23 พฤศจิกายน 2563

ตำนาน #พระฤาษี

พระพุทธเจ้าเคยเป็นพระฤาษี
.
พระฤาษี เป็นคำเรียกขานผู้ที่บำเพ็ญเพียรด้วยความอุตสาหะ เป็นความเชื่อของคนที่ต้องการหลุดพ้นจากความทุกข์ บ้างก็เพื่อสสร้างฤทธิ์ สร้างบารมี ที่จริงการปฏิบัติตนอย่างยวดยิ่งในการเป็นพระฤาษีนั้น ได้มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมานานหลายพันปีก่อนพุทธกาล 
.
แม้แต่พระพุทธเจ้าเอง ผู้เป็นมหาศาสดาเอกของโลก ก็ยังเคยปฏิบัติเพื่อแสวงหาความหลุดพ้น ในแนวทางของพระฤาษี โดยมีอาจารย์เป็นพระฤาษีถึงสองตน ก่อนที่จะแยกตนออกไปแสวงหาความหลุดพ้นที่แท้จริงด้วยปัญญาญาณของพระองค์เอง
.
พระฤาษีเป็นผู้ปฏิบัติที่มั่นคงเด็ดเดี่ยว ในการฝึกจิตสมาถะ บางตนสร้างบารมีจนมีตะบะแข็งกล้า สามารถมีอายุเป็นร้อยๆ ปี บางตนเหาะเหินเดินอากาศ สำแดงฤทธิ์ได้มากมาย การบำเบ็ญเพียรของเหล่าพระฤาษีนั้น ก็เพื่อจะได้ไปจุติเป็นพระพรหมหรือเทพ ชั้นสูง เพราะเชื่อกันว่า นอกจากโลกมนุษย์ ยังมีสวรรค์ นรก และพรหมโลกที่อยู่สูงจากชั้นสวรรค์ธรรมดา
.
@@@@@
.
พระฤาษีจัดคัดแยกเอาไว้ ๔ ชั้น หรือ ๔ จำพวก
.
ชั้นที่ ๑. เรียกว่า ราชรรษี แปลว่า เจ้าฤษี พวกนี้หรือชั้นนี้จะมีฐานะความเป็นอยู่ตามพื้นธรรมชาติ คือมีความปรกติเป็นพื้นฐาน เพียงแต่มีความริเริ่มพยายามที่จะบำเพ็ญเพียรในเบื้องต้น และปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
.
ชั้นที่ ๒. เรียกว่า พรหมรรษี แปลว่า พระพรหมฤษี เมื่อปฏิบัติเพียงพอกับความต้องการในเบื้องตนแล้ว จึงได้บังเกิดเป็นพระพรหม
.
ชั้นที่ ๓. เรียกว่า เทวรรษี แปลว่า เทพฤษี ผู้ที่ปฏิบัติอย่างมุ่งมันด้วยตะบะ จึงม่บารมีมาก พร้อมทั้งมีอิทธิฤทธิ์และอำนาจมหาศาล
.
ชั้นที่ ๔. เรียกว่า มหรรษี แปลว่า มหาฤษี ชั้นนี้นอกจากจะมีอิทธิฤทธิ์ที่เกิดจากบารมีแล้ว ยังมีภูมิปัญญามาก มีอาคมแก่กล้าที่สุด
.
เมื่อนำเอามาเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นได้ชัดว่าแต่ละชั้นมีความสามารถที่แตกต่างกัน แล้วแต่บารมี การเพียรปฏิบัติที่แตกต่างกันแต่ละตน ผู้ใดปฏิบัติมุ่งมั่นหมั่นเพียรเท่าใด ผลก็จะส่งไปตามบุญตามวาสนาถึงชั้นนั้นๆ
.
หลายท่านเคยได้ยินคำว่า ๑๐๘ ฤาษี ทำให้บางท่านเข้าในว่า ฤาษี มีเพียง ๑๐๘ ตน ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะแท้ที่จริงคำว่า "ร้อยแปด" เป็นคำที่เรียกแทนสิ่งที่มีอยู่มากมาย จนไม่อาจนับเป็นจำนวนได้ เลยเรียกรวมกันโดยย่อว่า ๑๐๘ ฤาษี
.
@@@@@
.
ตามชั้นและฐานะของพระฤษีนั่น ก็ยังแยกระดับตามสรรพนามออกไปได้อีก ซึ่งสามารถอธิบาย จำแนกแจกแจง ออกไปได้ดังนี้
.
๑. พระสิธา
๒. พระโยคี
๓. พระมุนี
๔. พระดาบส
๕. ชฏิล
๖. นักสิทธิ์
๗. นักพรต
๘. พราหมณ์
.
@@@@@
.
ในบรรดาสรรพนามที่เรียกพระฤษีชื่อที่เรียกแตกต่างกันก็ยังมีความหมายที่แตกต่างกันดังที่จำแนกได้ดังนี้
.
๑. พระสิทธา แปลว่า พระ ฤาคี ประเภทที่มีคุณธรรมวิเศษ มีหลักฐานมั่นคง ที่สถิตสถาน มีวิมานอยู่ตามเทือกเขาและถ้ำ ตามแต่ว่าจะเห็นสมควรในความสดวกสบายอยู่ในระหว่างพระอาทิตย์ลงมาสู่พื้นแห่งโลกมนุษย์โดยกำหนด
.
๒. พระโยคี แปลว่า เป็นผู้มีความสำเร็จ หรือผู้ที่กำลังศึกษาสังโยค ในด้านหลักวิชา โยคกรรม มักจะเที่ยวทรมาณตนอยู่ตามเทือกเขาและป่า ตามความเหมาะสมในความสันโดษ ที่จะมีและเท่าที่เห็นว่าสมควร
.
๓. พระมุณี แปลว่า ในกลุ่มพราหมที่มีความพยายาม กระทำกิจพิธีบำเพ็ญด้วยความพากเพียร มุมานะพยายามจนกระทั่งพบความสำเร็จ จึงกลายเป็นผู้มีปัญญาความรู้ ความสามารถอยู่ในระดับสูง
.
๔. พระดาบส แปลว่า ผู้บำเพ็ญตนสร้างบารมี มุ่งมั่นในตะบะธรรมที่คิดว่าจะเผาผลาญกองกิเลสให้หมดสิ้นไป ใช้ความพากเพียร พยายามมุ่งแต่ในทางทรมาณร่างกายและจิตใจเพื่อมุ่งหวังในโลกุตรสุขที่เป็นผลแห่งบารมี
.
๕. ชฎิล แปลว่า นักพรตจำพวกหนึ่ง ที่ชอบเกล้ามุ่นมวยผมเป็นแบบชฎาเอาไว้ หนวดเครารุงรังราวกับคนบ้า ไม่ชอบรักสวยรักงาม ทำตนเป็นพราหมรอนแรมอยู่ตามป่าดงพงไพร
.
๖. นักสิทธิ์ แปลว่า ผู้ทรงศิลที่กึ่งมนุษย์กึ่งเทวดา พวกนี้มักจะรักสัจจะวาจา มีความเที่ยงธรรมเป็นที่ตั้ง ชอบช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนอยู่เสมอๆ มีที่อยู่อาศัยอยู่ในระหว่างกลางที่ว่างเปล่าและบริสุทธิ์ วัดระยะตั้งแต่ดวงอาทิตย์ลงมาจนถึงโลกมนุษย์ พวกนี้มีอยู่กันมากมายหลายแสนตน เที่ยวตระเวณไปในที่ต่างๆ เพื่อที่จะหาทางสอดส่องลงมาช่วยมนุษย์
.
๗. นักพรต แปลว่า ผู้ปฏิบัติดี เคร่งครัดในการปฏิบัติ ทรงศิลอันประเสริฐมียอมให้ศิลตกบกพร่องแต่ประการใด ตั้งใจบำเพ็ญพรต บำเพ็ญตะบะ ชอบสถิตตามป่าเขาลำเนาไพร และตามถ้ำหน้าผา มักไม่ยอมให้ผู้ใดพบเห็น เป็นผู้อยู่อย่างเรียบง่าย แต่มีฤทธิ์มาก
.
๘. พราหมณ์ แปลว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องกับฤษีเหมือนกัน แต่เป็นด้านการปฏิบัติบูชา บำเพ็ญตะบะสร้างบารมีอย่างมุ่งมั่น เป็นผู้สละความสุขทางโลก มุ่งมั่นว่าจะต้องปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือมนุษย์และสรรพสัตว์โดยทั่วไป พราหมณ์มักจะชุมนุมรวมกลุ่มกันเป็นหมู่คณะ ตามเทวสถานต่างๆ เมื่อมีผู้ใดเชิญให้ช่วยกระทำพิธี ไม่ว่าจะเป็นพิธีใดที่เกี่ยวข้องกับ พระฤษีหรืองค์เทพต่างๆ พราหมณ์ก็จะออกไปทำพิธีให้โดยไม่เรียกร้อง ค่าตอบแทนใดๆทั้งสิ้น ไม่เห็นแก่ลาภและประโยชน์ส่วนตน เมือเสร็จสิ้นภารกิจ ก็จะกลับไปเข้าจำศิลภาวนาอย่างไม่รู้จักคำว่าพอ
.
@@@@@
.
นอกจากการจัดประเภทของฤษีตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ในคัมภีร์มหาภารตะยังได้แยกประเภทเป็นอีกอย่างหนึ่งที่เรียกโดยรวมว่า ทศฤษี คือ
.
๑. พระมรีจิ
๒. พระอัตริ
๓. พระอังคีรส
๔. พระปุลัสตยะ
๕. พระปุลหะ
๖. พระกรตุ
๗. พระวสิษฐ์
๘. พระประเจตัส หรือ พระทักษะประชาบดี
๙. พระภฤคุ
๑๐. พระนารท
.

............................................
ขอบคุณที่มา : https://sites.google.com/site/phiphat1234567/phra-vsi-108
ขอบคุณภาพจาก : https://www.mokkalana.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...