หลวงปู่โต๊ะ: ลักษณะเหมือนจะเหาะได้ ควรจะทำอย่างไร?
หลวงปู่มั่น: ให้ดูเฉยๆ
หลวงปู่โต๊ะ: เวลานั้นจะเกิดความสว่างไสว
หลวงปู่มั่น: "วิปัสสนูปกิเลส" มิให้ไปติดไปหลงเพราะมันมีฤทธิ์ และสมถะก็ละทิ้งไม่ได้ เพราะมันเป็นบาทฐานของวิปัสสนา
ฤทธิ์เดชมีมากมาย แต่พระพุทธเจ้าไม่ทรงแสดง เพราะไม่เป็นธรรมที่จะนำไปเพื่อประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อดับทุกข์
ส่วนที่เป็นสาระประโยชน์ คือการพิจารณาขันธ์ 5 พิจารณารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้เห็นด้วยปัญญาว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวน เปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา
ธรรมนี้ไม่ใช้หลักของพระพุทธเจ้า แต่เป็นหลักธรรมชาติที่เกิดขึ้นอยู่เป็นธรรมดาในโลก
เล่าโดย: หลวงปู่โต๊ะ ,วัดประดู่ฉิมพลี
“ระวังอย่าได้ไปหลงในนิมิตเช่นนี้ เพราะมันวิเศษจริง ๆ ผู้ปฏิบัติทางจิตชอบจะมาติดอยู่เพียงแค่นี้แล้วสำคัญตนผิด เราเองก็สำคัญตัวเราเองมาแล้ว และมันก็น่าจะหลง เพราะเป็นสิ่งอัศจรรย์มาก ที่เป็นวิปัสสนูปกิเลสก็คือความเห็นเช่นนี้”
นิมิตทั้งหลายแม้เป็นผลจากการปฏิบัติกัมมัฏฐาน แต่พระอาจารย์มั่นตระหนักดีว่าหากผู้ปฏิบัติเพลิดเพลินไปกับนิมิต จนปรุงแต่งว่าเป็นฤทธิ์เดชเวทมนตร์ ยึดติดลุ่มหลงจนไม่รู้ตัวเสียแล้ว การขัดเกลากิเลสย่อมหยุดชะงักลง ปัญญารู้แจ้งในสัจธรรมความจริงย่อมไม่มีทางเกิดขึ้นได้ พระอาจารย์มั่นพิจารณาด้วยเหตุผลว่าลักษณะจิตที่ยังหวั่นไหว มีความยินดียินร้ายไปตามนิมิต ย่อมไม่ใช่แนวทางสู่ความพ้นทุกข์ที่แท้จริง หากเป็นแต่เพียงทางผ่านที่ผู้ปฏิบัติต้องข้ามพ้นไปให้ได้เท่านั้น
ที่มา ชุดสุดยอดสงฆ์ 1 : หลวงปู่มั่น – เพ็ญอลงกรณ์ สำนักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ
อนึ่ง เพราะพระโยคาวจรเป็นผู้ฉลาด เป็นบัณฑิต เปรื่องปราชญ์ สมบูรณ์ด้วยความรู้ เมื่อโอภาสเป็นต้นเกิดขึ้น ย่อมกำหนด ย่อมสอบสวนโอภาสนั้นด้วยปัญญาว่า โอภาสนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็โอภาสนั้นแลเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นสิ่งปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายราคะเป็นธรรมดา มีการดับกิเลสเป็นธรรมดาด้วยประการดังนี้.
"ว่าด้วยการละวิปัสสนูปกิเลส"
ความเป็นผู้ฉลาดในธรรมุทธัจจะ
บทว่า นิกนฺติ อุปฺปชฺชติ นิกันติ (ความพอใจ) ย่อมเกิดขึ้น คือความพอใจมีอาการสงบ สุขุมทำความอาลัยในวิปัสสนาอันประดับด้วยโอภาสเป็นต้นอย่างนี้ย่อมเกิดขึ้น ความพอใจใดไม่อาจแม้กำหนดลงไปว่าเป็นกิเลส ดุจในโอภาส เมื่ออย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น.
พระโยคาวจรคิดว่าญาณเห็นปานนี้ ไม่เคยเกิดแก่เรามาก่อนจากนี้ ปีติ ปัสสัทธิ อธิโมกข์ ปัคคหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติ เห็นปานนี้เคยเกิดแล้ว เราเป็นผู้บรรลุมรรค เราเป็นผู้บรรลุผลแน่นอน แล้วถือเอาสิ่งมิใช่มรรคว่าเป็นมรรค สิ่งมิใช่ผลว่าเป็นผล.
เมื่อพระโยคาวจรนั้นถือเอาสิ่งมิใช่มรรคว่าเป็นมรรค และสิ่งมิใช่ผลว่าเป็นผล วิปัสสนาวิถีย่อมหลีกออกไป.
พระโยคาวจรนั้นสละมูลกรรมฐานของตนแล้วนั่ง ยินดีความพอใจนั้นเท่านั้น.
อนึ่ง ในบทนี้ท่านกล่าวโอภาสเป็นต้นว่าเป็นอุปกิเลส เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง เพราะไม่ใช่อกุศล ส่วนนิกันติเป็นอุปกิเลสด้วยเป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมองด้วย. อุปกิเลสเหล่านี้มี ๑๐ อย่างด้วยสามารถแห่งวัตถุ มี ๓๐ ด้วยสามารถแห่งการถือเอา อย่างไร. เมื่อพระโยคาวจรถือว่า โอภาสเกิดแล้วแก่เรา ย่อมเป็นการถือเอาด้วยทิฏฐิ เมื่อถือว่าโอภาสน่าพอใจหนอเกิดแล้ว ย่อมเป็นการถือเอาด้วยมานะ เมื่อยินดีโอภาส ย่อมเป็นการถือเอาด้วยตัณหา การถือเอา ๓ อย่างด้วยสามารถแห่งทิฏฐิมานะและตัณหาในโอภาสด้วยประการดังนี้. แม้ในอุปกิเลสที่เหลือก็อย่างนั้น. อุปกิเลส ๓๐ ด้วยอำนาจแห่งการถือเอาย่อมมีด้วยประการฉะนี้.
บทว่า ทุกฺขโต มนสิกโรโต อนตฺตโต มนสิกโรโต เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา.
พึงทราบความโดยนัยนี้แม้ในวาระทั้งหลาย.
ในบทนี้พึงทราบความเกิดแห่งวิปัสสนูปกิเลสแห่งวิปัสสนาหนึ่งๆ ด้วยสามารถแห่งอนุปัสสนาหนึ่งๆ มิใช่อย่างเดียวเท่านั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในอนุปัสสนา ๓ ดังต่อไปนี้.
พระอานนทเถระ ครั้นแสดงอุปกิเลสทั้งหลายด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา โดยไม่ต่างกันอย่างนี้ แล้วเมื่อจะแสดงด้วยอำนาจแห่งความต่างกันอีก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า รูปํ อนิจฺจโต มนสิกโรโต เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ชรามรณํ อนิจฺจโต อุปฏฺฐานํ ชรามรณะอันปรากฏโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง คือความปรากฏของชราและมรณะโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง.
เพราะพระโยคาวจรผู้ไม่ฉลาด ไม่เปรื่องปราชญ์ด้วยอำนาจแห่งอุปกิเลส ๓๐ ดังกล่าวแล้วในบทก่อน ย่อมหวั่นไหวในโอภาสเป็นต้น ย่อมพิจารณาโอภาสเป็นต้นอย่างหนึ่งๆ ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ฉะนั้นพระอานนทเถระเมื่อจะแสดงความนั้น จึงกล่าวคาถา ๒ คาถามีอาทิว่า โอภาเสว เจว ญาเณ จ ในโอภาสและญาณดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า วิกมฺปติ ย่อมกวัดแกว่ง คือ ย่อมกวัดแกว่ง หวั่นไหว ๓ อย่างด้วยอำนาจกิเลสต่างๆ ในอารมณ์มีโอภาสเป็นต้น.
บทว่า เยหิ จิตฺตํ ปเวเธติ จิตย่อมหวั่นไหว คือ จิตย่อมกวัดแกว่งหวั่นไหวด้วยปัสสิทธิและสุขโดยประการต่างๆ ด้วยอำนาจกิเลสต่างๆ เพราะฉะนั้น พึงทราบความสัมพันธ์ ความว่า พระโยคาวจรย่อมกวัดแกว่งในปัสสัทธิและในสุข.
บทว่า อุเปกฺขา วชฺชนาย เจว จากความนึกถึงอุเบกขา คือ จิตย่อมกวัดแกว่ง จากความนึก คือ อุเบกขา.
อธิบายว่า ย่อมกวัดแกว่งจากความวางเฉยในการนึกถึง.
แต่ในวิสุทธิมรรคท่านกล่าวไว้ว่า อุเปกฺขาวชฺชนายญฺจ ในการนึกถึงอุเบกขา.
บทว่า อุเปกฺขาย จ ความวางเฉย คือ จิตย่อมกวัดแกว่งด้วยความวางเฉยมีประการดังกล่าวแล้ว.
อธิบายว่า ย่อมกวัดแกว่งด้วยความพอใจ.
อนึ่ง ในบทนี้ เพราะท่านชี้แจงถึงอุเบกขา ๒ อย่าง จึงกล่าวอรรถโดยประการทั้งสองในฐานะที่ท่านกล่าวแล้วว่า อุเปกฺขา อุปฺปชฺชติ อุเบกขาย่อมเกิด.
อนุปัสสนาอย่างหนึ่งๆ เพราะความปรากฏแห่งความวางเฉยด้วยการนึกถึงแห่งอนุปัสสนาหนึ่งๆ ในอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น ท่านกล่าวว่า เจริญบ่อยๆ ว่า อนิจฺจํ อนิจฺจํ ทุกฺขํ ทุกฺขํ อนตฺตา อนตฺตา.
อนึ่ง เพราะพระโยคาวจรเป็นผู้ฉลาด เป็นบัณฑิต เปรื่องปราชญ์ สมบูรณ์ด้วยความรู้ เมื่อโอภาสเป็นต้นเกิดขึ้น ย่อมกำหนด ย่อมสอบสวนโอภาสนั้นด้วยปัญญาว่า โอภาสนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็โอภาสนั้นแลเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นสิ่งปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายราคะเป็นธรรมดา มีการดับกิเลสเป็นธรรมดาด้วยประการดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรนั้นมีความดำริอย่างนี้.
หากโอภาสพึงเป็นตัวตน พึงควรที่จะถือเอาว่าเป็นตัวตน แต่โอภาสนี้มิใช่ตัวตน ยังถือกันว่าเป็นตัวตน เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรเมื่อเห็นว่า โอภาสนี้มิใช่ตัวตน เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ จึงถอนทิฏฐิเสียได้.
หากว่า โอภาสพึงเป็นสภาพเที่ยง พึงควรเพื่อถือเอาว่าเป็นสภาพเที่ยง แต่โอภาสนี้เป็นสภาพไม่เที่ยง ยังถือกันว่าเป็นสภาพเที่ยง เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรนี้เมื่อเห็นว่าเป็นสภาพไม่เที่ยง เพราะมีแล้วไม่มีย่อมถอนมานะเสีย.
หากว่า โอภาสพึงเป็นความสุข พึงควรถือเอาว่า เป็นความสุข แต่โอภาสนี้เป็นความทุกข์ ยังถือเอาว่าเป็นความสุข เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรนี้เมื่อเห็นว่าเป็นความทุกข์ เพราะเกิดขึ้นสิ้นไปและบีบคั้น ย่อมถอนความพอใจ ดุจในโอภาส.
แม้ในบทที่เหลือก็อย่างนั้น.
พระโยคาวจรครั้นพิจารณาอย่างนี้แล้ว ย่อมพิจารณาเห็นโอภาสว่า นั่นไม่ใช่เรา เราไม่ใช่นั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เมื่อพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่กวัดแกว่ง ไม่หวั่นไหว ในโอภาสเป็นต้น เพราะฉะนั้น พระอานนทเถระเมื่อแสดงความนั้น จึงกล่าวคาถาว่า อิมานิ ทส ฐานานิ ฐานะ ๑๐ ประการเหล่านี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ทส ฐานานิ คือ มีโอภาสเป็นต้น.
บทว่า ปญฺญายสฺส ปริจฺจิตา ภิกษุนั้นกำหนดด้วยปัญญา คือ กำหนดถูกต้อง อบรมบ่อยๆ ด้วยปัญญา พ้นจากอุปกิเลส.
บทว่า ธมฺมุทฺธจฺจกุสโล โหติ เป็นผู้ฉลาด ในความนึกถึงโอภาสเป็นต้น อันเป็นธรรมฟุ้งซ่าน คือพระโยคาวจรเป็นผู้กำหนดฐานะ ๑๐ อย่างด้วยปัญญา เป็นผู้ฉลาดด้วยการแทงตลอดตามความเป็นจริงแห่งธรรมุทธัจจะ มีประการดังกล่าวแล้วในตอนก่อน.
บทว่า น จ สมฺโมหคจฺฉติ ย่อมไม่ถึงความหลงใหล คือไม่ถึงความหลงใหลด้วยการถอนตัณหา มานะและทิฏฐิ เพราะเป็นผู้ฉลาดในธรรมุทธัจจะ.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=31&A=7564&Z=7861
ย่อมพิจารณาปีติที่สัมปยุตด้วยฌาน โดยความสิ้น ความเสื่อม, ปีติชื่อว่าเป็นอันภิกษุรูปนั้นรู้แจ้งแล้วโดยความไม่งมงาย เพราะแทงตลอดลักษณะในขณะแห่งวิปัสสนา.
"ปีติมีในที่ใด ความสุขย่อมมีในที่นั้น. ความสุขมีในที่ใด ปีติโดยความแน่นอนย่อมไม่มีในที่นั้น, ปีติสงเคราะห์เข้าในสังขารขันธ์, สุขสงเคราะห์เข้าในเวทนาขันธ์."
บทว่า ปีติปฏิสํเวที ความว่า เธอย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำปีติให้รู้แจ้ง คือทำให้ปรากฏหายใจเข้า หายใจออก. บรรดาปีติและสุขเหล่านั้น ปีติย่อมเป็นอันภิกษุรู้แจ้งแล้วโดยอาการ ๒ อย่าง คือโดยอารมณ์และโดยความไม่งมงาย.
ถามว่า ปีติย่อมเป็นอันภิกษุรู้แจ้งแล้ว โดยอารมณ์อย่างไร?
แก้ว่า ภิกษุนั้นย่อมเข้าฌานทั้ง ๒ (ปฐมฌานและทุติยฌาน) ซึ่งมีปีติ, ปีติชื่อว่าเป็นอันภิกษุนั้นรู้แจ้งแล้วโดยอารมณ์ ด้วยการได้ฌานในขณะเข้าสมาบัติ เพราะอารมณ์เป็นธรรมชาติอันภิกษุนั้นรู้แจ้งแล้ว.
ถามว่า ปีติย่อมเป็นอันภิกษุรู้แจ้งแล้ว โดยความไม่งมงายอย่างไร?
แก้ว่า ภิกษุนั้นเข้าฌานทั้ง ๒ ซึ่งมีปีติ ออกจากฌานแล้ว ย่อมพิจารณาปีติที่สัมปยุตด้วยฌาน โดยความสิ้น ความเสื่อม, ปีติชื่อว่าเป็นอันภิกษุรูปนั้นรู้แจ้งแล้วโดยความไม่งมงาย เพราะแทงตลอดลักษณะในขณะแห่งวิปัสสนา.
ข้อนี้ สมจริงดังคำที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทาว่า
เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น, ปีตินั้นย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้วด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น, เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว สติย่อมตั้งมั่น, ปีตินั้นย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้วด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น, เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจเข้าสั้น สติย่อมตั้งมั่น, ปีตินั้นย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้วด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น, เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจออกสั้น สติย่อมตั้งมั่น, ปีตินั้นย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้วด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น,
เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวง หายใจเข้าและหายใจออก สติย่อมตั้งมั่น. ปีตินั้นย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้วด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น, เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับกายสังขาร หายใจเข้าและหายใจออก สติย่อมตั้งมั่น, ปีตินั้นย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้วด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น,
เมื่อรำพึงถึง ปีตินั้นย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว, เมื่อรู้ เมื่อเห็น เมื่อพิจารณา เมื่ออธิษฐานจิต เมื่อน้อมใจไปด้วยศรัทธา เมื่อประคองความเพียร เมื่อเข้าไปตั้งสติไว้ เมื่อตั้งจิตไว้มั่น เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา เมื่อรู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อละธรรมที่ควรละ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ปีตินั้นย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว, ปีตินั้นเป็นอันภิกษุรู้แจ้งแล้วด้วยอาการอย่างนี้
อรรถกถา มหาวิภังค์ ปฐมภาค
ปาราชิกกัณฑ์ ตติยปาราชิกสิกขาบท
ในบทว่า ปีติสุขํ นี้ ชื่อว่าปีติ เพราะอรรถว่าอิ่มใจ,
ปีตินั้นมีลักษณะอิ่มเอิบ. ปีตินั้นมี ๕ อย่าง คือ
ขุททกาปีติ - ปีติอย่างน้อย ๑.
ขณิกาปีติ - ปีติชั่วขณะ ๑.
โอกกันติกาปีติ - ปีติเป็นพักๆ ๑.
อุพเพงคาปีติ - ปีติอย่างโลดโผน ๑.
ผรณาปีติ - ปีติซาบซ่าน ๑.
ในปีติเหล่านั้น บทว่า ขุทฺทกาปีติ ได้แก่ เมื่อเกิดขึ้นสามารถทำเพียงให้ขนชันในร่างกายเท่านั้น.
บทว่า ขณิกาปีติ ได้แก่ เมื่อเกิดขึ้นเช่นกับสายฟ้าแลบเป็นพักๆ.
บทว่า โอกฺกนฺติกาปีติ ได้แก่ เมื่อเกิดขึ้นทำร่างกายให้ซู่ซ่าแล้วหายไปเหมือนคลื่นกระทบฝั่ง.
บทว่า อุพฺเพงฺคาปีติ ได้แก่ ปีติมีกำลังทำให้กายลอยขึ้นไปถึงกับโลดขึ้นไปบนอากาศชั่วระยะหนึ่ง.
บทว่า ผรณาปีติ ได้แก่ ปีติมีกำลังยิ่ง.
จริงอยู่ เมื่อปีตินั้นเกิด สรีระทั้งสิ้นสั่นสะเทือนดุจปัสสาวะเต็มกระเพาะ และหลืบภูเขาที่ยื่นออกไปทางห้วงน้ำใหญ่.
ปีติ ๕ อย่างนั้นถือเอาซึ่ง คพฺภํ - ท้องถึงการแก่รอบแล้ว ย่อมยังปัสสัทธิ ๒ อย่าง คือ กายปัสสัทธิและจิตตปัสสัทธิให้บริบูรณ์. ปีตินั้นถือเอาซึ่งท้องแห่งปัสสัทธิถึงการแก่รอบแล้ว ย่อมยังสุขแม้ ๒ อย่าง คือ กายิกสุขและเจตสิกสุขให้บริบูรณ์.
สุขนั้นถือเอาท้องคือครรภ์ ถึงการแก่รอบแล้ว ย่อมยังสมาธิ ๓ อย่าง คือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิให้บริบูรณ์.
ในปีติเหล่านั้น ปีติที่ท่านประสงค์เอาในอรรถนี้ ได้แก่ผรณาปีติซึ่งเป็นเหตุของอัปปนาสมาธิเจริญงอกงามอยู่ ถึงความประกอบพร้อมแห่งสมาธิ.
อนึ่ง บทต่อไป ชื่อว่า สุขํ เพราะอรรถว่าให้ถึงสุข.
อธิบายว่า ปีติเกิดแก่ผู้ใด ย่อมทำผู้นั้นให้ถึงสุข.
อีกอย่างหนึ่ง ความสบายชื่อว่า สุขํ, ธรรมชาติใดย่อมเคี้ยวกินดีและการทำลายความเบียดเบียนทางกายและจิต ชื่อว่า สุขํ, บทนี้เป็นชื่อของโสมนัสสเวทนา.
ความสุขนั้นมีลักษณะเป็นความสำราญ. แม้เมื่อปีติและสุขยังไม่พรากไปในที่ไหนๆ ความยินดีในการได้อารมณ์ที่น่าปรารถนาเป็นปีติ, การเสวยรสที่ได้แล้วเป็นสุข.
ปีติมีในที่ใด ความสุขย่อมมีในที่นั้น. ความสุขมีในที่ใด ปีติโดยความแน่นอนย่อมไม่มีในที่นั้น, ปีติสงเคราะห์เข้าในสังขารขันธ์, สุขสงเคราะห์เข้าในเวทนาขันธ์.
ปีติเหมือนในการได้เห็นได้ฟังว่ามีน้ำอยู่ชายป่าของผู้ที่เหน็ดเหนื่อยในทางกันดาร, สุขเหมือนในการเข้าไปอาศัยในเงาป่าและการดื่มน้ำ.
พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงบทนี้เพราะความปรากฏในสมัยนั้นๆ. ปีตินี้และสุขนี้มีอยู่แก่ฌานนั้น หรือมีอยู่ในฌานนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวฌานนี้ว่า ปีติสุขํ ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ปีติและสุข ชื่อว่า ปีติสุขํ เหมือนธรรมและวินัยเป็นต้น, ปีติสุขเกิดแต่วิเวก ย่อมมีแก่ฌานนั้น หรือมีในฌานนั้น เพราะเหตุนั้น ปีติสุขจึงเกิดแต่วิเวกด้วยประการฉะนี้. แม้ปีติสุขในญาณนี้ก็เกิดแต่วิเวกเท่านั้น เช่นเดียวกับฌาน.
อนึ่ง ปีติสุขมีแก่ฌานนั้น เพราะฉะนั้น การทำเป็นอโลปสมาส - สมาสที่ไม่ลบวิภัตติ แล้วกล่าวว่า วิเวกชํ ปีติสุขํ - ปีติสุขเกิดแต่วิเวก ดังนี้ โดยบทเดียวเท่านั้น สมควร.
บทว่า ปฐมํ ชื่อว่าปฐม เพราะตามลำดับของการนับ, ชื่อว่าปฐม เพราะอรรถว่าเกิดก่อนบ้าง.
บทว่า ฌานํ ฌานมี ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิชฌาน - เพ่งอารมณ์ และลักขณูปนิชฌาน - เพ่งลักษณะ.
ในฌาน ๒ อย่างนั้น สมาบัติ ๘ เข้าไปเพ่งอารมณ์มีปฐวีกสิณเป็นต้น ชื่อว่าอารัมมณูปนิชฌาน. วิปัสสนามรรคและผล ชื่อว่าลักขณูปนิชฌาน.
ในวิปัสสนามรรคและผลเหล่านั้น วิปัสสนาชื่อว่าลักขณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปเพ่งซึ่งลักษณะมีอนิจจลักษณะเป็นต้น, มรรคชื่อว่าลักขณูปนิชฌาน เพราะกิจทำด้วยวิปัสสนาสำเร็จด้วยมรรค, ส่วนผลชื่อว่าลักขณูปนิชฌาน เพราะอรรถว่าเข้าไปเพ่งนิโรธสัจอันเป็นลักษณะที่จริงแท้.
อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค ๑. ญาณกถามัคคสัจนิทเทส
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น