05 มิถุนายน 2563

มัชฌิมาปฏิปทาที่ตถาคตได้ตรัสรู้ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล


[๑๐๘๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุปัญจวัคคีย์มาตรัสว่า

“ภิกษุทั้งหลาย ที่สุด ๒ ประการ บรรพชิตไม่พึงเสพ
ที่สุด ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. กามสุขัลลิกานุโยค (การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย)เป็นธรรมอันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

๒. อัตตกิลมถานุโยค (การประกอบความเดือดร้อนแก่ตน) เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

มัชฌิมาปฏิปทาไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด ๒ ประการนี้ที่ตถาคตได้ตรัสรู้ อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

มัชฌิมาปฏิปทาที่ตถาคตได้ตรัสรู้ อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ 
๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา 
๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ 
๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ 
๘. สัมมาสมาธิ
นี้คือมัชฌิมาปฏิปทานั้นที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว อันเป็นปฏิปทาที่ก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน …
………..
ข้อความบางตอนใน ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (ไทย) http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=391
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (บาลี) http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=1664&items=10
#มัชฌิมาปฏิปทา #ทางสายกลาง #อริยมรรคมีองค์๘

เครดิตเพจ พระไตรปิฎกศึกษา

สุตตันตภาชนีย์
อริยมรรคมีองค์ ๘ นัยที่ ๑
             [๕๖๙] อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ
                          ๑. สัมมาทิฏฐิ
                          ๒. สัมมาสังกัปปะ
                          ๓. สัมมาวาจา
                          ๔. สัมมากัมมันตะ
                          ๕. สัมมาอาชีวะ
                          ๖. สัมมาวายามะ
                          ๗. สัมมาสติ
                          ๘. สัมมาสมาธิ
             [๕๗๐] ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน
             ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ใน
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่าสัมมาทิฏฐิ
             [๕๗๑] สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน
             ความดำริในอันออกจากกาม ความดำริในอันไม่พยาบาท ความดำริใน
อันไม่เบียดเบียน นี้เรียกว่าสัมมาสังกัปปะ
             [๕๗๒] สัมมาวาจา เป็นไฉน
             ความงดเว้นจากการพูดเท็จ ความงดเว้นจากการพูดส่อเสียด ความงดเว้น
จากการพูดหยาบ ความงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่าสัมมาวาจา
             [๕๗๓] สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน
             ความงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ความงดเว้นจากการลักทรัพย์ ความงดเว้น
จากการประพฤติผิดในกาม นี้เรียกว่าสัมมากัมมันตะ
             [๕๗๔] สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน
             บุคคลผู้อริยสาวกในศาสนานี้ ละมิจฉาอาชีวะแล้ว เลี้ยงชีวิตอยู่ด้วย
สัมมาอาชีวะ นี้เรียกว่าสัมมาอาชีวะ
             [๕๗๕] สัมมาวายามะ เป็นไฉน
             ภิกษุในศาสนานี้ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง
จิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น ทำ
ฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อ
ละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น ทำ
ฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อ
ความดำรงมั่น ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ
ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ
             [๕๗๖] สัมมาสติ เป็นไฉน
             ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก พิจารณาเห็นเวทนา
ในเวทนาเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสเสียได้ในโลก พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก พิจารณาเห็นธรรม
ในธรรมเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสเสียได้ในโลก นี้เรียกว่า สัมมาสติ
             [๕๗๗] สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
             ภิกษุในศาสนานี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ
ปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ บรรลุ
ทุติยฌาน อันยังใจให้ผ่องใสเพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นภายใน
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแก่สมาธิ อยู่ เพราะคลายปีติได้อีก
ด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย
บรรลุตติยฌานซึ่งเป็นฌานที่พระอริยะทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มี
จิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มี
สุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติ
บริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๗๔๘๘-๗๕๔๑ หน้าที่ ๓๒๔-๓๒๖.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=7488&Z=7541&pagebreak=0

   อานาปานสติเป็นอริยสัจ ๔      
         
               ในอานาปานบรรพนั้น สติที่กำหนดลมอัสสาสปัสสาสะเป็นอารมณ์เป็นทุกขสัจ ตัณหามีในก่อนอันยังทุกขสัจนั้นให้ตั้งขึ้นเป็นสมุทัยสัจ ความไม่เป็นไปแห่งสัจจะทั้งสอง เป็นนิโรธสัจ อริยมรรคที่กำหนดรู้ทุกขสัจ ละสมุทัยสัจ มีนิโรธสัจเป็นอารมณ์ เป็นมรรคสัจ. ภิกษุโยคาวจรขวนขวายด้วยอำนาจสัจจะ ๔ อย่างนี้ ย่อมบรรลุความดับทุกข์ได้ฉะนี้. 
               นี้เป็นทางปฏิบัตินำออกจากทุกข์ จนบรรลุพระอรหัตของภิกษุผู้ตั้งมั่นแล้ว ด้วยอำนาจแห่งลมอัสสาสปัสสาสะ รูปหนึ่งฉะนี้แล.

                           อานาปานบรรพ  

อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค
มหาสติปัฏฐานสูตร

ฌานสูตร
             [๒๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ทุติยฌานบ้าง ตติยฌานบ้าง จตุตถฌานบ้าง อากาส
นัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย เพราะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานบ้าง ฯ
             ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เธอย่อม
พิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมี
อยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค
เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด
ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว เธอ
ย่อมโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่ง
สังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด
ความดับ นิพพาน เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ
จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิย-
*สังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงรูปหุ่นที่ทำด้วย
หญ้าหรือกองก้อนดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ
ได้แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็น
ทุกข์ ... ว่างเปล่าเป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้น
แล้วย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบ
แห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็น
อุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ข้อที่
เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายเพราะ
อาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
             ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย เพราะอาศัยทุติยฌานบ้าง ฯลฯ เพราะอาศัยตติยฌานบ้าง ฯลฯ เพราะ
อาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับ
โสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอย่อมพิจารณา
เห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะ
แห่งจตุตถฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็น
อนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่อ
อมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ...
นิพพาน เธอตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้า
ยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพาน
ในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบ
เหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วย
หญ้าหรือกองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ
ได้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล บรรลุจตุตถฌาน
ฯลฯ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา ฯลฯ มีอันไม่กลับ
มาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้
กล่าวแล้ว ฯ
             ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง
เพราะดับปฏิฆสัญญา และเพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุอากาสานัญจายตน-
*ฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรม
ทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากาสา-
*นัญจาตนฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา
เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุ
ว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน
เธอตั้งอยู่ในอากาสานัญจาตนฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้า
ยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานใน
ภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนาย
ขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือ
กองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้
ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะล่วงรูปสัญญาโดย
ประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุ
อากาสานัญจาตนฌาน ... เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย ฯลฯ มีอันไม่กลับ
จากโลกนั้นเป็นธรรมดา ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวว่า เรากล่าวความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เรา
อาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
             ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย เพราะอาศัยวิญญาณัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ อากิญจัญญายตนฌานบ้าง
ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะ
ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดย
คำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มี เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้
ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่น
ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ใน
อากิญจัญญายตนะนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอัน
ไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความ
ยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู
หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน ต่อมา
เขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด  และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้ฉันใด ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ
หน่อยหนึ่งไม่มี เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น โดยความเป็น
ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ในธรรม
เหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ
ธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนฌาน
นั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่พึงกลับจากโลก
นั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลิน
ในธรรมนั้นๆ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่ง
อาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยอากิญจัญญายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้
กล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้แล สัญญาสมาบัติมีเท่าใด สัญญา-
*ปฏิเวธก็มีเท่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะ ๒ เหล่านี้ คือ เนวสัญญานา-
*สัญญายตนสมาบัติ ๑ สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ ต่างอาศัยกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวว่า อายตนะ ๒ ประการนี้ อันภิกษุผู้เข้าฌานผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ
และฉลาดในการออกจากสมาบัติ เข้าแล้วออกแล้ว พึงกล่าวได้โดยชอบ ฯ
จบสูตรที่ ๕


ที่มา
             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๙๐๔๑-๙๑๔๕ หน้าที่ ๓๙๐-๓๙๔.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=9041&Z=9145&pagebreak=0

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...