #ห้ามเดิน อันนี้ไม่ถูก เรื่องทางกายนี่ ต้องคิดว่าเรายังไม่ใช่พระอรหันต์ แต่ความจริงพระอรหันต์ท่านก็ต้องการความสุขของร่างกายเหมือนกัน อย่าฝืนกาย ถ้าฝืนมันจะปวดเมื่อยขึ้นมาแล้วสมาธิจะไม่ทรงตัว

#ถ้าเราทำอยู่ที่กุฏิของเราเอง หรือว่าทำที่บ้านของเราละก็ #นั่งตามสบาย #นอนตามสบาย #จะนั่งก็ได้ #จะนอนก็ได้ #จะยืน #จะเดินก็ได้ การนั่งจะนั่งในลักษณะไหนก็ได้ แต่โปรดอย่าเหยียดเท้าไปทางพระพุทธรูปก็แล้วกัน จะนั่งเก้าอี้ก็ได้ นั่งห้อยขา เอนกายก็ได้ อันนี้ไม่เลือก #วิธีปฏิบัติจงอย่าให้เครียด ถ้าเครียด ผลจะเสีย
.
#หลังจากนั้นเอาตาดูพระพุทธรูป #จำทั้งองค์ #ไม่ต้องจำมาตั้งแต่เศียร #หน้าผาก #คอบ้าง อันนี้ไม่ต้องทำตามที่เขาอธิบายกัน #เคยได้ยินว่าให้จับส่วนบนมานิดหนึ่งก่อน #ดูเกศจับเกศได้เลยลงมาถึงหน้าผาก อันนี้ไม่จำเป็น องค์ท่านไม่กว้างเกินวงตาเรา แสงสว่างของวงตาของเรากว้างกว่าพระพุทธรูป #ฉะนั้นจับทีเดียวเต็มองค์เลย #ลืมตาดูให้ชัด #ตั้งใจจำภาพแล้วก็หลับตา พร้อมกันนั้นก็ใช้คำภาวนา
.
.#คำภาวนาว่าอย่างไรเป็นเรื่องของท่าน เพราะในที่นี้พูดกลาง ๆ #จะภาวนาว่าพุทโธ #สัมมาอรหัง #หรืออิติสุคโต อะไรได้ทั้งหมด หรือจะภาวนา #นะโมพุทธายะนะมะพะธะ รู้ลมหายใจเข้าออกไปด้วย รู้คำภาวนาไปด้วยในตัวเสร็จ และจิตก็จำภาพ เมื่อจับภาพได้ นึกถึงภาพให้มีความสว่างตามสมควร ต่อมาถ้ารู้สึกว่าภาพเลือนไปจากใจก็ลืมตาดูใหม่ จำได้แล้วก็หลับตานึกถึงภาพพร้อมกับภาวนากับรู้ลมหายใจเข้าออก

ถ้าหลับ ๆ ลืม ๆ เข้าใจว่าทำได้แน่แล้ว ก็เข้าที่พัก เข้าที่นอนก็ได้ นอนแบบสบาย จิตใจน้อมนึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและนึกถึงภาพที่เราจำได้จนกว่าเราจะหลับไป ที่ใช้คำว่าจนกว่าจะหลับไปนี่มีประโยชน์ แต่บังเอิญถ้าเกิดอารมณ์กลุ้ม มีอารมณ์ฟุ้งซ่านมากเกินไป ทำไป ๆ ไม่นานนัก จับภาพได้ไม่ทรงตัว จิตมันฟุ้งซ่านจนคุมไม่อยู่ อย่าฝืน เลิกเสียเลย ถือว่าระยะนั้นเอาเท่านั้น
.
🖊️📖ที่มา : หนังสือ คำสอนหลวงพ่อวัดท่าซุง เล่มที่ ๓ (หน้าที่ ๗๓)
🙏🙏คำสอน​ หลวงพ่อ​พระราช​พรหมยาน​ วัดจันทาราม​ (ท่าซุง)​ ต.น้ำซึม​ อ.เมือง​ จ.อุทัยธานี

🖊️นภา​ อิน🙏🙏

รู้ธรรมให้ถึงใจ

.    
   การบำรุงรักษาสิ่งใดๆ ในโลก
  การบำรุงรักษาตน คือ ..ใจ.. เป็นเยี่ยม
     
       จุดที่เยี่ยมยอดของโลก คือ ..ใจ..
              ควรบำรุงรักษาด้วยดี

            ได้ใจแล้ว  คือ  ได้ธรรม
     เห็นใจตนแล้ว  คือ  เห็นธรรม
              รู้ใจแล้ว  คือ  รู้ธรรมทั้งมวล
       ถึงใจตนแล้ว  คือ  ถึงพระนิพพาน

           ใจนี้ คือ .. สมบัติอันล้ำค่า
      จึงไม่ควรอย่างยิ่งที่จะมองข้ามไป 

       คนพลาดใจ คือ ไม่สนใจปฏิบัติ
              ต่อใจดวงวิเศษในร่างนี้ 

          แม้จะเกิดสักร้อยชาติพันชาติ
          ก็คือ ผู้เกิดผิดพลาดอยู่นั่นเอง ..

          .... หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ....

(.. ขอขอบคุณรูปภาพประกอบธรรมครับ

ฌานจริง ฌานหลอก

 
"..คำว่าเป็นฌานให้สังเกตตามนี้ ถ้าฌาน
เฉพาะเวลานั่งสมาธิน่ะ ไม่จริง ไม่ใช่ฌานจริง เขาเรียกว่า ฌานหลอก
 
ถ้าฌานจริงๆ ต้องเป็นอย่างนี้ ถึงเวลานี้เราเคยบูชาพระ ถ้าเวลานั้นไม่ได้บูชาพระ เราไม่สบายใจ ต้องบูชาพระ ถ้าไม่มีพระจะบูชาก็นึกในใจ นึกบูชาเอาเอง ถ้าเป็นอย่างนี้ถือว่าจิตมีฌาน
ในการบูชาพระ 

🙏🙏การบูชาพระมีอะไรบ้าง

๑. พุทธานุสสติใช่ไหม นึกถึงพระพุทธเจ้า 

๒. ธัมมานุสสติ นึกถึงคำสวดมนต์นี่เป็นธรรมะ 

๓. สังฆานุสสติ นึกถึงพระสงฆ์ที่เราชอบใจ 

ก็รวมความว่า ในเมื่อจิตมันทรงตัวแบบนี้ เป็นอนุสสติแบบนี้ ถ้านึกอยู่เสมอว่า ถ้าถึงเวลา ถ้าเราไม่ได้ทำ ใจไม่สบายนี่ ละฌานแท้..."

ที่มา
🖊️📖จาก โอวาทหลวงพ่อวัดท่าซุง เล่ม ๔ หน้า ๗๙
🙏🙏หลวงพ่อ​พระราช​พรหมยาน​ วัดจันทาราม(ท่าซุง)​ ต.น้ำซึม​ อ.เมือง​ จ.อุทัยธานี

🖊️นภา​ อิน🙏🙏

ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ กับ พุทธศาสนา

"ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นโบราณเขามีอยู่แล้วก่อนพุทธศาสนา ถ้าศาสนาเป็นได้แค่ที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ก็ไม่จำเป็นต้องเกิดพุทธศาสนา เพราะคนอินเดียเขามีที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ มีเทวดาให้นับถือเยอะแยะ มีแม้แต่พระพรหมที่ว่าดลบันดาลทุกอย่างได้ จนคนพากันเชื่อใน "พรหมลิขิต"

การที่พระพุทธศาสนาเกิดขึ้น ก็เพราะศาสนาก่อนนั้นมัวเป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ชนิดเหนี่ยวแล้วดึงลง ให้หลง ให้จมให้หมกอยู่ในการพึ่งพาอำนาจภายนอก รอผลดลบันดาล พระพุทธศาสนาก็เลยเกิดขึ้นมาแก้ไข โดยมาเหนี่ยวแล้วดึงขึ้น เพื่อจะให้ประชาชนได้พัฒนาในเรื่องความประพฤติ ทั้งกาย วาจา แล้วก็พัฒนาจิตใจ และพัฒนาปัญญา ให้พึ่งตนเองได้ดีขึ้นจนเป็นอิสระต่อไป อันนี้จึงจะเป็นประโยชน์ที่แท้จริงของพระพุทธศาสนา

ชาวพุทธเรานับถือพระพุทธศาสนา ไม่ใช่เอาแค่ว่ายึดเหนี่ยวจิตใจ ให้สบายแล้วก็จบ แต่ต้องเอามาใช้ปฏิบัติ เอามาใช้พัฒนาชีวิตของเราให้ดีงาม ทั้งกายวาจาและจิตใจพร้อมทั้งปัญญา ให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะในที่สุดเราต้องเป็นอิสระพึ่งตนเองได้"

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
( ป. อ. ปยุตฺโต )
ที่มา : ธรรมนิพนธ์ "ถ้าอยากพ้นวิกฤตต้องเลิกติดไสยศาสตร์"

             [๒๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงกรรมทั้งใหม่และเก่า ความดับ
แห่งกรรม และปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับแห่งกรรม ท่านทั้งหลายจงฟัง
จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมเก่าเป็นไฉน จักษุอันบัณฑิต
พึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า อันปัจจัยทั้งหลายปรุงแต่งแล้ว สำเร็จด้วยเจตนา เป็น
ที่ตั้งแห่งเวทนา หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ... ใจอันบัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า  อัน
ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว  สำเร็จด้วยเจตนา เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เราเรียกว่า กรรมเก่า ฯ
             [๒๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมใหม่เป็นไฉน กรรมที่บุคคลทำด้วย
กาย วาจา ใจ ในบัดนี้ นี้เราเรียกว่า กรรมใหม่ ฯ
             [๒๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน นิโรธที่ถูกต้อง
วิมุตติ เพราะความดับแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม นี้เราเรียกว่า ความดับ
แห่งกรรม ฯ
             [๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับแห่งกรรม
เป็นไฉน อริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑
สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑
สัมมาสมาธิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความ
ดับกรรม ฯ
             [๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมเก่า  กรรมใหม่ ความดับแห่งกรรม
และปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับกรรม เราได้แสดงแล้วแก่ท่านทั้งหลาย
ด้วยประการดังนี้แล กิจใดแล อันเราผู้ศาสดา ผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้
อนุเคราะห์แก่สาวกทั้งหลาย พึงทำ กิจนั้นเราทำแล้วเพราะอาศัยความอนุเคราะห์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้  นั่นเรือนว่างเปล่า เธอทั้งหลายจงพยายาม อย่า
ประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนใจในภายหลัง นี้เป็นอนุศาสนีของเราเพื่อ
เธอทั้งหลาย ฯ
จบสูตรที่ ๑

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๓๔๔๙-๓๔๗๕ หน้าที่ ๑๔๙-๑๕๐.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=3449&Z=3475&pagebreak=0
 

ติตถสูตร
             [๕๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลัทธิของเดียรถีย์ ๓ อย่างนี้ ถูกบัณฑิต
ไต่ถามซักไซ้ไล่เลียงเข้า ย่อมอ้างลัทธิสืบๆ มา ตั้งอยู่ในอกิริยทิฐิ ๓ อย่าง
เป็นไฉน คือ ๑. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุข
ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่บุคคลเสวยนั้น ล้วนแต่มีกรรม
ที่ได้ทำไว้แต่ก่อนเป็นเหตุ ๒. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิ
อย่างนี้ว่า สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่บุคคลเสวยนั้น ล้วน
แต่มีการสร้างสรรของอิสรชนเป็นเหตุ ๓. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ
อย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่บุคคล
เสวยนั้น ล้วนแต่หาเหตุหาปัจจัยมิได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์
ทั้ง ๓ พวกนั้น พวกที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุข
อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่บุคคลเสวยนั้น ล้วนมีแต่กรรมที่ได้ทำไว้แต่ก่อนเป็นเหตุ
เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์พวกนั้น แล้วถามอย่างนี้ว่า ได้ยินว่าท่านทั้งหลายมี
วาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่
บุคคลเสวยนั้น ล้วนแต่มีกรรมที่ได้ทำไว้แต่ก่อนเป็นเหตุ จริงหรือ ถ้าสมณ
พราหมณ์พวกนั้นถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ปฏิญญาว่าจริง เราก็กล่าวกะเขาว่า ถ้า
เช่นนั้น เพราะกรรมที่ได้ทำไว้แต่ก่อนเป็นเหตุ ท่านทั้งหลายจักต้องฆ่าสัตว์ จัก
ต้องลักทรัพย์ จักต้องประพฤติกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ จักต้องพูดเท็จ จัก
ต้องพูดคำส่อเสียด จักต้องพูดคำหยาบ จักต้องพูดคำเพ้อเจ้อ จักต้องมากไปด้วย
อภิชฌา จักต้องมีจิตพยาบาท จักต้องมีความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อ
บุคคลยึดถือกรรมที่ได้ทำไว้แต่ก่อนโดยความเป็นแก่นสาร ความพอใจหรือความ
พยายามว่า กิจนี้ควรทำหรือว่ากิจนี้ไม่ควรทำ ย่อมจะมีไม่ได้ ก็เมื่อไม่ได้กรณียกิจ
และอกรณียกิจโดยจริงจังมั่นคงดังนี้ สมณวาทะที่ชอบธรรมเฉพาะตัว ย่อมจะ
สำเร็จไม่ได้ แก่ผู้มีสติฟั่นเฟือน ไร้เครื่องป้องกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรามีวาทะ
สำหรับข่มขี่ที่ชอบธรรม ในสมณพราหมณ์พวกนั้นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้
อย่างนี้แลเป็นข้อแรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์ทั้ง ๓ พวกนั้น
พวกที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่บุคคลเสวยนั้น ล้วนแต่มีการสร้างสรรของอิสรชนเป็นเหตุ เราเข้าไปหาสมณ-
*พราหมณ์พวกนั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า ท่านทั้งหลายมีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิ
อย่างนี้ว่า สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่บุคคลเสวยนั้น ล้วน
แต่มีการสร้างสรรของอิสรชนเป็นเหตุ จริงหรือ ถ้าสมณพราหมณ์นั้นถูกเราถาม
อย่างนี้แล้ว ปฏิญญาว่าจริง เราก็กล่าวกะเขาว่า ถ้าเช่นนั้น เพราะการสร้างสรร
ของอิสรชนเป็นเหตุ ท่านทั้งหลายจักต้องฆ่าสัตว์ ฯลฯ จักต้องมีความเห็นผิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลยึดถือการสร้างสรรของอิสรชนไว้โดยความเป็น
แก่นสาร ความพอใจ หรือความพยายามว่า กิจนี้ควรทำหรือว่ากิจนี้ไม่ควรทำ
ย่อมจะมีไม่ได้ ก็เมื่อไม่ได้กรณียกิจและอกรณียกิจโดยจริงจังมั่นคงดังนี้ สมณ
วาทะที่ชอบธรรมเฉพาะตน ย่อมจะสำเร็จไม่ได้แก่ผู้มีสติฟั่นเฟือน ไร้เครื่อง
ป้องกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรามีวาทะสำหรับข่มขี่ที่ชอบธรรม ในสมณพราหมณ์
พวกนั้นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ อย่างนี้แลเป็นข้อที่ ๒ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บรรดาสมณพราหมณ์ทั้ง ๓ พวกนั้น พวกที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุข
ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่บุคคลเสวยนั้น ล้วนแต่หาเหตุหา
ปัจจัยมิได้ เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์พวกนั้น แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า
ท่านทั้งหลายมีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใด
อย่างหนึ่ง ที่บุคคลเสวยนั้น ล้วนแต่หาเหตุหาปัจจัยมิได้ จริงหรือ ถ้าสมณ-
*พราหมณ์พวกนั้นถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ปฏิญญาว่าจริง เราก็กล่าวกะเขาว่า ถ้า
เช่นนั้น เพราะหาเหตุหาปัจจัยมิได้ ท่านทั้งหลายจักต้องฆ่าสัตว์ ฯลฯ จักต้อง
มีความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลยึดถือความไม่มีเหตุไว้โดยความ
เป็นแก่นสาร ความพอใจหรือความพยายามว่า กิจนี้ควรทำหรือว่ากิจนี้ไม่ควรทำ
ย่อมจะมีไม่ได้ ก็เมื่อไม่ได้กรณียกิจและอกรณียกิจ โดยจริงจังมั่นคงดังนี้ สมณ
วาทะที่ชอบธรรมเฉพาะตน ย่อมจะสำเร็จไม่ได้ แก่ผู้ที่มีสติฟั่นเฟือน ไร้เครื่อง
ป้องกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรามีวาทะสำหรับข่มขี่ที่ชอบธรรม ในสมณพราหมณ์
พวกนั้นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ อย่างนี้แลเป็นข้อที่ ๓ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ลัทธิเดียรถีย์ ๓ อย่างนี้แล ถูกบัณฑิตไต่ถามซักไซ้ไล่เรียงเข้า ย่อมอ้างถึงลัทธิ
สืบๆ มา ตั้งอยู่ในอกิริยทิฐิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนธรรมที่เราแสดงไว้นี้แล
คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูกคัดค้าน โดยสมณพราหมณ์ผู้รู้
ก็ธรรมที่เราแสดงไว้แล้ว คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูกคัดค้าน
โดยสมณพราหมณ์ผู้รู้ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า ธาตุ
หก คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูกคัดค้านโดยสมณพราหมณ์ผู้รู้
ธรรมที่เราแสดงว่า ผัสสายตนะ ๖ ... มโนปวิจาร ๑๘ ... อริยสัจ ๔ ...
ธาตุ ๖ คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูกคัดค้านโดยสมณพราหมณ์
ผู้รู้ นี้เราได้กล่าวไว้แล้วเช่นนี้แล เพราะอาศัยอะไรจึงได้กล่าวไว้ดังนั้น ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ธาตุ ๖ เหล่านี้ คือ ปถวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาศ
ธาตุ วิญญาณธาตุ เพราะอาศัยคำที่เราได้กล่าวไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่
เราแสดงไว้ว่าธาตุ ๖ คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูกคัดค้าน
โดยสมณพราหมณ์ผู้รู้ ฉะนั้น เราจึงได้กล่าวไว้ดังนั้น ก็คำว่าธรรมที่เราแสดงไว้
ว่า ผัสสายตนะ ๖ คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูกคัดค้านโดย
สมณพราหมณ์ผู้รู้ นี้เราได้กล่าวไว้แล้วเช่นนี้แล เพราะอาศัยอะไรจึงได้กล่าวไว้
ดังนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ เหล่านี้ คือ อายตนะเป็นเหตุแห่ง
ผัสสะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะอาศัยคำที่เราได้กล่าวไว้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า ผัสสายตนะ ๖ คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่
มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูกคัดค้านโดยสมณพราหมณ์ผู้รู้ ฉะนั้น เราจึงได้กล่าวไว้
ดังนั้น ก็คำว่า ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า มโนปวิจาร ๑๘ คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่
มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูกคัดค้านโดยสมณพราหมณ์ผู้รู้ นี้เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้
แล เพราะอาศัยอะไรจึงได้กล่าวไว้ดังนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเห็นรูปด้วย
ตาแล้ว ย่อมเข้าไปไตร่ตรองรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส เข้าไปไตร่ตรองรูปอัน
เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส เข้าไปไตร่ตรองรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ฟังเสียงด้วย
หู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้ง
ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมเข้าไปไตร่ตรองธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส เข้าไป
ไตร่ตรองธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ย่อมเข้าไปไตร่ตรองธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง
อุเบกขา เพราะอาศัยคำที่เราได้กล่าวไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เราแสดงไว้
ว่า มโนปวิจาร ๑๘ คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูกคัดค้านโดย
สมณพราหมณ์ผู้รู้ ฉะนั้น เราจึงได้กล่าวไว้ดังนี้ ก็คำว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า อริยสัจ ๔ คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่
ถูกคัดค้านโดยสมณพราหมณ์ผู้รู้ นี้เราได้กล่าวไว้แล้วเช่นนี้แล เพราะอาศัยอะไร
จึงได้กล่าวไว้ดังนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะถือมั่นธาตุ ๖ สัตว์จึงลงสู่ครรภ์
เมื่อมีการลงสู่ครรภ์ จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะ
สฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เราบัญญัติ
ว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
แก่บุคคลผู้เสวยเวทนาอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจเป็นไฉน คือ แม้ชาติ
ก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาส เป็นทุกข์ ความประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์
ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ แม้ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สมหวังก็เป็น
ทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกข-
*อริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขสมุทัยอริยสัจเป็นไฉน คือ เพราะอวิชชาเป็น
ปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็น
ปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะ
เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็น
ปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็น
ปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อม
เกิดขึ้นด้วยประการอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าทุกขสมุทัยอริยสัจ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน เพราะอวิชชาดับโดยสำรอกไม่
เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูป
จึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ
อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะ
ชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสจึงดับ กอง
ทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมดับด้วยอาการอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ-
*อริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน อริยมรรค
มีองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยง
ชีวิตชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยถ้อยคำ
ที่เราได้กล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า อริยสัจ ๔ คนอื่น
ข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูกคัดค้านโดยสมณพราหมณ์ผู้รู้ ฉะนั้น
เราจึงได้กล่าวไว้ดังนั้น ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๔๕๗๑-๔๖๘๖ หน้าที่ ๑๙๗-๒๐๑.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=4571&Z=4686&pagebreak=0
http://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=20&item=501&items=1

สมาธิสูตร
ว่าด้วยสมาธิเป็นเหตุเกิดปัญญา

             [๒๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
*เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ. ภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้ว  ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง. ก็ภิกษุย่อมรู้ชัดตามเป็น
จริงอย่างไร. ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิดและความดับแห่งรูป ความเกิดและความดับแห่งเวทนา ความ
เกิดและความดับแห่งสัญญา  ความเกิดและความดับแห่งสังขาร  ความเกิดและความดับแห่ง
วิญญาณ.
             [๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นความเกิดแห่งรูป  อะไรเป็นความเกิดแห่ง
เวทนา อะไรเป็นความเกิดแห่งสัญญา อะไรเป็นความเกิดแห่งสังขาร อะไรเป็นความเกิดแห่ง
วิญญาณ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลในโลกนี้ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่.
ก็บุคคลย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่ ซึ่งอะไร. ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง
ย่อมดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำถึง ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป ความยินดีก็เกิดขึ้น ความยินดีในรูป
นั่นเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานของบุคคลนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและอุปายาส. ความ
เกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนั้น ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้. บุคคลย่อมเพลิดเพลินซึ่งเวทนา ฯลฯ
ย่อมเพลิดเพลินซึ่งสัญญา ฯลฯ ย่อมเพลิดเพลินซึ่งสังขาร ฯลฯ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง
ย่อมดื่มด่ำอยู่ซึ่งวิญญาณ เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำถึง ดื่มด่ำอยู่ซึ่งวิญญาณ ความยินดีย่อมเกิดขึ้น
ความยินดีในวิญญาณ นั่นเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานของบุคคลนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัสและอุปายาส. ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย นี่เป็นความเกิดแห่งรูป นี่เป็นความเกิดแห่งเวทนา นี่เป็นความเกิดแห่งสัญญา นี่เป็น
ความเกิดแห่งสังขาร นี่เป็นความเกิดแห่งวิญญาณ.
             [๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นความดับแห่งรูป อะไรเป็นความดับแห่งเวทนา
อะไรเป็นความดับแห่งสัญญา อะไรเป็นความดับแห่งสังขาร อะไรเป็นความดับแห่งวิญญาณ?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่.
ก็ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งอะไร. ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อม
ไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป ความ
ยินดีในรูปย่อมดับไป เพราะความยินดีของภิกษุนั้นดับไป อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ
ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้. ภิกษุย่อมไม่
เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำ ซึ่งเวทนา ... ซึ่งสัญญา ... ซึ่งสังขาร ...
ซึ่งวิญญาณ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งเวทนา ... ซึ่งสัญญา ... ซึ่งสังขาร ...
ซึ่งวิญญาณ ความยินดีในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร ... ในวิญญาณ ย่อมดับไป เพราะความ
ยินดีของภิกษุนั้นดับไป อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกอง
ทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความดับแห่งรูป นี้เป็นความดับ
แห่งเวทนา นี้เป็นความดับแห่งสัญญา นี้เป็นความดับแห่งสังขาร นี้เป็นความดับแห่งวิญญาณ.
จบ สูตรที่ ๕.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๒๙๓-๓๓๑ หน้าที่ ๑๓-๑๔.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=17&A=293&Z=331&pagebreak=0

วิธีอุทิศส่วนกุศลที่ได้ผลดีที่สุด

.ถ้านึกได้ออกชื่อเขาก็ดี เพราะถ้ากรรมหนาอยู่นิด ถ้าออกชื่อเจาะจงเขาก็ได้รับเลย ถ้านึกไม่ออกก็ว่ารวมๆ“ญาติก็ดี ไม่ใช่ญาติก็ดี” ถ้า ขืนไปนั่งไล่ชื่อน่ากลัวจะไม่หมด มีอยู่คราวหนึ่งนานมาแล้วไปเทศน์ด้วยกัน ๓ องค์ บังเอิญมีอารมณ์คล้ายคลึงกัน วันนั้นทายกนำอุทิศส่วนกุศลออกชื่อคนตายกับบรรดาญาติทั้งหลายที่ตายไปแล้ว ปรากฏว่าบรรดาผีทั้งหลายก็เข้ามาเป็นหมื่นล้อมรอบศาลา คนที่เป็นญาติก็โมทนาแล้วผิวพรรณดีขึ้น พวกที่มิใช่ญาติก็เดินร้องไห้กลับไป ตอนท้ายมีคนถามถึงการอุทิศส่วนกุศลว่าทำอย่างไร

พระองค์หนึ่งท่านเลยบอกว่า “ญาติโยมที่นำอุทิศส่วนกุศล อย่าให้ใจแคบเกินไปนัก อย่าลืมว่าการทำบุญแต่ละคราว พวกปรทัตตูปชีวีเปรตก็ดี พวกสัมภเวสีก็ดี จะมายืนล้อมรอบคอยโมทนา แต่ถ้าเราให้แก่ญาติ ญาติก็จะได้ บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ญาติก็จะไม่ได้ ฉะนั้นควรจะให้ทั้งหมดทั้งญาติและไม่ใช่ญาติ”

และตอนที่พระให้พร เจ้าภาพและทุกท่านที่บำเพ็ญกุศลแล้ว มีการถวายสังฆทานก็ดี การเจริญพระกรรมฐานก็ดี ควรตั้งจิตอธิษฐานตามความประสงค์ การตั้งจิตอธิษฐานเรียกว่า “อธิษฐานบารมี” ถ้าท่านตั้งใจเพื่อพระนิพพานก็ต้องอธิษฐานเผื่อไว้ โดยอธิษฐานว่า

“ขอผลบุญทั้งหมดนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าเข้าถึงพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ แต่ถ้าหากข้าพเจ้ายังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด จะไปเกิดใหม่ในชาติใดก็ตาม ขอคำว่า “ไม่มี” จงอย่าปรากฏแก่ข้าพเจ้า”

ถ้าเราต้องการอะไรให้มันมีทุกอย่าง จะไม่รวยมากก็ช่าง เท่านี้ก็พอแล้ว

ที่มา
🙏🙏โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน
วัดจันทาราม(ท่าซุง)​ จ.อุทัยธานี

🖊️นภา​ อิน🙏🙏

การคิดพิจารณาและวิเคราะห์

"...การจะคิดพิจารณาและวิเคราะห์วิจารณ์กรณีต่างๆ ให้ได้ถูกถ้วนตามเหตุตามผลและความเป็นจริงนั้น บุคคลจำเป็นต้องฝึกจิตใจให้มีปรกติ หนักแน่น และเป็นกลาง พร้อมทั้งฝึกกระบวนการคิดให้เป็นระเบียบให้ได้ก่อน

ทั้งนี้เพราะจิตใจที่ไม่หนักแน่นเป็นกลาง เป็นต้นเหตุให้เกิดอคติหรือการปฏิบัติที่ไม่ถูกทาง อันเป็นตัวการสำคัญที่นำความคิดวิจารณญาณของบุคคล ให้มืดมนผิดพลาดไปจากเหตุผลและความเป็นจริง

ส่วนความคิดอ่านที่ไม่เป็นระเบียบนั้น เป็นต้นเหตุของความลังเลสับสนและวุ่นวายใจ ทำให้บุคคลไม่สามารถจะคิดอ่านทำการใดๆ ให้ถูกต้องตามขั้นตอน และสำเร็จเรียบร้อยโดยไม่ติดขัดได้..."

พระบรมราโชวาท
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันศุกร์ที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๔

ธ สถิตในดวงใจตราบนิจนิรันดร์
น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้
ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป

24 มิถุนายน 2563

ความสุขอย่างแท้จริงของชีวิต.

นี่คือ.......ความสุข
อย่างแท้จริงของชีวิต.
อ่านหลายรอบแล้วก็ยังยากอ่านอีกเตือนตนได้ดีจริงๆ ขอส่งต่อถ้าท่านเคยอ่านแล้วก็ ขออนุโมทนา สาธุๆๆ
1. อะไร คมที่สุด
พราหมณ์ตอบว่า มีดที่ลับหินดีแล้ว คมที่สุด 
พระพุทธเจ้าตอบว่า.  วาจาที่ใส่ร้ายผู้อื่น ทำร้ายหัวใจผู้อื่น คมที่สุด

2. อะไร ไกลที่สุด
พราหมณ์ตอบว่า ดวงอาทิตย์ สุดขอบจักรวาล ไกลสุด
พระพุทธเจ้าตอบว่า.  อดีดที่ผ่านมาตั้งหลายกัปหลายกัลป์ ยาวที่สุด

3 อะไร ใหญ่ที่สุด 
พราหมณ์ตอบว่า. ภูเขา โลก มหาสมุทร ใหญ่ที่สุด
พระพุทธเจ้าตอบว่า.  ตัณหาความทยานอยาก ไม่มีที่สิ้นสุด ทำให้ก่อภพก่อชาติ ใหญ่ที่สุด

4 อะไร หนักที่สุด 
พราหมณ์ตอบว่า. หิน เหล็ก แร่ ดิน น้ำ หนักที่สุด
พระพุทธเจ้าตอบว่า.  คำสัญญาใดๆ ที่พูดง่ายแต่ทำยาก คำสัญญานั้นแล เป็นสิ่งที่หนักสุด

5. อะไร เบาที่สุด
พราหมณ์ตอบว่า. นุ่น สำลี ลม ใบไม้แห้ง
พระพุทธเจ้าตอบว่า.  การปล่อยวาง การรู้เท่าทันว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป แบบนี้แล เบาที่สุด 

6. อะไร ใกล้เราที่สุด 
พราหมณ์ตอบว่า. พ่อแม่ ญาติ ใกล้เราที่สุด
พระพุทธเจ้าตอบว่า.  ความตายที่วิ่งตามเหมือนเงาตามตัวต่างหาก ที่ใกล้ตัวเราที่สุด 

7. อะไร ง่ายที่สุด
พราหมณ์ตอบว่า กิน นอน พูด หายใจ ง่ายที่สุด
พระพุทธเจ้าตอบว่า.  การพูดธรรมะ แบ่งปันให้แสงสว่างแก่ผู้อื่น ง่ายที่สุด เป็นประโยชน์ต่อสังคมด้วย 

พราหมณ์ได้ฟังคำตอบจากพระพุทธเจ้าแล้ว ไตร่ตรองพิจารณา โดยเหตุผลแล้ว จึงยอมมอบกายถวายตัวยอมสมาทานศีล เป็นพุทธมามะกะ และได้ดวงตาเห็นธรรมโดยทั่วกัน. พร้อมกล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้าว่า สัถถาเทวะมนุสสานัง พระองค์เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายโดยแท้จริง

พระพุทธองค์ตรัสว่า.. "บุคคลแม้ไม่มีทรัพย์สินเงินทองแต่ก็สามารถให้ทานกับผู้อื่นได้ด้วยสิ่งของ 5 ประการ" 
   1. ใบหน้าเป็นทาน : สามารถให้รอยยิ้มความสดใส 
   2. วาจาเป็นทาน : พูดให้กำลังใจ ชื่นชมและปลอบประโลมผู้อื่นให้มาก 
   3. จิตใจเป็นทาน : สามารถเปิดอกเปิดใจกับผู้อื่น ด้วยความนอบน้อมและจริงใจ 
   4. ดวงตาเป็นทาน : ใช้แววตาแห่งความหวังดีความโอบอ้อมอารีย์ให้กับผู้อื่น 
   5. กายเป็นทาน : สามารถใช้เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น 
    อย่าได้ตระหนี่ในการให้ต่อผู้อื่น ประโยชน์จะเพิ่มพูนมหาศาล ร่ำรวย มั่งคั่ง
     ทุกๆ วันหลังตื่นนอน ให้ยกมืออธิษฐาน รวบรวมจิตให้นิ่ง กล่าวว่า "ข้าพเจ้าขออนุโมทนาบุญกับท่านผู้ประกอบคุณงามความดีทุกๆ ท่านเทอญ" บุญกุศลที่ใครในสากลโลกได้ทำความดี เช่น ตักบาตร กรวดน้ำ ให้ทาน ถวายสังฆทาน ล้วนเราได้รับอานิสงส์ทั้งหมด.                        อ่านให้จบนะจ๊ะ...
แล้วคุณจะรักตัวเอง
ขึ้นอีกเยอะ...!! 

สรุป :-
ชีวิตที่เรียบง่าย ให้ความสุข ความสะดวกกับ
การใช้ชีวิตที่เหลืออยู่...

ไม่เจ็บปวดแต่ก็ต้อง :
บำรุง 

ไม่กระหายแต่ก็ต้อง :
ดื่มน้ำ 

ว้าวุ่นแค่ไหนก็ต้อง :
ปล่อยวาง 

มีเหตุมีผลแต่ก็ต้อง :
ยอมคน 

มีอำนาจแต่ก็ต้องรู้จัก :
ถ่อมตน 

ไม่เหนื่อยแต่ก็ต้อง :
พักผ่อน

ไม่รวยแต่ก็ต้อง :
รู้จักพอเพียง 

ธุระยุ่งแค่ไหนก็ต้อง :
รู้จักพักผ่อน 

หมั่นเตือนตน :
ชีวิตนี้สั้นนัก 

หากเวลาของคุณ
ยังมีเหลือเฟือ ส่งต่อข้อความเหล่านี้
ให้เพื่อนของคุณ ให้เพื่อนได้อ่านบ้าง เพื่อจะได้ใส่ใจตัวเองบ้าง

ดังนั้น อยากกิน...กิน 
อยากเที่ยว....เที่ยว
เรื่องกลุ้มอย่าเก็บไว้ 
สุขสบายทุกเพลา 
เวลาที่ยังจับมือไหว้พระ​
ให้เชิญเพื่อนมาสังสรรค์ 
เวลาที่ยังกอดไหว ให้โอบกอดให้ชื่นใจ 

ทำหน้าที่พ่อ แม่ ลูก สามี ภรรยา พี่ น้อง

เพื่อนที่ดีต่อไป 
เวลาที่อยู่ด้วยกัน 

อย่าได้โกรธกัน
ง่ายๆ 

ถ้าคุณส่งให้เพื่อนๆ แสดงว่าคุณเป็นคนรักและหวังดีกับเพื่อนคุณ

ถ้านิ่งเฉยแสดงว่า
คุณรักแต่ตัวเอง จนลืม
จะเผื่อแผ่ความสุข
ให้คนรอบข้าง
และเตือนสติเพื่อนของคุณ.... รักนะถึงเอามา
ให้อ่านกัน...

..นี่คือ.......ความสุข
อย่างแท้จริงของชีวิต.

อาการทางสมาธิ

#เคยเจอปีติตัวไหนกันบ้าง ?
ถ้าเราเจริญสติ ด้วยความสบาย ผ่อนคลาย 
สภาวะรู้สึกทั้งตัวจะเกิดขึ้นมาได้เองโดยธรรมชาติ

รู้กายทั้งกาย รวมถึงลมหายใจ 
ก็จะถูกรู้ขึ้นมาได้เองโดยความเป็นธรรมชาติ 
....ด้วยความผ่อนคลาย
 
เมื่อทำไปเรื่อยๆ สติก็จะมีความมั่นคงขึ้น 
เกิดสภาวะความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
รู้สึกทั้งตัว รู้พร้อมทั้งกายทั้งใจ 
....รู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่ 

ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมนี้...
จะเป็นสภาวะของสัมมาสมาธิ 
ที่เกิดเมื่อมีสติมั่นคง มีจิตตั้งมั่น
....สัมมาสติ ส่งเข้าสู่ สัมมาสมาธิ 
สติจะวางจากฐานกาย 
เข้าสู่ฐานของเวทนานุปัสสนา 

เมื่อเข้าสู่สภาวะของชั้นสัมมาสมาธิ 
จะเกิดสภาวะที่เรียกว่า... 
รู้สึกตัวทั่วพร้อมขึ้นมา

เมื่อเกิดสภาวะของความรู้สึกตัวทั่วพร้อมแล้ว
....จึงเกิดปีติขึ้นมา

ขนลุกทั้งตัวบ้าง ตัวโยกโคลงทั้งตัวบ้าง 
ควงไปข้างหน้า ข้างหลัง หมุนควงบ้าง 
....อาการภายในมันควง

บางทีก็เกิดอาการเหมือนตัวลอยบ้าง 
ตัวหนักบ้าง 
เกิดความรู้สึกเหมือนขยายตัวออกไป 
ตัวใหญ่บ้าง หดตัวเหลือตัวเล็กบ้าง 
เกิดกระแสความร้อนทั้งตัวบ้าง ความเย็นบ้าง 
เกิดสภาวะแข็งเป็นหินทั้งตัวบ้าง

แต่ผู้ปฏิบัติจะพบว่า... 
ใจเรานิ่งขึ้น ตั้งมั่นขึ้น 
มันเป็นสภาวะของปีติ ของความรู้สึกตัว

ลมหายใจจะสงบ ระงับ ลงไปโดยลำดับ
แต่ความรู้สึกทั้งตัว จะเด่นชัดขึ้นมาแทน 
เรียกว่ามีลมหายใจเป็นพี่เลี้ยง 
มีความรู้สึกตัวเป็นลักษณะเด่น 

....ก็จะหลุดพ้นจากสมมุติบัญญัติ
โลกของความคิดปรุงแต่ง 
เหลือแต่ปรมัตถธรรมที่เรียกว่า... 
ความรู้สึกล้วน ๆ อยู่ 

สภาวะของความรู้สึกตัวนี้...
จะเป็นความรู้สึกของร่างกายทั้งตัว 
....ก็ให้แช่อยู่กับความรู้สึกตัวไปเรื่อย ๆ 
เหมือนว่าเราแช่อยู่ในน้ำที่เย็นชุ่มฉ่ำ
ด้วยความผ่อนคลายสบาย ๆ
 
ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมนี้...สติสัมปชัญญะ 
จะพัฒนาได้อย่างเต็มฐานทั้งตัว 
ความรู้สึกมีอยู่ทั้งตัว หัวตัวแขนขาทั้งตัว 

....การปฏิบัติที่ถูกต้องจะต้องส่งเข้าสู่
สภาวะของความรู้สึกตัวทั่วพร้อมทั้งสิ้น 
สติปัฏฐาน๔ ทุกข้อ ถ้าปฏิบัติได้ถูกต้อง 
จะส่งเข้าสู่สภาวะนี้ทั้งสิ้น
 
ที่ทรงตรัสว่า... มีความเพียร 
มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม 
มีสติ ละความพอใจ ไม่พอใจในโลก 

....สัมมาสมาธิ เริ่มต้นที่ตรงนี้ 
สภาวะของความรู้สึกตัวทั่วพร้อม


ที่มา
โดย พระมหาวรพรต กิตติวโร

23 มิถุนายน 2563

#การสมาทานพระกรรมฐาน

     ขอให้บรรดาท่านพุทธบริษัทพึงทราบความประสงค์ของพระพุทธเจ้า การที่ท่านทั้งหลายมาสมาทานพระกรรมฐาน โดยใช้คำว่า " #อิมาหัง_ภะคะวา_อัตตะภาวัง_ตุมหากัง_ปะริจัจชามิ" แปลว่า 
 
" #ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิตแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า"

คำว่า"มอบกายถวายชีวิต" หมายความว่า
เราต้องการบูชาพระรัตนตรัยด้วยชีวิต
หมายความว่า 

เราจะเคารพในพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ และจะปฏิบัติตามพระองค์ด้วยชีวิต กล่าวคือ จะไม่ปล่อยให้จิต
ของเราตกเข้าไปอยู่ในระบบของความชั่ว ถ้าทำอย่างนี้เรียกว่าเป็นพุทธบริษัทจริง เราจะทรงความดีในระดับกามาวจรสวรรค์ก็ดี ด้านพรหมก็ตาม หรือถึงที่สุดระดับนิพพานก็ดี อย่างนี้ชื่อว่าเป็นพุทธสาวกแท้

แต่ถ้าหากว่าสมาทานพระกรรมฐานแล้ว เราไม่ยอมรับนับถือในคำสอนของพระองค์ สมาทานศีลแล้วก็เอาศีลไปเหวี่ยงทิ้ง ในด้านธรรมก็ไม่ปฏิบัติฟังคำสอนแล้วทิ้งไปอย่างนี้ แม้จะมีการบูชาสารพัดก็ตาม หรือว่ามีการถวายความเรียบร้อย บูชาด้วยธูปเทียน ดอกไม้ เครื่องสักการะคารวะบูชาผ้าสารพัดก็ตาม #ก็ยังไม่ถือว่าเข้าถึงความเป็นพุทธสาวกของพระพุทธศาสนา

ในการที่เป็นพุทธสาวกจริงๆ ก็ต้องแสดงตนและน้อมจิตใจยอมรับนับถือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นสำคัญ ถ้ายังปฏิบัติสูงไม่ได้ ก็ตั้งใจไว้ว่า จะปฏิบัติในด้าน #มนุษยธรรม ให้ครบถ้วน ตายจากความเป็นคนจะสามารถเกิดเป็นคนได้ทันที

ถ้าเรามีเจตนาดียิ่งกว่านั้นก็ทำ "เทวธรรม" ให้ปรากฏ
" #เทวธรรม" แปลว่า #ธรรมที่ทำให้บุคคลเป็นเทวดา มี ๒ อย่าง คือ 
▪️ #หิริ ความละอายต่อความชั่ว 
▪️ #โอตตัปปะ ความเกรงกลัวผลความชั่วที่จะมีแก่ตน 

ถ้าบุคคลใดมีใจสะอาดมีความกลัวในผลของความชั่ว ไม่ทำความชั่วทั้งในที่ลับและที่แจ้ง ชื่อว่าบุคคลนั้นมี เทวธรรม เมื่อตายจากความเป็นคนก็เป็นเทวดา

ถ้ามีอารมณ์สูงกว่านั้น ก็ตั้งหน้า #ปฏิบัติพระกรรมฐาน ทรงสมาธิจิตให้เป็นฌาน และขณะที่เราจะสิ้นชีวิตนี้ไปด้วยกำลังของฌาน เข้าฌานตายก็ไปถึงพรหม

และถ้ามีความปรารถนามากไปกว่านั้นก็ทำจิตให้ดับจากอำนาจของกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม ยอมรับนับถือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเห็นว่าอัตภาพร่างกายนี้ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา

ตัดอารมณ์ปรารถนาในความเกิดเป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นพรหม ตัดอารมณ์ที่เห็นว่าโลกมนุษย์ก็ดี เทวโลกก็ดี พรหมโลกก็ดีเป็นของสวยสดงดงาม สิ่งที่เราต้องการ คือพระนิพพาน 

มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ตัดความโลภเสียได้ ตัความโกรธเสียได้ ตัดความหลงเสียได้ อย่างนี้เราตายเมื่อใดก็ถึง #พระนิพพานเมื่อนั้น นี่ที่เรียกว่าในระดับสูงสุด

ท่านทั้งหลายได้สมาทานพระกรรมฐานแล้ว การสมาทานพระกรรมฐานที่ว่ากันอยู่ทุกวันจงอย่าถือว่าว่ากันตามประเพณี 

คำว่า" อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจัจชามิ"ซึ่งแปลเป็นใจความว่า..

"ข้าพเจ้าขอมอบกายถวายชีวิตแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า"

คำนี้ ว่าแล้วต้องคิดไว้เสมอทุกลมหายใจเข้าออก และเขาถวายชีวิตกันยังไงถวายชีวิตแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราก็มานั่งนึกดูว่า ชีวิตของเราที่พระพุทธเจ้า ให้ไว้มีอะไรบ้าง ที่ให้ไว้เป็นพื้นฐานทั่วๆ ไปก็คือ

▪️๑ #สัพพะปาปัสสะ_อะกะระณัง 
เจ้าทั้งหลายอย่าทำความชั่วทั้งหมด

▪️๒ #กุสลัสสูปสัมปะทา จงสร้างแต่ความดี

▪️๓ #สะจิตตะปะริโยทะปะนัง จงทำใจของเราให้แจ่มใสจากกิเลส

#เอตัง_พุทธานะ_สาสะนัง พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า..
"พระพุทธเจ้าทุกพระองค์สอนอย่างนี้เหมือนกันหมด"

เป็นอันว่า ชีวิตของเราที่ยอมมอบถวายแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เขาถวายกันแบบนี้ คือ
●๑. เราตั้งใจไม่ทำความชั่วทั้งหมด ที่องค์สมเด็จพระบรมสุคตกล่าวไว้ว่า #อย่างไรเป็นความชั่วนั่นเราไม่ทำ

●๒. สร้างความดี ความดีที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ได้แก่ #ศีล #สมาธิ #ปัญญา

●๓. ทำจิตใจให้ผ่องใสจากกิเลส ๓ ประการ ที่เป็นรากเหง้าของกิเลสคือ #โลภะ หรือว่า #ราคะ_โทสะ_โมหะ 

#ทั้ง๓อย่างอย่าให้มีในจิตใจของเรา
#ถ้าสิ่งทั้งหลายที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่มีในจิตใจของเรา #นั่นแสดงว่าเรามอบกายถวายชีวิตแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


ที่มา
#พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน 
วัดจันทาราม(ท่าซุง)จ.อุทัยธานี
📖:พ่อสอนลูก หน้า ๑๗๓-๑๗๖
🖊:Moddam Thammawong

ท่านไม่ให้เหยียดหยามกัน


เราทั้งหลาย ..
ต่างเกิดมาด้วยวาสนา
มีบุญพอเป็นมนุษย์ได้ อย่างเต็มภูมิ
ดังที่ทราบอยู่แก่ใจ

อย่าลืมตัวลืมวาสนา ..
โดยลืมสร้างคุณงามความดี
เสริมต่อภพชาติของเรา ที่เคยเป็นมนุษย์
จะเปลี่ยนแปลง

และ ..
กลับกลายหายไปเป็นชาติที่ต่ำทราม

ท่านจึงสอน ..
ไม่ให้ดูถูกเหยียดหยามกัน
เมื่อเห็นเขาตกทุกข์ หรือ กำลังจน
จนน่าทุเรศ

เราอาจมี ..
เวลาเป็นเช่นนั้น หรือยิ่งกว่านั้นก็ได้
เมื่อถึงวาระเข้าจริงๆ
ไม่มีใครมีอำนาจหลีกเลี่ยงได้

เพราะ ..
กรรมดี กรรมชั่ว
เรามีทางสร้างได้เช่นเดียวกับผู้อื่น...

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่านค่ะ

สองสิ่ง เท่านั้นที่จะติดตามเจ้าไป คือบุญกับบาป


“จะทำกิจสิ่งใดลงไปก็ตามให้ท่องจำไว้ให้ขึ้นใจ อย่าไปยุ่งกับวัดกับวาให้มาก ตายไปจะเป็นเปรตแก้ยาก อย่าโลภอยากได้ของคนอื่น ให้มีความละอายแก่ใจ ให้มีความเกรงกลัวต่อบาป ยามเจ้าละจากโลกนี้ไป มีเพียง สองสิ่ง เท่านั้นที่จะติดตามเจ้าไป คือบุญกับบาป หนีไม่พ้น เจ้าอยู่เจ้าได้กินข้าว เจ้าตายไปเจ้าได้กินบุญ ภพชาติมีจริงไม่ใช่เรื่องเหลวไหล จงอย่าเกียจคร้านหมั่นทำบุญทำทาน ผีมีจริง เทวดามีจริง พระพุทธเจ้ามีจริง ฉันหลวงปู่หมุนไม่ใช่ผู้วิเศษ ฉันเสกให้เจ้าได้เพียงดึงเอากิ่งไม้ ขอนไม้ที่ขวางทางชีวิตเจ้าออกให้ ที่เหลืออยู่ที่บุญวาสนาเก่าก่อนของเจ้าโชคลาภสมควรแก่บารมีของเจ้าของ ''


ที่มา
#คำสอนของ หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล

กษัตริย์ตรัสแล้วไม่คืนคำ

#เป็นกษัตริย์ตรัสแล้วไม่คืนคำ กษัตริย์ตัดนิ้วพระองค์เอง เพราะทำขัดรับสั่ง.! | #ห้ามคนอื่นไว้_ตัวเองเผลอทำ ก็ต้องลงโทษ.!!
.
ในจำนวนฝรั่งผู้บันทึกสยาม “วันวลิต” ชื่อที่คนไทยเรียก เยเรเมียส ฟาน ฟลิต ชาวฮอลันดาที่เข้ามาเป็นผู้จัดการสถานีการค้าของฮอลันดาในกรุงศรีอยุธยาถึง ๙ ปี ในระหว่าง พ.ศ.๒๑๗๖-พ.ศ.๒๑๘๕ ในรัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง และได้เขียนหนังสือไว้ ๓ เล่ม 
.
กล่าวถึงพระเจ้าแผ่นดินหลายพระองค์ตั้งแต่พระเจ้าอู่ทองเป็นต้นมา มากรัชกาลกว่าฝรั่งหลายคนที่เข้ามา นับว่าเป็นประโยชน์แก่การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยอย่างมาก
.
ในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ หน่อพุทธางกูร) พระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ ๑๒ ของกรุงศรีอยุธยา วันวลิตเล่าว่า พระองค์สืบราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา เมื่อพระชนมายุได้ ๒๗ พรรษา และไม่ประสงค์จะใช้คำว่า “พระ” นำหน้าพระนาม ทรงกล่าวว่าเทพยดาเท่านั้นที่มีสิทธิ์ใช้คำนี้ ดังนั้นพระองค์จึงทรงพระนามว่า “หน่อพุทธางกูร”
.
@@@@
.
เมื่อต้นรัชกาล พระองค์ทรงไว้ซึ่งความเมตตา แต่คุณงามความดีของพระองค์ก็มีผู้ล่วงระเมิด สาเหตุเนื่องมาจากขุนนางทั้งหลายคิดว่า เมื่อพระราชบิดาของพระองค์สิ้นพระชนม์ พวกตนก็เป็นอิสระไม่เป็นขี้ข้าใคร ไม่จำเป็นต้องเชื่อฟังหรือเทิดทูนพระเกียรติพระราชโอรส แต่เมื่อพระองค์สังเกตเห็นจึงทรงเปลี่ยนท่าทีเป็นเข้มแข็งเด็ดขาด
.
พระองค์เป็นกษัตริย์ที่รักการรบ มีพระปรีชาสามารถ กระตือรือร้น และรักความก้าวหน้า พระองค์ทรงแต่งตั้งผู้ที่ใจบุญและซื่อสัตย์ให้ดำรงตำแหน่งทางศาล และพระองค์ทรงเป็นศัตรูอย่างร้ายแรงกับผู้พิพากษาที่เลวๆ ทรงกำหนดโทษพวกเขาถึงตาย พระองค์ทรงหนักแน่น ไม่มีใครทำให้พระองค์หลงระเริงได้ ไม่ทรงโปรดใครเป็นพิเศษ
.
ทรงแสดงความรู้สึกเท่าเทียมกันหมดทั้งต่อชนชั้นสูงและชนชั้นต่ำ ต่อพระและคฤหัสถ์ กระแสรับสั่งของพระองค์ถือว่าเด็ดขาด ใครก็ตามไม่ปฏิบัติตาม แม้จะเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ หากขัดกระแสรับสั่งจะถูกลงโทษเยี่ยงอาชญากร และพระองค์ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรมในการพิพากษา
.
@@@@
.
ครั้งหนึ่งพระองค์สังเกตเห็นฝาผนังในพระบรมมหาราชวังมีรอยปูนแดงเป็นจุดๆ จึงรับสั่งถามสมุหราชมณเฑียรว่า
“ใครเอาปูนแดงมาป้ายกำแพง”
.
สมุหราชมณเฑียรกราบทูลว่า
“พวกมหาดเล็กได้สลัดปูนที่ป้ายบนใบพลูจนมากเกินไปออกไปติดกำแพงพ่ะย่ะค่ะ”
.
พระองค์จึงมีรับสั่งว่า
“บุคคลที่สลัดปูนออกจากใบพลูไปถูกกำแพง จะต้องตัดนิ้วชี้ออก”
.
@@@@
.
สองสามวันต่อจากนั้น ขณะที่พระองค์ประทับอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ต้องการเสวยพระศรี หรือหมาก และทอดพระเนตรเห็นว่ามีปูนบนใบพลูมากเกินไป จึงทรงปาดออกด้วยนิ้วชี้ และเผลอป้ายไปที่กำแพงห้อง แต่พอตระหนักว่าได้ทำสิ่งที่พระองค์ห้ามไว้ ก็ทรงชักกริชออกมาตัดนิ้วชี้ทิ้งไป พร้อมกับรับสั่งว่า
.
“เจ้าทำความร้าย ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเรา ดังนั้นเราจึงไม่ต้องการเจ้า เพราะเจ้าไม่มีค่าอีกแล้ว”
.
หน่อพุทธางกูร ทรงทำสงครามกับล้านช้างและพะโคเสมอๆ ในบั้นปลายพระชนม์ชีพ พระองค์ยกทัพไปประชิดพะโคและยึดเมืองแถวนั้นได้ แต่ขณะยกทัพกลับ ก็สิ้นพระชนม์ด้วยไข้ทรพิษ รวมเวลาครองราชย์เพียง ๔ ปี

_________________________
ขอบคุณ : https://mgronline.com/onlinesection/detail/9630000059995
เผยแพร่ : 10 มิ.ย. 2563 ,11:27 ,โดย : โรม บุนนาค

ที่มาของ "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ"

1. ณ แดนหิมวันตประเทศ มีเทือกเขาชื่อว่า สาตาคิรี เป็นที่ร่มรื่น รมณียสถาน เป็นที่อยู่ของพวกยักษ์ที่เป็นภุมมเทพยดา อันมีนามตามที่อยู่ว่า สาตาคิรียักษ์

มีหน้าที่เฝ้าทางเข้าป่าหิมวันต์ ทางทิศเหนือ เป็นบริวารของท้าวเวสสุวัณ สาตาคิรียักษ์ได้มีโอกาสสดับพระสัทธรรมจากพระบรมศาสดา จนมีจิตเลื่อมใสศรัทธา เปล่งคำยกย่องบูชาด้วยคำว่า

"นะโม" หมายถึง ขอบูชา ขอนอบน้อม ขอนมัสการ

2. กล่าวฝ่ายอสุรินทราหู เมื่อได้สดับพระกิตติศัพท์ของพระบรมศาสดา ก็มีจิตปรารถนา ที่จะได้ฟังธรรมของพระบรมศาสดาบ้าง แต่ด้วยกายของตนใหญ่โตเท่ากับโลก จึงคิดดูแคลนพระบรมศาสดาว่า มีพระวรกายเล็กดังมด จึงอดใจรั้งรออยู่ พอนานวันเข้า พระเกียรติคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ยิ่งขจรขจายไปทั้งสามโลก จนทำให้อสุรินทราหูอดรนทนอยู่มิได้ จึงเหาะมาในอากาศ ตั้งใจว่าจะร่ายเวทย่อกาย เพื่อเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอฟังธรรม แต่พอมาถึงที่ประทับ อสุรินทราหู กลับต้องแหงนหน้าคอตั้งบ่า เพื่อจะได้ทัศนาพระพักตร์พระบรมศาสดา

พระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงพระสัทธรรม ชำระจิตอันหยาบกระด้าง ของอสุรินทราหู ให้มีความเลื่อมใสศรัทธา แสดงตนเป็นอุบาสกผู้ถือพระรัตนตรัยตลอดชีวิต แล้วกล่าวสรรเสริญพระบรมศาสดาว่า

"ตัสสะ" แปลว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงเป็นใหญ่กว่า มนุษย์ เทพยดา พราหมณ์ มาร ยักษ์ และสัตว์ทั้งปวง

3. เมื่อครั้งที่ท้าวจาตุมหาราช ทั้ง ๔ ผู้ดูแลปกครองสวรรค์ชั้นแรก มีชื่อเรียกว่า ชั้น กามาวจร มีหน้าที่ปกครองดูแลประตูสวรรค์ทั้ง ๔ ทิศ พร้อมบริวาร ได้พากันเข้ามาเฝ้าพระบรมศาสดา แล้วทูลถามปัญหา พระบรมศาสดา ทรงแสดงธรรมตอบปัญหา แก่มหาราชทั้งสี่พร้อมบริวาร จนยังให้เกิดธรรมจักษุแก่มหาราชทั้งสี่ และบริวาร ท่านทั้ง ๔ นั้น จึงเปล่งคำบูชาสาธุขึ้นว่า

"ภะคะวะโต" แปลว่า พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นผู้จำแนกธรรมอันยิ่ง อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า

4. ท้าวสักกเทวราชหรือพระอินทร์ เจ้าสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ชั้นที่ ๒ ท่านสถิตอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท้าวสักกเทวราชได้ทูลถามปัญหาแด่พระผู้มีพระภาค พระพุทธองค์ทรงตรัสปริยายธรรม และ ทรงตอบปัญหา จนทำให้ท้าวสักกเทวราช ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุเป็นพระโสดาปัตติผล จึงเปล่งอุทานคำบูชาขึ้นว่า

"อะระหะโต" แปลเป็นใจความว่า อรหันต์ เป็นผู้ไกลจากกิเลส ไกลจากเครื่องข้องทั้งปวง

5. "สัมมาสัมพุทธัสสะ" เป็นคำกล่าวยกย่องสรรเสริญ ของท้าวมหาพรหม หลังจากได้ฟังธรรม จนบังเกิดธรรมจักษุ จึงเปล่งคำสาธุการ

"สัมมาสัมพุทธัสสะ" หมายถึง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

ดังนั้น การตั้งนะโมจึงเป็นการไหว้ครู สรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นพระบรมครูของสามโลก จึงขอนำคาถาฎีกานะโมมาไว้ให้ท่านทั้งหลายได้สวดท่องป้องกันภัยในทุกทิศ ประสิทธิทุกศาสตร์ ดังคำกล่าวที่ว่า "ท่องนะโมโตเต็มโลก"

นะโม สาตาคิริยักโข ตัสสะ อะสุรินโท ปะวุจจะติ
ภะคะวะโต จาตุมมะหาราชา อะระหะโต สักโก ตะถา
สัมมาสัมพุทธัสสาติ มะหาพรัหเมหิ ปะวุจจะติ ฯ

การเปล่งวาจาว่าบทนมัสการ ต้องว่า ๓ จบเสมอ มีเหตุผลดังนี้

จบที่ ๑ เพื่อนมัสการพระวิริยาธิกพุทธเจ้า ระยะกาลบำเพ็ญพระบารมี ๑๖ อสงไขย ๑ แสนกัป

จบที่ ๒ เพื่อนมัสการพระสัทธาธิกพุทธเจ้า ระยะกาลบำเพ็ญพระบารมี ๘ อสงไขย ๑ แสนกัป

จบที่ ๓ เพื่อนมัสการพระปัญญาธิกพุทธเจ้า ระยะกาลบำเพ็ญพระบารมี ๔ อสงไขย ๑ แสนกัป

อีกมติหนึ่งให้เหตุผลว่า.-  

จบที่ ๑ เป็นบริกรรม

จบที่ ๒ เป็นอุปจาร

จบที่ ๓ เป็นอัปปนา.....

หลังจากมรณภาพแล้วก็ยังมาสอนศิษย์ทางนิมิต

หลังจากท่านมรณภาพแล้วโดยทางรูปกาย
แต่ความสัมพันธ์ระหว่างนิมิตที่ปรากฏเป็นองค์แทนท่าน กับความรู้ทางจิตตภาวนาของบรรดาศิษย์ที่มีนิสัยในทางนี้ก็มีต่อกันอยู่เสมอมา ราวกับท่านยังมีชีวิตอยู่ การภาวนาเกิดขัดข้องอย่างไรบ้าง ท่านก็มาแสดงบอกอุบายวิธีแก้ไขโดยทางนิมิต เหมือนองค์ท่านแสดงจริง ๆ ทำนองพระอรหันต์มาแสดงธรรมให้ท่านฟังในที่ต่าง ๆ  ดังที่เขียนผ่านมาแล้ว ถ้าจิตของผู้นั้นอยู่ในภูมิใด และขัดข้องธรรมแขนงใด ที่ไม่สามารถแก้ไขโดยลำพังตนเองได้ ท่านก็มาแสดงธรรมแขนงนั้นจนเป็นที่เข้าใจ แล้วนิมิตคือรูปภาพขององค์ท่านก็หายไป หลังจากนั้นก็นำธรรมเทศนาที่ท่านแสดงให้ฟังในขณะนั้น มาแยกแยะหรือตีแผ่ออกตามกำลังสติปัญญาของตนให้กว้างขวางออกไป และได้อุบายเพิ่มขึ้นอีกตามภูมิที่ตนสามารถ

ท่านที่มีนิสัยในทางออกรู้สิ่งต่าง ๆ ย่อมมีทางรับอุบายจากท่านที่มาแสดงให้ฟังได้ตลอดไป ที่เรียกว่าฟังธรรมทางนิมิตภาวนา ท่านมาแสดงธรรมให้ฟังทางนิมิต ผู้รับก็รับรู้ทางนิมิต ซึ่งเป็นความลึกลับอยู่บ้างสำหรับผู้ไม่เคยปรากฏ หรือผู้ไม่เคยได้ยินมาเลย อาจคิดว่าผู้รับในทางนิมิตเป็นความเหลวไหลหลอกลวงก็ได้ แต่ความจริงก็เป็นอย่างนั้น

พระปฏิบัติที่มีนิสัยในทางนี้ ท่านรับเหตุการณ์ในทางนี้ด้วย อันเป็นความรู้พิเศษเฉพาะราย ๆ มิได้ทั่วไปแก่ผู้ปฏิบัติทั้งหลาย คือเป็นไปตามภูมินิสัยวาสนา ดังท่านอาจารย์มั่นฟังพระโอวาทของพระพุทธเจ้าที่เสด็จไปโปรด และฟังธรรมที่พระสาวกมาแสดง โดยทางนิมิตเสมอมา บรรดาศิษย์ที่มีนิสัยคล้ายคลึงท่าน
ก็มีทางทราบได้จากนิมิตที่ท่านมาแสดง หรือพระพุทธเจ้าและพระสาวกมาแสดง ถ้าเทียบก็น่าจะเหมือนพุทธนิมิตของพระพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธมารดาในชั้นดาวดึงส์สวรรค์ฉะนั้น

แต่เรื่องของพระพุทธเจ้าเป็นเรื่องใหญ่มาก จิตใจคนน้อมเชื่อได้ง่ายกว่าเรื่องทั่ว ๆ ไป แม้มีมูลความจริงเท่ากัน จึงเป็นการยากที่จะพูดให้ละเอียดยิ่งกว่าที่เห็นว่าควร ดังนั้นผู้เขียนจึงไม่สะดวกใจที่จะเขียนให้มากไปกว่านี้ และขอมอบไว้กับท่านผู้ปฏิบัติ จะทราบเรื่องเหล่านี้ด้วยความรู้อันเป็นปัจจัตตังของตัวเอาเองดีกว่าผู้อื่นอธิบายให้ฟัง เพราะเป็นความแน่ใจต่างกันอยู่มาก สำหรับผู้เขียนมีความรู้สึกอย่างนั้น

อะไรก็ตามถ้าตนมีความสามารถพอเห็นได้ฟังได้ สูดกลิ่นลิ้มรส และรู้เห็นทุกสิ่งได้ด้วยตัวเอง ก็ไม่อยากรับทราบจากผู้อื่นมาเล่าให้ฟัง เพราะแม้ทราบแล้ว บางอย่างก็อดสงสัยและคิดตำหนิติเตียนไม่ได้ แม้ผู้มีเมตตาจิตเล่าให้ฟังด้วยความบริสุทธิ์ใจ เพราะเรามันปุถุชนไม่บริสุทธิ์นี่ จึงมักจะชนดะไปเรื่อยไม่ค่อยลงใครเอาง่าย ๆ ฉะนั้นจึงควรให้ตนรู้เอาเอง ผิดกับถูกก็ตัวรับเอาเสียเอง ไม่ต้องให้คนอื่นพลอยรำคาญ ทนฟังคำตำหนิติเตียนจากตน ดังท่านว่าบาปใครบุญใครก็รับเอาเอง ทุกข์ก็แบกหามเอง สุขก็เสวยเอง รู้สึกว่าถูกต้องและง่ายดีด้วย

ที่มา
#คัดลอกจากหนังสือ
#ประวัติท่านพระอาจารย์มั่น_ภูริทัตตเถระ
#โดยท่านอาจารย์พระมหาบัว_ญาณสัมปันโน
#แห่งวัดป่าบ้านตาด_จังหวัดอุดรธานี
************************************
ขออนุโมทนาขอขอบคุณ​ และขออนุญาตนำ
มาเผยแผ่เป็นธรรมทานแก่ผู้ที่มีความศรัทธา

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...