"ละการวิวาทกันเพราะทิฏฐิ คือปฏิบัติตามคำสอน"
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ชนเหล่าใดถือทิฏฐิแล้ววิวาทกัน
และกล่าวอ้างว่า นี้เท่านั้นจริง
เธอจงพูดกับชนเหล่านั้นว่า
กิเลสที่เป็นข้าศึกกัน
เมื่อวาทะเกิด ไม่มีในธรรมวินัยนี้
...................................................................
ว่าด้วยโทษของการวิวาท
คำว่า การวิวาทเหล่านี้เกิดแล้วในหมู่สมณะ อธิบายว่า
คำว่า สมณะ ได้แก่ นักบวชพวกใดพวกหนึ่ง ซึ่งเข้าถึงการบวชเป็นปริพาชก
ถึงการบวชเป็นปริพาชก ภายนอกจากธรรมวินัยนี้
การทะเลาะกันเพราะทิฏฐิ การบาดหมางกันเพราะทิฏฐิ การแก่งแย่งกัน
เพราะทิฏฐิ การวิวาทกันเพราะทิฏฐิ การมุ่งร้ายกันเพราะทิฏฐิเหล่านี้ เกิดแล้ว คือ
เกิดขึ้นแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดขึ้นแล้ว ปรากฏแล้วในหมู่สมณะ รวมความว่า การ
วิวาทเหล่านี้เกิดแล้วในหมู่สมณะ
คำว่า ความยินดีและความยินร้าย มีอยู่ในการวิวาทเหล่านี้ อธิบายว่า
มีชนะมีแพ้ มีลาภมีเสื่อมลาภ มียศมีเสื่อมยศ มีนินทามีสรรเสริญ มีสุขมีทุกข์
มีโสมนัสมีโทมนัส มีอิฏฐารมณ์มีอนิฏฐารมณ์ มีปลอดโปร่งมีกระทบกระทั่ง
มีความยินดีมีความยินร้าย ใจยินดีเพราะชนะ ใจยินร้ายเพราะพ่ายแพ้ ใจยินดีเพราะ
ได้ลาภ ใจยินร้ายเพราะเสื่อมลาภ ใจยินดีเพราะได้ยศ ใจยินร้ายเพราะเสื่อมยศ
ใจยินดีเพราะสรรเสริญ ใจยินร้ายเพราะนินทา ใจยินดีเพราะความสุข ใจยินร้าย
เพราะความทุกข์ ใจยินดีเพราะโสมนัส ใจยินร้ายเพราะโทมนัส ใจยินดีเพราะเฟื่องฟู
ใจยินร้ายเพราะตกอับ รวมความว่า ความยินดีและความยินร้าย มีอยู่ในการวิวาท
เหล่านี้
คำว่า เห็นโทษนี้แล้ว ในคำว่า บุคคลเห็นโทษนี้แล้ว พึงงดเว้นถ้อยคำ
ขัดแย้งกัน อธิบายว่า เห็นแล้ว คือ แลเห็นแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว
ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วซึ่งโทษนี้ ในการทะเลาะกันเพราะทิฏฐิ การ
บาดหมางกันเพราะทิฏฐิ การแก่งแย่งกันเพราะทิฏฐิ การวิวาทกันเพราะทิฏฐิ การ
มุ่งร้ายกันเพราะทิฏฐิ
คำว่า บุคคลเห็นโทษนี้แล้ว พึงงดเว้นถ้อยคำขัดแย้งกัน อธิบายว่า การ
ทะเลาะกัน การบาดหมางกัน การแก่งแย่งกัน การวิวาทกัน การมุ่งร้ายกัน
ตรัสเรียกว่า ถ้อยคำขัดแย้งกัน
อีกนัยหนึ่ง ถ้อยคำที่ขัดแย้งกัน ได้แก่ ถ้อยคำที่ไม่นุ่มนวล อธิบายว่า
บุคคลนั้น ไม่พึงก่อถ้อยคำขัดแย้งกัน คือ ไม่พึงก่อการทะเลาะกัน ไม่พึงก่อการ
บาดหมางกัน ไม่พึงก่อการแก่งแย่งกัน ไม่พึงก่อการวิวาทกัน ไม่พึงก่อการมุ่ง
ร้ายกัน ได้แก่ พึงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งการทะเลาะ
การบาดหมาง การแก่งแย่ง การวิวาท การมุ่งร้าย คือ พึงเป็นผู้งด งดเว้น
เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับการทะเลาะ การบาดหมาง การ
แก่งแย่ง การวิวาท การมุ่งร้าย มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ รวมความว่า บุคคล
เห็นโทษนี้แล้ว พึงงดเว้นถ้อยคำขัดแย้งกัน
คำว่า เพราะว่าไม่มีประโยชน์อื่นนอกจากการได้ความสรรเสริญ อธิบาย
ว่า ไม่มีประโยชน์อื่นนอกจากการได้ความสรรเสริญ คือ ไม่มี ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ
หาไม่ได้ซึ่งประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่นหรือประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ประโยชน์ในภพ
ปัจจุบันหรือประโยชน์ในภพหน้า ประโยชน์ตื้นหรือประโยชน์ลึก ประโยชน์ลี้ลับ
หรือประโยชน์ปิดบัง ประโยชน์ที่ควรแนะนำหรือประโยชน์ที่แนะนำแล้ว ประโยชน์ที่
ไม่มีโทษหรือประโยชน์ที่ไม่มีกิเลส ประโยชน์ที่ผ่องแผ้วหรือประโยชน์อย่างยิ่ง
รวมความว่า เพราะไม่มีประโยชน์อื่นนอกจากการได้ความสรรเสริญ ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
การวิวาทเหล่านี้เกิดแล้วในหมู่สมณะ
ความยินดีและความยินร้าย มีอยู่ในการวิวาทเหล่านี้
บุคคลเห็นโทษนี้แล้ว พึงงดเว้นถ้อยคำขัดแย้งกัน
เพราะว่าไม่มีประโยชน์อื่นนอกจากการได้ความสรรเสริญ
[๖๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ก็หรือว่า บุคคลกล่าววาทะในท่ามกลางบริษัท
ได้รับความสรรเสริญ เพราะทิฏฐิของตนนั้น
เขาย่อมหัวเราะ และฟูใจด้วยประโยชน์แห่งความชนะนั้น
เพราะได้บรรลุถึงประโยชน์ตามที่ใจคิดไว้แล้ว
คำว่า เพราะทิฏฐิของตนนั้น ในคำว่า ก็หรือว่า ... ได้รับความสรรเสริญ
เพราะทิฏฐิของตนนั้น ได้แก่ ได้รับความสรรเสริญ คือ ชมเชย ยกย่อง พรรณนา
เพราะทิฏฐิของตน คือ ความถูกใจของตน ความพอใจของตน ลัทธิของตน รวมความว่า
ก็หรือว่า ... ได้รับความสรรเสริญ เพราะทิฏฐิของตนนั้น
คำว่า กล่าววาทะในท่ามกลางบริษัท อธิบายว่า กล่าว คือ บอกวาทะของตน
ได้แก่ กล่าว พูด ชื่นชม พูดถึง แสดง เชิดชู ชี้แจง ยกย่องวาทะที่เอื้อต่อวาทะ
ตนในท่ามกลางขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คหบดีบริษัท หรือสมณบริษัท
รวมความว่า กล่าววาทะในท่ามกลางบริษัท
คำว่า เขาย่อมหัวเราะ และฟูใจด้วยประโยชน์แห่งความชนะนั้น อธิบายว่า
เขาย่อมเป็นผู้ยินดี ร่าเริง เบิกบาน มีใจแช่มชื่น มีความดำริบริบูรณ์ด้วยประโยชน์
แห่งความชนะนั้น อีกนัยหนึ่ง เป็นผู้หัวเราะจนมองเห็นฟัน
คำว่า เขาย่อมหัวเราะ และฟูใจด้วยประโยชน์แห่งความชนะนั้น ได้แก่ เขา
ย่อมเป็นผู้ลำพองตน คือ ทะนงตน เชิดชูตนเป็นดุจธง เห่อเหิม ต้องการเชิดชูตน
เป็นดุจธง ด้วยประโยชน์แห่งความชนะนั้น รวมความว่า เขาย่อมหัวเราะ และฟูใจ
ด้วยประโยชน์แห่งความชนะนั้น
คำว่า เพราะได้บรรลุถึงประโยชน์ตามที่ใจคิดไว้แล้ว ได้แก่ เพราะได้บรรลุ
คือ ถึง ถึงเฉพาะ ประสบ ได้รับประโยชน์แห่งความชนะนั้น
คำว่า ตามที่ใจคิดไว้แล้ว ได้แก่ ตามที่ใจคิดไว้แล้ว คือ ได้เป็นอย่างที่คิด
ได้เป็นอย่างที่ดำริ ได้เป็นอย่างที่รู้แจ้ง รวมความว่า เพราะได้บรรลุถึงประโยชน์ตาม
ที่ใจคิดไว้แล้ว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ก็หรือว่า บุคคลกล่าววาทะในท่ามกลางบริษัท
ได้รับความสรรเสริญ เพราะทิฏฐิของตนนั้น
เขาย่อมหัวเราะ และฟูใจด้วยประโยชน์แห่งความชนะนั้น
เพราะได้บรรลุถึงประโยชน์ตามที่ใจคิดไว้แล้ว
[๖๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ความลำพองตน ย่อมเป็นภูมิสำหรับย่ำยีของเขา
เขาจึงกล่าวคำถือตัวและคำดูหมิ่นกัน
บุคคลเห็นโทษนี้แล้ว ไม่ควรวิวาทกัน
เพราะผู้ฉลาดทั้งหลาย ไม่กล่าวความหมดจด
ด้วยการวิวาทกันนั้น
คำว่า ความลำพองตน ย่อมเป็นภูมิสำหรับย่ำยีของเขา อธิบายว่า ความ
ลำพองตน คือ ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิต
ต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธง รวมความว่า ความลำพองตน
คำว่า ย่อมเป็นภูมิสำหรับย่ำยีของเขา อธิบายว่า ความลำพองตน เป็นภูมิ
สำหรับย่ำยี คือ สำหรับตัดรอน สำหรับเบียดเบียน สำหรับบีบคั้น สำหรับก่อ
อันตราย สำหรับก่ออุปสรรคของเขา รวมความว่า ความลำพองตน ย่อมเป็นภูมิ
สำหรับย่ำยีของเขา
คำว่า เขาจึงกล่าวคำถือตัวและคำดูหมิ่นกัน ได้แก่ บุคคลนั้นจึงกล่าวคำ
ถือตัวและกล่าวคำดูหมิ่น รวมความว่า เขาจึงกล่าวคำถือตัวและคำดูหมิ่นกัน
คำว่า บุคคลเห็นโทษนี้แล้ว ไม่ควรวิวาทกัน อธิบายว่า เห็นแล้ว คือ แลเห็น
แล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วซึ่งโทษนี้
ในการทะเลาะกันเพราะทิฏฐิ การบาดหมางกันเพราะทิฏฐิ การแก่งแย่งกันเพราะ
ทิฏฐิ การวิวาทกันเพราะทิฏฐิ การมุ่งร้ายกันเพราะทิฏฐิ รวมความว่า บุคคลเห็น
โทษนี้แล้ว
คำว่า ไม่ควรวิวาทกัน อธิบายว่า ไม่พึงก่อการทะเลาะกัน ไม่พึงก่อการ
บาดหมางกัน ไม่พึงก่อการแก่งแย่งกัน ไม่พึงก่อการวิวาทกัน ไม่พึงก่อการมุ่ง
ร้ายกัน ได้แก่ พึงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งการทะเลาะกัน
การบาดหมางกัน การแก่งแย่งกัน การวิวาทกัน การมุ่งร้ายกัน คือ พึงเป็นผู้งด
งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับการทะเลาะกัน การ
บาดหมางกัน การแก่งแย่งกัน การวิวาทกัน การมุ่งร้ายกันแล้ว มีใจเป็นอิสระ
(จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า บุคคลเห็นโทษนี้แล้ว ไม่ควรวิวาทกัน
คำว่า ผู้ฉลาดทั้งหลาย ในคำว่า เพราะผู้ฉลาดทั้งหลาย ไม่กล่าวความ
หมดจดด้วยการวิวาทกันนั้น อธิบายว่า ผู้ฉลาดในขันธ์ ฉลาดในธาตุ ฉลาดใน
อายตนะ ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ฉลาดในสติปัฏฐาน ฉลาดในสัมมัปปธาน ฉลาด
ในอิทธิบาท ฉลาดในอินทรีย์ ฉลาดในพละ ฉลาดในโพชฌงค์ ฉลาดในมรรค ฉลาด
ในผล ฉลาดในนิพพาน
ผู้ฉลาดเหล่านั้น ไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง ไม่ชี้แจงความหมดจด คือ ความ
สะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป ด้วยการทะเลาะ
กันเพราะทิฏฐิ การบาดหมางกันเพราะทิฏฐิ การแก่งแย่งกันเพราะทิฏฐิ การวิวาท
กันเพราะทิฏฐิ การมุ่งร้ายกันเพราะทิฏฐิ รวมความว่า เพราะผู้ฉลาดทั้งหลาย
ไม่กล่าวความหมดจดด้วยการวิวาทกันนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ความลำพองตน ย่อมเป็นภูมิสำหรับย่ำยีของเขา
เขาจึงกล่าวคำถือตัวและคำดูหมิ่นกัน
บุคคลเห็นโทษนี้แล้ว ไม่ควรวิวาทกัน
เพราะผู้ฉลาดทั้งหลาย ไม่กล่าวความหมดจด
ด้วยการวิวาทกันนั้น
[๖๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
คนกล้าที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยของเสวยของพระราชา
เขาคึกคะนอง อยากพบคนกล้าฝ่ายตรงข้าม ย่อมได้พบ ฉันใด
(เจ้าลัทธิ ย่อมได้พบเจ้าลัทธิ ฉันนั้น)
ผู้กล้าเอ๋ย เจ้าลัทธิอยู่ที่ใด เธอจงไปเสียจากที่นั้นเถิด
เพราะกิเลสที่เคยมีแต่ก่อนของตถาคต มิได้มีเพื่อการรบ
คำว่า คนกล้า ในคำว่า คนกล้าที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยของเสวยของพระราชา
ได้แก่ คนกล้า คือ ผู้กล้าหาญ นักสู้ ผู้ไม่ขลาด ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้งกลัว ไม่หนี
คำว่า ที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยของเสวยของพระราชา ได้แก่ ได้รับการเลี้ยงดู
คือ ชุบเลี้ยง ทำให้เจริญ ทำให้เติบโต ด้วยเครื่องขบเคี้ยวของพระราชา ด้วยเครื่อง
เสวยของพระราชา รวมความว่า คนกล้าที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยของเสวยของ
พระราชา
คำว่า เขาคึกคะนอง อยากพบคนกล้าฝ่ายตรงข้าม ย่อมได้พบ ฉันใด
อธิบายว่า เขาคึกคะนอง ร้องท้าทาย ตะโกนกึกก้อง อยากพบ คือ ยินดี ปรารถนา
มุ่งหมาย มุ่งหวัง ผู้กล้าฝ่ายตรงข้าม คือ คนฝ่ายตรงข้าม ศัตรูฝ่ายตรงข้าม นักปล้ำ
ฝ่ายตรงข้าม ย่อมได้พบ คือ เข้าพบ เข้าไปพบ รวมความว่า เขาคึกคะนอง
อยากพบคนกล้าฝ่ายตรงข้าม ย่อมได้พบ ฉันใด
คำว่า ผู้กล้าเอ๋ย เจ้าลัทธิอยู่ที่ใด เธอจงไปเสียจากที่นั้นเถิด อธิบายว่า
เจ้าลัทธินั้นอยู่ที่ใด เธอจงไปเสียจากที่นั้น คือ จงเว้น จงไป จงก้าวหลีกจากที่นั้น
เพราะเขาเป็นผู้กล้าฝ่ายตรงข้าม เป็นคนฝ่ายตรงข้าม เป็นศัตรูฝ่ายตรงข้าม เป็น
นักปล้ำฝ่ายตรงข้ามของเธอ รวมความว่า ผู้กล้าเอ๋ย เจ้าลัทธิอยู่ที่ใด เธอจงไปเสีย
จากที่นั้นเถิด
คำว่า เพราะกิเลสที่เคยมีแต่ก่อนของตถาคต มิได้มีเพื่อการรบ อธิบายว่า
กิเลสเหล่าใด ซึ่งทำความเป็นข้าศึก ทำความขัดขวาง ทำความเป็นเสี้ยนหนาม
ทำความเป็นปฏิปักษ์ เมื่อก่อน คือ ที่โคนต้นโพธิ์ กิเลสเหล่านั้น ไม่มี ไม่มีอยู่ ไม่
ปรากฏ หาไม่ได้แก่ตถาคต คือ กิเลสเหล่านั้นตถาคตละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว
ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว
คำว่า เพื่อการรบ ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่การรบ คือ เพื่อประโยชน์แก่การ
ทะเลาะกัน เพื่อประโยชน์แก่การบาดหมางกัน เพื่อประโยชน์แก่การแก่งแย่งกัน
เพื่อประโยชน์แก่การวิวาทกัน เพื่อประโยชน์แก่การมุ่งร้ายกัน รวมความว่า เพราะ
กิเลสที่เคยมีแต่ก่อนของตถาคต มิได้มีเพื่อการรบ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสว่า
คนกล้าที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยของเสวยของพระราชา
เขาคึกคะนอง อยากพบคนกล้าฝ่ายตรงข้าม ย่อมได้พบ ฉันใด
(เจ้าลัทธิ ย่อมได้พบเจ้าลัทธิ ฉันนั้น)
ผู้กล้าเอ๋ย เจ้าลัทธิอยู่ที่ใด เธอจงไปเสียจากที่นั้นเถิด
เพราะกิเลสที่เคยมีแต่ก่อนของตถาคต มิได้มีเพื่อการรบ
[๖๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ชนเหล่าใดถือทิฏฐิแล้ววิวาทกัน
และกล่าวอ้างว่า นี้เท่านั้นจริง
เธอจงพูดกับชนเหล่านั้นว่า กิเลสที่เป็นข้าศึกกัน
เมื่อวาทะเกิด ไม่มีในธรรมวินัยนี้
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น