"ว่าด้วยความสัมพันธ์ของสมถะวิปัสสนา"
และ ความสัมพันธ์ของ
วิขัมภนปหาน ตทังคปหาน สมุจเฉทปหาน
[ปฏิจจสมุปบาท อิทัปปัจจยตา]
การข่ม การทำให้ไกลซึ่งปัจนิกธรรมมีนิวรณ์เป็นต้น ด้วยโลกิยสมาธินั้นๆ ดุจเอาหม้อเหวี่ยงลงไปในน้ำที่มีแหน ทำให้แหนกระจายไปไกล ฉะนั้น นี้ชื่อว่าวิกขัมภนปหานะ.
บทว่า วิกฺขมฺภนปหานญฺจ นีวรณานํ ปฐมชฺฌานํ ภาวยโต - การละนิวรณ์ด้วยการข่มไว้ ย่อมมีแก่ผู้เจริญปฐมฌาน พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงการละนิวรณ์ เพราะนิวรณ์ปรากฏ.
อันที่จริง นิวรณ์ยังไม่ครอบงำจิตเร็วนักทั้งในส่วนเบื้องต้น ทั้งในส่วนเบื้องหลังแห่งฌาน. เมื่อจิตถูกนิวรณ์ครอบงำ ฌานย่อมเสื่อม, แต่วิตกเป็นต้นยังเป็นไปได้ไม่เป็นปฏิปักษ์ทั้งก่อนหลังตั้งแต่ทุติยฌานเป็นต้น. เพราะฉะนั้น การข่มนิวรณ์จึงปรากฏ. การละธรรมที่ควรละนั้นๆ โดยเป็นปฏิปักษ์กันด้วยองค์ฌานอันเป็นส่วนของวิปัสสนานั้นๆ ดุจตามประทีปไว้ในตอนกลางคืนละความมืดเสียได้ นี้ชื่อว่าตทังคปหานะ.
เมื่อบุคคลผู้ได้เนกขัมมะเป็นอันละและสละกามได้แล้ว ด้วยวิกขัมภนปหานะ ในเพราะอุบายสลัดออกแห่งอสุภฌาน, ด้วยสมุจเฉทปหานะ
<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<
พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า กามานเมตํ นิสฺสรณํ - เนกขัมมะเป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกามเป็นต้น. ชื่อว่านิสสรณะ เพราะเนกขัมมะเป็นเหตุสลัดออกจากกาม จากรูป จากสังขตะ.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่านิสสรณะ เพราะออกไปจากกามเหล่านั้น. นิสสรณะ คืออสุภฌาน.
ชื่อว่าเนกขัมมะ เพราะออกจากกาม. หรือ ได้แก่ อนาคามิมรรค.
จริงอยู่ อสุภฌานชื่อว่านิสสรณะ เพราะข่มกามไว้ได้.
ส่วนอุปปาทิตอนาคามิมรรค - อนาคามิมรรคยังฌานให้เกิด ทำฌานนั้นให้เป็นบาท ชื่อว่า อจฺจนฺตนิสฺสรณํ - เป็นอุบายสลัดออกโดยส่วนเดียว เพราะขาดจากกามโดยประการทั้งปวง.
ชื่อว่า รูปํ เพราะอรรถว่าสลายไป.
อธิบายว่า อรูปมิใช่รูปเป็นปฏิปักษ์ต่อรูป ดุจอมิตรเป็นปฏิปักษ์ต่อมิตร, และดุจอโลภะเป็นต้น เป็นปฏิปักษ์ต่อโลภะเป็นต้น.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อรูปํ เพราะอรรถว่า ในฌานนี้ไม่มีรูปด้วยอำนาจแห่งผล, อรูปนั่นแล ชื่อว่า อารุปฺปํ - อรูปฌาน. อารุปปะ คืออรูปฌาน. อรูปฌานเหล่านั้นเป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป. อรหัตมรรค ชื่อว่าอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูปโดยประการทั้งปวง เพราะห้ามการเกิดใหม่ด้วยอรูปฌาน.
บทว่า ภูตํ คือ เกิดแล้ว.
บทว่า สงฺขตํ คือ อาศัยปัจจัยปรุงแต่ง.
บทว่า ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนํ - ธรรมอาศัยกันเกิดขึ้น ได้แก่ปัจจัยนั้นๆ เกิดขึ้นโดยชอบและร่วมกัน. เป็นอันท่านแสดงความไม่เที่ยง ด้วยแสดงถึงความเกิดครั้งแรก, เมื่อมีความไม่เที่ยงครั้งที่ ๒ ท่านก็แสดงถึงความเป็นไปในเบื้องหน้าด้วยการแสดงถึงอานุภาพของปัจจัย, เมื่อมีความเป็นไปในเบื้องหน้าครั้งที่ ๓ ท่านก็แสดงถึงความเป็นธรรมดาอย่างนี้ ด้วยการแสดงถึงความเป็นผู้ขวนขวายปัจจัย.
บทว่า นิโรโธ คือ นิพพาน. ท่านกล่าวว่า นิโรโธ เพราะอรรถว่าอาศัยนิพพานดับทุกข์. นิโรธนั้นชื่อว่าเป็นอุบายสลัดออกแห่งสังขตะนั้น เพราะสลัดออกจากสังขตะทั้งหมด.
ส่วนในอรรถกถา ท่านกล่าวไว้ว่า
ในบทนี้ว่า นิโรโธ ตสฺส นิสฺสรณํ - นิโรธ
เป็นอุบายสลัดออกแห่งสังขตะนั้น ท่านประสงค์
อรหัตผลว่า นิโรธ. จริงอยู่ เมื่อเห็นนิพพานด้วย
อรหัตผล สังขารทั้งปวงก็จะไม่มีต่อไปอีก เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าว นิโรโธ เพราะเป็นปัจจัย
แห่งนิโรธอันได้แก่พระอรหัต.
พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า เนกฺขมฺมํ ปฏิลทฺธสฺส - เมื่อบุคคลผู้ได้เนกขัมมะแล้ว มีดังต่อไปนี้
เมื่อบุคคลผู้ได้เนกขัมมะเป็นอันละและสละกามได้แล้ว ด้วยวิกขัมภนปหานะ ในเพราะอุบายสลัดออกแห่งอสุภฌาน, ด้วยสมุจเฉทปหานะ ในเพราะอุบายสลัดออกแห่งอนาคามิมรรค. พึงประกอบรูปทั้งหลายอย่างนี้ในเพราะอุบายสลัดออกแห่งอรูปฌานและในเพราะอุบายสลัดออกแห่งอรหัตมรรค. การตัดขาดรูปย่อมมีด้วยการละฉันทราคะในรูปทั้งหลาย,
อนึ่ง ในบทว่า รูปา นี้เป็นลิงควิปลาส. เมื่อบุคคลผู้ได้นิโรธเป็นอันละและสละสังขารได้แล้วด้วยนิสสรณปหานะ ในเพราะพระนิพพานเป็นเครื่องสลัดออก, ด้วยปฏิปัสสัทธิปหานะ ในเพราะอรหัตผลเป็นเครื่องสลัดออก.
พึงทราบว่า การได้เฉพาะด้วยสามารถทำให้เป็นอารมณ์ ในเพราะความที่พระนิพพานเป็นเครื่องสลัดออก
พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า ทุกฺขสจฺจํ ดังต่อไปนี้.
บทว่า ปริญฺญาปฏิเวธํ - การแทงตลอดด้วยการกำหนดรู้เป็นต้น เป็นภาวนปุงสกะ. การแทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ ชื่อว่า ปริญฺญาปฏิเวธํ. ทุกขสัจนั้นเป็นการแทงตลอดด้วยการกำหนดรู้. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้.
บทว่า ปชหาติ - ย่อมละ พึงถือเอาความว่า บุคคลผู้แทงตลอดได้อย่างนั้นๆ ย่อมละกิเลสที่ควรละได้.
อธิบายว่า ย่อมละกิเลสเหล่านั้นด้วยละฉันทราคะแม้ในโลกิยะและโลกุตระ. ปาฐะว่า ปชหติ บ้าง.
มรรคญาณย่อมตรัสรู้อริยสัจ ๔ ในขณะเดียวกันไม่ก่อนไม่หลัง, ย่อมตรัสรู้ทุกข์ ด้วยปริญญาภิสมัย - การตรัสรู้ด้วยการกำหนดรู้, ย่อมตรัสรู้สมุทัย ด้วยปหานาภิสมัย - การตรัสรู้ด้วยการละ, ย่อมตรัสรู้มรรค ด้วยภาวนาภิสมัย - การตรัสรู้ด้วยการทำให้เกิด, ย่อมตรัสรู้นิโรธ ด้วยสัจฉิกิริยาสมัย - การตรัสรู้ด้วยการทำให้แจ้ง.
เหมือนเรือย่อมทำกิจ ๔ อย่างในขณะเดียวกัน, ย่อมละฝั่งใน, ตัดกระแส, นำสินค้าไป, ย่อมถึงฝั่งโน้น ฉะนั้น.
ท่านอธิบายไว้อย่างไร?
พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงปหานะ แม้ในขณะเดียวกันก็ดุจแยกกัน เพราะท่านกล่าวว่า พระโยคาวจรทำนิโรธให้เป็นอารมณ์ ย่อมบรรลุ ย่อมเห็น ย่อมแทงตลอดอริยสัจ ๔.
พึงทราบวินิจฉัยในปหานะ ๕ ดังต่อไปนี้
การข่ม การทำให้ไกลซึ่งปัจนิกธรรมมีนิวรณ์เป็นต้น ด้วยโลกิยสมาธินั้นๆ ดุจเอาหม้อเหวี่ยงลงไปในน้ำที่มีแหน ทำให้แหนกระจายไปไกล ฉะนั้น นี้ชื่อว่าวิกขัมภนปหานะ.
บทว่า วิกฺขมฺภนปหานญฺจ นีวรณานํ ปฐมชฺฌานํ ภาวยโต - การละนิวรณ์ด้วยการข่มไว้ ย่อมมีแก่ผู้เจริญปฐมฌาน พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงการละนิวรณ์ เพราะนิวรณ์ปรากฏ.
อันที่จริง นิวรณ์ยังไม่ครอบงำจิตเร็วนักทั้งในส่วนเบื้องต้น ทั้งในส่วนเบื้องหลังแห่งฌาน. เมื่อจิตถูกนิวรณ์ครอบงำ ฌานย่อมเสื่อม, แต่วิตกเป็นต้นยังเป็นไปได้ไม่เป็นปฏิปักษ์ทั้งก่อนหลังตั้งแต่ทุติยฌานเป็นต้น. เพราะฉะนั้น การข่มนิวรณ์จึงปรากฏ. การละธรรมที่ควรละนั้นๆ โดยเป็นปฏิปักษ์กันด้วยองค์ฌานอันเป็นส่วนของวิปัสสนานั้นๆ ดุจตามประทีปไว้ในตอนกลางคืนละความมืดเสียได้ นี้ชื่อว่าตทังคปหานะ.
บทว่า ตทงฺคปฺปหานญฺจ ทิฏฺฐิคตานํ นิพฺเพธภาคิยํ สมาธึ ภาวยโต - การละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ ย่อมมีแก่ผู้เจริญสมาธิอันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงการละทิฏฐิโดยเป็นของหยาบ. เพราะทิฏฐิเป็นของหยาบ, นิจสัญญาเป็นต้นละเอียด.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺฐิคตานํ คือ ทิฏฐินั่นแล ชื่อว่าทิฏฐิคตะ ดุจบทมีอาทิว่า คูถคตํ มุตฺตคตํ๙- - คูถ มูตร.
ทิฏฐิคตะนี้เที่ยวไปด้วยทิฏฐิ เพราะความเป็นของที่ควรไปบ้าง ชื่อว่าทิฏฐิคตะ. ไปในทิฏฐิ เพราะหยั่งลงภายในทิฏฐิ ๖๒ บ้าง ชื่อว่าทิฏฐิคตะ. ทิฏฐิคตะเหล่านั้น ท่านกล่าวเป็นพหุวจนะ.
____________________________
๙- องฺ. นวก. เล่ม ๒๓/ข้อ ๒๑๕.
บทว่า นิพฺเพธภาคิยํ สมาธึ - สมาธิอันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส ได้แก่ สมาธิสัมปยุตด้วยวิปัสสนา. การละโดยอาการที่เป็นไปไม่ได้อีกต่อไปแห่งธรรมอันเป็นสังโยชน์ ด้วยอริยมรรคญาณ ดุจต้นไม้ที่ถูกสายฟ้าฟาด นี้ชื่อว่าสมุจเฉทปหานะ.
บทว่า นิโรโธ นิพฺพานํ - นิโรธ คือนิพพาน ได้แก่นิพพานกล่าวคือนิโรธ.
[๖๖] เพื่อแสดงธรรมที่ควรละด้วย ปหานะ อย่างนี้แล้วแสดงธรรมที่ควรละอีกโดยสรุป พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพุทธพจน์มีอาทิว่า สพฺพํ ภิกฺขเว ปหาตพฺพํ - ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรละ.
ในธรรมเหล่านั้น ควรละธรรมมีจักษุเป็นต้น ด้วยการละฉันทราคะ.
พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า รูปํ ปสฺสนฺโต ปชหาติ - เมื่อเห็นรูปย่อมละ ได้แก่ เมื่อพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ย่อมละกิเลสที่ควรละได้.
เมื่อพิจารณาเห็น สำรวจ เพ่งปรารถนา อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ในสองไปยาลว่า จกฺขํ ฯเปฯ ชรามรณํ ฯเปฯ อมโตคธํ นิพฺพานํ, อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ในโลกุตรธรรมเหล่านั้นมีอาทิว่า ปสฺสนฺโต ปชหาติ - เมื่อพิจารณาเห็น ย่อมละได้ ย่อมละกิเลสที่ควรละ ในขณะแห่งวิปัสสนา เพราะเหตุนั้นควรประกอบโดยอนุรูปแก่ธรรมนั้นๆ.
จบอรรถกถาปหาตัพพนิทเทส
จบอรรถกถาตติยภาณวาร
-----------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น