07 มิถุนายน 2563

“เรื่อง ปัญญา กับ ทิฏฐิ


แสวงหา“ปัญญา” แต่พอรู้อะไรนิดๆหน่อยๆ เริ่มลงความเห็น เลยกลายเป็น “ทิฏฐิ”
“เรื่อง ปัญญา กับ ทิฏฐิ
“ปัญญา” คือ ความรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง คนเราพัฒนาปัญญาเพื่อให้เข้าถึงความจริงของธรรมชาติ แต่ในขณะที่เราแสวงหาปัญญาอยู่นั้น ก็มักจะตกหลุมอีกแห่งหนึ่งขึ้นมา คือพอเราได้รู้อะไรนิดๆหน่อยๆ เราจะเริ่มลงความเห็น สิ่งที่กลายเป็นความเห็นของเรานี้ ท่านเรียกว่า “ทิฏฐิ”
.
คนบางพวกมีความโน้มเอียงที่จะลงความเห็นง่าย #พอลงความเห็นปุ๊บไปแล้วตัวเองยังไม่ทันเข้าถึงความจริงก็เลยติดอยู่ในความเห็นอันนั้นเอง ทั้งที่เพิ่งได้ความจริงเพียงแง่หนึ่งด้านเดียว อันนั้นก็กลายเป็น “ทิฏฐิ” ไปเสียแล้ว
.
พอลงเป็นทิฏฐิแล้ว เจ้าทิฏฐินั้นก็...
.
๑. กลายเป็นตัวอุปสรรค มาขัดขวางตัวเขาเอง ไม่ให้แสวงหาปัญญาต่อ ก็เลยเข้าไม่ถึงความจริง
.
๒. เป็นอันตรายต่อเพื่อนมนุษย์ เพราะตัวเองก็จะดื้อรั้นให้เป็นไปตามทิฏฐิของตน จนบางทีถึงกับไปบังคับคนอื่นให้เห็นตาม
.
ฉะนั้นทิฏฐิจึงมีบทบาทสำคัญในกระบวนการพัฒนาปัญญา #มันเกิดขึ้นในระหว่างที่เรากำลังแสวงหาปัญญา แต่พอมันเกิดขึ้นแล้วกลับเป็นอันตราย ทั้งกั้นตัวเองด้วยและทำร้ายผู้อื่นด้วย
.
ฉะนั้น จึงมีปัญหาว่า..ทำอย่างไร? จะไม่ให้คนตกลงไปอยู่ใต้ทิฏฐิ เราจะได้ก้าวหน้าในปัญญาอยู่เสมอ
.
#คนที่เป็นนักแสวงปัญญานั้นจะไม่ลงทิฏฐิง่ายๆ แล้วก็ไม่ยึดติดถือมั่นอยู่ใต้ครอบงำของทิฏฐิ...
.
เวลานี้ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งในเรื่องปัญญากับทิฏฐิ ก็คือว่า โลกแคบเข้ามารวมกันเป็นหนึ่งเดียวโดยเทคโนโลยี แต่คนยิ่งแตกยิ่งแยกกันโดยทิฏฐิ นี่คือ จุดติดตันของอารยธรรมมนุษย์ยุคปัจจุบัน”
.
ที่มา
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( ป. อ. ปยุตฺโต )
ที่มา : ธรรมนิพนธ์ “การสร้างสรรปัญญา เพื่ออนาคตของมนุษยชาติ”

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...