18 มิถุนายน 2563

ฌาน 4

"เพราะเพียง ...
แค่สมถะเท่านั้นจะบรรลุไม่ได้

ในตอนนี้พระอาจารย์มั่นฯ ท่านได้ย้ำถึงวิปัสสนาอย่างหนักหน่วง

ท่านได้แสดงต่อไปว่า ...
การพิจารณาตามความเป็นจริง

คือ การไม่อยู่นิ่งของใจที่ได้รับ
การอบรมจนแข็งแกร่งด้วยสมถะ

แล้วยกจิตขึ้นพิจารณา ...
ตามอย่างของท่านปัญจวัคคีย์

คือ พิจารณา รูป - เวทนา
สัญญา - สังขาร - วิญญาณ
อันเป็น นาม รูป ว่าไม่เที่ยง

- เป็นทุกข์
- ไม่ใช่ตัวตน

จนเกิด ...
นิพพิทาญาณ ความเบื่อหน่าย

สามารถดำเนินจิตเข้าสู่
อริยสัจจธรรมจนรู้แจ้งเห็นจริงได้"

......................................................................

ถ้าเราอยู่โดยปรกติที่ไม่เป็นสมาธินั้น มันมีจิตรกรุงรัง หรือคิดโน่น คิดนี่ มีความฟุ้งซ่าน ต่างๆ นั่นคือความปรกติของจิตใจ แต่พอเวลาเป็นสมาธิ จิตนี้จะ ผิดจากปรกติเดิมธรรมดา มาอยู่ในฐานะหนึ่ง คือมาอยู่ในฐานะอีกฐานะหนึ่ง ฐานะนี้ เป็นฐานะที่เรียกว่าฌาน ฌานนั้น มีอยู่ 4 ด้วยกัน ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุถฌาน

ฌานที่มี 4 คือ ปฐมฌาน มีองค์ 5 คือ วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตา วิตก วิจารณ์ นั้น คือการนึก พุทโธๆ เรียกว่า วิตก วิจารณ์ พอปีติ เมื่อนึกพุทโธแล้ว จิตก็อยู่ที่พุทโธ ปีติคือความขนพองสยองเกล้า รู้สึกมันหวิวๆ อะไรอย่างนี้ เรียกว่า ปีติ วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข ก็คือความสบาย เอกัคคตานั้น คือความเป็นหนึ่ง นี้เรียกว่าปฐมฌาน

ทุติยฌานนั้น ก็มีอยู่องค์ 3 วิตก วิจารณ์ตัดออกไป การนึกพุทโธนั้นไม่ต้องนึกแล้ว เหลือแต่ปีติ สุข เอกัคคตา เหลือแต่ความเอิบอิ่ม และความสบาย และความเป็นหนึ่ง

ตติยฌานนั้น เหลืออยู่องค์สอง ตัดวิตก วิจารณ์ออกไป ตัดปีติออกไป เหลือแต่สุขกับเอกัคคตา มีแต่ความสบายและความเป็นหนึ่ง

จตุถฌาน ที่ 4 สุดท้ายนั้น ก็มีองค์สอง เช่นเดียวกัน คือมีแต่ อุเบกขา และเอกัคคตา เรียกว่าวิตกวิจารณ์ตัดออกไป ความเอิบอิ่มตัดออกไป ความสุข ความสบายก็ตัดออกไป เหลือแต่ความวางเฉยกับความเป็นหนึ่ง ฌานทั้ง 4 นี้เรียกว่ารูปฌาน

เมื่อรูปฌานนี้ ได้รับการพัฒนา หรือทำให้ยิ่ง รูปฌานนั้น จะกลับกลายเป็นอรูปฌาน คือจิตจะละเอียดลงไป จิตละเอียดลงไปนั้น ก็กลับกลายเป็นอากาศว่างเปล่า ไม่มีอะไร เรียกว่าอากาสานัญจายตนฌาน

เมื่อจิตนี้ได้รับการฝึกฝน ละเอียดยิ่งขึ้นไปแล้ว ก็เหลือแต่ความรู้ ไม่มีอะไร เหลือแต่ความรู้ เรียกว่า
วิญญานัญจายตนฌาน

เมื่อได้รับการฝึกฝนจนกระทั่งหมดทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มีอะไรแล้ว อารมณ์อะไร ความสุข ความอะไรก็ไม่มีหมด เรียกว่าอากิญจัญญายตนฌาน

ในที่สุดถึงที่สุด ฌานของอรูปฌาน 4 นั้น คือ จะว่าสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่ใช่สัญญาก็ไม่ใช่ เรียกว่าไม่มีอะไรเอาเลย นั้นเรียกว่าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

ทั้งหมดนี้ เรียกว่ารูปฌาน และอรูปฌาน

ฌานทั้งหมดนี้นั้น เป็นฌานที่เรียกว่า ฌานโลกีย์ ฌานโลกีย์ ผู้ที่บำเพ็ญฌานเหล่านี้ได้แล้ว ก็จะไปเกิดในชั้นพรหมโลก เลยชั้นสวรรค์ไป ก็ไปเกิดในชั้นพรหมโลก จากพรหมธรรมดา จนกระทั่งถึงมหาพรหม อย่างนี้คือผู้บำเพ็ญฌาน

ฌานเหล่านี้นั้น มิใช่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด ได้ง่ายๆ ผู้ที่บำเพ็ญฌานที่เป็นรูปฌานและอรูปฌานนั้น ต้องใช้เวลา อันยาวนาน บางทีหมดชีวิตก็ไม่ได้ บางทีพวกฤาษีไปอยู่ในป่าคนเดียว บำเพ็ญฌาน ก็ยังไม่ค่อยจะสำเร็จถึงขั้นนี้

ฌานพวกนี้ ถ้าทำสำเร็จขึ้นมาแล้ว สามารถที่จะแสดงฤทธิ์ได้ เหาะเหินเดินอากาศได้ มองดูจิตใจของคนได้ ระลึกชาติหนหลังได้ อย่างนี้ ถือว่าได้สำเร็จฌาน แต่ฌานเหล่านี้นั้น ไม่สามารถที่จะกำจัดกิเลสได้ กิเลสก็ยังอยู่ เพราะว่าไม่ใช่วิปัสสนา เป็นแต่เพียงสมถกรรมฐาน

สมถะนั้น ถ้าเราบำเพ็ญฌาน ไปโดยสม่ำเสมอ อานิสงส์แห่งฌาน ก็ทำให้ไปบังเกิดเพียงแค่ชั้นพรหม ชั้นพรหมนั้น อายุยาวนานกว่าชั้นสวรรค์ถึง 20 เท่า เมื่อไปอยู่ที่นั่นแล้วก็ลืม มีความสบายจนลืม แต่ที่สุดถึงที่สุด ก็ต้องกลับมาในมนุษยโลกอีก นั่นคือ เรียกว่า ยังเวียนว่ายตายเกิด

ผู้ที่ไม่ต้องการที่จะเวียนว่ายตายเกิดอีก หมายความว่าเมื่อบำเพ็ญฌานได้แล้ว เขาก็ยกอรูปฌานออกเสีย เอาแค่รูปฌาน 4 คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุถฌาน เอาแค่ฌาน 4 นี้ เอาฌาน 4 นี้มาเป็นกำลัง หันหน้าเข้าสู่วิปัสสนา

เมื่อหันหน้าเข้าสู่วิปัสสนา ก็จะไปพบ ไตรลักษณ์ ที่พระพุทธองค์ทรงตรัส ไตรลักษณ์นั้น มีเฉพาะในพระพุทธศาสนาอย่างเดียวเท่านั้น ศาสนาอื่น ไม่มี เพราะฉะนั้น ในศาสนาทุกศาสนาจึงไม่มีวิปัสสนา มีเฉพาะในพระพุทธศาสนา เพราะทุกคนนั้น ปรารถนาแค่เพียงสวรรค์ ปรารถนาแค่เพียงความสุขในเมืองมนุษย์

แต่ว่า การที่สำเร็จฌานเหล่านั้น บางทีก็เกิดความเสื่อม เมื่อเกิดความเสื่อมแล้วก็ไปทำความชั่ว สามารถไปตกนรกได้ สามารถไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานได้ เพราะว่ายังไม่ใช่นิยตบุคคล เป็นอนิยตบุคคล ดังนั้น การเวียนว่ายตายเกิด รึว่าการแปรเปลี่ยน ย่อมมีแก่ผู้บำเพ็ญฌาน

แต่ว่า ถ้าผู้ใด หันเข้ามาสู่วิปัสสนานั้น วิปัสสนาเป็นทางเดียวเท่านั้น ที่จะทำคนให้พ้นทุกข์ คือพ้นจากความเกิดแก่เจ็บตายนี้ได้ ดังนั้น ในวิปัสสนา พระพุทธองค์จึงทรงตรัสให้เกิดเป็นไตรลักษณ์ ไตรลักษณ์นั้น คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อนิจจังคือความไม่เที่ยง ทุกขังคือความเป็นทุกข์ อนัตตาคือความไม่ใช่ตัวตน อย่างนี้ ทั้งสามประการนี้ ถ้าพิจารณาได้ ก็ถือว่า เราได้เริ่ม วิปัสสนาแล้ว

พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสว่า สัพเพ สังขารา อนิจจา ติ สังขารทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง ย ดา ปัญญา ย ปัสสติ เมื่อใด บุคคลผู้ใด ทำให้เกิด ปรากฏขึ้นแล้ว อัตถ นิพพินติ ทุกเข จากนั้น ผู้นั้น จะเกิดความเบื่อหน่าย เอสะ มัคโค วิสุทธิยา นี้คือหนทางไปสู่พระนิพพาน

หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร
.....................................................................

ทำจิตให้ปราศจากอารมณ์

- มีความตั้งมั่นอยู่ได้
- มีสติเป็นเครื่องควบคุมอยู่
- มีความเยือกเย็นสบาย
- นั่งนานก็ไม่เหนื่อย

การฝึกที่เป็นเช่นนี้เรียกว่า ...
สมถกัมมัฎฐาน

พึงเข้าใจว่า ...
สมถะนี้ถ้าผู้ใดมาติดอยู่
จะทำให้เกิดความงมงายได้

เช่น พวกฤๅษีชีไพร
สมัยครั้งพุทธกาล

มัวแต่หลงอยู่ในฌาน
เป็นรูปฌาน อรูปฌาน

เข้าใจว่า ...
ตนได้บรรลุพระนิพพาน
แต่หาได้บรรลุไม่ ...

เพราะเพียง ...
แค่สมถะเท่านั้นจะบรรลุไม่ได้

ในตอนนี้พระอาจารย์มั่นฯ ท่านได้ย้ำถึงวิปัสสนาอย่างหนักหน่วง

ท่านได้แสดงต่อไปว่า ...
การพิจารณาตามความเป็นจริง

คือ การไม่อยู่นิ่งของใจที่ได้รับ
การอบรมจนแข็งแกร่งด้วยสมถะ

แล้วยกจิตขึ้นพิจารณา ...
ตามอย่างของท่านปัญจวัคคีย์

คือ พิจารณา รูป - เวทนา
สัญญา - สังขาร - วิญญาณ
อันเป็น นาม รูป ว่าไม่เที่ยง

- เป็นทุกข์
- ไม่ใช่ตัวตน

จนเกิด ...
นิพพิทาญาณ ความเบื่อหน่าย

สามารถดำเนินจิตเข้าสู่
อริยสัจจธรรมจนรู้แจ้งเห็นจริงได้

การทำสมาธิ มี ๒ แบบคือ สมถะ และวิปัสสนา
สมถะ ต้องการให้ทรงสติสัมปชัญญะ ได้ความสงบ สุขสบาย วิปัสสนา เพื่อการรู้แจ้งเห็นจริง ใช้ปัญญาเป็นเครื่องภาวนาตามความเป็นจริงของขันธ์ ๕
การ ทำสมาธิเบื้องต้นจำต้องมีสมถะ คือ ควบคุมอารมณ์จิตให้ทรงอยู่ ถ้าอารมณ์ไม่ทรงตัว วิปัสสนาจะไม่มีผล เป็นวิปัสสนาตะครุบเงา หรือวิปัสสนาตกน้ำ

วิปัสสนา ตกน้ำ คำพังเพย
เหมือนเงาเพชรใต้น้ำเอย บอกให้
งมเอาเพชรเลย งมเปล่า แลนา
วิปัสสนาขาดสมาธิไซร้ ผิดแล้ว ทางกลาง


หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร


ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...