"พุทโธ ไตรลักษณ์ ขัันธ์๕ ปฏิจจสมุปบาท"
พระราชปุจฉา : คำภาวนา พุทโธ เป็นสมาธิ จะทำวิปัสสนาต่อไปจะทำอย่างไร
พระราชปุจฉา : คำว่า วิญญาณ หมายความว่า “ธาตุรู้” ใช่ไหมขอรับ
หลวงพ่อพุธ : คำว่า วิญญาณ คือ “ธาตุรู้” วิญญาณในเบญจขันธ์หมายถึง วิญญาณรู้จากของ ๒ อย่างกระทบกัน เช่น
ตากับรูปกระทับกัน เกิดภูมิรู้ขึ้น เรียกว่า จักขุวิญญาณ
เสียงกับหูกระทบกัน เกิดภูมิรู้ขึ้น เรียกว่า โสตวิญญาณ
กลิ่นกับจมูกกระทบกัน เกิดภูมิรู้ขึ้น เรียกว่า ฆานวิญญาณ
ลิ้นกับรสกระทบกัน เกิดภูมิรู้ขึ้น เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ
กายกับสิ่งสัมผัสกระทบกัน เกิดภูมิรู้ขึ้น เรียกว่า กายวิญญาณ
จิตนึกคิดอารมณ์ เกิดภูมิรู้ขึ้น เรียกว่า มโนวิญญาณ
อันเป็นวิญญาณในขันธ์ ๕ ทีนี้วิญญาณในปฏิจจสมุปบาท หมายถึง ปฏิสมาธิวิญญาณ คือ วิญญาณรู้ผุด รู้เกิด
.....................................................................
หลวงพ่อพุธ : คำภาวนา พุทโธ ทำจิตให้เป็นสมาธิ พูดได้ว่า ภาวนาพุทโธ ทำจิตให้สงบลงเป็นสมาธิเพียงแค่ขั้นอุปจารสมาธิ ถ้าต้องการทำจิตให้เป็นวิปัสสนาสืบเนื่องมาจากการภาวนาพุทโธ เมื่อทำจิตให้สงบลงไป รู้สึกว่าสงบสว่างขึ้นมาแล้ว น้อมจิตไปพิจารณารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ น้อมไปสู่ความเป็นอนิจจังไม่เที่ยง ทุกขังเป็นทุกข์ อนัตตาไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง ซึ่งเป็นพระไตรลักษณ์ หรือมิฉะนั้นก็กำหนดรู้ที่จิตของตนเอง เมื่ออารมณ์อันใดเกิดขึ้นในความคิด ก็กำหนดตามความคิดนั้นเรื่อยไป เมื่อความคิดอันใดเกิดขึ้นดับไป เกิดขึ้นดับไป เกิดขึ้นดับไป เราเอาพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ควบคุมความคิดว่า ความคิดนี้มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เจริญวิปัสสนาในสมาธิอ่อนๆ
บางครั้งเมื่อเจริญสมาธิแล้ว จิตจะถอนออกมาสู่จิตปกติธรรมดา ก็อย่าเลิกการพิจารณาเป็นเครื่องรู้ของจิต เป็นเครื่องระลึกของสติ เป็นเครื่องหมายแห่งความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ในที่สุดจิตจะสงบลงสู่ความเป็นสมาธิ และเกิดวิปัสสนากรรมฐานขึ้นมาโดยอัตโนมัติ
การบริกรรมภาวนานี้ บางทีบางท่านเพียงแต่บริกรรมภาวนา พอจิตสงบลงเป็นอุปจารสมาธิ จิตท่านผู้นั้นจะปฏิวัติไปสู่ภูมิวิปัสสนาโดยไม่ได้ตั้งใจ อันนี้แสดงว่าผู้นั้นได้เคยเจริญวิปัสสนาแล้วตั้งแต่ชาติก่อน เมื่อจิตสงบลงไปแล้ว วิปัสสนาก็ไม่เกิด เห็นแต่เพียงสงบนิ่ง สว่างอยู่เฉยๆ หากเป็นทำนองนี้ ต้องค้นคิดฝึกหัดวิปัสสนากรรมฐาน ยกเอาอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งมาพิจารณา จะเป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ได้ ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จนกว่าจะเกิดสมาธิขึ้นมาแล้วจึงจะรู้ภูมิแท้แห่งวิปัสสนาไปเอง
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
.........................................................................
"เมื่อเห็นนิมิตแล้วให้กำหนดรู้เฉย ๆ อย่าน้อมเข้ามา ถ้าน้อมเข้ามาแล้ว นิมิตเข้ามาในตัว มันจะกลายเป็นการทรงวิญญาณ"
(ปฏิปทาหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล)
โดยหลวงพ่อพุธ ฐานิโย
แต่ถ้าว่าท่านผู้ใดพอไปบอกว่า ภาวนาเห็นนิมิต ท่านแนะนำให้กำหนดรู้จิตเฉยอยู่ คล้าย ๆ กับว่าไม่สนใจกับนิมิตนั้น แล้วนิมิตนั้นจะแสดงปฏิกิริยาเปลี่ยนแปลงไปในแง่ต่าง ๆ เมื่อเรามีสติสัมปชัญญะดี มีสมาธิมั่นคง เราจะอาศัยความเปลี่ยนแปลงของมโนภาพอันเป็นของนิมิตนั้น เป็นเครื่องเตือนใจให้เรารู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นิมิตที่เปลี่ยนแปลงเป็น ปฏิภาคนิมิต
ถ้าหากว่านิมิตที่ปรากฏแล้วมันหยุดนิ่ง ไม่ไหวติง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ บางทีสมาธิของเรามันแน่วแน่ ความทรงจำมันฝังลึกลงไปในส่วนลึกของจิต ไปถึงจิตใต้สำนึก เมื่อออกจากที่นั่งสมาธิมาแล้ว เราไม่ได้นึกถึงเหมือนกับคล้าย ๆ มองเห็นนิมิตนั้นอยู่ นึกถึงมันก็เห็น ไม่นึกถึงมันก็เห็น มันติดตาติดใจอยู่อย่างนั้น อันนี้เรียกว่า อุคคหนิมิต ว่ากันง่าย ๆ
ถ้าจิตของเรามองเพ่งอยู่ที่ภาพนิ่ง เป็น อุคคหนิมิต ถ้าจิตเพ่งรู้ความเปลี่ยนแปลงของนิมิตนั้น เป็น ปฏิภาคนิมิต
อุคคหนิมิตเป็นสมาธิขั้นสมถกรรมฐาน แต่ปฏิภาคนิมิตนั้นเป็นสมาธิขั้นวิปัสสนา เพราะจิตกำหนดรู้ความเปลี่ยนแปลง
อันนี้ถ้าหากว่าใครภาวนาได้นิมิตอย่างนี้ ไปเล่าให้ท่านอาจารย์เสาร์ฟัง ท่านจะบอกว่า เอ้อ! ดีแล้ว เร่งเข้า ๆ ๆ
แต่ถ้าใครไปบอกว่าในเมื่อเห็นนิมิตแล้ว ผมหรือดิฉันน้อมเข้ามาในจิตในใจ แต่ทำไมเมื่อนิมิตเข้ามาถึงจิตฝังใจแล้ว จิตที่สว่างไสวปลอดโปร่ง รู้ ตื่น เบิกบาน มันมืดมิดลงไปแล้วเหมือนกับหัวใจถูกบีบ หลังจากนั้น จิตของเราไม่เป็นตัวของตัวคล้าย ๆ กับว่าอำนาจสิ่งที่เข้ามานั้นมันครอบไปหมด
ถ้าไปเล่าให้ฟังอย่างนี้ ท่านจะบอกว่าทำอย่างนั้นมันไม่ถูกต้อง เมื่อเห็นนิมิตแล้วให้กำหนดรู้เฉย ๆ อย่าน้อมเข้ามา ถ้าน้อมเข้ามาแล้ว นิมิตเข้ามาในตัว มันจะกลายเป็นการทรงวิญญาณ อันนี้เป็นเคล็ดลับในการปฏิบัติ เพราะฉะนั้น ถ้าผู้ใดมาแนะนำเราว่า ทำสมาธิแล้วให้น้อมจิตไปรับเอาอำนาจเบื้องบน หรือเห็นนิมิตแล้วให้น้อมเข้ามาในตัว อันนี้อย่าไปเอา มันไม่ถูกต้อง ในสายหลวงปู่เสาร์นี้ ท่านสอนให้ภาวนา พุทโธ
โดย หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
คำว่า ตํ นั้น ในคำว่า ยถา ตํ มาเรน ปริยฏฺฐิตจิตฺโต เป็นเพียงคำลงมาแทรกเข้าไว้. อธิบายว่า ปุถุชนแม้อื่นใดๆ ที่ถูกมารดลใจ คือถูกมารท่วมทับใจแล้ว ไม่พึงอาจเพื่อแทงตลอดได้ฉันใด พระเถระก็ไม่สามารถแทงตลอดฉันนั้นเหมือนกัน.
จริงอยู่ มารย่อมดลจิตผู้ที่ยังละวิปลาส ๑๒ อย่างไม่ได้หมด. ส่วนพระเถระยังละวิปลาส ๔ อย่างไม่ได้ เพราะฉะนั้น มารจึงยังดลใจของท่านได้.
ถามว่า ก็แล เมื่อมารนั้นจะทำการดลใจ ย่อมทำอะไร.
ตอบว่า ย่อมแสดงรูปารมณ์ที่น่ากลัวบ้าง ให้ยินอารมณ์คือเสียงบ้าง. จากนั้น สัตว์ทั้งหลายได้เห็นรูปนั้น หรือได้ยินเสียงนั้นแล้วก็ทิ้งสติ เกิดเวียนหน้าขึ้นมา มันสอดมือเข้าปากแล้วบีบหัวใจสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่านั้นก็ยืนสลบไสล. ก็มารนี้สามารถสอดมือเข้าไปในปากของพระเถระเจียวหรือ ก็มันแสดงอารมณ์ที่กลัว พระเถระได้เห็นอารมณ์นั้น ก็แทงตลอดแสงแห่งนิมิตไม่ได้ ทั้งๆ ที่รู้อยู่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงสามครั้ง เพื่ออะไร. เพื่อทรงทำให้เพลาโศก ด้วยการยกความผิดขึ้นว่า นี่เป็นความกระทำไม่ดีของเธอเอง นี่เป็นความผิดของเธอ เมื่อพระเถระทูลอ้อนวอนภายหลังว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงดำรงอยู่เถิด พระพุทธเจ้าข้า.
ในคำว่า มารผู้มีบาป นี้ ชื่อว่ามาร เพราะประกอบสัตว์ไว้ในความฉิบหายให้ตาย. คำว่า ผู้มีบาป เป็นคำใช้แทนมารนั้นเอง. ก็มารนั้นเพราะประกอบด้วยบาปธรรม จึงเรียกว่าผู้มีบาป.
ถึงคำว่า กัณห์ (ดำ) อันตกะ (ผู้ทำที่สุด) นมุจิ เผ่าพันธ์ผู้ประมาท ก็ล้วนแต่เป็นชื่อของมารนั้นเอง.
อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค อิทธิปาทสังยุตต์ ปาวาลวรรคที่ ๑ ๑๐. เจติยสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 19 / 1อ่านอรรถกถา 19 / 1119อรรถกถา เล่มที่ 19 ข้อ 1123อ่านอรรถกถา 19 / 1136อ่านอรรถกถา 19 / 1786
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=6549&Z=6637
"ว่าด้วยเรื่องนิมิต"
อนึ่ง เพราะพระโยคาวจรเป็นผู้ฉลาด เป็นบัณฑิต เปรื่องปราชญ์ สมบูรณ์ด้วยความรู้ เมื่อโอภาส เป็นต้นเกิดขึ้น ย่อมกำหนด ย่อมสอบสวนโอภาสนั้นด้วยปัญญาว่า โอภาสนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ก็โอภาสนั้นแลเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นสิ่งปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายราคะเป็นธรรมดา
มีการดับกิเลสเป็นธรรมดาด้วยประการดังนี้.
......................................................................
"ว่าด้วยการละวิปัสสนูปกิเลส"
ความเป็นผู้ฉลาดในธรรมุทธัจจะ
บทว่า นิกนฺติ อุปฺปชฺชติ นิกันติ (ความพอใจ) ย่อมเกิดขึ้น คือความพอใจมีอาการสงบ สุขุมทำความอาลัยในวิปัสสนาอันประดับด้วยโอภาสเป็นต้นอย่างนี้ย่อมเกิดขึ้น ความพอใจใดไม่อาจแม้กำหนดลงไปว่าเป็นกิเลส ดุจในโอภาส เมื่ออย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น.
พระโยคาวจรคิดว่าญาณเห็นปานนี้ ไม่เคยเกิดแก่เรามาก่อนจากนี้ ปีติ ปัสสัทธิ อธิโมกข์ ปัคคหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติ เห็นปานนี้เคยเกิดแล้ว เราเป็นผู้บรรลุมรรค เราเป็นผู้บรรลุผลแน่นอน แล้วถือเอาสิ่งมิใช่มรรคว่าเป็นมรรค สิ่งมิใช่ผลว่าเป็นผล.
เมื่อพระโยคาวจรนั้นถือเอาสิ่งมิใช่มรรคว่าเป็นมรรค และสิ่งมิใช่ผลว่าเป็นผล วิปัสสนาวิถีย่อมหลีกออกไป.
พระโยคาวจรนั้นสละมูลกรรมฐานของตนแล้วนั่ง ยินดีความพอใจนั้นเท่านั้น.
อนึ่ง ในบทนี้ท่านกล่าวโอภาสเป็นต้นว่าเป็นอุปกิเลส เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง เพราะไม่ใช่อกุศล ส่วนนิกันติเป็นอุปกิเลสด้วยเป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมองด้วย. อุปกิเลสเหล่านี้มี ๑๐ อย่างด้วยสามารถแห่งวัตถุ มี ๓๐ ด้วยสามารถแห่งการถือเอา อย่างไร. เมื่อพระโยคาวจรถือว่า โอภาสเกิดแล้วแก่เรา ย่อมเป็นการถือเอาด้วยทิฏฐิ เมื่อถือว่าโอภาสน่าพอใจหนอเกิดแล้ว ย่อมเป็นการถือเอาด้วยมานะ เมื่อยินดีโอภาส ย่อมเป็นการถือเอาด้วยตัณหา การถือเอา ๓ อย่างด้วยสามารถแห่งทิฏฐิมานะและตัณหาในโอภาสด้วยประการดังนี้. แม้ในอุปกิเลสที่เหลือก็อย่างนั้น. อุปกิเลส ๓๐ ด้วยอำนาจแห่งการถือเอาย่อมมีด้วยประการฉะนี้.
บทว่า ทุกฺขโต มนสิกโรโต อนตฺตโต มนสิกโรโต เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา.
พึงทราบความโดยนัยนี้แม้ในวาระทั้งหลาย.
ในบทนี้พึงทราบความเกิดแห่งวิปัสสนูปกิเลสแห่งวิปัสสนาหนึ่งๆ ด้วยสามารถแห่งอนุปัสสนาหนึ่งๆ มิใช่อย่างเดียวเท่านั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในอนุปัสสนา ๓ ดังต่อไปนี้.
พระอานนทเถระ ครั้นแสดงอุปกิเลสทั้งหลายด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา โดยไม่ต่างกันอย่างนี้ แล้วเมื่อจะแสดงด้วยอำนาจแห่งความต่างกันอีก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า รูปํ อนิจฺจโต มนสิกโรโต เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ชรามรณํ อนิจฺจโต อุปฏฺฐานํ ชรามรณะอันปรากฏโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง คือความปรากฏของชราและมรณะโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง.
เพราะพระโยคาวจรผู้ไม่ฉลาด ไม่เปรื่องปราชญ์ด้วยอำนาจแห่งอุปกิเลส ๓๐ ดังกล่าวแล้วในบทก่อน ย่อมหวั่นไหวในโอภาสเป็นต้น ย่อมพิจารณาโอภาสเป็นต้นอย่างหนึ่งๆ ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ฉะนั้นพระอานนทเถระเมื่อจะแสดงความนั้น จึงกล่าวคาถา ๒ คาถามีอาทิว่า โอภาเสว เจว ญาเณ จ ในโอภาสและญาณดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า วิกมฺปติ ย่อมกวัดแกว่ง คือ ย่อมกวัดแกว่ง หวั่นไหว ๓ อย่างด้วยอำนาจกิเลสต่างๆ ในอารมณ์มีโอภาสเป็นต้น.
บทว่า เยหิ จิตฺตํ ปเวเธติ จิตย่อมหวั่นไหว คือ จิตย่อมกวัดแกว่งหวั่นไหวด้วยปัสสิทธิและสุขโดยประการต่างๆ ด้วยอำนาจกิเลสต่างๆ เพราะฉะนั้น พึงทราบความสัมพันธ์ ความว่า พระโยคาวจรย่อมกวัดแกว่งในปัสสัทธิและในสุข.
บทว่า อุเปกฺขา วชฺชนาย เจว จากความนึกถึงอุเบกขา คือ จิตย่อมกวัดแกว่ง จากความนึก คือ อุเบกขา.
อธิบายว่า ย่อมกวัดแกว่งจากความวางเฉยในการนึกถึง.
แต่ในวิสุทธิมรรคท่านกล่าวไว้ว่า อุเปกฺขาวชฺชนายญฺจ ในการนึกถึงอุเบกขา.
บทว่า อุเปกฺขาย จ ความวางเฉย คือ จิตย่อมกวัดแกว่งด้วยความวางเฉยมีประการดังกล่าวแล้ว.
อธิบายว่า ย่อมกวัดแกว่งด้วยความพอใจ.
อนึ่ง ในบทนี้ เพราะท่านชี้แจงถึงอุเบกขา ๒ อย่าง จึงกล่าวอรรถโดยประการทั้งสองในฐานะที่ท่านกล่าวแล้วว่า อุเปกฺขา อุปฺปชฺชติ อุเบกขาย่อมเกิด.
อนุปัสสนาอย่างหนึ่งๆ เพราะความปรากฏแห่งความวางเฉยด้วยการนึกถึงแห่งอนุปัสสนาหนึ่งๆ ในอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น ท่านกล่าวว่า เจริญบ่อยๆ ว่า อนิจฺจํ อนิจฺจํ ทุกฺขํ ทุกฺขํ อนตฺตา อนตฺตา.
อนึ่ง เพราะพระโยคาวจรเป็นผู้ฉลาด เป็นบัณฑิต เปรื่องปราชญ์ สมบูรณ์ด้วยความรู้ เมื่อโอภาสเป็นต้นเกิดขึ้น ย่อมกำหนด ย่อมสอบสวนโอภาสนั้นด้วยปัญญาว่า โอภาสนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็โอภาสนั้นแลเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นสิ่งปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายราคะเป็นธรรมดา มีการดับกิเลสเป็นธรรมดาด้วยประการดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรนั้นมีความดำริอย่างนี้.
หากโอภาสพึงเป็นตัวตน พึงควรที่จะถือเอาว่าเป็นตัวตน แต่โอภาสนี้มิใช่ตัวตน ยังถือกันว่าเป็นตัวตน เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรเมื่อเห็นว่า โอภาสนี้มิใช่ตัวตน เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ จึงถอนทิฏฐิเสียได้.
หากว่า โอภาสพึงเป็นสภาพเที่ยง พึงควรเพื่อถือเอาว่าเป็นสภาพเที่ยง แต่โอภาสนี้เป็นสภาพไม่เที่ยง ยังถือกันว่าเป็นสภาพเที่ยง เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรนี้เมื่อเห็นว่าเป็นสภาพไม่เที่ยง เพราะมีแล้วไม่มีย่อมถอนมานะเสีย.
หากว่า โอภาสพึงเป็นความสุข พึงควรถือเอาว่า เป็นความสุข แต่โอภาสนี้เป็นความทุกข์ ยังถือเอาว่าเป็นความสุข เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรนี้เมื่อเห็นว่าเป็นความทุกข์ เพราะเกิดขึ้นสิ้นไปและบีบคั้น ย่อมถอนความพอใจ ดุจในโอภาส.
แม้ในบทที่เหลือก็อย่างนั้น.
พระโยคาวจรครั้นพิจารณาอย่างนี้แล้ว ย่อมพิจารณาเห็นโอภาสว่า นั่นไม่ใช่เรา เราไม่ใช่นั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เมื่อพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่กวัดแกว่ง ไม่หวั่นไหว ในโอภาสเป็นต้น เพราะฉะนั้น พระอานนทเถระเมื่อแสดงความนั้น จึงกล่าวคาถาว่า อิมานิ ทส ฐานานิ ฐานะ ๑๐ ประการเหล่านี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ทส ฐานานิ คือ มีโอภาสเป็นต้น.
บทว่า ปญฺญายสฺส ปริจฺจิตา ภิกษุนั้นกำหนดด้วยปัญญา คือ กำหนดถูกต้อง อบรมบ่อยๆ ด้วยปัญญา พ้นจากอุปกิเลส.
บทว่า ธมฺมุทฺธจฺจกุสโล โหติ เป็นผู้ฉลาด ในความนึกถึงโอภาสเป็นต้น อันเป็นธรรมฟุ้งซ่าน คือพระโยคาวจรเป็นผู้กำหนดฐานะ ๑๐ อย่างด้วยปัญญา เป็นผู้ฉลาดด้วยการแทงตลอดตามความเป็นจริงแห่งธรรมุทธัจจะ มีประการดังกล่าวแล้วในตอนก่อน.
บทว่า น จ สมฺโมหคจฺฉติ ย่อมไม่ถึงความหลงใหล คือไม่ถึงความหลงใหลด้วยการถอนตัณหา มานะและทิฏฐิ เพราะเป็นผู้ฉลาดในธรรมุทธัจจะ.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=31&A=7564&Z=7861
"อานาปานสติ รูป นาม"
[๔๐๓] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจเข้าอย่างไร ฯ
กาย ในคำว่า กาโย มี ๒ คือ นามกาย ๑ รูปกาย ๑
นามกายเป็นไฉน เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ เป็นนามด้วย เป็นนามกายด้วย และท่านกล่าวจิตสังขารว่า นี้เป็นนามกาย
รูปกายเป็นไฉน มหาภูตรูป ๔ รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ลมอัสสาสะปัสสาสะ นิมิต และท่านกล่าวว่า
กายสังขารที่เนื่องกัน นี้เป็นรูปกาย ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๔๗๑๘-๔๗๒๔ หน้าที่ ๑๙๓.
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=4718&Z=4724&pagebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=31&item=403&items=1
"วิปัสสนาญาณ ในอานาปานสติ"
ลำดับนั้น เธอกำหนดลมหายใจเข้าหายใจออกและกายว่า เป็นรูป, กำหนดจิตนั้นและธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตว่า เป็นอรูป. ครั้นเธอกำหนดนามรูปด้วยอาการอย่างนั้นแล้ว ย่อมแสวงหาปัจจัยแห่งนามรูปนั้น. และเธอเมื่อแสวงหาอยู่ ก็ได้เห็นปัจจัยมีอวิชชาและตัณหาเป็นต้นนั้นแล้ว ย่อมข้ามความสงสัยปรารภความเป็นไปแห่งนามรูปในกาลทั้ง ๓ เสียได้.
เธอนั้นข้ามความสงสัยได้แล้ว ยกไตรลักษณ์ขึ้นด้วยอำนาจพิจารณากลาป ละวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่าง มีโอภาสเป็นต้นซึ่งเกิดขึ้นแล้วในส่วนเบื้องต้น ด้วยอุทยัพพยานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความเกิดและความดับ) กำหนดปฏิปทาญาณที่พ้นจากอุปกิเลสว่าเป็นมรรค ละความเกิดเสีย ถึงภังคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความดับ) เบื่อหน่ายคลายกำหนัดพ้นไปในสรรพสังขาร ซึ่งปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว ด้วยพิจารณาเห็นความดับติดต่อกันไป ได้บรรลุอริยมรรคทั้ง ๔ ตามลำดับ แล้วตั้งอยู่ในพระอรหัตผลถึงที่สุดแห่งปัจจเวกขณญาณ ๑๙ อย่าง เป็นอัครทักขิไณยแห่งโลกพร้อมทั้งเทวดา.
ก็การเจริญอานาปานัสสติสมาธิของภิกษุผู้ประกอบในอานาปานกรรมฐานนั้น ตั้งต้นแต่การนับจนถึงมรรคผลเป็นที่สุด จบบริบูรณ์เพียงเท่านี้แล.
ที่มา
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=01.0&i=176&p=2
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น