#มรรค (สันสกฤต: มรฺค; บาลี: มคฺค) คือ หนทางสู่ความดับทุกข์ เป็นหนึ่งในอริยสัจ 4 จึงเรียกอีกอย่างว่า #ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือการลงมือปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 8 ประการ
ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่าอริยมรรคมีองค์ 8 นี้เป็นทางสายกลาง[1] คือเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้น[2]
ตามวิภังคสูตร พระพุทธเจ้าทรงอธิบายรายละเอียดไว้ดังนี้[3]
#สัมมาทิฐิ (ความเห็นที่ถูกต้อง) หมายถึง ความรู้ในอริยสัจ 4
#สัมมาสังกัปปะ (ความคิดที่ถูกต้อง) หมายถึง ความคิดในการออกจากกาม ความไม่พยาบาท และการไม่เบียดเบียน
#สัมมาวาจา (วาจาที่ถูกต้อง) หมายถึง การเว้นจากการพูดเท็จ หยาบคาย ส่อเสียด และเพ้อเจ้อ
#สัมมากัมมันตะ (การปฏิบัติที่ถูกต้อง) หมายถึง เจตนาละเว้นจากการฆ่า โจรกรรม และการประพฤติผิดในกาม
#สัมมาอาชีวะ (การหาเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง) หมายถึง การเว้นจากมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ
#สัมมาวายามะ (ความเพียรที่ถูกต้อง) หมายถึง สัมมัปปธาน ๔ คือ ความพยายามป้องกันอกุศลที่ยังไม่เกิด ละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ทำกุศลที่ยังไม่เกิด และดำรงรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
#สัมมาสติ (การมีสติที่ถูกต้อง) หมายถึง สติปัฏฐาน 4
#สัมมาสมาธิ (การมีสมาธิที่ถูกต้อง) หมายถึง การบรรลุฌาน 4
เมื่อเทียบกับหลักไตรสิกขา องค์มรรคข้อ 1-2 เป็นปัญญา ข้อ 3-4-5 เป็นศีล และข้อ 6-7-8 เป็นสมาธิ
#สัมมาสังกัปปะ (ความคิดที่ถูกต้อง) หมายถึง ความคิดในการออกจากกาม ความไม่พยาบาท และการไม่เบียดเบียน
#สัมมาวาจา (วาจาที่ถูกต้อง) หมายถึง การเว้นจากการพูดเท็จ หยาบคาย ส่อเสียด และเพ้อเจ้อ
#สัมมากัมมันตะ (การปฏิบัติที่ถูกต้อง) หมายถึง เจตนาละเว้นจากการฆ่า โจรกรรม และการประพฤติผิดในกาม
#สัมมาอาชีวะ (การหาเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง) หมายถึง การเว้นจากมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ
#สัมมาวายามะ (ความเพียรที่ถูกต้อง) หมายถึง สัมมัปปธาน ๔ คือ ความพยายามป้องกันอกุศลที่ยังไม่เกิด ละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ทำกุศลที่ยังไม่เกิด และดำรงรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
#สัมมาสติ (การมีสติที่ถูกต้อง) หมายถึง สติปัฏฐาน 4
#สัมมาสมาธิ (การมีสมาธิที่ถูกต้อง) หมายถึง การบรรลุฌาน 4
เมื่อเทียบกับหลักไตรสิกขา องค์มรรคข้อ 1-2 เป็นปัญญา ข้อ 3-4-5 เป็นศีล และข้อ 6-7-8 เป็นสมาธิ
อ้างอิง;
↑ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร, พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
↑ วิภังคสูตร, พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
************************************
************************************
อริยมรรคมีองค์ 8 (บทสวดพร้อมคำแปล)
อะยะเมวะ อะริโย อัฎฐังคิโก มัคโค
หนทางนี้แลเป็นหนทางอันประเสริฐ ซึ่งประกอบด้วยองค์แปด
หนทางนี้แลเป็นหนทางอันประเสริฐ ซึ่งประกอบด้วยองค์แปด
เสยยะถีทัง ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ:-
สัมมาทิฎฐิ ความเห็นชอบ
สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ
สัมมาวาจา การพูดจาชอบ
สัมมากัมมันโต การทำการงานชอบ
สัมมาอาชีโว การเลี้ยงชีวิตชอบ
สัมมาวายาโม ความพากเพียรชอบ
สัมมาสะติ ความระลึกชอบ
สัมมาสะมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ
สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ
สัมมาวาจา การพูดจาชอบ
สัมมากัมมันโต การทำการงานชอบ
สัมมาอาชีโว การเลี้ยงชีวิตชอบ
สัมมาวายาโม ความพากเพียรชอบ
สัมมาสะติ ความระลึกชอบ
สัมมาสะมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ
(องค์มรรคที่ 1)
กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาทิฎฐิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเห็นชอบเป็นอย่างไรเล่า?
กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาทิฎฐิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเห็นชอบเป็นอย่างไรเล่า?
ยัง โข ภิกขะเว ทุกเข ญาณัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรู้อันใด เป็นความรู้ในทุกข์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรู้อันใด เป็นความรู้ในทุกข์
ทุกขะสะมุทะเย ญาณัง
เป็นความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์
เป็นความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์
ทุกขะนิโรเธ ญาณัง
เป็นความรู้ในความดับแห่งทุกข์
เป็นความรู้ในความดับแห่งทุกข์
ทุกขะนิโรธะคามินิยา ปะฏิปะทายะ ญาณัง
เป็นความรู้ในทางดำเนินให้ถึงความดับแห่งทุกข์
เป็นความรู้ในทางดำเนินให้ถึงความดับแห่งทุกข์
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาทิฎฐิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า ความเห็นชอบ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า ความเห็นชอบ
(องค์มรรคที่ 2)
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาสังกัปโป
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความดำริชอบ เป็นอย่างไรเล่า?
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาสังกัปโป
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความดำริชอบ เป็นอย่างไรเล่า?
เนกขัมมะสังกัปโป
ความดำริในการออกจากกาม
ความดำริในการออกจากกาม
อะพยาปาทะสังกัปโป
ความดำริในการไม่มุ่งร้าย
ความดำริในการไม่มุ่งร้าย
อะวิหิงสาสังกัปโป
ความดำริในการไม่เบียดเบียน
ความดำริในการไม่เบียดเบียน
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสังกัปโป
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า ความดำริชอบ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า ความดำริชอบ
(องค์มรรคที่ 3)
กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาวาจา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การพูดจาชอบ เป็นอย่างไรเล่า?
กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาวาจา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การพูดจาชอบ เป็นอย่างไรเล่า?
มุสาวาทา เวระมะณี
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดไม่จริง
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดไม่จริง
ปิสุณายะ วาจายะ เวระมะณี
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดส่อเสียด
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดส่อเสียด
ผะรุสายะ วาจายะ เวระมะณี
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดหยาบ
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดหยาบ
สัมผัปปะลาปา เวระมะณี
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาวาจา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า การพูดจาชอบ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า การพูดจาชอบ
(องค์มรรคที่ 4)
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมากัมมันโต
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การทำการงานชอบ เป็นอย่างไรเล่า?
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมากัมมันโต
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การทำการงานชอบ เป็นอย่างไรเล่า?
ปาณาติปาตา เวระมะณี
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่า
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่า
อะทินนาทานา เวระมะณี
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของ ที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของ ที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว
กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมะณี
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมากัมมันโต
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า การทำการงานชอบ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า การทำการงานชอบ
(องค์มรรคที่ 5)
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาอาชีโว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การเลี้ยงชีวิตชอบ เป็นอย่างไรเล่า?
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาอาชีโว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การเลี้ยงชีวิตชอบ เป็นอย่างไรเล่า?
อิธะ ภิกขะเว อะริยะสาวะโก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาวกของพระอริยเจ้า ในธรรมวินัยนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาวกของพระอริยเจ้า ในธรรมวินัยนี้
มิจฉาอาชีวัง ปะหายะ
ละการเลี้ยงชีวิตที่ผิดเสีย
ละการเลี้ยงชีวิตที่ผิดเสีย
สัมมาอาชีเวนะ ชีวิกัง กัปเปติ
ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตที่ชอบ
ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตที่ชอบ
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาอาชีโว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า การเลี้ยงชีวิตชอบ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า การเลี้ยงชีวิตชอบ
(องค์มรรคที่ 6)
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาวายาโม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความพากเพียรชอบเป็นอย่างไรเล่า?
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาวายาโม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความพากเพียรชอบเป็นอย่างไรเล่า?
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
อะนุปปันนานัง ปาปะกานัง อะกุสะลานัง ธัมมานัง อะนุปปาทายะ,
ฉันทัง ชะเนติ, วายะมะติ, วิริยัง อาระภะติ, จิตตัง ปัคคัณหาติ ปะทะหะติ;
ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น, ย่อมพยายาม, ปรารภความเพียร,
ประคองตั้งจิตไว้, เพื่อจะยังอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น
ฉันทัง ชะเนติ, วายะมะติ, วิริยัง อาระภะติ, จิตตัง ปัคคัณหาติ ปะทะหะติ;
ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น, ย่อมพยายาม, ปรารภความเพียร,
ประคองตั้งจิตไว้, เพื่อจะยังอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น
อุปปันนานัง ปาปะกานัง อะกุสะลานัง ธัมมานัง ปะหานายะ,
ฉันทัง ชะเนติ วายะมะติ, วิริยัง อาระภะติ, จิตตัง ปัคคัณหาติ ปะทะหะติ;
ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น, ย่อมพยายาม, ปรารภความเพียร,
ประคองตั้งจิตไว้, เพื่อจะละอกุศลธรรม อันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
ฉันทัง ชะเนติ วายะมะติ, วิริยัง อาระภะติ, จิตตัง ปัคคัณหาติ ปะทะหะติ;
ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น, ย่อมพยายาม, ปรารภความเพียร,
ประคองตั้งจิตไว้, เพื่อจะละอกุศลธรรม อันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
อนุปปันนานัง กุสะลานัง ธัมมานัง อุปปาทายะ ฉันทัง ชะเนติ,
วายะมะติ, วิริยัง อาระภะติ, จิตตัง, ปัคคัณหาติ ปะทะหะติ;
ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร
ประคองตั้งจิตไว้ เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น
วายะมะติ, วิริยัง อาระภะติ, จิตตัง, ปัคคัณหาติ ปะทะหะติ;
ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร
ประคองตั้งจิตไว้ เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น
อุปปันนานัง กุสะลานัง ธัมมานัง ฐิติยา, อะสัมโมสายะ ภิยโยภาวายะ,
เวปุลลายะ ภาวะนายะ, ปาริปูริยา, ฉันทัง ชะเนติ, วายะมะติ,
วิริยัง อาระภะติ จิตตัง ปัคคัณหาติ ปะทะหะติ
ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร
ประคองตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งอยู่ ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น
ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
เวปุลลายะ ภาวะนายะ, ปาริปูริยา, ฉันทัง ชะเนติ, วายะมะติ,
วิริยัง อาระภะติ จิตตัง ปัคคัณหาติ ปะทะหะติ
ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร
ประคองตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งอยู่ ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น
ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาวายาโม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า ความเพียรชอบ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า ความเพียรชอบ
(องค์มรรคที่ 7)
กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาสะติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความระลึกชอบ เป็นอย่างไรเล่า?
กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาสะติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความระลึกชอบ เป็นอย่างไรเล่า?
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
ถอนความพอใจและความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
ถอนความพอใจและความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้
เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
ถอนความพอใจ และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
ถอนความพอใจ และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้
จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
ถอนความพอใจ และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
ถอนความพอใจ และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้
ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
ถอนความพอใจ และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
ถอนความพอใจ และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสะติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า ความระลึกชอบ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า ความระลึกชอบ
(องค์มรรคที่ 😎
กะตะโม จะภิกขะเว สัมมาสะมาธิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นอย่างไรเล่า?
กะตะโม จะภิกขะเว สัมมาสะมาธิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นอย่างไรเล่า?
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
วิวิจเจวะ กาเมหิ
สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย
สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย
วิวิจจะ อะกุสะเลหิ ธัมเมหิ
สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลาย
สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลาย
สะวิตักกัง สะวิจารัง, วิเวกะชัง. ปีติสุขัง ปะฐะมัง
ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ;
เข้าถึงปฐมฌาน, ประกอบด้วยวิตกวิจาร,
มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่;
ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ;
เข้าถึงปฐมฌาน, ประกอบด้วยวิตกวิจาร,
มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่;
วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา
เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง
เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง
อัชฌัตตัง สัมปะสาทะนัง เจตะโส, เอโกทิภาวัง อะวิตักกัง อะวิจารัง
สะมาธิชัง ปีติสุขัง ทุติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ;
เข้าถึงทุติยฌาน, เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน
ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่
สะมาธิชัง ปีติสุขัง ทุติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ;
เข้าถึงทุติยฌาน, เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน
ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่
ปีติยา จะ วิราคา
อนึ่ง เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ
อนึ่ง เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ
อุเปกขะโก จะวิหะระติ, สะโต จะ สัมปะชาโน,
ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา, มีสติและสัมปชัญญะ,
ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา, มีสติและสัมปชัญญะ,
สุขัญจะ กาเยนะ ปะฏิสังเวเทติ,
และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย,
และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย,
ยันตัง อะริยา อาจิกขันติ, อุเปกขะโก สะติมา สุขะวิหารี ติ,
ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า
“เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปรกติสุข” ดังนี้
ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า
“เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปรกติสุข” ดังนี้
ตะติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ;
เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่;
เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่;
สุขัสสะ จะ ปะหานา,
เพราะละสุขเสียได้,
เพราะละสุขเสียได้,
ทุกขัสสะ จะ ปะหานา,
และเพราะละทุกข์เสียได้,
และเพราะละทุกข์เสียได้,
ปุพเพวะ โสมะนัสสะโทมะนัสสานัง อัตถังคะมา,
เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน,
เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน,
อะทุกขะมะสุขัง อุเปกขาสะติปาริสุทธิง,
จะตุตถัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ.
เข้าถึงจตุตฌาน, ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข,
มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่
จะตุตถัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ.
เข้าถึงจตุตฌาน, ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข,
มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสะมาธิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า ความตั้งใจมั่นชอบ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า ความตั้งใจมั่นชอบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น