22 พฤศจิกายน 2561

ประเพณีการลอยกระทง

ประเพณีการลอยกระทงมีมาแต่สมัยพุทธกาล
เริ่มจากเหตุที่ว่า
“สมัยหนึ่งพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จมาถึงเขาสัจพันธ์บรรพต
เพื่อโปรดสัจพันธ์ฤาษีเจ้าแห่งสัทธิหนึ่งซึ่งมีบริวารเป็นจำนวนมาก
พระพุทธองค์ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์หยุดบุษบกอยู่กลางอากาศ
ทรงทรมานสัจพันธ์ฤาษีให้ละมิจฉาทิฏฐิเช่นเดียวกับที่เคยโปรดชฎิล ๓ พี่น้อง
จนสัจพันธ์ฤาษีได้รับการอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา
แล้วขึ้นบุษบกตามเสด็จพระบรมศาสดาไป
ในครั้งนั้นพระพุทธองค์ทรงทำภัตกิจที่บ้านนายพาณิชคนหนึ่งนามว่า จุฬปุณณ
แล้วจึงเสด็จกลับ ครั้งนั้นพญานาคราชได้ทูลขอให้เหยียบรอยพระพุทธบาทไว้ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที
เพื่อสำหรับสักการบูชา ไว้ให้แก่เหล่าพญานาคราชได้สักการะ” จึงเกิด การประดิษฐานรอยพระพุทธบาท
ณ ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 และจึงเกิดเป็นประเพณีสักกระบูชารอยพระพุทธนัมทามหานทีทุกปีตั้งแต่สมัยพุทธกาเรื่อยมาประจำทุกปี
จนมาถึงสมัยพระร่วงครองราชย์
โดยมีพระนางเรวดีนพมาศ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่า พิธีจองเปรียง
ที่ลอยเทียนประทีป (เพื่อบูชารอยพระพุทธบาทนัมทานมหานที ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 )
และนางเรวดีนพมาศได้นำ ดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป
เพราะต้องการบูชาสิ่งที่ดีที่สุด
นางจึงได้ทำกระทงรูปดอกบัว/ดอกโคทม ถวายพระร่วงเพื่อให้พระร่วงนำไปสักการะบูชา
และถูกพระราชหฤทัยพระร่วงมาก
จึงทรงตรัสให้มีการประดิษฐ์กระทงขึ้นด้วยนับแต่นั้นมาจนมาถึงปัจจุบัน

ขอสรุปว่ามีสิ่งสำคัญใดบ้างในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 ดังนี้

1. สักการบูชารอยพระพุทธบาททั้ง 5 สถาน
2. วันที่พระสารีบุตร อัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้าได้นิพพาน
3. เกิดประเพณีลอยกระทงโดยนางเรวดีนพมาศ
4. กราบสักการะบูชาและขอขมาแม่พระคงคา
5. ความเชื่อว่าให้ลอยทุกข์โศกไปกับแม่น้ำ

---------------------------------------------------

#คำสวดบูชารอยพระพุทธบาท
ทั้ง 5 สถาน (วันลอยกระทง)

หันทะ มะยัง ปาทะลัญชะนะปาฐัง ภะณามะ เส ฯ
วันทามิ พุทธัง ภาวะปาระติณณัง,
ข้าพเจ้าขอนมัสการพระพุทธเจ้าผู้ข้ามพ้นฝั่งแห่งภพ,

ติโลกะเกตุง ติภะเวกะนาถัง, ผู้เป็นธงชัยของไตรโลกผู้เป็นนาถะอันเอกของไตรภพ,

โยโลกะเสฏโฐ สะกะลัง กิเลสัง, เฉตฺวานะ โพเธสิ ชะนัง อะนันตัง ผู้ประเสริฐในโลกตัดกิเลสทั้งสิ้นได้แล้ว, ช่วยปลุกชนหาที่สุดมิได้ ให้ตรัสรู้มรรคผลและนิพพาน.

ยัง นัมมะทายะ นะทิยา ปุลิเน จะตีเร, รอยพระบาทใดอันพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้, บนหาดทรายแทบฝั่งแม่น้ำนัมมะทา,

ยัง สัจจะพันธะคิริเก สุมะนา จะลัคเค. รอยพระบาทใดอันพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้, เหนือเขาสัจจพันธ์ และเหนือยอดเขาสุมะนา,

ยัง ตัตถะ โยนะกะปุเร มุนิโน จะ ปาทัง,
ตัง ปาทะลัญชะนะมะหัง สิระสา นะมามิ.

รอยพระบาทใดอันพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้ในเมืองโยนะกะ ข้าพเจ้าขอนมัสการพระบาทและรอยพระบาทนั้น ๆ ของพระมุนีด้วยเศียรเกล้า.

สุวัณณะมาลิเก สุวัณณะปัพพะเต, สุมะนะกูเฏ โยนะกะปุเร
นัมมะทายะนะทิยา, ปัญจะปาทะวะรัง ฐานัง อะหัง วันทามิ ทูระโต

ข้าพเจ้าขอนมัสการสถานที่มีรอยพระบาทอันประเสริฐ 5 สถาน แต่ที่ไกล, คือที่เขาสุวรรณมาลิก 1, ที่เขาสุวรรณบรรพต 1, ที่ยอดเขาสุมะนะกูฏ 1, ที่โยนะกะบุรี 1, ที่แม่น้ำชื่อนัมมะทา 1,

อิจเจวะ มัจจันตะ นะมัสสะเนยยัง, นะมัสสะมาโน ระตะนัตตะยัง ยัง.

ข้าพเจ้าขอนมัสการอยู่ซึ่งพระรัตนตรัยใด, อันบุคคลควรไหว้โดยส่วนยิ่งอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.

ปุญญาภิสันทัง วิปุลัง อะลัตถัง, ได้แล้วฃึ่งกองบุญอันไพบูลย์, ตัสสะนุภาเวนะ หะตันตะราโย,

ขออนุภาพแห่งพระรัตนตรัยนั้น จงขจัดภัยอันตรายเสียเถิด,

อามันตะยามิ โว ภิกขะเว, ดูก่อนผู้เห็นภัยทั้งหลาย, เราขอเตือนท่านทั้งหลาย
ปะฏิเวทะยามิ โว ภิกขะเว, ดูก่อนผู้เห็นภัยทั้งหลาย, เราขอให้ท่านทั้งหลายทราบไว้ว่า
ขะยะ วะยะ ธัมมา สังขารา, สังขารทั้งหลายมีอันความเสื่อมสิ้นไป เป็นธรรมดา
อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถาติ. ขอให้ท่านทั้งหลาย, จงยังประโยชน์ ตนและประโยชน์ท่าน ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด

อิติ ด้วยประการฉะนี้แล.

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...