25 ตุลาคม 2563

เรื่องราวเกี่ยวกับในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่คนไทยควรทราบ

#เป็นเรื่องปกติที่ลูก ย่อมที่จะทำงานน้อยกว่าพ่อ
ในหลักความเป็นจริงของชีวิต!!!
ไม่ใช่นิยายที่แต่งออกมาหลอกใคร มีข้อมูล
ค้นคว้าได้ว่าโครงการนี้ สร้างเมื่อไหร่??
ใครสร้าง?? เศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่วาทะกรรม
เป็นโครงการที่ใช้ได้จริง ในชีวิตจริง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช” พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จสู่พระราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เป็นพระมหากษัตริย์ไทยที่ทรงครองราชสมบัติยาวนานที่สุดในประเทศไทย

ในโลกออนไลน์ได้มีการแชร์บทความแสนประทับใจ โดยเฟซบุ๊คที่ใช้ชื่อว่า “Chai Seeho” โดยระบุว่า.. ไม่ทราบว่าใครเขียน แต่ผมชอบการเรียงลำดับว่าตอนพระองค์อายุเท่าไร มีเหตุการณ์หรือได้ทำอะไรบ้าง ขอบันทึกไว้ในเฟซบุ๊คตัวเอง เพื่อได้อ่านในปีต่อๆไป

เรื่องราวเกี่ยวกับในหลวงรัชกาลที่ 9 มีมากมาย แต่ส่วนใหญ่เวลาได้ข้อมูลเกี่ยวกับท่านเราจะได้ในลักษณะเป็นปี พ.ศ.ซึ่งมันทำให้ไม่เห็นภาพเท่าไหร่ว่าตอนนั้นพระองค์อยู่ในวัยไหน พระชนมายุมากรึยัง เลยลองมานั่งไล่อายุท่านเทียบกับพระราชกรณียกิจแบบคร่าวๆ

มีเรื่องที่คิดไม่ถึงหลายอย่าง เช่น เพลงพระราชนิพนธ์ดังๆ ทรงแต่งตั้งแต่ 18-19 พรรษา เพลงมหาจุฬาลงกรณ์ที่เราร้องกันนี่ท่านก็ทรงแต่งตั้งแต่อายุ 22 (เทียบกับอายุเด็กสมัยนี้คือทรงอยู่ปี 4) พระราชกรณียกิจต่างๆนานาก็เริ่มตั้งแต่ 20 ต้นๆ แล้ว พอท่านเลย 60 ไปแทนที่จะเกษียณกลับกลายเป็นงานยิ่งมากขึ้น เสด็จต่างจังหวัดเยอะมาก มูลนิธิชัยพัฒนานี่พึ่งตั้งตอนประมาณ 61 พรรษา ทรงงานไปถึงช่วง 80 พรรษา หลังจากนั้นส่วนมากจะไปประทับและทรงงานอยู่ศิริราช

พอเทียบกับเวลาของชีวิตเรา ในเวลาเท่ากันท่านสามารถคิดและสร้างอะไรไว้ได้มากมายเหลือเกิน เก่งจิงๆ เก่งทุกอย่าง เทียบแล้วก็จะรู้ว่าท่านทรงงานหนักจริงๆ ถ้าเป็นญาติพี่น้องเราอายุเกิน 60 ส่วนใหญ่ก็พักผ่อนอยู่บ้านหมดเเล้ว แต่ท่านอายุ หกสิบเจ็บสิบยังออกไปตลุยงานอยู่ ถ้าไม่ออกก็ฟังวิทยุดูทีวีติดตามสถานการณ์บ้านเมืองตลอด

พระราชกรณียกิจต่างๆ ไม่รวมเวลาเสด็จเยี่ยมราษฎร 4 ภาค อยากให้เก็บไว้ดูในวันเกิดของตัวเองทุกๆปี แล้วลองย้อนมองว่าที่ผ่านมาเราทำอะไรให้ผู้อื่นหรือเพื่อประเทศชาติบ้าง

2 พรรษา สมเด็จพระบรมราชชนกสวรรคต

5 พรรษา เปลี่ยนแปลงการปกครอง

6 พรรษา จากบ้าน ครอบครัวเล็กๆย้ายไปสวิตเซอร์เเลนด์

7 พรรษา เป็นสมเด็จพระอนุชา

8 พรรษา เริ่มถ่ายภาพ

9 พรรษา เก็บเงินซื้อคลาริเน็ท

11 พรรษา เสด็จนิวัติพระนคร ครั้งที่ 1

12 พรรษา สงครามโลกครั้งที่ 2

14 พรรษา ทรงเก็บเงินซื้อแซกโซโฟนที่เป็นของใช้แล้วมาเล่นดนตรี (เป็นน้องของพระเจ้าแผ่นดินแต่ยังทรงต้อง"เก็บเงิน")

18 พรรษา เสด็จนิวัติพระนคร ครั้งที่ 2

19 พรรษา สูญเสียพระบรมเชษฐาธิราช เป็นพระมหากษัตริย์, “แสงเทียน” “ยามเย็น” “สายฝน” “ไกล้รุ่ง”
เทียบกับอายุเด็กสมัยนี้คือตอนนั้นยังทรงเป็นเพียงเด็กมหาลัยปี 1 เด็กแค่นี้ท่านต้องผ่านอะไรมามากมายจริงๆ แถมครองราชแค่ปีแรก ก็ทรงเริ่มมอบความสุขให้คนไทยผ่านเสียงเพลง

20 พรรษา “เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิทเซอร์แลนด์”, “HM Blues”

21 พรรษา ทรงประสบอุบัติเหตุ

22 พรรษา ทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิตยากร, “มหาจุฬาลงกรณ์”

23 พรรษา เสด็จนิวัติพระนคร บรมราชาภิเษก ราชาภิเษกสมรส

24 พรรษา “พรปีใหม่”

25 พรรษา สถานีวิทยุ อ.ส.พระราชวังดุสิต, ทุนภูมิพล, “ยิ้มสู้” “ธงไชยเฉลิมพล”, ทรงระดุมทุนช่วยผู้ป่วยโปลิโอ

26 พรรษา พระราชทานปลาหมอเทศแก่กรมประมง

27 พรรษา หน่วยแพทย์เคลื่อนที่พระราชทาน, พระราชทานเงินสำหรับพัฒนาหุนยนต์คุณหมอ

28 พรรษา เสด็จเยี่ยมราษฏร ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทรงโน้มพระองค์รับดอกไม้จากแม่เฒ่าตุ้ม, พระราชทานเรือให้กาชาดใช้ช่วยเหลือประชาชน

29 พรรษา ทรงผนวช, ทรงดนตรีกับ Benny Goodman

30 พรรษา ฟื้นฟูกระบวนเรือพระราชพิธี

31 พรรษา เสด็จภาคเหนือครบทุกจังหวัด, วันทรงดนตรีที่จุฬา, “แสงเดือน”

32 พรรษา เสด็จภาคใต้, ทรงเริ่มวาดภาพจิตรกรรม

20 พรรษา “เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิทเซอร์แลนด์”, “HM Blues”

21 พรรษา ทรงประสบอุบัติเหตุ

22 พรรษา ทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิตยากร, “มหาจุฬาลงกรณ์”

23 พรรษา เสด็จนิวัติพระนคร บรมราชาภิเษก ราชาภิเษกสมรส

24 พรรษา “พรปีใหม่”

25 พรรษา สถานีวิทยุ อ.ส.พระราชวังดุสิต, ทุนภูมิพล, “ยิ้มสู้” “ธงไชยเฉลิมพล”, ทรงระดุมทุนช่วยผู้ป่วยโปลิโอ

26 พรรษา พระราชทานปลาหมอเทศแก่กรมประมง

27 พรรษา หน่วยแพทย์เคลื่อนที่พระราชทาน, พระราชทานเงินสำหรับพัฒนาหุนยนต์คุณหมอ

28 พรรษา เสด็จเยี่ยมราษฏร ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทรงโน้มพระองค์รับดอกไม้จากแม่เฒ่าตุ้ม, พระราชทานเรือให้กาชาดใช้ช่วยเหลือประชาชน

29 พรรษา ทรงผนวช, ทรงดนตรีกับ Benny Goodman

30 พรรษา ฟื้นฟูกระบวนเรือพระราชพิธี

31 พรรษา เสด็จภาคเหนือครบทุกจังหวัด, วันทรงดนตรีที่จุฬา, “แสงเดือน”

32 พรรษา เสด็จภาคใต้, ทรงเริ่มวาดภาพจิตรกรรม

33 พรรษา เสด็จต่างประเทศ 16 ประเทศ, มูลนิธิราชประชาสมาสัยเพื่อผู้ป่วยโรคเรื้อน, ฟื้นฟูพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

34 พรรษา โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา พันธุ์ข้าวพระราชทานพืชมงคล

35 พรรษา “ยูงทอง”

36 พรรษา อ่างเก็บน้ำเขาเต่า โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านชลประทานแห่งแรก, มูลนิธิราชประชานุเคราะห์

37 พรรษา โครงการหมู่บ้านสหกรณ์หุบกระพง โครงการพัฒนาที่ดินตามพระราชประสงค์แห่งแรก, ประดิษฐ์เรือใบราชปะเเตน

38 พรรษา ฟื้นฟูทุนเล่าเรียนหลวง, ทรงศึกษาและเพาะพันธุ์ปลานิล

39 พรรษา ทรงเรือใบจากหัวหินข้ามอ่าวไทย (ทรงเท่ห์มาก), "เกษตรศาสตร์"

40 พรรษา ทรงชนะเลิศเหรียญทอง การแข่งขันเรือใบ กีฬาแหลมทอง, หน่วยพระราชทานรักษาประชาชนเคลื่อนที่หน่วยที่ 1

41 พรรษา ตั้งศูนย์ฝึกอาชีพคนพระราชทานทหารผ่านศึกพิการ

42 พรรษา โครงการหลวงพัฒนาชาวเขา (สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง), ฝนหลวง, ทดลองเกษตรพืชเมืองหนาว, โรงนมผงสวนจิตร, นมหนองโพ

43 พรรษา ทรงแนะวิธีการใช้ยาพระราชทานชาวเขา

44 พรรษา “ความฝันอันสูงสุด” , ถ.รัชดาภิเษก ,โรงสีข้าวตัวอย่าง

45 พรรษา ตั้งสมเด็จพระบรม, สายอากาศสุธี 1

46 พรรษา 14 ตุลา 2516

47 พรรษา พระราชดำรัสเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงครั้งแรก

48 พรรษา มูลนิธิสายใจไทย

49 พรรษา โครงการพระดาบส

51 พรรษา สถาปนาสมเด็จพระเทพฯ

52 พรรษา ทรงขับรถลุยน้ำที่นราธิวาส

54 พรรษา เยี่ยมราษฏรที่นราธิวาส (ทรงนั่งพิงรถยนต์พระที่นั่งที่จอดบนสะพาน)

56 พรรษา โครงการป่ารักน้ำ, เสด็จไปทอดพระเนตรบริเวณน้ำท่วมในกทม.

57 พรรษา ทฤษฏีแกล้งดิน

58 พรรษา พระราชดำริเรื่องขุดคลองและสร้างประตูควบคุมน้ำ แก้ปัญหาน้ำท่วม

59 พรรษา โรงกลั่นแอลกอฮอล์ในสวนจิตรลดา ผลิตแก๊ซโซฮอล์ (2529)

60 พรรษา ทรงประดิษฐ์อักษร
เทวนาครี

วัยเกษียณ 
61 พรรษา มูลนิธิชัยพัฒนา

62 พรรษา ทดลองทฤษฏีใหม่ (2532)

63 พรรษา โครงการพระราชดำริ แหลมผักเบี้ย แก้ปัญหาขยะ น้ำเสีย

64 พรรษา ทรงปลูกหญ้าแฝก, ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาพระไตรปิฏก

65 พรรษา ยุติเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ

66 พรรษา กังหันน้ำชัยพัฒนา, “นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ”

67 พรรษา “ติโต”, เสด็จเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว

68 พรรษา สมเด็จย่าสวรรคต, ทรงแก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพ, โครงการแก้มลิง, คลองลัดโพธิ์, "เมนูไข่" เพลงพระราชนิพนธ์อันดับสุดท้าย (2538)

69 พรรษา ฉลองสิริราชสมบัติ 50 ปี, “พระมหาชนก” , เหตุการณ์ VR009 ทรงติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติทางวิทยุอย่างใกล้ชิดแล้วโทรไปพระราชทานคำแนะนำ

70 พรรษา พระราชทานแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง, คุณทองแดง, ปีนั้นเเล้งมาก ทรงติดตามการทำงานทีมฝนหลวงตลอดภารกิจทั้งเดือน รับสั่งว่าเมฆทุกก้อนที่ผ่านประเทศไทยต้องเอามาทำฝนให้ได้ และพระราชทานวิธีทำฝนแบบ "ซุปเปอร์

 แซนวิช" ที่ทรงคิดเอง (2540)

71 พรรษา ประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ, พระมหาชนกฉบับการ์ตูน

72 พรรษา พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ, เปิดเขือนป่าสักชลสิทธิ์

74 พรรษา รายการศึกษาทัศน์ ทรงอธิบายเรื่องฝนหลวงให้นร.โรงเรียนไกลกังวล

75 พรรษา สะพานพระราม 8, “ทองแดง”

76 พรรษา APEC, พระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยเรื่องการปรับปรุงหุ่นยนต์คุณหมอพระราชทาน

78 พรรษา ทอดพระเนตรอ่างเก็บน้ำยางชุม จ.ประจวบคิริขันธ์, สระสุวรรณชาติ

79 พรรษา ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี

80 พรรษา ทรงเข้ารับการผ่าตัดที่ รพ.ศิริราช

81 พรรษา พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จกรมหลวงฯ, คลองภักดีรำไพ แก้มลิงแห่งสุดท้าย จ.จันทบุรี, โครงการพระราชดำริชั่งหัวมัน

82 พรรษา ประทับศิริราช

83 พรรษา ทรงเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์, สะพานภูมิพล 1/2, ทรงรับการรายงานสรุปสถานการณ์น้ำในประเทศไทย

84 พรรษา พระราชทานคำแนะนำเรื่องการรับมือน้ำท่วม, ช่วงต้นปี(น้ำท่วมกลาง-ปลายปี)ทรงมีพระราชกระแสให้ทำเครื่องบินบังคับด้วยดาวเทียมสำหรับถ่ายภาพทางอากาศ, เจลลี่โภชนา พระราชทานเพื่อผู้ป่วยมะเร็งในช่องปาก

85 พรรษา เสด็จทอดพระเนตรระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณท่าน้ำศิริราช, เสด็จพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย

86 พรรษา เสด็จกลับไปประทับวังไกลกังวล เสด็จออกมหาสมาคมที่หัวหิน

87 พรรษา เสด็จไปติดตามงานในโครงการในพระราชดำริช่างหัวมัน 4 ครั้ง เขื่อนแก่งกระจาน 2 ครั้ง ศูนย์อนุรักษ์สุนัขหัวหิน

88 พรรษา เสด็จงานพระราชพิธีวันฉัตรมงคล, เสด็จออกให้ผู้พิพากษาเข้าเฝ้า

อ่านถึงตรงนี้ก็คงเห็นแล้วว่าท่านใช้เวลา "ทั้งชีวิต" ของท่าน ทั้งหมดของชีวิตจริงๆ ทำเพื่อประเทศชาติ ทำเพื่อพวกเราคนไทยที่ท่านรัก

พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เคยรับส่งกับ ดร.ภาธร ศรีกรานนท์ ว่าถ้าท่าน 60 เกษียณแล้วไปนิวส์ออลีนส์ ฟังเพลงแจ๊สกัน แต่ท่านก็ไม่เคยเกษียณ ไม่ได้ไปนิวออร์ลีนส์ ไม่ได้ไปฟังเพลงที่ท่านโปรด เพราะท่านไม่เคยหยุดทรงงานเพื่อพวกเรา

พ่อแม่เราเวลาท่านอายุมากเรายังไม่อยากให้ท่านลำบาก ไม่อยากให้ทำงานบ้าน อยากให้ท่านอยู่สบายๆ แล้วในหลวงของเราอายุ 60 70 ก็ยังต้องไปทำงาน ไปแต่ที่ลำบากๆที่เราเองแม้เป็นเด็กแค่คิดก็ยังไม่อยากไป ป่วยก็ยังทำงาน ยังคิดถึงพสกนิกรของพระองค์

ทั้งหมดนี้คือแค่คร่าวๆ อย่างคร่าวๆที่สุดจริงๆ ไม่ต้องสงสัยแม้แต่น้อยว่า "พ่อ" เหนื่อยขนาดไหน

แผ่นดินนี้ที่พ่อสร้างมาทั้งชีวิต ต่อไปนี้ลูกๆจะปกป้องและดูแลเอง

ทรงสถิตในดวงใจไทยนิรันดร์🙏💛
ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน🙏💛

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...