23 พฤศจิกายน 2563

หัวใจของการเจริญ #สติปัฏฐาน

เมื่อใดเพ่งโฟกัสจอจ่อ
เมื่อนั้นความรู้สึกตัวก็หายไป 
ลืมกาย ลืมใจ
สติ ก็คือ การระลึกรู้
สัมปชัญญะ ก็คือ ความรู้สึกตัว
2 สิ่งนี้คือเป็นสิ่งที่เราควรรู้จัก 
แล้วฝึกพัฒนา 2 สิ่งนี้อยู่เสมอ ระลึกรู้สึกตัว 
.
คำว่า สัมมาสติ หรือ การระลึกรู้ที่ถูกต้อง
ก็คือการระลึกรู้กาย ระลีกใจขึ้นมา
หัวใจของการเจริญสติ ก็คือ …
.
ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น รู้ธรรมเฉพาะหน้า
ถ้าท่านสามารถรู้ธรรมเฉพาะหน้าได้
#สัมมาสติ การระลึกรู้ที่ถูกต้องก็เกิดขึ้น
#สัมมาสมาธิ ความตั้งมั่นที่ถูกต้องก็เกิดขึ้น
#สัมมาญาณ วิปัสสนาญาณ 
การรู้เห็นตามความเป็นจริงก็เกิดขึ้น
#สัมมาวิมุตติ การหลุดพ้นที่ถูกต้องก็เกิดขึ้น
.
เพราะฉะนั้นหัวใจของการเจริญ #สติปัฏฐาน
ตั้งกายตรง #ดำรงสติมั่นรู้ธรรมเฉพาะหน้า
สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ท่านทั้งหลายควรจะเข้าใจ 
เข้าถึง และฝึกหัดได้ถูกต้อง
.
ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติตั้งแต่ระดับเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด
หัวใจก็อยู่การดำรงสติมั่น รู้ธรรมเฉพาะหน้า
ใหม่ๆจะให้วิธีการฝึก ดำรงสติมั่น
รู้ธรรมเฉพาะหน้าแบบในเบื้องต้นก่อน
.
ก็ให้เรามองกว้างๆ สบายๆ 
การที่เรามองกว้างๆสบายๆ 
มันจะวางอาการเพ่งจอจ่อออกไป
.
ปรกติการมองเรา เราจะมองแบบโฟกัสจดจ่อ
เช่น เรามองโฟกัสไปที่ข้างหน้า จิตเราไปอยู่ที่ไหน
ก็ไปอยู่กับสิ่งที่เรามอง ผลที่ตามมาคืออะไร
ขาดความรู้สึกตัว ลืมกาย ลืมใจ
นั่นคือกระบวนการจิตส่งออก
.
ภาษาพระท่านเรียกว่าเกิดนันทิ 
หรือ ความเพลินในอารมณ์
พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ละนันทิ                              
ความเพลินในอารมณ์ จิตหลุดพ้น
วิธีทำง่ายๆก็คือ ให้เรามองกว้างๆสบายๆ
ไม่ได้มองแบบโฟกัสจดจ่อ
วิสัยทัศน์การมองจะกว้าง มองเป็นไหม การมองกว้าง
.
จากนั้นรับรู้ความรู้สึกของร่างกาย
รู้สึกถึงกายที่ยืนอยู่ ขยับมือรู้สึกตัว 
รับรู้ความรู้สึกของร่างกาย
ปรกติจิตมันจะไหลไปกับอารมณ์ 
ไหลไปกับความคิดปรุงแต่ง
.
การฝึกสติปัฏฐาน 
ให้เราเปลี่ยนจากการที่เราอยู่กับความคิด 
มาอยู่กับสิ่งที่เรียกว่า ความรู้สึกตัว

ที่มา
เดินจิต
-------------------------------
พระมหาวรพรต กิตฺติวโร

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...