ในวันที่พระเถระนั้นบรรลุพระอรหัตนั่นแล เทวดาผู้สิงอยู่ท้ายที่จงกรม ได้ยืนเอานิ้วทั้งหลายทำแสงสว่างให้โพลงขึ้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ท้าวสักกะจอมเทพ และท้าวสหัมบดีพรหมต่างมายังที่บำรุง"
....................................................................
ส่วนภิกษุใดเป็นผู้มักอยู่ด้วยความประมาท ทอดธุระ ทำลายวัตรทั้งปวงเสีย มีจิตถูกผูกด้วยเครื่องผูกดุจตะปูตรึงใจ ๕ อย่างอยู่ ไม่หมั่นประกอบมนสิการกรรมฐาน เข้าไปบิณฑบาตยังบ้าน ก็เนิ่นช้าด้วยการกล่าวกับพวกคฤหัสถ์ เป็นคนเปล่าๆ ออกมา ภิกษุนี้เรียกว่าไม่นำไปทั้งไม่นำกลับมา.
ส่วนภิกษุใดลุกขึ้นแต่เช้ามืด ทำวัตรทุกอย่างให้ครบบริบูรณ์โดยนัยอันมีในก่อนนั่นแหละ ขัดสมาธิ มนสิการถึงกรรมฐานจนถึงเวลาภิกขาจาร.
ธรรมดากรรมฐานมี ๒ อย่าง คือสัพพัตถกรรมฐาน คือกรรมฐานที่ใช้ทั่วทุกที่ และปาริหาริยกรรมฐาน กรรมฐานที่จะต้องบริหาร.
ในกรรมฐาน ๒ อย่างนั้น เมตตาและมรณานุสสติ ชื่อว่าสัพพัตถกรรมฐาน เพราะกรรมฐานดังกล่าวนั้นจำต้องการ จำต้องปรารถนาในที่ทุกแห่ง เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่าสัพพัตถกรรมฐาน. ธรรมดาเมตตาจำปรารถนาในที่ทั้งปวงมีอาวาสเป็นต้น.
จริงอยู่ ภิกษุผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตาในอาวาสทั้งหลาย ย่อมเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น ย่อมอยู่เป็นผาสุก ไม่กระทบกระทั่งกัน. ภิกษุผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตาในเทวดาทั้งหลาย จะเป็นผู้อันเหล่าเทวดารักษาคุ้มครองอยู่เป็นสุข. ภิกษุผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตาในพระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชาเป็นต้น จะเป็นผู้อันพระราชาและมหาอำมาตย์เหล่านั้นรักใคร่หวงแหนอยู่เป็นสุข. ภิกษุผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตาในคามและนิคมเป็นต้น จะเป็นผู้อันคนทั้งหลายในที่เที่ยวภิกขาจารเป็นต้นในที่ทุกแห่ง สักการะ เคารพ ย่อมอยู่เป็นสุข.
ภิกษุละความชอบใจในชีวิตเสียด้วยการเจริญมรณานุสสติ ย่อมเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่.
ส่วนกรรมฐานที่จะต้องบริหารทุกเมื่อ อันพระโยคีเรียนเอาแล้วตามสมควรแก่จริตนั้น เป็นกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาอสุภ ๑๐ กสิณ ๑๐ และอนุสสติ ๑๐ หรือเป็นเฉพาะจตุธาตุววัตถาน การกำหนดธาตุ ๔ เท่านั้น กรรมฐานนั้นเรียกว่าปาริหาริยกรรมฐาน เพราะจำต้องบริหาร จำต้องรักษา และจำต้องเจริญอยู่ทุกเมื่อ ปาริหาริยกรรมฐานนั้นนั่นแล เรียกว่ามูลกรรมฐานก็ได้.
อันกุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์บวชในพระศาสนาอยู่ร่วมกัน ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๓๐ ปีบ้าง ๔๐ ปีบ้าง ๕๐ ปีบ้าง ๑๐๐ ปีบ้าง กระทำกติกวัตรอยู่ว่า อาวุโสทั้งหลาย ท่านทั้งหลายมิได้บวชเพราะเป็นหนี้ ไม่ได้บวชเพราะมีภัย ไม่ได้บวชเพราะจะทำการเลี้ยงชีพ แต่ประสงค์จะพ้นจากทุกข์ จึงได้บวชในพระศาสนานี้ เพราะฉะนั้น กิเลสที่เกิดในตอนเดิน ท่านทั้งหลายจงข่มเสียเฉพาะในตอนเดิน กิเลสที่เกิดในตอนยืนจงข่มเสียเฉพาะในตอนยืน กิเลสที่เกิดในตอนนั่งจงข่มเสียในตอนนั่ง กิเลสที่เกิดในตอนนอนจงข่มเสียเฉพาะในตอนนอน.
กุลบุตรเหล่านั้นครั้นกระทำกติกวัตรอย่างนี้แล้ว เมื่อจะไปภิกขาจารในระหว่างทางกึ่งอุสภะ หนึ่งอุสภะ กึ่งคาวุตและหนึ่งคาวุต มีหินอยู่ ก็กระทำไว้ในใจถึงกรรมฐานด้วยสัญญานั้นเดินไปอยู่. ถ้าในตอนเดินไป กิเลสเกิดขึ้นแก่ผู้ใด ผู้นั้นย่อมข่มกิเลสนั้นเสียในตอนเดินนั่นแหละ เมื่อไม่อาจอย่างนั้นจึงยืนอยู่ เมื่อเป็นเช่นนั้น แม้ท่านผู้มาข้างหลังของผู้นั้นก็จะต้องหยุดยืนอยู่.
ผู้นั้นจะโจทท้วงตนขึ้นว่า ภิกษุนี้ย่อมรู้ความดำริที่เกิดขึ้นแล้วแก่ท่าน ข้อนี้ไม่สมควรแก่ท่าน ดังนี้แล้วเจริญวิปัสสนาย่อมก้าวลงสู่อริยภูมิในตอนยืนนั้นนั่นเอง เมื่อไม่อาจอย่างนั้น จึงนั่งอยู่นัยนั้นเหมือนกันว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น แม้ท่านผู้มาข้างหลังของผู้นั้นก็จะต้องนั่ง ดังนี้. เมื่อไม่อาจก้าวลงสู่อริยภูมิ ก็ข่มกิเลสนั้นแล้วใส่ใจถึงกรรมฐานเท่านั้นเดินไป (ถ้า) มีจิตเคลื่อนจากกรรมฐานอย่ายกเท้าไป ถ้าจะยกเท้าไป ต้องกลับมายืน ณ ที่เดิมให้ได้. เหมือนพระมหาผุสสเทวเถระผู้อยู่ในอาลินทกะ.
ได้ยินว่า พระเถระนั้นบำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรเท่านั้นอยู่ถึง ๑๙ ปี. ฝ่ายคนทั้งหลายไถนา หว่านข้าว นวดข้าวและทำการงานอยู่ในระหว่างทาง เห็นพระเถระเดินไปอย่างนั้น จึงเจรจากันว่า พระเถระเดินกลับมาบ่อยๆ ท่านหลงทางหรือว่าลืมอะไร. พระเถระไม่สนใจข้อนั้น มีจิตประกอบด้วยกรรมฐานอย่างเดียว กระทำสมณธรรมอยู่ ภายใน ๒๐ ปีก็ได้บรรลุพระอรหัต.
ในวันที่พระเถระนั้นบรรลุพระอรหัตนั่นแล เทวดาผู้สิงอยู่ท้ายที่จงกรม ได้ยืนเอานิ้วทั้งหลายทำแสงสว่างให้โพลงขึ้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ท้าวสักกะจอมเทพ และท้าวสหัมบดีพรหมต่างมายังที่บำรุง.
อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑. พุทธวรรค ปัจเจกพุทธาปทาน
บทว่า จงฺกมาธิคโต จ สมาธิ ได้แก่ สมาธิแห่งสมาบัติ ๘ อย่างใดอย่างหนึ่งอันผู้อธิษฐานจงกรมถึงแล้ว.
บทว่า จิรฏฐิติโก โหติ แปลว่า ตั้งอยู่ได้นาน.
ด้วยว่านิมิตอันผู้ยืนอยู่ถือเอาเมื่อนั่งก็หายไป นิมิตอันผู้นั่งถือเอาเมื่อนอนก็หายไป ส่วนนิมิตอันผู้อธิษฐานจงกรม ถือเอาในอารมณ์ที่หวั่นไหวแล้วเมื่อยืนก็ดี นั่งก็ดี นอนก็ดี ย่อมไม่หายไป.
อรรถกถาจังกมสูตรที่ ๙
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=29
เมื่อจงกรมในที่จงกรมกว้างเกินไป จิตย่อมพล่าน ย่อมไม่ได้เอกัคคตา เพราะฉะนั้น ความที่ที่จงกรมกว้างเกินไป พึงทราบว่าเป็นโทษที่ห้า.
ว่าด้วยที่จงกรมอันไม่มีโทษ
ก็ที่จงกรมขนาดเล็ก (อนุจงฺกมํ)
- โดยส่วนกว้างหนึ่งศอกหนึ่งคืบ
- ที่ข้างทั้งสองประมาณหนึ่งศอก
- ด้านยาวประมาณ ๖๐ ศอก
- มีพื้นอ่อนเกลี่ยทรายไว้เรียบเหมาะสม
เพราะฉะนั้น ที่นั้นเช่นนั้น ได้เป็นเหมือนที่จงกรมของพระมหามหินทเถระผู้ยังความเลื่อมใสให้เกิดแก่ชาวเกาะในเจติยคีรี ด้วยเหตุนั้น สุเมธบัณฑิตจึงกล่าวว่า เราสร้างที่จงกรมเว้นโทษ ๕ อย่าง ที่อาศรมบทนั้นดังนี้.
้
อ้างอิง :-
อรรถกถา ธรรมสังคณีปกรณ์ มาติกา ติกมาติกา ๒๒ ติกะ
www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=1&p=2#ว่าด้วยที่จงกรมมีโทษ_๕_อย่าง
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=34&A=1&Z=103
เครดิตภาพ เพจพระไตรปิฎกศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น