เมื่อเร็วๆนี้ ทีมนักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ ในสกอตแลนด์ เผยว่าสามารถถ่ายรูปการพัวพันเชิงควอนตัมได้แล้ว โดยจับภาพอนุภาค 2 ตัวที่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน นั่นคือโฟตอนหรืออนุภาคของแสงจำนวน 2 ตัวที่เดินทางผ่านตัวแยกลำแสง (beam splitter) บางครั้งก็สามารถเชื่อมต่อกันได้ และยังแบ่งสถานะทางกายภาพของอนุภาคได้ทันทีโดยไม่คำนึงถึงระยะทางที่แท้จริงระหว่างอนุภาค
การเชื่อมต่อนี้จึงถูกเรียกว่าการพัวพันเชิงควอนตัม และถือเป็นรากฐานของสาขากลศาสตร์ควอนตัม ซึ่งนักวิทยาศาสตร์มองว่าแนวคิดน่าจะนำไปใช้งานได้จริง โดยเฉพาะการพัฒนาความก้าวหน้าในการคำนวณควอนตัมและอาจนำมาซึ่งการถ่ายภาพแบบใหม่ๆต่อไป
ที่มา ไทยรัฐ ออนไลน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น