20 ธันวาคม 2563

อรรถกถาฌานสูตรที่ ๕

"ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลแก่มารดา... ปฏิบัติ ทำบุญ มีน้อย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ย่อมพากันเสียใจว่า ดูกรผู้เจริญทั้งหลาย กายทิพย์จักเสื่อมหาย อสุรกายจักเต็มบริบูรณ์ ดังนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลแก่มารดา ... ปฏิบัติ ทำบุญ มีอยู่มาก ท้าวจาตุมหาราชย่อมบอกถึงเหตุที่กล่าวมานั้น แก่พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ซึ่งมาประชุมกัน ณ สุธรรมาสภาว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลแก่มารดา เกื้อกูลแก่บิดา เกื้อกูลแก่สมณะ เกื้อกูลแก่พราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้หลักผู้ใหญ่ในสกุล อธิษฐานอุโบสถ ปฏิบัติ ทำบุญ มีอยู่มากแล เพราะเหตุนั้น

พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ย่อมพากันดีใจว่า ดูกรผู้เจริญทั้งหลาย กายทิพย์จักเต็มบริบูรณ์ อสุรกายจักเสื่อมสูญ ฯ"

                              ราชสูตร

ราชสูตรที่ ๑
             [๔๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในดิถีที่ ๘ ของปักษ์ เทวดาผู้เป็น
บริวารของท้าวจาตุมหาราชย่อมเที่ยวตรวจดูโลกนี้ว่า ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูล
แก่มารดา เกื้อกูลแก่บิดา เกื้อกูลแก่สมณะ เกื้อกูลแก่พราหมณ์ อ่อนน้อมต่อ
ผู้หลักผู้ใหญ่ในสกุล อธิษฐานอุโบสถ ปฏิบัติ ทำบุญ มีอยู่มากแลหรือ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ในดิถีที่ ๑๔ ของปักษ์ พวกโอรสของท้าวจาตุมหาราชย่อมเที่ยวตรวจ
ดูโลกนี้ว่า ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลแก่มารดา ... ทำบุญ มีอยู่มากแลหรือ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำนั้น ท้าวจาตุมหาราชย่อมเที่ยวตรวจดูโลก
นี้ด้วยตนเองทีเดียวว่า ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลแก่มารดา เกื้อกูลแก่บิดา
เกื้อกูลแก่สมณะ เกื้อกูลแก่พราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้หลักผู้ใหญ่ในสกุล อธิษ-
*ฐานอุโบสถ ปฏิบัติ ทำบุญ มีอยู่มากแลหรือ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าในหมู่
มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลแก่มารดา ... ปฏิบัติ ทำบุญมีอยู่น้อย ท้าวจาตุมหาราช
ย่อมบอกถึงเหตุที่กล่าวมานั้น แก่พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ซึ่งมาประชุมกันอยู่ ณ
สุธรรมาสภาว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลแก่มารดา
... ปฏิบัติ ทำบุญ มีน้อย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น พวกเทวดาชั้น
ดาวดึงส์ย่อมพากันเสียใจว่า ดูกรผู้เจริญทั้งหลาย กายทิพย์จักเสื่อมหาย อสุรกาย
จักเต็มบริบูรณ์ ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลแก่
มารดา ... ปฏิบัติ ทำบุญ มีอยู่มาก ท้าวจาตุมหาราชย่อมบอกถึงเหตุที่กล่าวมา
นั้น แก่พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ซึ่งมาประชุมกัน ณ สุธรรมาสภาว่า ดูกรท่านผู้
นิรทุกข์ทั้งหลาย ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลแก่มารดา เกื้อกูลแก่บิดา เกื้อกูล
แก่สมณะ เกื้อกูลแก่พราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้หลักผู้ใหญ่ในสกุล อธิษฐาน
อุโบสถ ปฏิบัติ ทำบุญ มีอยู่มากแล เพราะเหตุนั้น พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์
ย่อมพากันดีใจว่า ดูกรผู้เจริญทั้งหลาย กายทิพย์จักเต็มบริบูรณ์ อสุรกายจัก
เสื่อมสูญ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๓๗๑๗-๓๗๔๐. หน้าที่ ๑๖๐ - ๑๖๑.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=3717&Z=3740&pagebreak=0

     อรรถกถาปฐมราชสูตรที่ ๗               
               พึงทราบวินิจฉัยในปฐมราชสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

               เทวดาตรวจดูโลกมนุษย์               
               บทว่า อมจฺจา ปาริสชฺชา ได้แก่ ปาริจาริกเทวดา (เทวดารับใช้). 
               บทว่า อิมํ โลกํ อนุวิจรนฺติ ความว่า ได้ยินว่า ในวัน ๘ ค่ำ ท้าวสักกเทวราชทรงบัญชาท้าวมหาราชทั้ง ๔ ว่า ท่านทั้งหลาย วันนี้เป็นวัน ๘ ค่ำ ท่านทั้งหลายจงท่องเที่ยวไปยังมนุษย์โลก แม้จดเอาชื่อและโคตรของมนุษย์ที่ทำบุญมา. ท้าวมหาราชทั้ง ๔ นั้นก็กลับไปบัญชาบริวารของตนว่า ไปเถิด ท่านทั้งหลาย ท่านจงท่องเที่ยวไปยังมนุษยโลก เขียนชื่อและโคตรและมนุษย์ที่ทำบุญลงในแผ่นทองแล้วนำมาเถิด. บริวารเหล่านั้นทำตามคำบัญชานั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อิมํ โลกํ อนุวิจรนฺติ ดังนี้. 
               บทว่า กจฺจิ พหู เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อแสดงอาการตรวจตราดูของเทวดาเหล่านั้น. 
               จริงอยู่ เทวดาทั้งหลายท่องเที่ยวไปตรวจตราดูโดยอาการดังกล่าวมานี้.

               การรักษาอุโบสถ               
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุโปสถํ อุปวสนฺติ ความว่า มนุษย์ทั้งหลายอธิษฐานองค์อุโบสถเดือนละ ๘ ครั้ง. 
               บทว่า ปฏิชาคโรนฺติ ความว่า ทำการ (รักษา) ปฏิชาครอุโบสถ. ชนทั้งหลายเมื่อทำการ (รักษา) ปฏิชาคร อุโบสถนั้นย่อมทำด้วยการรับและการส่งวันอุโบสถ ๔ วันในกึ่งเดือนหนึ่ง (คือ) เมื่อจะรับอุโบสถวัน ๕ ค่ำก็ต้องเป็นผู้รักษาอุโบสถในวัน ๔ ค่ำ เมื่อจะส่งอุโบสถก็ส่งในวัน ๖ ค่ำ. เมื่อจะรับอุโบสถวัน ๘ ค่ำ ก็ต้องเป็นผู้รักษาอุโบสถในวัน ๗ ค่ำ เมื่อจะส่งอุโบสถก็ส่งในวัน ๙ ค่ำ. เมื่อจะรับอุโบสถวัน ๑๔ ค่ำก็ต้องเป็นผู้รักษาอุโบสถในวัน ๑๓ ค่ำ เมื่อจะส่งอุโบสถก็ส่งในวัน ๑๕ ค่ำ. เมื่อจะรับอุโบสถวัน ๑๕ ค่ำก็ต้องเป็นผู้รักษาอุโบสถในวัน ๑๔ ค่ำ เมื่อจะส่งอุโบสถก็ส่งในวันแรม ๑ ค่ำ. 
               บทว่า ปุญฺญานิ กโรนฺติ ความว่า มนุษย์ทั้งหลายทำบุญมีประการต่างๆ มีการถึงสรณะ รับนิจศีล บูชาด้วยดอกไม้ ฟังธรรม ตามประทีปพันดวง และสร้างวิหารเป็นต้น. 
               เทวดาเหล่านั้นท่องเที่ยวไปอย่างนี้แล้ว เขียนชื่อและโคตรของมนุษย์ผู้ทำบุญลงในแผ่นทอง แล้วนำมาถวายท้าวมหาราชทั้ง ๔. 
               บทว่า ปุตฺตา อิมํ โลกํ อนุวิจรนฺติ ความว่า (โอรสของท้าวมหาราชทั้ง ๔) ท่องเที่ยวไป (ตรวจดู) เพราะถูกท้าวมหาราชทั้ง ๔ ส่งไปตามนัยก่อนนั่นแล. 
               บทว่า ตทหุ แปลว่า ในวันนั้น. 
               บทว่า อุโปสเถ แปลว่า ในวันอุโบสถ. 
               บทว่า สเจ ภิกฺขเว อปฺปกา โหนฺติ ความว่า บริษัทอำมาตย์ของท้าวมหาราชทั้ง ๔ เข้าไปยังคาม นิคมและราชธานีเหล่านั้นๆ. ก็เทวดาที่อาศัยอยู่ตามคาม นิคมและราชธานีเหล่านั้นๆ ทราบว่า อำมาตย์ของท้าวมหาราชทั้งหลายมาแล้ว ต่างก็พากันถือเครื่องบรรณาการไปยังสำนักของเทวดาเหล่านั้น. 
               เทวดาอำมาตย์เหล่านั้นรับเครื่องบรรณาการแล้ว ก็ถามถึงการทำบุญของมนุษย์ทั้งหลาย ตามนัยที่กล่าวไว้ว่า ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย มนุษย์จำนวนมากยังเกื้อกูลมารดาอยู่หรือ? เมื่อเทวดาประจำคาม นิคมและราชธานี รายงานว่า ใช่แล้ว ท่านผู้นิรทุกข์ ในหมู่บ้านนี้ คนโน้นและคนโน้นยังทำบุญอยู่ ก็จดชื่อและโคตรของมนุษย์เหล่านั้นไว้แล้วไปในที่อื่น. 
               ต่อมาในวัน ๑๔ ค่ำ แม้บุตรของท้าวมหาราชทั้ง ๔ ก็ถือเอาแผ่นทองนั้นแล้วท่องเที่ยวไป จดชื่อและโคตรตามนัยนั้นนั่นแล. ในวัน ๑๕ ค่ำอันเป็นวันอุโบสถนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ก็จดชื่อและโคตรลงไปแผ่นทองนั้นนั่นแล้วตามนัยนั้น. ท้าวมหาราชทั้ง ๔ นั้นทราบว่า เวลานี้มีมนุษย์น้อย เวลานี้มีมนุษย์มาก ตามจำนวนแผ่นทอง. 
               พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาข้อนั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า สเจ ภิกฺขเว อปฺปกา โหนฺติ มนุสฺสา ดังนี้.

               เทวดาชั้นดาวดึงส์               
               บทว่า เทวานํ ตาวตึสานํ ความว่า เทวดาทั้งหลายได้นามอย่างนี้ว่า (ดาวดึงส์) เพราะอาศัยเทพบุตร ๓๓ องค์ผู้เกิดครั้งแรก. ส่วนกถาว่าด้วยการอุบัติของเทวดาเหล่านั้น ได้อธิบายไว้แล้วอย่างพิสดารในอรรถกถาสักกปัญหสูตรในทีฆนิกาย. 
               บทว่า เตน คือ เพราะการบอกนั้น หรือเพราะมนุษย์ผู้ทำบุญมีน้อยนั้น. 
               บทว่า ทิพฺพา วต โภ กายา ปริหายิสฺสนฺติ ความว่า เพราะเทพบุตรใหม่ๆ ไม่ปรากฏ หมู่เทวดาก็จักเสื่อมสิ้นไป เทวนครกว้างยาวประมาณหนึ่งหมื่นโยชน์ อันน่ารื่นรมย์ ก็จักว่างเปล่า. 
               บทว่า ปริปูริสฺสนฺติ อสุรกายา ความว่า อบาย ๔ จักเต็มแน่น. 
               ด้วยเหตุนี้ เทวดาชั้นดาวดึงส์จึงเสียใจว่า พวกเราจักไม่ได้เล่นนักษัตร ท่ามกลางหมู่เทวดาในเทวนครที่เคยเต็มแน่น. 
               แม้ในสุกปักษ์ก็พึงทราบความหมายโดยอุบายนี้แล. 
               พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภูตปุพฺพํ ภิกฺขเว สกฺโก เทวานมินฺโท ดังนี้ ทรงหมายถึงที่พระองค์เป็นท้าวสักกเทวราช. อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงอัธยาศัยของท้าวสักกะพระองค์หนึ่ง. 
               บทว่า อนุนยมาโน แปลว่า เตือนให้รู้สึก. 
               บทว่า ตายํ เวลายํ คือ ในกาลนั้น.

               นิพันธอุโบสถ               
               ในบทว่า ปาฏิหาริยปกฺขญฺจ นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ 
               อุโบสถที่รักษาติดต่อกันตลอดไตรมาสภายในพรรษา ชื่อว่าปาฏิหาริยปักขอุโบสถ. เมื่อไม่สามารถ (จะรักษา) อุโบสถตลอดไตรมาสนั้นได้ อุโบสถที่รักษาประจำตลอดเดือนหนึ่งในระหว่างวันปวารณาทั้ง ๒ บ้าง เมื่อไม่สามารถ (จะรักษา) อุโบสถประจำตลอดเดือนหนึ่งนั้นได้ (อุโบสถ) กึ่งเดือนหนึ่ง ตั้งแต่วันปวารณาแรกบ้าง ก็ชื่อว่าปาฏิหาริยปักขอุโบสถเหมือนกัน. 
               บทว่า อฏฐงฺคสุสมาคตํ แปลว่า ประกอบด้วยองคคุณ ๘. 
               บทว่า โยปสฺส มาทิโส นโร ความว่า สัตว์แม้ใดพึงเป็นเช่นเรา. 
               เล่ากันว่า ท้าวสักกะทราบคุณของอุโบสถมีประการดังกล่าวแล้ว จึงละสมบัติให้เทวโลกไปเข้าจำอุโบสถเดือนละ ๘ วัน. 
               อีกนัยหนึ่ง บทว่า โยปสฺส มาทิโส นโร ความว่า สัตว์แม้ใดพึงเป็นเช่นเรา. อธิบายว่า พึงปรารถนาเพื่อได้รับมหาสมบัติ. 
               ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ว่า ก็บุคคลสามารถที่จะได้รับสมบัติของท้าวสักกะด้วยอุโบสถกรรมเห็นปานนี้.

               อธิบายบทว่า วุสิตวา เป็นต้น               
               บทว่า วุสิตวา ได้แก่ มีการอยู่จบแล้ว. 
               บทว่า กตกรณีโย ได้แก่ ทำกิจที่ควรทำด้วยมรรค ๔ อยู่. 
               บทว่า โอหิตภาโร ได้แก่ ปลงขันธภาระ กิเลสภาระและอภิสังขารภาระอยู่. 
               บทว่า อนุปฺปตฺตสทตฺโถ ความว่า อรหัตผลเรียกว่าประโยชน์ของตน บรรลุประโยชน์ของตนนั้น. 
               บทว่า ปริกฺขีณภวสํโยชโน ความว่า ชื่อว่ามีสังโยชน์เครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพหมดสิ้นแล้ว เพราะสังโยชน์ที่เป็นเหตุให้ผูกสัตว์ แล้วฉุดคร่าไปในภพทั้งหลายสิ้นแล้ว. 
               บทว่า สมฺมทญฺญาวิมุตฺโต ความว่า หลุดพ้นเพราะรู้โดยเหตุ โดยนัย โดยการณะ. 
               บทว่า กลฺลํ วจนาย แปลว่า ควรเพื่อจะกล่าว. 
               บทว่า โยปสฺส มาทิโส นโร ความว่า แม้บุคคลใดจะพึงเป็นพระขีณาสพเช่นกับเรา บุคคลแม้นั้นพึงเข้าจำอุโบสถเห็นปานนี้ คือ เมื่อรู้คุณของอุโบสถกรรมพึงอยู่อย่างนี้. 
               อีกนัยหนึ่ง บทว่า โยปสฺส มาทิโส นโร ความว่า สัตว์แม้ใดพึงเป็นเช่นกับเรา. อธิบายว่า พึงปรารถนาเพื่อได้รับมหาสมบัติ. 
               ในบทนี้มีอธิบายดังนี้ว่า ก็บุคคลสามารถที่จะได้รับสมบัติของพระขีณาสพด้วยอุโบสถกรรมเห็นปานนี้.

               จบอรรถกถาปฐมราชสูตรที่ ๗

มหาวรรคที่ ๕
             [๑๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการแห่งธรรมทั้งหลาย
ที่บุคคลฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคล
พึงหวังได้ อานิสงส์ ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...เวทัลละ ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันภิกษุ
นั้นฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ เธอมีสติ หลงลืม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง บทแห่งธรรมทั้งหลาย
ย่อมปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขในภพนั้น สติบังเกิดขึ้นช้า แต่สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้
บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑ แห่ง
ธรรมทั้งหลายที่บุคคลฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ
             อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...เวทัลละ
ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดี
ด้วยทิฐิ เธอมีสติหลงลืม เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง
บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่เธอ ผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย แต่
ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญแห่งจิต แสดงธรรมแก่เทพบริษัท เธอมีความ
ปริวิตกอย่างนี้ว่า ในกาลก่อนเราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด นี้คือ
ธรรมวินัยนั้น สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมบรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงกลอง เขาเดินทางไกล พึงได้ยินเสียง
กลอง เขาไม่พึงมีความสงสัย หรือเคลือบแคลงว่า เสียงกลองหรือไม่ใช่หนอ
ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงกลองทีเดียว ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒ แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ
คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ
             อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...บทแห่งธรรม
ทั้งหลาย ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย ทั้งภิกษุผู้มีฤทธิ์
ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็ไม่ได้แสดงธรรม ในเทพบริษัท แต่เทพบุตรย่อม
แสดงธรรมในเทพบริษัท เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ในกาลก่อนเราได้ประพฤติ
พรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด นี้คือธรรมวินัยนั้นเอง สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์
นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงสังข์
เขาเดินทางไกล พึงได้ฟังเสียงสังข์เข้า เขาไม่พึงมีความสงสัยหรือเคลือบแคลง
ว่า เสียงสังข์หรือมิใช่หนอ ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงสังข์ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้
บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓ แห่ง
ธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ
             อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ... บทแห่งธรรม
ทั้งหลาย ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย แม้ภิกษุผู้มีฤทธิ์
ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็มิได้แสดงธรรมในเทพบริษัท แม้เทพบุตรก็ไม่ได้แสดง
ธรรมในเทพบริษัท แต่เทพบุตรผู้เกิดก่อนเตือนเทพบุตรผู้เกิดทีหลังว่า ท่านผู้
นฤทุกข์ย่อมระลึกได้หรือว่า เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในกาลก่อน เธอกล่าว
อย่างนี้ว่า เราระลึกได้ท่านผู้นฤทุกข์ เราระลึกได้ท่านผู้นฤทุกข์ สติบังเกิดขึ้นช้า
แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย สหายสองคน
เล่นฝุ่นด้วยกัน เขามาพบกัน บางครั้งบางคราว ในที่บางแห่ง สหายคนหนึ่ง
พึงกล่าวกะสหายคนนั้นอย่างนี้ว่า สหาย ท่านระลึกกรรมแม้นี้ได้หรือ เขาพึง
กล่าวอย่างนี้ว่า เราระลึกได้ เราระลึกได้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น เหมือนกัน
ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔ แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔
ประการนี้ แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังแล้วเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอด
ด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๔๙๙๑-๕๐๔๑. หน้าที่ ๒๑๔ - ๒๑๖.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=4991&Z=5041&pagebreak=0

"ว่าด้วยคฤหัสถ์และเข้าถึงปีติที่เกิดแต่วิเวกอยู่ตามกาลอันสมควร "

                 อรรถกถาปีติสูตรที่ ๖    
           
               พึงทราบวินิจฉัยในปีติสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :- 
               บทว่า กินฺติ มยํ ได้แก่ เราพึงเข้าถึง (ปวิเวกปีติ) ด้วยอุบายไร. 
               บทว่า ปวิเวกปีตึ ได้แก่ ปีติที่อาศัยปฐมฌานและทุติยฌานเกิดขึ้น. 
               บทว่า กามูปสญฺหิตํ ได้แก่ ทุกข์อาศัยกาม คืออาศัยกามสองอย่าง ปรารภกามสองอย่างเกิดขึ้น. 
               บทว่า อกุลลูปสญฺหิตํ ความว่า เมื่อคิดว่าเราจักยิงเนื้อสุกรเป็นต้น ดังนี้ ยิงลูกศรพลาดไป ทุกขโทมนัสอาศัยอกุศลอย่างนี้ว่า เรายิงพลาดไปเสียแล้วดังนี้ เกิดขึ้น ชื่อว่าประกอบด้วยอกุศล. เมื่อยิงไม่พลาดไปในฐานะเช่นนั้น สุขโสมนัสเกิดขึ้นว่า เรายิงดีแล้ว เราประหารดีแล้วดังนี้ ชื่อว่าประกอบด้วยอกุศล. แต่ทุกขโทมนัสที่เกิดขึ้นเพราะอุปกรณ์มีทานเป็นต้น ยังไม่พร้อม พึงทราบว่าประกอบด้วยกุศล.

               จบอรรถกถาปีติสูตรที่ ๖               
                   -----------------------------------------------------

ปีติสูตร
             [๑๗๖] ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี แวดล้อมด้วยอุบาสก
ประมาณ ๕๐๐ คน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรคฤหบดี ท่าน
ทั้งหลายได้บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัช-
*บริขาร ท่านทั้งหลายไม่ควรทำความยินดีด้วยเหตุเพียงเท่านี้ว่า เราได้บำรุงภิกษุสงฆ์
ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะเหตุนั้นแหละ
ท่านทั้งหลายควรสำเหนียกอย่างนี้ว่า พวกเราพึงเข้าถึงปีติที่เกิดแต่วิเวกอยู่ตามกาล
อันสมควร ด้วยอุบายเช่นไร ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล ฯ
             เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่เคยมีมาแล้ว ตามที่
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า ดูกรคฤหบดี ท่านทั้งหลายได้บำรุงภิกษุสงฆ์
ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะเหตุนั้นแหละ
ท่านทั้งหลายควรสำเหนียกอย่างนี้ว่า พวกเราพึงเข้าถึงปีติที่เกิดแต่วิเวกอยู่ตามกาล
อันสมควร ด้วยอุบายเช่นไร ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ สมัยใด อริยสาวกย่อมเข้าถึงปีติที่เกิดแต่วิเวกอยู่ สมัยนั้น ฐานะ ๕
ประการ ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น คือ สมัยนั้น ทุกข์ โทมนัสอันประกอบด้วย
กาม ๑ สุข โสมนัสอันประกอบด้วยกาม ๑ ทุกข์ โทมนัสอันประกอบด้วย
อกุศล ๑ สุข โสมนัสอันประกอบด้วยอกุศล ๑ ทุกข์ โทมนัสอันประกอบด้วย
กุศล ๑ ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยใด อริยสาวกย่อม
เข้าถึงปีติที่เกิดแต่วิเวกอยู่ สมัยนั้น ฐานะ ๕ ประการนี้ ย่อมไม่มีแก่อริยสาวก
นั้น ฯ
             พ. ดีละๆ สารีบุตร สมัยใด อริยสาวกย่อมเข้าถึงปีติที่เกิดแต่วิเวก
อยู่ ... ดูกรสารีบุตร สมัยใด อริยสาวกย่อมเข้าถึงปีติที่เกิดแต่วิเวกอยู่ สมัยนั้น
ฐานะ ๕ ประการนี้ ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น ฯ
จบสูตรที่ ๖

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๔๘๑๒-๔๘๓๗ หน้าที่ ๒๐๙-๒๑๐.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=4812&Z=4837&pagebreak=0

ฌานสูตร
             [๒๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ทุติยฌานบ้าง ตติยฌานบ้าง จตุตถฌานบ้าง อากาส
นัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย เพราะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานบ้าง ฯ
             ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เธอย่อม
พิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมี
อยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค
เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด
ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว เธอ
ย่อมโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่ง
สังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด
ความดับ นิพพาน เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ
จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิย-
*สังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงรูปหุ่นที่ทำด้วย
หญ้าหรือกองก้อนดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ
ได้แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็น
ทุกข์ ... ว่างเปล่าเป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้น
แล้วย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบ
แห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็น
อุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ข้อที่
เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายเพราะ
อาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
             ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย เพราะอาศัยทุติยฌานบ้าง ฯลฯ เพราะอาศัยตติยฌานบ้าง ฯลฯ เพราะ
อาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับ
โสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอย่อมพิจารณา
เห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะ
แห่งจตุตถฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็น
อนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่อ
อมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ...
นิพพาน เธอตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้า
ยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพาน
ในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบ
เหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วย
หญ้าหรือกองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ
ได้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล บรรลุจตุตถฌาน
ฯลฯ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา ฯลฯ มีอันไม่กลับ
มาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้
กล่าวแล้ว ฯ
             ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง
เพราะดับปฏิฆสัญญา และเพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุอากาสานัญจายตน-
*ฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรม
ทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากาสา-
*นัญจาตนฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา
เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุ
ว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน
เธอตั้งอยู่ในอากาสานัญจาตนฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้า
ยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานใน
ภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนาย
ขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือ
กองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้
ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะล่วงรูปสัญญาโดย
ประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุ
อากาสานัญจาตนฌาน ... เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย ฯลฯ มีอันไม่กลับ
จากโลกนั้นเป็นธรรมดา ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวว่า เรากล่าวความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เรา
อาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
             ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย เพราะอาศัยวิญญาณัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ อากิญจัญญายตนฌานบ้าง
ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะ
ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดย
คำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มี เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้
ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่น
ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ใน
อากิญจัญญายตนะนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอัน
ไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความ
ยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู
หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน ต่อมา
เขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้ฉันใด ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ
หน่อยหนึ่งไม่มี เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น โดยความเป็น
ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ในธรรม
เหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ
ธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนฌาน
นั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่พึงกลับจากโลก
นั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลิน
ในธรรมนั้นๆ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่ง
อาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยอากิญจัญญายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้
กล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้แล สัญญาสมาบัติมีเท่าใด สัญญา-
*ปฏิเวธก็มีเท่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะ ๒ เหล่านี้ คือ เนวสัญญานา-
*สัญญายตนสมาบัติ ๑ สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ ต่างอาศัยกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวว่า อายตนะ ๒ ประการนี้ อันภิกษุผู้เข้าฌานผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ
และฉลาดในการออกจากสมาบัติ เข้าแล้วออกแล้ว พึงกล่าวได้โดยชอบ ฯ
จบสูตรที่ ๕

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๙๐๔๑-๙๑๔๕ หน้าที่ ๓๙๐-๓๙๔.
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=9041&Z=9145&pagebreak=0

 อรรถกถาฌานสูตรที่ ๕               
               ฌานสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. 
               บทว่า อาสวานํ ขยํ ได้แก่ พระอรหัต. 
               บทว่า ยเทว ตตฺถ โหติ รูปคตํ ความว่า ธรรมดารูปใดย่อมเป็นไปในขณะปฐมฌานนั้นด้วยวัตถุก็ดี ด้วยมีจิตเป็นสมุฏฐานก็ดี. 
               พึงทราบเวทนาเป็นต้นด้วยสามารถสังยุตตเวทนา (เวทนาที่ประกอบกันเป็นต้น). 
               บทว่า เต ธมฺเม ได้แก่ ธรรม คือเบญจขันธ์มีรูปเป็นต้นเหล่านั้น. 
               ในบททั้งหลายมีอาทิว่า อนิจฺจโต พึงทราบความต่อไปนี้ 
               ชื่อว่าโดยเป็นของไม่เที่ยง เพราะอาการมีแล้วไม่มี. ชื่อว่าโดยเป็นทุกข์ เพราะอาการบีบคั้น. ชื่อว่าโดยเป็นโรค เพราะอาการเสียดแทง. ชื่อว่าโดยเป็นฝี เพราะเจ็บปวดภายใน. ชื่อว่าโดยเป็นลูกศร เพราะเสียบเข้าไปและเพราะเชือดเข้าไป. ชื่อว่าโดยเป็นความลำบาก เพราะทนได้ยาก. ชื่อว่าโดยอาพาธ เพราะถูกเบียดเบียน. ชื่อว่าโดยเป็นอื่น เพราะไม่ใช่เป็นของตน. ชื่อว่าโดยเป็นของทำลาย เพราะผุพังไป. ชื่อว่าโดยเป็นของสูญ เพราะไม่เป็นเจ้าของ. ชื่อว่าโดยเป็นอนัตตา เพราะไม่อยู่ในอำนาจ.
               บทว่า สมนุปสฺสติ ได้แก่ เห็นด้วยวิปัสสนาญาณอันแก่กล้า. 
               บทว่า เตหิ ธมฺเมหิ ได้แก่ ด้วยธรรมคือเบญจขันธ์เหล่านั้น. 
               บทว่า ปติฏฺฐาเปติ ได้แก่ กลับไปด้วยความเบื่อหน่าย. 
               บทว่า อมตาย ธาตุยา ได้แก่ นิพพานธาตุ. 
               บทว่า จิตฺตํ อุปสํหรติ ได้แก่ เห็นด้วยวิปัสสนาญาณอันแก่กล้า คือเห็นอานิสงส์ด้วยญาณแล้วหยั่งลง. 
               บทว่า สนฺตํ ได้แก่ ชื่อว่าสงบ เพราะสงบจากกิเลสอันเป็นข้าศึก. 
               บทว่า ปณีตํ ได้แก่ ไม่เดือดร้อน. 
               บทว่า โส ตตฺถ ฐิโต อาสวานํ ขยํ ปาปุณาติ ความว่า ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น เจริญวิปัสสนาแก่กล้า ย่อมบรรลุพระอรหัต. 
               พึงทราบอีกนัยหนึ่ง บทว่า โส เตหิ ธมฺเมหิ ความว่า เพราะในบทว่า อนิจฺจโต เป็นต้น ท่านกล่าวถึงอนิจจลักษณะด้วยสองบท คือ อนิจจโต ปโลกโต กล่าวถึงทุกขลักษณะด้วยหกบทมีบทว่า ทุกฺขโต เป็นต้น กล่าวถึงอนัตตลักษณะด้วยสามบท คือ ปรโต สุญฺญโต อนตฺตโต ฉะนั้น ภิกษุนั้นยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์อย่างนี้ด้วยธรรม คือเบญจขันธ์ในภายในสมาบัติที่ตนเห็นแล้วเหล่านั้น. 
               บทว่า จิตฺตํ ปติฏฺฐาเปติ ได้แก่ รวบรวมน้อมนำจิตเข้าไป. 
               บทว่า อุปสํหรติ ความว่า ภิกษุน้อมเข้าไปซึ่งวิปัสสนาจิตโดยอสังขตธาตุ อมตธาตุอย่างนี้ว่า นิพพานสงบ ด้วยที่อยู่ ด้วยการสรรเสริญ ด้วยปริยัติและด้วยบัญญัติ. ภิกษุย่อมกล่าวถึงนิพพานอันเป็นมรรคจิตอย่างนี้ว่า นี้สงบ นี้ประณีตด้วยทำให้เป็นอารมณ์เท่านั้น. อธิบายว่า โดยประการนี้ภิกษุแทงตลอดธรรมนั้น น้อมจิตเข้าไปในธรรมนั้นดังนี้. 
               บทว่า โสตตฺถ ฐิโต ความว่า ภิกษุตั้งอยู่ในวิปัสสนาอันมีพระไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น. 
               บทว่า อาสวานํ ขยํ ปาปุณาติ ความว่า ภิกษุเจริญมรรค ๔ ตามลำดับแล้วบรรลุพระอรหัต. 
               บทว่า เตเนว ธมฺมราเคน ได้แก่ ฉันทราคะในธรรมคือสมถะและวิปัสสนา. 
               บทว่า ธมฺมนนฺทิยา เป็นไวพจน์ของบทว่า ธมฺมราเคน นั้นนั่นเอง. 
               จริงอยู่ ภิกษุเมื่อสามารถจะครอบงำฉันทราคะในสมถะและวิปัสสนาได้โดยประการทั้งปวง ย่อมบรรลุพระอรหัตได้ เมื่อไม่สามารถก็เป็นพระอนาคามี. 
               บทว่า ติณปุริสรูปเก วา ได้แก่ มัดหญ้าเป็นรูปคน. 
               ชื่อว่า ทูเรปาติ เพราะยิงลูกศรให้ตกไปไกล. 
               ชื่อว่า อกฺขณเวธี เพราะยิงไม่พลาด. 
               ในบทว่า ยเทว ตตฺถ โหติ เวทนาคตํ นี้ ไม่ถือเอารูป. 
               ถามว่า เพราะเหตุไร. 
               ตอบว่า เพราะเลยไปแล้ว. 
               จริงอยู่ ภิกษุนี้เข้าถึงรูปาวจรฌานในภายหลัง ครั้นล่วงเลยรูปไปแล้ว แม้เข้าถึงอรูปาวจรสมาบัติ ภายหลังพิจารณารูปอันล่วงเลยรูปไปแล้วด้วยอรูปาวจรสมาบัตินั้นด้วยสมถะ ครั้นล่วงเลยรูปไปแล้ว ในบัดนี้ย่อมพิจารณาอรูป ด้วยเหตุนั้นรูปจึงล่วงเลยไปแล้วด้วยอรูปนั้นแม้ด้วยวิปัสสนา. ก็ในอรูปย่อมไม่มีรูปแม้โดยประการทั้งปวง เพราะฉะนั้น แม้ท่านหมายถึงรูปนั้น แต่ในที่นี้ก็ไม่ถือเอารูป. 
               ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไรจึงไม่ถือเอาเนวสัญญานาสัญญายตนะเล่า. 
               ตอบว่า เพราะเป็นของสุขุม. 
               จริงอยู่ ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น แม้อรูปขันธ์ ๔ ก็สุขุม ไม่เหมาะที่จะพิจารณา. 
               สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อิติ โข ภิกฺขเว ฯเปฯ อญฺญาปฏิเวโธ. 
               ข้อนี้มีอธิบายดังนี้ ชื่อว่าสจิตตกสมาบัติมีอยู่ประมาณเท่าใด การแทงตลอดถึงพระอรหัต ย่อมมีแก่ผู้พิจารณาธรรมอันยิ่งประมาณเท่านั้น เขาย่อมเข้าถึงพระอรหัต แต่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ท่านไม่กล่าวว่าเป็นสัญญาสมาบัติ เพราะความเป็นของสุขุม. 
               บทว่า ฌายี เหเต ความว่า อายตนะสองเหล่านี้อันผู้เพ่งคือผู้ยินดีในฌานควรกล่าวถึงโดยชอบ. 
               บทว่า วุฏฺฐหิตฺวา ได้แก่ ออกจากสมาบัตินั้น. 
               บทว่า สมฺมทกฺขาตพฺพานิ ได้แก่ พึงกล่าวโดยชอบ. 
               บุคคลพึงกล่าว พึงชม พึงสรรเสริญเนวสัญญายตนสมาบัติและสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติอย่างเดียวว่า สงบประณีต ดังนี้.

               จบอรรถกถาฌานสูตรที่ ๕               
               -----------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...