"ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นโบราณเขามีอยู่แล้วก่อนพุทธศาสนา ถ้าศาสนาเป็นได้แค่ที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ก็ไม่จำเป็นต้องเกิดพุทธศาสนา เพราะคนอินเดียเขามีที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ มีเทวดาให้นับถือเยอะแยะ มีแม้แต่พระพรหมที่ว่าดลบันดาลทุกอย่างได้ จนคนพากันเชื่อใน "พรหมลิขิต"
การที่พระพุทธศาสนาเกิดขึ้น ก็เพราะศาสนาก่อนนั้นมัวเป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ชนิดเหนี่ยวแล้วดึงลง ให้หลง ให้จมให้หมกอยู่ในการพึ่งพาอำนาจภายนอก รอผลดลบันดาล พระพุทธศาสนาก็เลยเกิดขึ้นมาแก้ไข โดยมาเหนี่ยวแล้วดึงขึ้น เพื่อจะให้ประชาชนได้พัฒนาในเรื่องความประพฤติ ทั้งกาย วาจา แล้วก็พัฒนาจิตใจ และพัฒนาปัญญา ให้พึ่งตนเองได้ดีขึ้นจนเป็นอิสระต่อไป อันนี้จึงจะเป็นประโยชน์ที่แท้จริงของพระพุทธศาสนา
ชาวพุทธเรานับถือพระพุทธศาสนา ไม่ใช่เอาแค่ว่ายึดเหนี่ยวจิตใจ ให้สบายแล้วก็จบ แต่ต้องเอามาใช้ปฏิบัติ เอามาใช้พัฒนาชีวิตของเราให้ดีงาม ทั้งกายวาจาและจิตใจพร้อมทั้งปัญญา ให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะในที่สุดเราต้องเป็นอิสระพึ่งตนเองได้"
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
( ป. อ. ปยุตฺโต )
ที่มา : ธรรมนิพนธ์ "ถ้าอยากพ้นวิกฤตต้องเลิกติดไสยศาสตร์"
[๒๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงกรรมทั้งใหม่และเก่า ความดับ
แห่งกรรม และปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับแห่งกรรม ท่านทั้งหลายจงฟัง
จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมเก่าเป็นไฉน จักษุอันบัณฑิต
พึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า อันปัจจัยทั้งหลายปรุงแต่งแล้ว สำเร็จด้วยเจตนา เป็น
ที่ตั้งแห่งเวทนา หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ... ใจอันบัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า อัน
ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว สำเร็จด้วยเจตนา เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เราเรียกว่า กรรมเก่า ฯ
[๒๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมใหม่เป็นไฉน กรรมที่บุคคลทำด้วย
กาย วาจา ใจ ในบัดนี้ นี้เราเรียกว่า กรรมใหม่ ฯ
[๒๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน นิโรธที่ถูกต้อง
วิมุตติ เพราะความดับแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม นี้เราเรียกว่า ความดับ
แห่งกรรม ฯ
[๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับแห่งกรรม
เป็นไฉน อริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑
สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑
สัมมาสมาธิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความ
ดับกรรม ฯ
[๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมเก่า กรรมใหม่ ความดับแห่งกรรม
และปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับกรรม เราได้แสดงแล้วแก่ท่านทั้งหลาย
ด้วยประการดังนี้แล กิจใดแล อันเราผู้ศาสดา ผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้
อนุเคราะห์แก่สาวกทั้งหลาย พึงทำ กิจนั้นเราทำแล้วเพราะอาศัยความอนุเคราะห์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่างเปล่า เธอทั้งหลายจงพยายาม อย่า
ประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนใจในภายหลัง นี้เป็นอนุศาสนีของเราเพื่อ
เธอทั้งหลาย ฯ
จบสูตรที่ ๑
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๓๔๔๙-๓๔๗๕ หน้าที่ ๑๔๙-๑๕๐.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=3449&Z=3475&pagebreak=0
ติตถสูตร
[๕๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลัทธิของเดียรถีย์ ๓ อย่างนี้ ถูกบัณฑิต
ไต่ถามซักไซ้ไล่เลียงเข้า ย่อมอ้างลัทธิสืบๆ มา ตั้งอยู่ในอกิริยทิฐิ ๓ อย่าง
เป็นไฉน คือ ๑. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุข
ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่บุคคลเสวยนั้น ล้วนแต่มีกรรม
ที่ได้ทำไว้แต่ก่อนเป็นเหตุ ๒. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิ
อย่างนี้ว่า สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่บุคคลเสวยนั้น ล้วน
แต่มีการสร้างสรรของอิสรชนเป็นเหตุ ๓. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ
อย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่บุคคล
เสวยนั้น ล้วนแต่หาเหตุหาปัจจัยมิได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์
ทั้ง ๓ พวกนั้น พวกที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุข
อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่บุคคลเสวยนั้น ล้วนมีแต่กรรมที่ได้ทำไว้แต่ก่อนเป็นเหตุ
เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์พวกนั้น แล้วถามอย่างนี้ว่า ได้ยินว่าท่านทั้งหลายมี
วาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่
บุคคลเสวยนั้น ล้วนแต่มีกรรมที่ได้ทำไว้แต่ก่อนเป็นเหตุ จริงหรือ ถ้าสมณ
พราหมณ์พวกนั้นถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ปฏิญญาว่าจริง เราก็กล่าวกะเขาว่า ถ้า
เช่นนั้น เพราะกรรมที่ได้ทำไว้แต่ก่อนเป็นเหตุ ท่านทั้งหลายจักต้องฆ่าสัตว์ จัก
ต้องลักทรัพย์ จักต้องประพฤติกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ จักต้องพูดเท็จ จัก
ต้องพูดคำส่อเสียด จักต้องพูดคำหยาบ จักต้องพูดคำเพ้อเจ้อ จักต้องมากไปด้วย
อภิชฌา จักต้องมีจิตพยาบาท จักต้องมีความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อ
บุคคลยึดถือกรรมที่ได้ทำไว้แต่ก่อนโดยความเป็นแก่นสาร ความพอใจหรือความ
พยายามว่า กิจนี้ควรทำหรือว่ากิจนี้ไม่ควรทำ ย่อมจะมีไม่ได้ ก็เมื่อไม่ได้กรณียกิจ
และอกรณียกิจโดยจริงจังมั่นคงดังนี้ สมณวาทะที่ชอบธรรมเฉพาะตัว ย่อมจะ
สำเร็จไม่ได้ แก่ผู้มีสติฟั่นเฟือน ไร้เครื่องป้องกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรามีวาทะ
สำหรับข่มขี่ที่ชอบธรรม ในสมณพราหมณ์พวกนั้นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้
อย่างนี้แลเป็นข้อแรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์ทั้ง ๓ พวกนั้น
พวกที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่บุคคลเสวยนั้น ล้วนแต่มีการสร้างสรรของอิสรชนเป็นเหตุ เราเข้าไปหาสมณ-
*พราหมณ์พวกนั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า ท่านทั้งหลายมีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิ
อย่างนี้ว่า สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่บุคคลเสวยนั้น ล้วน
แต่มีการสร้างสรรของอิสรชนเป็นเหตุ จริงหรือ ถ้าสมณพราหมณ์นั้นถูกเราถาม
อย่างนี้แล้ว ปฏิญญาว่าจริง เราก็กล่าวกะเขาว่า ถ้าเช่นนั้น เพราะการสร้างสรร
ของอิสรชนเป็นเหตุ ท่านทั้งหลายจักต้องฆ่าสัตว์ ฯลฯ จักต้องมีความเห็นผิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลยึดถือการสร้างสรรของอิสรชนไว้โดยความเป็น
แก่นสาร ความพอใจ หรือความพยายามว่า กิจนี้ควรทำหรือว่ากิจนี้ไม่ควรทำ
ย่อมจะมีไม่ได้ ก็เมื่อไม่ได้กรณียกิจและอกรณียกิจโดยจริงจังมั่นคงดังนี้ สมณ
วาทะที่ชอบธรรมเฉพาะตน ย่อมจะสำเร็จไม่ได้แก่ผู้มีสติฟั่นเฟือน ไร้เครื่อง
ป้องกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรามีวาทะสำหรับข่มขี่ที่ชอบธรรม ในสมณพราหมณ์
พวกนั้นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ อย่างนี้แลเป็นข้อที่ ๒ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บรรดาสมณพราหมณ์ทั้ง ๓ พวกนั้น พวกที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุข
ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่บุคคลเสวยนั้น ล้วนแต่หาเหตุหา
ปัจจัยมิได้ เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์พวกนั้น แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า
ท่านทั้งหลายมีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใด
อย่างหนึ่ง ที่บุคคลเสวยนั้น ล้วนแต่หาเหตุหาปัจจัยมิได้ จริงหรือ ถ้าสมณ-
*พราหมณ์พวกนั้นถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ปฏิญญาว่าจริง เราก็กล่าวกะเขาว่า ถ้า
เช่นนั้น เพราะหาเหตุหาปัจจัยมิได้ ท่านทั้งหลายจักต้องฆ่าสัตว์ ฯลฯ จักต้อง
มีความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลยึดถือความไม่มีเหตุไว้โดยความ
เป็นแก่นสาร ความพอใจหรือความพยายามว่า กิจนี้ควรทำหรือว่ากิจนี้ไม่ควรทำ
ย่อมจะมีไม่ได้ ก็เมื่อไม่ได้กรณียกิจและอกรณียกิจ โดยจริงจังมั่นคงดังนี้ สมณ
วาทะที่ชอบธรรมเฉพาะตน ย่อมจะสำเร็จไม่ได้ แก่ผู้ที่มีสติฟั่นเฟือน ไร้เครื่อง
ป้องกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรามีวาทะสำหรับข่มขี่ที่ชอบธรรม ในสมณพราหมณ์
พวกนั้นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ อย่างนี้แลเป็นข้อที่ ๓ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ลัทธิเดียรถีย์ ๓ อย่างนี้แล ถูกบัณฑิตไต่ถามซักไซ้ไล่เรียงเข้า ย่อมอ้างถึงลัทธิ
สืบๆ มา ตั้งอยู่ในอกิริยทิฐิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนธรรมที่เราแสดงไว้นี้แล
คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูกคัดค้าน โดยสมณพราหมณ์ผู้รู้
ก็ธรรมที่เราแสดงไว้แล้ว คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูกคัดค้าน
โดยสมณพราหมณ์ผู้รู้ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า ธาตุ
หก คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูกคัดค้านโดยสมณพราหมณ์ผู้รู้
ธรรมที่เราแสดงว่า ผัสสายตนะ ๖ ... มโนปวิจาร ๑๘ ... อริยสัจ ๔ ...
ธาตุ ๖ คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูกคัดค้านโดยสมณพราหมณ์
ผู้รู้ นี้เราได้กล่าวไว้แล้วเช่นนี้แล เพราะอาศัยอะไรจึงได้กล่าวไว้ดังนั้น ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ธาตุ ๖ เหล่านี้ คือ ปถวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาศ
ธาตุ วิญญาณธาตุ เพราะอาศัยคำที่เราได้กล่าวไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่
เราแสดงไว้ว่าธาตุ ๖ คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูกคัดค้าน
โดยสมณพราหมณ์ผู้รู้ ฉะนั้น เราจึงได้กล่าวไว้ดังนั้น ก็คำว่าธรรมที่เราแสดงไว้
ว่า ผัสสายตนะ ๖ คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูกคัดค้านโดย
สมณพราหมณ์ผู้รู้ นี้เราได้กล่าวไว้แล้วเช่นนี้แล เพราะอาศัยอะไรจึงได้กล่าวไว้
ดังนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ เหล่านี้ คือ อายตนะเป็นเหตุแห่ง
ผัสสะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะอาศัยคำที่เราได้กล่าวไว้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า ผัสสายตนะ ๖ คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่
มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูกคัดค้านโดยสมณพราหมณ์ผู้รู้ ฉะนั้น เราจึงได้กล่าวไว้
ดังนั้น ก็คำว่า ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า มโนปวิจาร ๑๘ คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่
มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูกคัดค้านโดยสมณพราหมณ์ผู้รู้ นี้เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้
แล เพราะอาศัยอะไรจึงได้กล่าวไว้ดังนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเห็นรูปด้วย
ตาแล้ว ย่อมเข้าไปไตร่ตรองรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส เข้าไปไตร่ตรองรูปอัน
เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส เข้าไปไตร่ตรองรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ฟังเสียงด้วย
หู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้ง
ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมเข้าไปไตร่ตรองธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส เข้าไป
ไตร่ตรองธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ย่อมเข้าไปไตร่ตรองธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง
อุเบกขา เพราะอาศัยคำที่เราได้กล่าวไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เราแสดงไว้
ว่า มโนปวิจาร ๑๘ คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูกคัดค้านโดย
สมณพราหมณ์ผู้รู้ ฉะนั้น เราจึงได้กล่าวไว้ดังนี้ ก็คำว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า อริยสัจ ๔ คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่
ถูกคัดค้านโดยสมณพราหมณ์ผู้รู้ นี้เราได้กล่าวไว้แล้วเช่นนี้แล เพราะอาศัยอะไร
จึงได้กล่าวไว้ดังนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะถือมั่นธาตุ ๖ สัตว์จึงลงสู่ครรภ์
เมื่อมีการลงสู่ครรภ์ จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะ
สฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เราบัญญัติ
ว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
แก่บุคคลผู้เสวยเวทนาอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจเป็นไฉน คือ แม้ชาติ
ก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาส เป็นทุกข์ ความประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์
ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ แม้ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สมหวังก็เป็น
ทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกข-
*อริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขสมุทัยอริยสัจเป็นไฉน คือ เพราะอวิชชาเป็น
ปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็น
ปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะ
เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็น
ปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็น
ปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อม
เกิดขึ้นด้วยประการอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าทุกขสมุทัยอริยสัจ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน เพราะอวิชชาดับโดยสำรอกไม่
เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูป
จึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ
อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะ
ชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสจึงดับ กอง
ทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมดับด้วยอาการอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ-
*อริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน อริยมรรค
มีองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยง
ชีวิตชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยถ้อยคำ
ที่เราได้กล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า อริยสัจ ๔ คนอื่น
ข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูกคัดค้านโดยสมณพราหมณ์ผู้รู้ ฉะนั้น
เราจึงได้กล่าวไว้ดังนั้น ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๔๕๗๑-๔๖๘๖ หน้าที่ ๑๙๗-๒๐๑.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=4571&Z=4686&pagebreak=0
http://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=20&item=501&items=1
สมาธิสูตร
ว่าด้วยสมาธิเป็นเหตุเกิดปัญญา
[๒๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
*เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ. ภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง. ก็ภิกษุย่อมรู้ชัดตามเป็น
จริงอย่างไร. ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิดและความดับแห่งรูป ความเกิดและความดับแห่งเวทนา ความ
เกิดและความดับแห่งสัญญา ความเกิดและความดับแห่งสังขาร ความเกิดและความดับแห่ง
วิญญาณ.
[๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นความเกิดแห่งรูป อะไรเป็นความเกิดแห่ง
เวทนา อะไรเป็นความเกิดแห่งสัญญา อะไรเป็นความเกิดแห่งสังขาร อะไรเป็นความเกิดแห่ง
วิญญาณ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลในโลกนี้ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่.
ก็บุคคลย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่ ซึ่งอะไร. ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง
ย่อมดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำถึง ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป ความยินดีก็เกิดขึ้น ความยินดีในรูป
นั่นเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานของบุคคลนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและอุปายาส. ความ
เกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนั้น ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้. บุคคลย่อมเพลิดเพลินซึ่งเวทนา ฯลฯ
ย่อมเพลิดเพลินซึ่งสัญญา ฯลฯ ย่อมเพลิดเพลินซึ่งสังขาร ฯลฯ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง
ย่อมดื่มด่ำอยู่ซึ่งวิญญาณ เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำถึง ดื่มด่ำอยู่ซึ่งวิญญาณ ความยินดีย่อมเกิดขึ้น
ความยินดีในวิญญาณ นั่นเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานของบุคคลนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัสและอุปายาส. ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย นี่เป็นความเกิดแห่งรูป นี่เป็นความเกิดแห่งเวทนา นี่เป็นความเกิดแห่งสัญญา นี่เป็น
ความเกิดแห่งสังขาร นี่เป็นความเกิดแห่งวิญญาณ.
[๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นความดับแห่งรูป อะไรเป็นความดับแห่งเวทนา
อะไรเป็นความดับแห่งสัญญา อะไรเป็นความดับแห่งสังขาร อะไรเป็นความดับแห่งวิญญาณ?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่.
ก็ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งอะไร. ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อม
ไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป ความ
ยินดีในรูปย่อมดับไป เพราะความยินดีของภิกษุนั้นดับไป อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ
ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้. ภิกษุย่อมไม่
เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำ ซึ่งเวทนา ... ซึ่งสัญญา ... ซึ่งสังขาร ...
ซึ่งวิญญาณ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งเวทนา ... ซึ่งสัญญา ... ซึ่งสังขาร ...
ซึ่งวิญญาณ ความยินดีในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร ... ในวิญญาณ ย่อมดับไป เพราะความ
ยินดีของภิกษุนั้นดับไป อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกอง
ทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความดับแห่งรูป นี้เป็นความดับ
แห่งเวทนา นี้เป็นความดับแห่งสัญญา นี้เป็นความดับแห่งสังขาร นี้เป็นความดับแห่งวิญญาณ.
จบ สูตรที่ ๕.
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๒๙๓-๓๓๑ หน้าที่ ๑๓-๑๔.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=17&A=293&Z=331&pagebreak=0
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น