28 ตุลาคม 2563

#ท้าวเวสสุวรรณ

ได้โอกาสสืบสาวราวเรื่องราวคติความเชื่อเกี่ยวกับ #ท้าวเวสสุวรรณ ทำให้เข้าใจและได้รู้ถึงวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องต่อเทวดาหรือเทพ ที่จัดให้เป็นเทวดาในด้านบวก ด้วยเทพองค์นี้มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธเจ้า และคอยอาสาช่วยเหลือสงเคราะห์งานที่เป็นบุญกุศลทางพระพุทธศาสนา ทั้งยังคุ้มครองคนที่ปฏิบัติธรรม จึงเท่ากับว่าเทพองค์นี้ได้แสดงบทบาทช่วยเหลือคนทำความดี ถือเป็นวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลไปในตัว ด้วยมุ่งหวังพัฒนาตนให้พ้นจากกิเลสตัณหา เพื่อให้บรรลุมรรคผลนิพพาน อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของพุทธศาสนา เชื่อว่าเหล่าท้าวมหาราชและเทวดาบางองค์ บรรลุธรรมถึงขั้นโสดาบัน ซึ่งมีสถานะเป็นถึงพระอริยเจ้า การแสดงออกด้วยการบูชาเทวดาจึงเป็นเรื่องสมควรทำ เพราะไม่ขัดต่อพระรัตนตรัย โดยพระพุทธองค์ทรงสอนให้สาวกมีความเคารพเทวดาด้วย "การเจริญเทวตานุสสติกรรมฐาน”
 
 
 
     เรื่อง #การเจริญเทวตานุสสติกรรมฐาน หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จังหวัดหนองคาย ท่านได้ให้ความกระจ่างชัดว่า "เทวตานุสติ” หมายถึง "การระลึกถึงธรรมอันทำบุคคลให้เป็นเทวดา คนเราทุกคนย่อมอยากเป็นคนดี อยากเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม หรืออยากบริสุทธิ์ พ้นจากทุกข์ มีความปรารถนาด้วยกันทุกคน แต่เมื่อมาได้เพียงมนุษยสมบัติ ก็นับว่าดีอักโขแล้ว เพราะถือเป็นพื้นฐานที่จะตกแต่งให้มนุษย์ไปเป็นเทวดา อินทร์ พรหม ต่อไป มนุษย์ที่มีสมบัติ คือมีอวัยวะครบครันบริบูรณ์ ไม่บ้าใบ้เสียจริตผิดมนุษย์ นับว่าดีอยู่แล้ว ขอให้ตั้งหลักฐานการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์นี้ให้มั่นคงเถิด”
 
     หลวงปู่เทสก์ ท่านได้ให้แง่คิดไว้ในเบื้องต้นการจะเป็นเทวดาได้ จะต้องเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ด้วยมนุษยธรรมเสียก่อน เหตุนั้นท่านจึงเรียกว่า "มนุสฺโส” เกิดขึ้นมาเป็น มนุสฺโส แล้วจึงค่อยพัฒนาไปเป็น "มนุสฺสเทโว” ต่อไป การที่จะเป็นมนุสฺสเทโวได้ ก็ต้องมีธรรมะเป็นเครื่องมืออยู่ เปรียบเหมือนกับพ่อค้าแม่ค้า ถ้าทำการค้าขาย ก็เรียกพ่อค้าแม่ค้า ทำไร่ทำนา ก็เรียกว่าชาวไร่ ชาวนา ถ้าทำราชการ ก็เรียกว่าข้าราชการ ฉะนั้น การที่เป็นเทวดาได้ ก็เพราะมีธรรมอันทำให้เป็นเทวดาธรรม นั้นคือ "หิริ” ความละอายแก่ใจ และ "โอตฺตปฺป” ความเกรงกลัวต่อบาป หิริ โอตฺตปฺป นี้เป็นธรรมที่สำคัญ เพราะเป็นพื้นฐานของศีล เป็นต้นตอของการรักษาศีลต่างๆได้ ธรรม ๒ ข้อนี้จึงเป็นพื้นฐานที่พัฒนามนุษย์ให้เป็นเทวดา ดังนั้นมนุษย์จึงควรที่จะสร้างคุณธรรมให้มีขึ้นในตน เมื่อมีขึ้นแล้วจึงเพิ่มพูนให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้นต่อๆไป
 

 
        
     คำสอนของพระพุทธองค์ ทำให้เข้าใจและมองเห็นได้กระจ่างชัดเกี่ยวกับ กรรมหรือการกระทำที่ส่งผลให้ไปเกิดเป็นเทวดาในภาพรวม ไม่แบ่งว่าจะไปเกิดในสวรรค์ชั้นไหน นั่นคือ การประพฤติสุจริตทางกาย ทางวาจา และทางใจ ดังพระพุทธพจน์ ที่ว่า
 
        
  
     "อานนท์ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ที่เรากล่าวว่าควรทำโดยส่วนเดี๋ยวนี้ เมื่อผู้ใดกระทำก็พึงหวังอานิสงส์ต่อไปนี้ คือ ตนเองก็กล่าวโทษตนเองไม่ได้ วิญญูชนทั้งหลายใคร่ครวญแล้วย่อมสรรเสริญ กิตติศัพท์อันดีงามย่อยขจรไป ตายไปก็ไม่หลงฟั่นเฟือน เมื่อกายแตกทำลาย ภายหลังมรณะ ย่อมเข้าถึงสุขคติโลกสวรรค์”
 
     โดยทั่วไปกายสุจริต หมายถึง การไม่ฆ่าไม่เบียดเบียนชีวิตผู้อื่น การไม่ลักขโมย หรือยึดสิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตน และการไม่ประพฤติผิดทางเพศ วจีสุจริต หมายถึง การไม่พูดเท็จ ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดจาไร้สาระ และไม่พูดส่อเสียด มโนสุจริต หมายถึง ไม่ละโมบ อยากได้ของผู้อื่น ไม่คิดปองร้ายผู้อื่น และมีความคิดเห็นที่ถูกต้องในครรลองครองธรรม
 
 
  
     และคำสอนของพระพุทธองค์ ยังระบุว่า บุคคลทำความดีเหมือนกัน (เช่น ประพฤติสุจริต หรือรักษาศีล ๘) แต่ตายแล้วเหตุใดจึงไปเกิดเป็นเทวดาในสวรรค์ชั้นต่างกัน ที่เป็นเช่นนี้เพราะ #ความตั้งใจของแต่ละบุคคลต่างกัน กล่าวคือ บุคคลบางคนอาจมีความชื่นชมในสวรรค์ชั้นใด ชั้นหนึ่งเป็นพิเศษ ก็สามารถตั้งความปรารถนา ที่จะไปเกิดในสวรรค์ชั้นนั้นได้ตั้งแต่สมัยยังชีวิตอยู่ โดยหมั่นบำเพ็ญคุณความดีและตั้งจิตอธิษฐานขอให้ได้ไปเกิดเป็นเทวดาในสวรรค์ชั้นที่ตนปรารถนา
 
 

         
     ดังพุทธดำรัส ที่ว่า "ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ มีความมุ่งหวัง (ในผลบุญ) จึงให้ทาน มีจิตผูกพัน (ในผลทาน) จึงให้ทาน มีจิตมุ่งสะสมบุญจงให้ ทาน เขาย่อมให้ทานด้วยคิดว่า เราละโลกนี้ไปแล้วจะเสวย (ผลแห่งทานนั้น) เขาจึงให้ ข้าว นํ้า ผ้า ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ และประทีป เป็นทานแก่สมณะ พราหมณ์... ดูกรสารีบุตร เขาครั้นให้ทานนั้นแล้วตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา”
         
 

               ถึงแม้ว่า การไปเกิดเป็นเทวดาดูเหมือนว่าจะสูงส่งและดีกว่าการเกิดเป็นมนุษย์ เพราะเทวดาอยู่ในภาวะเป็นทิพย์ มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ และไม่ต้องต่อสู้ดิ้นรนทำมาหากินเหมือนมนุษย์ แต่ตามหลักในพระคัมภีร์ ถือว่าการเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาอยู่ในฐานะเดียวกัน คือ เป็นการเกิดใน สุคติภูมิ พระพุทธเจ้ายังทรงตรัสถึง ข้อได้เปรียบของมนุษย์ที่เหนือกว่าเทวดาไว้ ๓ ประการ คือ (๑) เป็นผู้ที่กล้าหาญกว่า (๒) เป็นผู้มีสติดีกว่า และ (๓) มีโอกาสที่จะรักษาพรรมจรรย์ได้ดีกว่า ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากการเกิดเป็นเทวดาแม้จะมีข้อดีหลายประการที่มนุษย์ไม่มี โดยเฉพาะความสุขความสบาย อยากได้สิ่งใดก็เพียงนึกหรือเนรมิตเอา แต่ข้อดีเหล่านี้อาจทำให้เทวดาหลงระเริงขาดสติได้ง่าย และไม่มีโอกาสที่จะเห็นความทุกข์ยาก อันเป็นความความจริงของสิ่งมีชีวิตประจำโลกมนุษย์…

http://www.culture.go.th/culture_th/ewt_news.php?nid=5203&filename=index

เทวดาทั้งหลายย่อมประชุมกันเพื่อประโยชน์ฟังธรรม.

 
               "ก็ในที่นี้ พึงทราบว่า พวกเทวดาประชุมกันเพื่อประโยชน์ปวารณาสงเคราะห์. 

               คำว่า นมัสการพระตถาคตอยู่ หมายความว่า นมัสการอยู่ซึ่งพระตถาคตด้วยเหตุ ๙ อย่าง. ใจความของบาทคาถาว่า และความที่พระธรรมเป็นธรรมดี เป็นต้น คือความที่พระธรรม ซึ่งต่างด้วยธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วเป็นต้น เป็นธรรมที่ดี และการปฏิบัติดีที่ต่างด้วยความเป็นผู้ปฏิบัติตรงเป็นต้นของพระสงฆ์. 
               คำว่า ตามความเป็นจริง คือ ตามที่เป็นจริง ตามภาวะของตน. 
               วัณณะ หมายเอาพระคุณ. 
               คำว่า ได้กล่าวขึ้นแล้ว หมายความว่า พูดแล้ว 
               คำว่า ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนมาก คือ ปฏิบัติอย่างไร ปฏิบัติอย่างนี้ คือ 
               แม้เมื่อทรงรวบรวมธรรม ๘ ประการ แทบพระบาทของพระทีปังกร แล้วบำเพ็ญพระอภินิหาร ชื่อว่าทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนมาก. แม้เมื่อทรงบำเพ็ญพระบารมี ๑๐ ทัศเหล่านี้ คือ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิฏฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี เป็นเวลา ๔ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป ก็ชื่อว่าทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนมาก."

     ..................................................................

สุธรรมาสภาเห็นปานนี้. 

               ในบทเป็นต้นว่า ท้าวธตรฐ พึงทราบว่า ท้าวธตรฐเป็นราชาแห่งคนธรรพ์ อันพวกเทวดานักฟ้อนแสนโกฏิแวดล้อมแล้วให้ถือเอาแผ่นกระดานใหญ่ที่ทำด้วยทองคำแสนโกฏิ และหอกทองคำแล้วหันพระพักตร์ไปทิศตะวันตก เอาพวกเทวดาในเทวโลกทั้งสองไว้ข้างหน้า แล้วประทับนั่งทางทิศตะวันออก. 

               ท้าววิรุฬหกเป็นราชาแห่งกุมภัณฑ์ อันเหล่าเทพพวกกุมภัณฑ์แสนโกฏิแวดล้อมแล้ว ให้ถือเอาแผ่นกระดานใหญ่ที่ทำด้วยเงินแสนโกฏิ และหอกทองคำ แล้วหันพระพักตร์ไปทิศเหนือ เอาพวกเทวดาในเทวโลกทั้งสองไว้ข้างหน้า แล้วประทับนั่งทางทิศใต้. 
               ท้าววิรูปักษ์เป็นราชาแห่งนาค มีพวกนาคแสนโกฏิแวดล้อม ให้ถือเอากระดานแผ่นใหญ่สำเร็จด้วยมณีแสนโกฏิ และหอกทองคำแล้วหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก เอาพวกเทวดาในเทวโลกทั้งสองไว้ข้างหน้า แล้วประทับนั่งทางทิศตะวันตก. 

               ท้าวเวสวัณเป็นราชาแห่งยักษ์ มีพวกยักษ์แสนโกฏิแวดล้อม ให้ถือเอากระดานแผ่นใหญ่ที่ทำด้วยแก้วประพาฬแสนโกฏิ และหอกทองคำหันพระพักตร์ไปทางทิศใต้ เอาพวกเทวดาในเทวโลกทั้งสองไว้ข้างหน้า แล้วประทับนั่งทางทิศเหนือ. 

               บทว่า และข้างหลังเป็นอาสนะของพวกเรา คือ โอกาสสำหรับนั่งของพวกเรา ย่อมถึงทางด้านหลังของท่านทั้ง ๔ องค์นั้น ต่อจากนั้น พวกเราจะเข้าก็ไม่ได้ หรือจะดูก็ไม่ได้. 
               สำหรับในกรณีนี้ ท่านกล่าวเหตุการประชุมกัน ๔ อย่างไว้ก่อนทีเดียว. ในเหตุทั้ง ๔ อย่างนั้น การประมวลลงในวันเข้าพรรษา ท่านขยายไว้ให้กว้างขวางแล้ว. 
               จริงอยู่ เหตุในวันเข้าพรรษาเป็นฉันใด ภิกษุทั้งหลายประชุมกันในวันเพ็ญในวันมหาปวารณาปรึกษากันว่า วันนี้พวกเราจักไปไหน แล้วปวารณาในสำนักใคร ก็ฉะนั้น. ในที่ประชุมนั้น ท้าวสักกะจอมทวยเทพโดยมากจะทรงปวารณาในปิยังคุทีปพระมหาวิหารนั่นเอง. พวกเทพที่เหลือก็ถือเอาดอกไม้ทิพย์เช่นดอกปาริจฉัตรเป็นต้น และผงจันทน์ทิพย์แล้ว ไปสู่ที่เป็นที่ชอบใจของตนๆ แล้ว ปวารณากัน. แบบนี้ชื่อว่า ย่อมประชุมกันเพื่อประโยชน์แก่การสงเคราะห์ปวารณา. 
               ก็ในเทวโลกมีเถาชื่ออาสาวดี. พวกเทวดาคิดว่าเถานั้นจักออกดอก จึงไปสู่ที่บำรุงตลอดพันปี เมื่อต้นปาริจฉัตรกำลังออกดอก พวกเทวดาไปสู่ที่บำรุงตลอดหนึ่งปี. เทวดาเหล่านั้นพากันดีใจ ตั้งแต่ต้นไม้นั้นมีใบเหลืองเป็นต้นไป. 

               เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า 

               ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยใด ไม้ปาริฉัตร คือไม้ทองหลางของพวกเทพชาวดาวดึงส์ มีใบเหลือง ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น พวกเทพชาวดาวดึงส์ก็พากันดีใจว่า บัดนี้ ไม้ปาริฉัตร คือไม้ทองหลาง มีใบเหลืองแล ไม่นานหรอกจักสลัดใบเหลืองทิ้ง. 
               ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยใด ไม้ปาริจฉัตร คือไม้ทองหลางของพวกเทพชาวดาวดึงส์สลัดใบเหลืองทิ้งแล้ว เริ่มเป็นตุ่มดอก เริ่มผลิดอก เป็นดอกตูม เป็นดอกแย้ม. 
               ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น พวกเทพชาวดาวดึงส์ก็พากันดีใจว่า บัดนี้ ไม้ปาริฉัตร คือไม้ทองหลาง เป็นดอกแย้ม ไม่นานหรอกจักบานสะพรั่งหมด. 
               ก็แล ภิกษุทั้งหลาย รัศมีครอบคลุมไป ๕๐ โยชน์โดยรอบต้นปาริฉัตร คือไม้ทองหลางที่บานสะพรั่ง กลิ่นพัดไปตามลม ๑๐๐ โยชน์. นี้เป็นอานุภาพแห่งต้นปาริฉัตร คือไม้ทองหลาง.๑- 
____________________________ 
๑- องฺ. สตฺตก. เล่ม ๒๓/ข้อ ๖๖ 

               เมื่อไม้ปาริฉัตรบานแล้ว กิจด้วยการพาดพะอง กิจด้วยการเอาขอเกี่ยวโน้มมา หรือกิจด้วยการเอาผอบไปรับเพื่อนำเอาดอกไม้มาไม่มี. ลมที่ทำหน้าที่เด็ดตั้งขึ้นแล้วก็เด็ดดอกไม้จากขั้ว ลมที่ทำหน้าที่รับก็รับไว้ ลมที่ทำหน้าที่หอบส่งก็ส่งเข้าไปสู่สุธรรมาเทวสภา. ลมที่ทำหน้าที่กวาดก็กวาดเอาดอกไม้เก่าทิ้ง. ลมที่ทำหน้าที่ปูลาดก็จัดแจงปูลาดใบฝักและเกสร. 
               ที่ตรงกลางมีธรรมาสน์ มีบัลลังก์แก้วสูงขนาดโยชน์ มีเสวตฉัตรสูงสามโยชน์กั้นไว้ข้างบน. ถัดจากบัลลังก์นั้น ก็ปูอาสนะท้าวสักกเทวราช. ถัดนั้นมาก็เป็นอาสนะของเทพบุตรอีกสามสิบสามองค์. ถัดนั้นมาก็เป็นอาสนะของเทพบุตรผู้มีศักดิ์ใหญ่ๆ เหล่าอื่น. สำหรับเทพเหล่าอื่นก็ใช้ฝักดอกไม้เป็นอาสนะ. 
               พวกเทวดาเข้าสู่เทวสภาแล้วนั่งอยู่. เกลียวละอองดอกไม้ฟุ้งไปจรดฝักเบื้องบนแล้วตกมาทำให้อัตภาพประมาณสามคาวุตของเทวดาทั้งหลาย เหมือนชโลมด้วยน้ำครั่ง. พวกเทวดาเหล่านั้นเล่นกีฬานั้นสี่เดือนจึงสิ้นสุดลง. พวกเทวดาย่อมประชุมกันเพื่อประโยชน์แก่การเสวย ปาริฉัตตกกีฬาด้วยประการฉะนี้. 
               ก็แหละ ในเทวโลก เทวดาโฆษณาการฟังธรรมใหญ่เดือนละ ๘ วัน. 
               ในวันทั้ง ๘ นั้น สนังกุมารมหาพรหม ท้าวสักกะจอมทวยเทพ ภิกษุธรรมกถึก หรือไม่อย่างนั้นก็เทพบุตรธรรมกถึกองค์ใดองค์หนึ่ง กล่าวธรรมกถาในสุธรรมาเทวสภา. ในวัน ๘ ค่ำของปักษ์ พวกอำมาตย์ของมหาราชทั้ง ๔ องค์ ในวัน ๑๔ ค่ำ โอรสทั้งหลาย ในวัน ๑๕ ค่ำ มหาราชทั้ง ๔ องค์เสด็จออกไป ทรงถือแผ่นกระดาษทองและชาติหิงคุลก์ ท่องเที่ยวไปตามคามนิคมและราชธานีทั้งหลาย. พระองค์ทรงบันทึกไว้ด้วยชาติหิงลุคก์บนแผ่นทองว่า 
               หญิงหรือชายชื่อโน้นนั้น ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ. รักษาศีล ๕ กระทำอุโบสถ ๘ ทุกเดือน บำเพ็ญการบำรุงมารดา การบำรุงบิดา กระทำการบูชาด้วยดอกอุบล ๑๐๐ กำ บูชาด้วยแจกันดอกไม้ในที่โน้น ตามประทีป ๑,๐๐๐ ดวง ทำการฟังธรรมไม่เป็นเวลา สร้างฉัตรเวที มุทธิเวที กุจฉิเวที บัลลังก์สิงห์ บันไดสิงห์ บำเพ็ญสุจริต ๓ ประการ ประพฤติยึดมั่นกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ แล้วนำมามอบให้ที่มือของปัญจสิขะ. 
               ปัญจสิขะก็ให้ที่มือของมาตลี. สารถีมาตลีก็ถวายแด่ท้าวสักกเทวราช. เมื่อคนทำบุญมีไม่มาก สมุดบัญชีก็น้อย. พอพวกเทวดาได้เห็นบัญชีนั้นเท่านั้น ก็เสียใจว่า เพื่อนเอ๋ย มหาชนประมาทจริงหนอ อบาย ๔ จักเต็ม เทวโลก ๖ จักว่างเปล่า. แต่ถ้าบัญชีหนา เมื่อพวกเทวดาได้เห็นมันเท่านั้น ก็พากันดีใจว่า โอ เพื่อนเอ๋ย มหาชนมิได้ประมาท อบาย ๔ จักว่าง เทวโลก ๖ จักเต็ม พวกเราจักได้ห้อมล้อมผู้มีบุญใหญ่ที่ได้ทำบุญไว้ในพระพุทธศาสนาแล้วมาเล่นนักษัตรด้วยกัน. 
               ท้าวสักกเทวราชทรงถือบัญชีนั้นแล้วก็ทรงสั่งสอน. โดยแบบปกติ เมื่อท้าวสักกเทวราชนั้นกำลังตรัสพระสุรเสียงได้ยินไป ๑๒ โยชน์. เมื่อตรัสด้วยพระสุรเสียงดังพระสุรเสียงก็กลบเทวนครหมดทั้งหมื่นโยชน์ตั้งอยู่. 
               อย่างที่กล่าวมานี้ เทวดาทั้งหลายย่อมประชุมกันเพื่อประโยชน์ฟังธรรม. 
               ก็ในที่นี้ พึงทราบว่า พวกเทวดาประชุมกันเพื่อประโยชน์ปวารณาสงเคราะห์. 
               คำว่า นมัสการพระตถาคตอยู่ หมายความว่า นมัสการอยู่ซึ่งพระตถาคตด้วยเหตุ ๙ อย่าง. ใจความของบาทคาถาว่า และความที่พระธรรมเป็นธรรมดี เป็นต้น คือความที่พระธรรม ซึ่งต่างด้วยธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วเป็นต้น เป็นธรรมที่ดี และการปฏิบัติดีที่ต่างด้วยความเป็นผู้ปฏิบัติตรงเป็นต้นของพระสงฆ์. 
               คำว่า ตามความเป็นจริง คือ ตามที่เป็นจริง ตามภาวะของตน. 
               วัณณะ หมายเอาพระคุณ. 
               คำว่า ได้กล่าวขึ้นแล้ว หมายความว่า พูดแล้ว 
               คำว่า ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนมาก คือ ปฏิบัติอย่างไร ปฏิบัติอย่างนี้ คือ 
               แม้เมื่อทรงรวบรวมธรรม ๘ ประการ แทบพระบาทของพระทีปังกร แล้วบำเพ็ญพระอภินิหาร ชื่อว่าทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนมาก. แม้เมื่อทรงบำเพ็ญพระบารมี ๑๐ ทัศเหล่านี้ คือ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิฏฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี เป็นเวลา ๔ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป ก็ชื่อว่าทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนมาก. 
               ในคราวเป็นดาบสผู้ถือมั่นขันติ (ขันติวาที) ในคราวเป็นจูฬธัมมบาลกุมาร ในคราวเป็นพญาช้างฉัททันต์ ในคราวเป็นพญานาคภูริทัตต์ จัมไปยยะและสังขบาล และในคราวเป็นมหากบี่ แม้ทรงกระทำงานที่ทำได้ยากเช่นนั้น ก็ชื่อว่าทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนมาก. 
               แม้เมื่อทรงดำรงอัตภาพเป็นพระเวสสันดร ทรงให้ทานใหญ่ชนิดละร้อยรวม ๗ ชนิด ทำให้แผ่นดินไหวใน ๗ สถาน แล้วทรงยึดเอายอดพระบารมี ก็ชื่อว่า ทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนมาก. แม้ในอัตภาพถัดจากอัตภาพเป็นพระเวสสันดรนั้น เสด็จดำรงอยู่ในดุสิตบุรีตลอดพระชนมายุ ก็ชื่อว่า ทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนมาก. 
               พระองค์ทรงเห็นบุรพนิมิต ๕ อย่างในดุสิตบุรีนั้น ผู้อันพวกเทวดาในหมื่นจักรวาลอ้อนวอนแล้ว ทรงตรวจดูมหาวิโลกนะ ๕ ประการแล้ว ประทานปฏิญาณเพื่อประโยชน์แก่การสงเคราะห์พวกเทวดา แล้วทรงจุติจากดุสิตบุรี แม้ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์มารดา ก็ชื่อว่าทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก. 
               ทรงอยู่ในพระครรภ์พระมารดาตลอดสิบเดือนแล้วประสูติจากพระครรภ์พระมารดาที่ป่าลุมพินีก็ดี ทรงครองเรือนสิ้นยี่สิบเก้าพรรษา เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงผนวชอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำอโนมาก็ดี ทรงทำพระองค์ให้ลำบากด้วยความเพียรที่ยิ่งใหญ่ ตั้งหกปีแล้วเสด็จขึ้นสู่โพธิบัลลังก์ แล้วทรงแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณก็ดี ทรงยังพระอิริยาบถให้เป็นไปที่ควงไม้โพธิ์ตลอดเจ็ดสัปดาห์ก็ดี เสด็จอาศัยป่าอิสิปตนะแล้วทรงหมุนล้อธรรมอันยอดเยี่ยมก็ดี ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์ก็ดี เสด็จลงจากเทวโลกก็ดี ทรงเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เสด็จดำรงอยู่ตั้งสี่สิบห้าพรรษาก็ดี ทรงปลงพระชนมายุสังขารก็ดี เสด็จปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุระหว่างคู่ไม้สาละก็ดี ก็ชื่อว่าทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก. 
               พึงทราบว่า ทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก ตลอดเวลาที่พระธาตุของพระองค์แม้เท่าเม็ดผักกาดยังธำรงอยู่. 
               บทที่เหลือก็เป็นคำใช้แทนบทว่า ทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก นี้ทั้งนั้น. ในบทเหล่านั้น บทหลังเป็นไขความของบทก่อน. 
               ในหลายบทว่า ในส่วนอดีต เรายังมองไม่เห็นเลย และในบัดนี้ก็มองไม่เห็น นี้หมายความว่า แม้ในอดีต เราก็มองไม่เห็น ในอนาคตก็มองไม่เห็น คนอื่นนอกจากพระพุทธเจ้า ถึงในบัดนี้ก็มองไม่เห็น เพราะไม่มีศาสดาอื่นเลย นอกจากพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.

https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=209

"เทวตานุสสติ"

ดูกรมหานามะ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมเจริญเทวตานุสสติ(ความระลึกถึงเทวดาเนืองๆ) ว่า เทวดาเหล่าจาตุมหาราชมีอยู่ เทวดาเหล่าดาวดึงส์มีอยู่ เทวดาเหล่ายามามีอยู่ เทวดาเหล่าดุสิตมีอยู่ เทวดาเหล่านิมมานรดีมีอยู่เทวดาเหล่าปรนิมมิตวสวัสดีมีอยู่ เทวดาเหล่าพรหมกายิกามีอยู่ เทวดาที่สูงกว่า
เหล่าพรหมนั้นมีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วอุบัติในเทวดาชั้นนั้น ศรัทธาเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีลเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ศีลเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่
เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยสุตะเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น สุตะเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยจาคะเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น จาคะเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่ เทวดาเหล่านั้น
ประกอบด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ปัญญาเช่นนั้น

แม้ของเราก็มีอยู่ ดูกรมหานามะ สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ของตนและของเทวดาเหล่านั้นเนืองๆ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ย่อมไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภเทวดา ย่อมได้ความทราบซึ้งอรรถ ย่อมได้ความทราบซึ้งธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม เมื่อได้ความปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจประกอบด้วยปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น 

ดูกรมหานามะ นี้อาตมภาพกล่าวว่า อริยสาวกเป็นผู้ถึงความสงบเรียบร้อยอยู่ ในเมื่อหมู่สัตว์ไม่สงบเรียบร้อย เป็นผู้ไม่มีความพยาบาทอยู่ ในเมื่อหมู่สัตว์ยังมีความพยาบาทกันอยู่ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม ย่อมเจริญเทวตานุสสติ ดูกรมหานามะ อริยสาวกผู้ได้บรรลุผล ทราบชัดพระศาสนาแล้ว
ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นส่วนมาก ฯ

จบสูตรที่ ๑๐

จบอาหุเนยยวรรคที่ ๑

"สมาธิ ปฏิจจสมุปบาท"

ว่าด้วยสมาธิเป็นเหตุเกิดปัญญา

             [๒๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
*เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ. ภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง. ก็ภิกษุย่อมรู้ชัดตามเป็น
จริงอย่างไร. ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิดและความดับแห่งรูป ความเกิดและความดับแห่งเวทนา ความ
เกิดและความดับแห่งสัญญา ความเกิดและความดับแห่งสังขาร ความเกิดและความดับแห่ง
วิญญาณ.
             [๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นความเกิดแห่งรูป อะไรเป็นความเกิดแห่ง
เวทนา อะไรเป็นความเกิดแห่งสัญญา อะไรเป็นความเกิดแห่งสังขาร อะไรเป็นความเกิดแห่ง
วิญญาณ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลในโลกนี้ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่.
ก็บุคคลย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่ ซึ่งอะไร. ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง
ย่อมดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำถึง ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป ความยินดีก็เกิดขึ้น ความยินดีในรูป
นั่นเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานของบุคคลนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและอุปายาส. ความ
เกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนั้น ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้. บุคคลย่อมเพลิดเพลินซึ่งเวทนา ฯลฯ
ย่อมเพลิดเพลินซึ่งสัญญา ฯลฯ ย่อมเพลิดเพลินซึ่งสังขาร ฯลฯ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง
ย่อมดื่มด่ำอยู่ซึ่งวิญญาณ เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำถึง ดื่มด่ำอยู่ซึ่งวิญญาณ ความยินดีย่อมเกิดขึ้น
ความยินดีในวิญญาณ นั่นเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานของบุคคลนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัสและอุปายาส. ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย นี่เป็นความเกิดแห่งรูป นี่เป็นความเกิดแห่งเวทนา นี่เป็นความเกิดแห่งสัญญา นี่เป็น
ความเกิดแห่งสังขาร นี่เป็นความเกิดแห่งวิญญาณ.
             [๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นความดับแห่งรูป อะไรเป็นความดับแห่งเวทนา
อะไรเป็นความดับแห่งสัญญา อะไรเป็นความดับแห่งสังขาร อะไรเป็นความดับแห่งวิญญาณ?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่.
ก็ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งอะไร. ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อม
ไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป ความ
ยินดีในรูปย่อมดับไป เพราะความยินดีของภิกษุนั้นดับไป อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ
ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้. ภิกษุย่อมไม่
เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำ ซึ่งเวทนา ... ซึ่งสัญญา ... ซึ่งสังขาร ...
ซึ่งวิญญาณ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งเวทนา ... ซึ่งสัญญา ... ซึ่งสังขาร ...
ซึ่งวิญญาณ ความยินดีในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร ... ในวิญญาณ ย่อมดับไป เพราะความ
ยินดีของภิกษุนั้นดับไป อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกอง
ทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความดับแห่งรูป นี้เป็นความดับ
แห่งเวทนา นี้เป็นความดับแห่งสัญญา นี้เป็นความดับแห่งสังขาร นี้เป็นความดับแห่งวิญญาณ.
จบ สูตรที่ ๕.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๒๙๓-๓๓๑ หน้าที่ ๑๓-๑๔.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=293&Z=331&pagebreak=0

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...