31 พฤษภาคม 2566

วิธีการฝึกสมาธิแบบ กสิณสีแดง


 ลมหายใจเข้า ภาวนา "สี" ลมหายใจออก ภาวนา "แดง" หรือจะภาวนา “สีแดงๆๆๆๆ” ต่อเนื่องก็ได้
พร้อมนึกถึงภาพ “วงกลมสีแดง” ให้ขึ้นใจ หัวใจของกสิณ คือ การนึกถึงภาพจนติดอยู่ในใจครับ ถ้าลืมภาพให้นึกภาพขึ้นมาใหม่ ให้ภาพอยู่ได้นานที่สุด ส่วนคำภาวนา ทำให้เราเกิดสติอยู่กับภาพ “วงกลมสีแดง”

เมื่อจิตเริ่มสงบเป็นสมาธิ จะเกิดอาการเกิดปีติ เช่นขนลุก ขนผอง น้ำตาไหล ตัวโตตัวขยาย ซาบซ่านทั้งตัว เมื่อเกิดอาการปีติ อย่าไปสนใจ ปีติ ให้กลับมาที่ภาพ “วงกลมสีแดง” และคำภาวนา “สีแดงๆๆๆๆ”

เมื่อปล่อยวางปีติได้ จะเกิดสุขแบบไม่มีประมาณ ไม่มีสุขใดในโลกเทียบสุขในสมาธิได้ แม้เอาสุขทั้งชีวิตรวมกันก็ไม่เท่าสุขในสมาธิ แม้สุขของพระเจ้าจักรพรรดิก็สู้สุขในสมาธิไม่ได้ ไม่ต้องสนใจสุขที่เกิดขึ้นกลับมาที่ภาพ “วงกลมสีแดง” 

เมื่อข้ามสุขได้ภาพ “วงกลมสีแดง” จะเปลี่ยนเป็นเป็นแก้วประกายพรึก ส่องสว่างไสว สวยงามมากๆ ลอยเด่นท่ามกลางความว่าฃ เอาสติวางไว้ที่ดวงแก้วประกายพรึกและความสงบนั้น จะอยู่กับสมาธิได้นาน 2-3 ชม. โดยไม่รู้สึกถึงกายและลมหายใจอีกเลย มีแต่แก้วประกายพรึกและความว่าง

หลังจากได้ดวงแก้วแล้ว ดวงแก้วจะอยู่กับเราตลอดเวลาที่มีสติ ไปที่ไหนก็จะเห็นดวงแก้วซ้อนอยู่กับตาเนื้อ ที่ไหนที่มีผี มีเทวดา ก็จะเห็นภาพนั้นจากตาในซ้อนตาเนื้อ แต่ไม่น่ากลัว ไม่ตัองกังวล 

อยากได้อะไรให้นึกถึงดวงแก้ว ก็จะได้สมปราถนาดังปาฏิหาริย์ เกิดหูทิพย์ ได้ยินเสียงไกลๆ ตาทิพย์ เห็นผี เทวดา นรก สวรรค์ เรียกว่าเกิด “อภิญญา”

ภัยร้ายแรงที่สุดในการปฏิบัติธรรม อย่าปฏิบัติเลื่อนลอยจักไม่ได้ผล

สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตา ตรัสสอนไว้ดังนี้

 ๑. อยู่ที่การหมั่นตรวจสอบจิต ให้มีอารมณ์ผ่องใสอยู่ในธรรมให้เสมอ ตั้งแต่เช้าลืมตาขึ้นมา พยายามตั้งอารมณ์ให้อยู่ในพรหมวิหาร ๔ และพยายามตั้งอยู่ให้มั่นคง ตั้งแต่เช้าจนกระทั่งหลับตานอนหลับไป หากทำได้จิตจักผ่องใส เจริญอยู่ในธรรมตลอดเวลา เพราะอำนาจของพรหมวิหาร ๔ จักบังคับจิตไม่ให้เบียดเบียนตนเอง เมื่อสิ้นความเบียดเบียนตนเองแล้ว คำว่าจักไปเบียดเบียนบุคคลอื่นนั้นย่อมไม่มี

 ๒. ภัยร้ายแรงที่สุดในการปฏิบัติธรรมเพื่อนำไปสู่ความพ้นทุกข์ ก็คือ ภัยจากอารมณ์จิตของตัวเราเองทำร้ายจิตของเราเอง ดังนั้น หากเราทรงอารมณ์ให้อยู่ในพรหมวิหาร ๔ ได้ครบทั้ง ๔ ประการได้มั่นคงตลอดเวลา จิตเราก็ผ่องใสตลอดเวลา เท่ากับสิ้นความเบียดเบียนตนเองแล้ว หรือพ้นภัยตนเองแล้วอย่างถาวร

 ๓. ในการปฏิบัติหากจิตมีอารมณ์คิด ก็ให้คิดใคร่ครวญอยู่ในธรรม แม้จักไม่มีคู่สนทนา ก็จงสนทนากับจิตตนเอง คือ ใคร่ครวญในพระธรรมวินัย หรือใคร่ครวญในพระสูตรให้จิตตนเองฟัง และเจริญอยู่ในธรรมนั้น ๆ ทำได้เยี่ยงนี้จิตเจ้าจักผ่องใสอยู่ตลอดเวลา 

 ศีล สมาธิ ปัญญาจักเกิดขึ้นได้ด้วยการใคร่ครวญในธรรมนั้น ๆ และจักทำให้จิตจำพระธรรมคำสั่งสอนได้ดีพอสมควร ธรรมเหล่านี้จักเป็นผลพลอยได้ ซึ่งกาลต่อไปเจ้าจักมีโอกาสนำไปสงเคราะห์บอกต่อให้แก่ผู้อื่นได้ศึกษาและเข้าใจถึงธรรมนั้น ๆ ไปด้วย

 ๔. แต่อย่าลืมหลักสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ประการ อย่าปฏิบัติเลื่อนลอยจักไม่ได้ผล แม้การแนะนำผู้อื่นก็เช่นกัน อย่าทิ้งหลักสังโยชน์ ๓ ประการเบื้องต้นเป็นอันขาด

 ๕. การแนะนำอย่ากระทำตนเป็นผู้รู้ ให้ถ่อมตนเข้าไว้ว่า ที่รู้นั้นรู้ตามพระพุทธเจ้าท่านสอน ท่านสอนให้ตัดสังโยชน์ ๓ ประการเบื้องต้น เพื่อกันอบายภูมิ ๔ ไว้ก่อน เพราะการไปละเมิดศีล ๕ เข้าข้อใดข้อหนึ่ง กรรมนั้นก็จักถึงให้ตกนรก

ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๗ มิถุนายนตอน ๓
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

30 พฤษภาคม 2566

ชีวิตนี้น้อยนัก

ชีวิตนี้น้อยนัก แต่ชีวิตนี้สําคัญนัก เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อเป็นทางแยก จะไปสูงไปต่ำ จะไปดีไปร้าย เลือกได้ในชีวิตนี้เท่านั้น พึงสํานึกข้อนี้ให้จงดีแล้วจงเลือกเถิด 
เลือกให้ดีเถิดชีวิตนี้จักสวัสดีและชีวิตข้างหน้าก็จักสวัสดีได้ถ้ามือแห่งกรรมร้ายไม่เอื้อมมาถึงเสียก่อน มือแห่งกรรมร้ายใดๆ ก็จะเอื้อมมาถึงไม่ได้ 

ถ้าชีวิตนี้วิ่งหนีได้เร็วกว่า และการจะวิ่งหนีให้เร็วกว่ามือแห่งกรรมนั้น จะต้องอาศัยกําลังบุญกุศลคุณงามความดีเป็นอันมาก และสม่ำเสมอ กําลังความสามารถในการวิ่งหนีมือแห่งกรรมชั่วกรรมร้ายคือ การทําดีพร้อมทั้งกาย วาจา ใจ ทุกเวลา

ผู้จะมีสติระวังไม่ทําความไม่ดีทั้งกาย วาจา ใจได้ยิ่งกว่าผู้อื่น คือ ผู้มีกตัญญูกตเวทีอันเป็นธรรมสําคัญ ธรรมที่จะทําคน ให้เป็นคนดีมีความห่วงใยปรารถนาจะระวังรักษาผู้มีพระคุณไม่ให้ต้องเสียทั้งชื่อเสียงและไม่ต้องเสียทั้งน้ำใจ

ผู้มีกตัญญูกตเวทีจึงเป็นผู้มีธรรมเครื่องคุ้มครองให้สวัสดีเครื่องคุ้มครองให้สวัสดีก็คือคุ้มครองไม่ให้ทําความไม่ดีคุ้มครองให้ทําแต่ความดีทั้งกาย วาจา ใจ ทุกเวลา

ชีวิตนี้น้อยนัก พึงใช้ชีวิตนี้อย่างผู้มีปัญญาให้เป็นทางไปสู่ชีวิตหน้าที่ยืนนาน ให้เป็นสุคติที่ไม่มีกาลเวลาหาขอบเขตมิได้ 

โดยยึดหลักสําคัญคือความกตัญญูกตเวทีต่อมารดา บิดา และต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ให้มั่นคงทุกลมหายใจเข้าออกเถิด

ขอน้อมกราบสาธุในพระธรรมคำสอนของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เหนือเศียรเกล้าเจ้าค่ะ

29 พฤษภาคม 2566

คำว่า “โลก” ในภาษาธรรม

คำว่า “โลก” ในภาษาธรรม
พระพุทธเจ้าตรัสว่า.. “โลก” คือ “ความทุกข์”
.
…. “ ทีนี้ พูดถึงคำว่า “โลก” กันบ้าง คำว่า โลก ภาษาคนหมายถึงแผ่นดิน ตัวโลกนี้จะแบนหรือกลมก็ตาม หมายถึงตัวโลกแผ่นดิน นี่คือ คำว่า โลก ในภาษาคน
…. แต่ภาษาธรรมนั้น คำว่า “โลก” เขาหมายถึงนามธรรม หรือ คุณธรรม หรือ คุณสมบัติที่มีประจำอยู่ในโลก เช่น ความทุกข์ เป็นต้น ความไม่เที่ยง ความเปลี่ยนแปลง ความทุกข์ เหล่านี้เป็นคุณสมบัติประจำอยู่ในตัวโลก นั่นแหละคือตัวโลกในภาษาธรรมะ จึงกล่าวว่า โลกก็คือความทุกข์ ความทุกข์ก็คือโลก อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสอริยสัจจ์สี่ บางทีก็ใช้คำว่า“โลก” บางทีก็ใช้คำว่า“ทุกข์” เป็นอันเดียวกัน เช่น พูดว่าโลก, เหตุให้เกิดโลก, ความดับสนิทของโลก, หนทางให้ถึงความดับสนิทของโลก อย่างนี้ พระพุทธองค์ทรงหมายถึงตัวทุกข์ ตัวเหตุของความทุกข์ ตัวความดับสนิทของความทุกข์ และ วิธีหรือหนทางทำให้ถึงความดับสนิทของความทุกข์
…. เพราะฉะนั้น ในภาษาของพระพุทธเจ้าหรือภาษาธรรมะนั้น คำว่า “โลก” หมายถึงความทุกข์ ทุกข์กับโลกเป็นตัวเดียวกัน หรืออีกทางหนึ่ง คำว่า “โลก” หมายถึงเรื่องที่ต่ำๆ เตี้ยๆ ไม่ใช่ลึกซึ้ง ไม่ใช่สูงสุด เราพูดกันว่าเป็นเรื่องโลก ไม่ใช่เรื่องธรรมะ อย่างนี้เป็นต้น นี้ก็ยังเป็นคำว่า “โลก” ในภาษาธรรมเหมือนกัน ไม่ใช่คำว่าโลกจะหมายถึงแต่ตัวแผ่นดินเสมอไป นั่นเป็นภาษาคน”
.
พุทธทาสภิกขุ
ที่มา : ธรรมบรรยายจากหนังสือ “ภาษาคน - ภาษาธรรม”
-----------------------------
.
พระพุทธเจ้าตรัสว่า...
โลก คือ “ความทุกข์”
.
…. “ พระพุทธเจ้าท่านเรียก ความทุกข์ ว่า “โลก” : โลก คือ ความทุกข์ ความทุกข์ คือ โลก เป็นพระพุทธภาษิตที่ตรัสไว้ว่า “โลกก็ดี, เหตุให้เกิดโลกก็ดี, ความดับสนิทแห่งโลกก็ดี, ทางให้ถึงความดับสนิทแห่งโลกก็ดี, อยู่ในร่างกายที่ยาววาหนึ่งนี้ ซึ่งยังมีสัญญาและใจ” คือที่ในตัวคนที่ยังมีชีวิตเป็นๆ อยู่นั้น ซึ่งยาวเพียงประมาณวาหนึ่งนี้ ในนั้นมีทั้งโลก ทั้งเหตุให้เกิดโลก ทั้งความดับสนิทของโลก และทางให้ถึงความดับสนิทของโลก, พระพุทธเจ้าท่านพูดอย่างนี้. คนที่นั่งอยู่ที่นี่ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย นั่นแหละเป็นเครื่องวัดความเป็นพุทธบริษัทของตัว ว่ามีหรือไม่มี หรือมีมากน้อยเพียงไร เมื่อเราเห็นโลกทั้งหมดรวมอยู่ที่ในร่างกาย ที่ยาววาหนึ่งนี้ ก็เห็นโลกในแง่ลึกที่ละเอียด ที่มีประโยชน์ ที่จะทําให้ชนะโลกได้
.
…. เมื่อพูดถึงว่า โลก คือ ความทุกข์ ความทุกข์ คือ โลก มันมีความหมายสําคัญอยู่ที่ว่ามันเป็นทุกข์. คําว่า “ทุกข์” นี้แปลว่าต้องทน หรือว่าดูแล้วน่าเอือมระอา ถ้าความทุกข์มันอยู่กับเราก็ต้องทน, ถ้าความทุกข์มีอยู่กับเราเวลานี้ มองดูแล้วก็น่าระอา. ความทุกข์ของผู้อื่นหรือที่แสดงอยู่ที่ไหนก็ตาม ไปมองดูเถอะจะเอือมระอา ขยะแขยง หวาดเสียว ; แต่ถ้ามันเกิดอยู่ในเราจริงๆ เราต้องทน. โลก คือ ความทุกข์ ความทุกข์คือโลก เป็นสิ่งที่ต้องทน. 
…. เมื่อมันมาให้รัก ก็ต้องทนรักกับมัน เมื่อมันมาให้เกลียดให้โกรธ ก็ต้องทนเกลียดกับมัน, อย่าเข้าใจว่ามันจะมาทําให้ต้องเจ็บปวดแล้วจะต้องทน. ที่มันมาทําให้รักให้หลงนั้นแหละมันยิ่งทรมานมากกว่า ถ้าใครไม่รู้นี้คือคนโง่ นี้คือไม่ใช่พุทธบริษัท สิ่งที่มันมาขี่คอทรมานต่างๆ อยู่บนคอนี้กลับไม่รู้สึก เห็นเป็นของน่ารักน่าพอใจไปเสีย ไม่ใช่เป็นของต้องทน ; นี้ก็แปลว่า ไม่รู้จักโลก
.
…. ฉะนั้น เราพูดได้ว่าสิ่งสวยงามต่างๆ นั้นมันมาทรมาน : ทรมานตา ทรมานหู ทรมานจมูก ทรมานลิ้น ทรมานกาย มาทรมานไปหมด แต่เราไม่รู้สึกว่ามาทรมาน กลับรัก กลับชอบ กลับหลงใหล ยอมตาย ไม่ได้สิ่งนี้ก็จะยอมตาย, สิ่งนี้พลัดพรากไปก็จะยอมตาย ; นี้มันเป็นความโง่สักเท่าไร. 
.
…. โลกคือความทุกข์ ความทุกข์คือสิ่งที่ต้องทน. มาในรูปไหนล้วนแต่ต้องทนทั้งนั้น ถ้าเป็นเรื่องของโลก ; ได้เงินได้ของ ได้เกียรติยศชื่อเสียงก็ต้องทน ทนแบก ทนหาม ทนต่อสู้ ทนหนักอกหนักใจ ที่เรียกว่าโลกแล้วต้องหนัก หนักแล้วก็ต้องแบกต้องหาม แล้วก็ต้องทน ; ถ้าสลัดออกไปเสียก็เบาสบายและไม่ต้องทน
.
…. ฉะนั้น เรื่องเกี่ยวกับที่ต้องสลัดโลกออกไปเสียนี้เป็นเรื่องจําเป็น เป็นเรื่องสําคัญ ถ้าไม่อย่างนั้นเราจะต้องทนอยู่ตลอดเวลา ทั้งหลับและทั้งตื่น : ตื่นขึ้นคิดนึกได้ก็ทนทรมาน, หลับแล้วก็ยังฝันร้าย เพราะมันเหลือค้างอยู่ในความรู้สึกยึดมั่นถือมั่น แล้วก็ต้องทน. นี่โลกคือความทุกข์ มีความหมายอย่างนี้ นัยนี้ก็เรียกว่าเป็นโลกฝ่ายนามธรรมมากยิ่งขึ้นทุกที ไม่ใช่ก้อนโลกแล้ว : เป็นโลกที่ มาอยู่ในจิตใจของมนุษย์แล้ว
.
…. มองดูกันให้ละเอียดลงไปอีก ให้เป็นรายละเอียดปลีกย่อยลงไปอีก : เช่นว่า โลกนี้มีเพียง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์ ๖ อย่าง ไม่ใช่ว่า ไม่รู้ว่ากี่อสงไขยอย่าง ไม่รู้กี่แสนกี่หมื่นล้านกี่อสงไขยอย่าง อย่างที่คนก็รู้สึกกัน : ที่แท้มีเพียง ๖ อย่าง, ๖ อย่างนี้มันก็เหลือเพียงอย่างเดียว คือเป็น “อารมณ์ข้างนอก” เป็นปรากฏการณ์ข้างนอก, เราทําให้โลกเหลือเพียงอย่างเดียว เรื่องมันน้อย ปัญหาน้อย มันสบายที่จะเตะให้กระเด็นออกไป เพราะมันมีเรื่องเดียว แต่ถ้ามันมีร้อยเรื่อง พันเรื่อง หมื่นเรื่อง แสนเรื่อง เราจะเตะมันให้กระเด็นออกไปได้อย่างไร ถ้าเราไปโง่ทําให้มันมากเรื่อง แล้วก็จะควบคุมมันไม่ได้ เรื่อง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์ ๖ เรื่องนี้ เป็นเพียงปรากฏการณ์เข้ามาสู่ภายในจิตใจที่โง่เขลา ก็รับไว้ด้วยความยึดมั่น ถือมั่น แล้วก็ได้เป็นทุกข์อยู่ นี่ โลก คือ ของสิ่งเดียว คือ “ปรากฏการณ์ที่จะเข้ามากระทําแก่จิตใจที่โง่.”
.
พุทธทาสภิกขุ
ที่มา : ธรรมบรรยายชุด สันทัสเสตัพพธรรม หัวข้อเรื่อง “โลกในทรรศนะของพุทธบริษัทคืออะไร?” เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๔ จากหนังสือชุดธรรมโฆษณ์ เล่มชื่อว่า “สันทัสเสตัพพธรรม” หน้า ๑๕๔-๑๕๖
-----------------------
.
พระพุทธองค์ตรัสถึงเรื่องนี้ 
ในพระไตรปิฎก ว่า...
“อนึ่ง เราบัญญัติโลก ความเกิดแห่งโลก ความดับแห่งโลก และ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งโลก ในร่างกายที่มีประมาณวาหนึ่ง มีสัญญา มีใจ นี้เอง.”
.
ทุติยโรหิตัสสสูตร
พระไตรปิฎกภาษาไทย
องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๔๖/๗๕
# ท. ส. ปัญญาวุฑโฒ - รวบรวม. #

การเข้าไปสอดแทรกนั้น จะเป็นบาป มิอาจเป็นบุญได้

การเข้าไปวิพากษ์วิจารณ์หรือก้าวล่วงเข้าไปในแนวทางปฏิบัติของผู้อื่น แม้ด้วยความหวังดี ลูกหลานทั้งหลายพึงสำรวมระวัง นะลูกนะ เพราะผู้อื่นเขาอาจบำเพ็ญบารมีตามแนวทางอื่น ๆ ในแบบที่เราไม่เข้าใจอยู่ ก็ได้ เช่น แนวทางพระโพธิสัตว์ เป็นต้น พระโพธิสัตว์นั้น ท่านต้องบำเพ็ญด้วยการเสียสละอย่างยิ่ง แม้ตัวท่านเองจะระทมทุกข์ หม่นหมอง แต่ในชั้นจิตอันลึกซึ้งสูงส่งของท่าน ท่านกำลังทำคะแนนทางบารมีอยู่ พระโพธิสัตว์ที่บารมียังอ่อนอยู่ ท่านอาจจะแสดงอารมณ์เสมือนหนึ่งว่าอ่อนแอ อาจมีลักษณะหุนหันพลันแล่น น้อยเนื้อต่ำใจ อยู่ตามสมควร. แต่ท่านก็ได้ชื่อว่าอยู่ในกระแสบารมีพระโพธิสัตว์ อันภาวะพระโพธิสัตว์นั้นแม้ยังอ่อนอยู่ก็ถือว่าสูงส่งยิ่งนัก การที่เราไปปรามาส สบประมาท ดูหมิ่นดูแคลนท่าน นั่นก็จักเป็นบาปของเรา ไม่ควรทำอย่างยิ่ง นะลูกนะ
ถึงแม้ว่าเราจะไม่รู้ว่าใครเป็นพระโพธิสัตว์หรือไม่ก็ตาม การที่เราประพฤติทางใจ-วาจา-กายต่อผู้ใดในทางลบก็ตาม ลบหลู่ก็ตาม ยกตนเหนือเขาหรือข่มเขาก็ตาม โดยตั้งใจก็ตาม มิตั้งใจก็ตาม ด้วยความหวังดีหรือไม่ก็ตาม นั่นคือบาปเปิดทางไปสู่อบายของเราเองโดยแท้ กัลยาณชนควรตั้งอยู่บนฐานของเมตตา-กรุณา-มุทิตา-อุเบกขา โดยครบถ้วนทั่วรอบ
การสิ่งใดที่เราไม่รู้ต้นสายปลายเหตุแท้จริง ไม่รู้อะไรเท็จอะไรจริงกันแน่ เราต้องวางใจ-วาจา-กายไว้ในอุเบกขาก่อน อย่าด่วนเข้าไปสอดแทรก แม้จะโดยอ้างเอาว่าปรารถนาดีอย่างโน้นอย่างนี้ก็ตาม.. นะลูกหลานเอ๊ย

ถ้าเราไม่วางใจ-วาจา-กาย ให้ถูกต้อง การประพฤติปฏิบัติของเราที่เข้าไปสอดแทรกนั้น จะเป็นบาป มิอาจเป็นบุญได้เลย

ด้วย ธรรม พร และ เมตตา นะลูกหลานเอ๊ย๚
--------------
ธรรมเทศนาหลวงปู่เทพโลกอุดร... เครดิตคุณตั้ม

28 พฤษภาคม 2566

พระพุทธเจ้าเป็นเช่นไร

พระอรหันต์รูปหนึ่งชื่อพระปุฬินุปปาทกเถระ ได้เล่าประวัติการสร้างบุญในอดีตชาติของท่านไว้ว่า ชาติหนึ่ง เราบวชเป็นดาบสชื่อเทวละ อาศัยอยู่ที่ภูเขาหิมพานต์ ที่จงกรมของเราอมนุษย์เนรมิตให้ ศิษย์ 84,000 คน อุปัฏฐากเรา เราออกจากอาศรมก่อพระเจดีย์ทราย รวบรวมเอาดอกไม้นานาชนิดมาบูชาพระเจดีย์นั้น เรายังจิตให้เลื่อมใสในพระเจดีย์นั้น
พวกศิษย์ได้มาประชุมพร้อมกันแล้วถามว่า "เจดีย์ที่ท่านนมัสการก่อด้วยทราย ข้าพเจ้าทั้งหลายอยากจะรู้ว่า ท่านนมัสการทำไม" เราตอบว่า "พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ท่านทั้งหลายได้พบแล้วในบทมนต์ของเรามิใช่หรือ เรานมัสการพระพุทธเจ้าเหล่านั้น"

ศิษย์เหล่านั้นถามอีกว่า "พระพุทธเจ้าเป็นเช่นไร มีคุณเป็นอย่างไร มีศีลเป็นอย่างไร" เราตอบว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระมหาปุริสลักษณะ 32 ประการ มีพระทนต์ครบ 40 ซี่ มีดวงพระเนตรดังตาโคและเหมือนผลมะกล่ำ พระพุทธเจ้าเหล่านั้นเมื่อเสด็จดำเนินไป ย่อมทอดพระเนตรดูเพียงชั่วแอก พระชานุของพระองค์ไม่ลั่น ใครๆ ไม่ได้ยินเสียงข้อต่อ

อนึ่ง พระสุคตทั้งหลายเมื่อเสด็จดำเนินไป ย่อมไม่รีบร้อน ทรงก้าวพระบาทเบื้องขวาก่อน เป็นผู้ไม่หวาดกลัว ไม่ทรงยกพระองค์และไม่ทรงข่มขี่ผู้อื่น ทรงหลุดพ้นจากการถือตัวและการดูหมิ่น เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น ไฟนรกดับ มหาเมฆยังฝนให้ตก นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย"

ศิษย์ทุกคนเป็นผู้มีความเคารพ ชื่นชมถ้อยคำของเรา พากันบูชาพระเจดีย์ทราย ในกาลนั้น เทพบุตรผู้มียศใหญ่ จุติจากชั้นดุสิต บังเกิดในพระครรภ์ของพระมารดา หมื่นโลกธาตุหวั่นไหว เรายืนอยู่ในที่จงกรมไม่ไกลอาศรม ศิษย์ทุกคนได้มาประชุมพร้อมกันในสำนักของเรา ถามว่า แผ่นดินบันลือลั่นจักมีผลเป็นอย่างไร ?

เราตอบว่า "พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดที่เราประกาศ ณ ที่ใกล้พระเจดีย์ทราย บัดนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้ว" เราแสดงธรรมแก่พวกศิษย์เหล่านั้นแล้วกล่าวสดุดีพระมหามุนีและนั่งขัดสมาธิ เราเป็นผู้สิ้นกำลังเพราะป่วย ระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดแล้ว เสียชีวิต ณ ที่นั้นเอง

เราได้อยู่ในเทวโลกถึง 18 กัป ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ 500 ครั้ง และได้เสวยราชสมบัติในเทวโลกเกิน100 ครั้ง ในกัปที่เหลือ เราท่องเที่ยวไปอย่างสับสน แต่ก็ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการก่อเจดีย์ทราย เราตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว ในกัปที่แสนแต่กัปนี้เราได้สรรเสริญพระพุทธเจ้าใด ด้วยการสรรเสริญนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย (คือไม่ไปทุคติ ได้แก่ ไม่ไปนรก ไม่ไปเกิดเป็นเปรต อสุรกาย และสัตว์ดิรัจฉาน) เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว กิจในพระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว

คำอธิบาย และแหล่งอ้างอิง

1. ในแต่สมัยความรู้เรื่องพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เช่น ลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการ และพระพุทธคุณ ฯลฯ มีการสืบทอดส่งต่อกันไป บ้างก็ผูกไว้ในบทมนต์ของดาบสและพราหมณ์ทั้งหลาย เมื่อพระพุทธองค์ยังไม่เสด็จอุบัติขึ้น ผู้หวังความหลุดพ้นจะออกบวชเป็นนักบวชนอกพระพุทธศาสนาก่อน เช่น เป็นฤาษี เป็นดาบส ฯลฯ นักบวชเหล่านี้จะฝึกสมาธิอยู่ในป่า บางคนก็ได้ฌานจึงล่วงรู้เหตุการณ์ต่างๆได้ แต่ไม่อาจบรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลได้ ต้องรอฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น

2. พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย เล่ม 72 หน้า 131 - 137 

--------------------------------------

ขอบคุณ FB.พระมหาสมคิด ชยาภิรโต

27 พฤษภาคม 2566

เอาสติตัวเดียวเป็นตัวตั้ง

#โอวาทธรรม
#หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล
โอวาทธรรม ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล

จิต เวลาปฏิบัติ เวลามันจะหยุดนิ่ง ปล่อยให้มันนิ่งไป อย่าไปรบกวนมัน 
ถ้าเวลามันจะคิด ปล่อยให้มันคิดไป 
เราเอาสติตัวเดียวเป็นตัวตั้ง เป็นจุดยืน

หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล
วัดดอนธาตุ จังหวัดอุบลราชธานี

การภาวนาให้จิตสงบ ให้ละเรื่องภายนอกอยู่เสมอ

#โอวาทธรรม 
#หลวงปู่เหรียญ_วรลาโภ

โอวาทธรรมหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ


      การที่ภาวนาจิตใจให้มันสงบลงไปได้ ก็เพราะมันเตือนใจของตนให้ละเรื่องภายนอกอยู่เสมอ ในเวลาที่ไม่ได้นั่งสมาธิภาวนา ก็ต้องเตือนใจให้ละอารมณ์ที่มากระทบทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ มันกระทบมาเวลาใด เราก็พิจารณากำหนดละมันในเวลานั้นไปเรื่อยๆ ให้จิตนี้เป็นปกติอยู่เสมอ ไม่ให้จิตนี้มันเปลี่ยนแปลงหวั่นไหวไปตามอารมณ์ที่มากระทบ

หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
วัดอรัญญบรรพต ต.บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

๕ เรื่องสั้นๆข้อคิดข้อธรรมดีดีจากหลวงพ่อฤาษีลิงดำ



๑.
เรื่อง.* บัญชีสำนักพระยายม กำหนดวันตายไว้แล้ว ทุกคน *

* โอวาท : 
หลวงพ่อฤาษีลิงดำ~พระราชพรหมยานฯ

" คนตายได้ทุกสถานที่  
ถ้าถึงวาระที่มันจะตาย ต้องทราบว่า.. ความตาย เขากำหนดสถานที่ และเวลาไว้แล้ว.. 

~ เราจะไปไหน 
ไม่ต้องกลัวหรอก ถ้ายังไม่ถึงวาระที่เขากำหนด มันก็ไม่ตาย..

* พอถึงวาระ
ที่เขากำหนดไว้แล้ว มันต้องตายแน่ เราจะไปคิดว่า.. ตายนอกบ้าน ตายในบ้าน ไม่แน่นอน..

* อยากจะรู้  
ก็ไปดูบัญชีที่ พระยายม ขอท่านดูได้ ว่า.. เราจะตายเมื่ออายุเท่าไร.. เป็นโรคอะไร.. ตายที่ไหน.. อาการตายเป็นอย่างไร.. เวลาตายเวลาเท่าไร.. มันรู้..

~ เขามีไว้ครบ 
ก่อนที่เราจะมาเกิด นี่.. เขาบอกเวลาตายไว้แล้ว เมื่อเราทราบอย่างนี้แล้ว ไม่ต้องคำนึงว่า มันจะตายเมื่อไร จะตายอย่างไรก็ช่าง.. จิตดวงนี้ เรามุ่ง นิพพาน อย่างเดียว..."

( จากหนังสือ *รวมคำสอนธรรมปฏิบัติ* ของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน เล่มที่ ๙ หน้าที่ ๑๕ ของวัดท่าซุง จ.อุทัยธานี )
----------
๒.
เรื่อง.* ภาพที่เห็น ก่อนตาย *

* โอวาท 
: หลวงพ่อฤาษีลิงดำ~พระราชพรหมยานฯ

..." ถ้าบารมีของเรายังอ่อน
ถ้าเวลาตาย.. เห็นกองไฟ.. มีความสุก เพราะอะไรรู้ไหม.. ปลาจะสุกได้เพราะไฟใช่ไหม.. นั่นลงนรกแน่นอน..  

~ ถ้าเห็นป่า .. 
จะเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน..  

~ ถ้าเห็นก้อนเนื้อ .. 
จะไปเกิดเป็นมนุษย์..  

* ทีนี้ 
ถ้าเราเป็นคนมีบุญ เมื่อมันจะตายจริง ๆ ถึงแม้จะมีบุญน้อย เรานึกถึงพระพุทธเจ้า ได้ นึกถึง "พุทโธ" ไว้.. 

* ขณะนั้น 
ถึงแม้จะมีทุกขเวทนาก็ตาม.. แต่ว่า ตอนต้นเรานึกถึง "พุทโธ" ไว้.. ก่อนจะตายประมาณ ๓ วัน จะมีรถทิพย์มารับ พร้อมกับเทวดานางฟ้าแวดล้อม..

* ถ้าเราเห็น
เทวดานางฟ้า อยู่ข้างหน้า.. พรหม อยู่ตรงกลาง.. พระอรหันต์อยู่ข้างหลัง.. เราก็เกิดบนสวรรค์..

* ถ้าเราเห็น 
พรหม อยู่ข้างหน้า.. พระอรหันต์อยู่ตรงกลาง.. นางฟ้าเทวดาอยู่เบื้องหลัง.. เราไปเกิดเป็นพรหม..

* ถ้าเราเห็น
พระอรหันต์อยู่แถวหน้า พระพุทธเจ้าอยู่แถวหน้า นั่นเราไป นิพพาน แน่..."

( จากหนังสือ *ธัมมวิโมกข์* พ.ศ.๒๕๖๓ ฉบับที่ ๔๗๓ ของวัดท่าซุง จ.อุทัยธานี )
---------
๓.
เรื่อง.* กายเสีย ปากเสีย เพราะใจมันเสีย *

โอวาท : หลวงพ่อฤาษีลิงดำ~พระราชพรหมยานฯ

..." ถ้าจิตของเรา ทรงอยู่ในพรหมวิหาร ๔ แล้วมีอะไรบ้าง ที่มันจะเกิดขึ้น นั่นก็คือ ศีลบริสุทธิ์ ไม่ต้องระมัดระวังศีล..  

~ ความเป็นผู้มีเหตุมีผล มีความเคารพในองค์สมเด็จพระทศพล ก็มีพร้อมบริบูรณ์ เพราะอะไร.. เพราะคนที่ทรงศีลบริสุทธิ์ ก็แสดงว่า มีความเคารพในพระพุทธเจ้า มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพ ในพระสงฆ์..

~ เพราะว่า.. พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทรงแนะนำให้จิตอยู่ในขอบเขตนี้ เรามีความเคารพในองค์สมเด็จพระชินศรี เป็นต้น เราจึงมีศีลบริสุทธิ์ เราจึงรู้จักอายความชั่ว เกรงกลัวความชั่ว..

~ จึงได้มีการประกอบความดี คือ จิตทรงพรหมวิหาร ๔ มี.. หิริ และ โอตตัปปะ นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ อยู่ที่ไหนก็มีแต่ความเยือกเย็น มีแต่ความเป็นสุข เราก็เป็นสุข บุคคลอื่นก็เป็นสุข เพราะ กายไม่เสีย ปากไม่เสีย..

* ถ้า.. กายเสีย ปากเสีย ก็แสดงว่า ใจมันเสีย เสียมากจนล้น มาถึงกาย ถึงวาจา นี่เป็นอันว่า ถ้าทรงคุณธรรมอย่างนี้ได้ ความเป็น "พระโสดาบัน" ก็ย่อมปรากฏ..."

( จากหนังสือ *รวมคำสอนธรรมปฏิบัติ ของ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน* เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๖ ของวัดท่าซุง จ.อุทัยธานี )
---------
๔.
เรื่อง.* นึกถึงลมหายใจเข้าออก ก่อนจับภาพพระ *

* โอวาท 
: หลวงพ่อฤาษีลิงดำ~พระราชพรหมยานฯ

" ที่ให้ภาวนา  
พุทโธ และให้นึกถึงภาพพระ นึกถึงภาพพระพุทธรูป เป็น พุทธานุสสติกรรมฐาน.. 

~ ถ้าหากว่า
พระสีเหลืองเป็นทองคำ เป็น ปีตกสิณ..

~ พระสีเขียว 
หรือ สีดำ เป็น นิลกสิณ..

~ พระสีขาว 
เป็น โอทาตกสิณ..

.. นี่เป็นได้ทั้งสองอย่าง และก็เป็นกสิณ ด้วย..

~ ทั้งพยายาม 
ทำจิตจับภาพพระพุทธรูปไว้ในใจ คือ เห็นลอยอยู่ตรงหน้า อยู่ตรงไหนก็ได้ ไม่ว่าอะไร ใช้ได้หมด..

* อย่างนี้ 
ไม่ช้า อารมณ์จิต ก็จะเป็นฌานโดยง่าย ทั้งเวลาจับภาพพระ จิตก็นึกถึงลมหายใจเข้าออกไว้ด้วย ลมหายใจ เข้าออกนี่ เราทิ้งไม่ได้ แต่ก่อนที่จะจับภาพพระ เราก็นึกถึงลมหายใจเข้าออกเสียก่อน..

* ทำใจให้สบาย 
แล้วค่อยจับภาพพระ จนกระทั่งจิตนี่ ทรงตัว.. นั่งอยู่ เดินอยู่ ยืนอยู่ ไปทางไหนอยู่ ภาพนั้นปรากฏ ติดตาติดใจอยู่ตลอดเวลา อย่างนี้ ชื่อว่า เราได้ฌานในกสิณ..."

( จากหนังสือ *รวมคำสอนธรรมปฏิบัติ ของ หลวงพ่อพระราชพรหมยา* เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๕ ของวัดท่าซุง จ.อุทัยธานี )
------
๕.
เรื่อง.* บุคคล ๔ ประเภท ~ บัว ๔ เหล่า *

โอวาท : หลวงพ่อฤาษีลิงดำ~พระราชพรหมยานฯ

..." อาตมาถือตามคำพระพุทธเจ้าว่า.. "นัตถิ โลเก อนินทิโต" คนไม่ถูกนินทาเลยไม่มีในโลก..

~ อย่าง พระพุทธเจ้า ทรงดีแสนดียังถูกคนด่าคนนินทา นี้เป็นเรื่องธรรมดา

~ ฉะนั้น ขอคนที่ฟังก็ดีก็อย่าเพิ่งนึกโกรธ เพราะคนเราที่เกิดมาในโลกนี้ พระพุทธเจ้าแบ่งอารมณ์ไว้ ๔ อย่าง..

๑. อุคฆฏิตัญญู

~ สำหรับขั้น "อุคฆฏิตัญญู" นั้น เป็นคนที่มีบารมีกำลังใจดีมาก และมีความเฉลียวฉลาดมาก มีความรอบคอบมาก จะพูดจะทำอะไรเรียบร้อยทุกอย่าง 

   ไม่มีทำให้ใครสะดุ้งสะเทือนสะดุด มีความหวังดีอย่างเดียว คือ.. ตั้งใจให้ทุกคนมีความสุขเมื่อเห็นท่าน ได้ยินเสียงท่านพูดจะมีความสุข บุคคลประเภทนี้ พระพุทธเจ้าบอกว่า.. บารมีเต็ม ท่านมีความฉลาดมาก แนะนำเพียงหัวข้อ ก็สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้

* วิปจิตัญญู

~ สำหรับบุคคลประเภทที่ ๒ รองลงมา "วิปจิตัญญู" นี้ มีบารมีเต็ม มีความฉลาดมากแต่ว่า.. ปฏิภาณไวน้อยกว่ารุ่นแรกหน่อยหนึ่ง แนะนำเพียงหัวข้อไม่เข้าใจ ต้องอธิบายนิดหน่อยจึงเข้าใจ แล้วก็บรรลุมรรคผล  

* เนยยะ

~ บุคคลอันดับที่ ๓ "เนยยะ" ชั้น เนยยะ นี้ ถ้าสอนเพียงเข้าถึงไตรสรณคมน์ ย่อมได้ ถ้าต้องการให้เป็นพระอริยเจ้าต้องปลุกปล้ำกันมากหน่อย  

* ปทปรมะ

~ สำหรับประเภทที่ ๔ "ปทปรมะ" ประเภท ปทปรมะ เป็นคนไม่มีเหตุไม่มีผล เป็นเพราะเป็นพวกมาจากอบายภูมิ มีความมุ่งหวังอย่างเดียว ทำลาย

   ใครจะทำความดีที่ไหนก็ช่าง หวังทำลายอย่างเดียว ถ้าทำร้ายเขาได้ อาจจะมีความสุขใจ ถ้าทำลายไม่ได้อาจจะมีความทุกข์ใจ 

* แต่ว่าคนประเภทนี้ หาความสุขอะไรไม่ได้เลย เพราะจิตใจเป็นจิตใจของสัตว์ในอบายภูมิ..." 

( จากหนังสือ *ธัมมวิโมกข์* พ.ศ. ๒๕๒๖ ฉบับที่ ๓๘ หน้าที่ ๒๐๔-๒๐๖ ของวัดท่าซุง จ.อุทัยธานี )

**ใช้ทุกขเวทนาให้เป็นประโยชน์


**สมเด็จองค์ปฐม **ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนพระธรรมไว้ดังนี้

**๑. ทุกขเวทนาเกิดขึ้นกับร่างกาย ให้เอาทุกขเวทนานั่นแหละสอนจิต ให้ยอมรับนับถือความไม่เที่ยงอันเกิดขึ้นตามความเป็นจริงของร่างกาย อย่าให้ทุกขเวทนาเป็นโทษแก่จิต ให้ใช้ทุกข์เวทนาให้เป็นประโยชน์แก่จิต ในการพิจารณาขันธ์ ๕ เป็นการได้เห็นอริยสัจในแง่ของวิปัสสนาญาณ**

**๒. พระอรหันต์ท่านรู้ละเอียดในทุกขเวทนา และทุกองค์ก็ใช้เวทนาเตือนจิต ไม่ให้มีความเผลอ ไม่มีความประมาทในชีวิต ทุกขเวทนาของขันธ์ ๕ เตือนจิตให้จิตของท่านทรงตัวอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา อุปมาดั่งคนเป็นแผลเนื้อร้ายอยู่ เห็นแผลก็เตือนถึงโรคที่เป็นอยู่ ทุกขเวทนาของพระอรหันต์ก็เช่นกัน เตือนถึงความไม่เที่ยงของขันธ์ ๕ ที่เป็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน**

**(ศึกษาธรรมจุดนี้แล้ว ทำให้เข้าใจดีเรื่องที่พระองค์ทรงตรัสกับพระอานนท์ว่า ตถาคตนึกถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก เธอยังนึกถึงความตายห่างเกินไป เพราะในขณะนั้นพระอานนท์ยังเป็นพระโสดาบันอยู่ จึงนึกถึงความตายเพียงแค่วันละประมาณ ๗ ครั้งเท่านั้น)**

ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๙** **เดือนมีนาคม ๒๕๓๙

รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

#สมเด็จองค์ปฐม2** **#ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น2

ศีลตัดทอนกำลังของกิเลส

#คติธรรม 
#หลวงพ่อพุธ_ฐานิโย
จงฝึกจิตฝึกใจ อาศัยความอดทนงดเว้นด้วยเจตนา ในเมื่อโลภ โกรธ หลง เกิดขึ้นมา เราไม่สนองความต้องการของมัน เราเอาศีลมาเป็นเครื่องสกัดกั้นเอาไว้ ก็ได้ชื่อว่าเป็นการขจัดกิเลสส่วนหยาบๆ ที่จะพึงล่วงเกินด้วยกาย ด้วยวาจา 
เมื่อเรางดเว้นกิเลสหยาบๆ ด้วยกาย ด้วยวาจา ได้โดยเด็ดขาด จนกระทั่งเจตนาความตั้งใจจะงดเว้นกลายเป็นเรื่องคล่องตัว 
จนรู้สึกว่าเราไม่ได้ตั้งใจที่จะงดเว้นโทษนั้น ๆ แต่เพราะอาศัย การงดเว้นที่คล่องตัวชำนิชำนาญจนเป็นนิสัย ทำให้เกิดพลังงาน ให้จิตมีความดูดดื่มในความดี มีแนวโน้มไปในทางที่เป็นบุญเป็นกุศล จนเป็นนิสัยฝังลึกลงไปในจิต เจตนาที่จะงดเว้นโทษนั้น ๆ ได้เป็นไปเองโดยอัตโนมัติ ได้ชื่อว่าเป็นการตัดทอนกำลังของกิเลส หรือหักปีกหักหางของกิเลสให้มันอยู่ 

แม้ว่ามันจะยังอยู่ในจิตใจ แต่เราไม่ทำอะไรตามคำสั่งหรือคำบงการของมัน ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้พยายามที่จะขจัดโทษอย่างหยาบ ที่จะล่วงเกินด้วยอำนาจของกิเลส ด้วยอำนาจแห่งศีล อันนี้คือข้อปฏิบัติ จุดประสงค์ของการสมาทานศีล กิเลสโลภ โกรธ หลง ที่มีอยู่ในจิตของเรานั่น เราจะตั้งใจละเอา ๆ ๆ นั่น มันละไม่ได้

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา

26 พฤษภาคม 2566

#พระสารีบุตรสอนการเป็นพระโสดาบัน


    พระสารีบุตรก็แนะนำด้วยการปฏิบัติตั้งแต่ต้นยันอรหันต์ ว่า "เวลานี้พวกผมเป็นปุถุชน ถ้าต้องการเป็นพระโสดาบันจะทำอย่างไรขอรับ
#ท่านก็บอกว่าตัดตัวเดียวคือ_สักกายทิฏฐิ สังโยชน์น่ะมันมี ๑๐ นะ ถ้าตัดกิเลสแต่ความจริงให้ตัดเฉพาะตัวหน้าตัวเดียว ถ้าเธอตัดสักกายทิฏฐิได้อย่างหยาบก็จะเป็นพระโสดาบัน

(#พระโสดาบันตัดร่างกายตัวเดียว)

คำว่า "สักกายทิฏฐิ" คือมีความรู้สึกว่าร่างกายเป็นเราเป็นของเรา เรามีในร่างกาย
ร่างกายมีในเรา ใช่ไหม ถือว่าร่างกายนี่มันเป็นเราเป็นของเรา เราเป็นเจ้าของกาย นี่เป็นความเข้าใจผิด แต่ความจริงร่างกายนี่มันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ร่างกายจะมีสภาพต้องทอดทิ้งไป ใช่ไหมเถ้าแก่ใหญ่ คนตายแล้วไม่มีใครเอาร่างกายไปเลยใช่ไหม เอาว่าย่อๆ แค่นี้ก่อนประเดี๋ยวไม่ต้องจบ

ให้ตัดสักกายทิฏฐิทิ้ง พิจารณาขันธ์ ๕ ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ถ้าพูดเข้าใจง่ายๆ ก็คือ “ร่างกาย” ว่ามันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ถ้าความรู้สึกอย่างหยาบเกิดขึ้นประจำใจคือทรงตัวเป็นฌาน ฌานอย่างหยาบ อย่างนี้เธอก็เป็นพระโสดาบัน

(#พระโสดาบันจะเป็นพระสกิทาคามี)

พระก็ถามว่า "ในเมื่อผมเป็นพระโสดาบันแล้วต้องการเป็นพระสกิทาคามีทำอย่างไร"
ท่านบอกว่า "ทำตัวนี้แหละ พิจารณาเรื่อยๆ ไป เมื่อจิตละเอียดลง คือจิตบรรเทาจากโลภะ ความโลภ โทสะ ความโกรธ โมหะ ความหลง

ไอ้ตัวแรกหมายความว่าทรงศีลบริสุทธิ์ ในเมื่อเห็นว่าร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ในเมื่อสภาพร่างกายมันตายเราต้องไป ไปไหนบ้าง ไปอบายภูมิบ้าง ไปสู่สุคติบ้าง เราก็เลือกเฉพาะสุคติ สุคติไปได้อย่างไร ต้องไปได้ด้วยความดี มีความเคารพในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ และมีศีลบริสุทธิ์ นี่ตัวแรกนะ อย่างนี้เป็นอย่างหยาบ

( พระสกิทาคามีรักษากรรมบถ ๑๐ ได้ครบถ้วน)

ต่อไปเมื่อต้องการเป็นพระสกิทาคามีทำอย่างไร 
ท่านบอกพิจารณาตัวเดิม จิตจะมีความรู้สึกละเอียดลง คือสามารถรักษากรรมบถ ๑๐ ไว้ได้ครบถ้วนนะ

กรรมบถ ๑๐ มีอะไรบ้าง คือ
☑️ทางกายก็คือ
 ๑.ไม่ฆ่าสัตว์
 ๒.ไม่ลักทรัพย์
 ๓.ไม่ประพฤติผิดในกาม

☑️ทางวาจาก็คือ
 ๑.ไม่พูดปด ไม่พูดมดเท็จ
 ๒.ไม่พูดคำหยาบ
 ๓.ไม่พูดส่อเสียด
 ๔.ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล

☑️ทางจิตใจก็คือ
 ๑. ไม่คิดอยากได้ทรัพย์สมบัติของใครโดยไม่ชอบธรรม
 ๒. ไม่จองล้างจองผลาญใคร
 ๓. มีความเห็นตรงตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอน จิตละเอียดลง
   “โลภ โกรธ หลง เบาลงมาก
    แต่เมื่อจิตเราละเอียดแบบนี้ จิตจะต้องบรรเทาความโลภ ความโกรธ ความหลง ความรู้สึกน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้สึกน้อยเต็มที่ ความโลภก็ดี ความโกรธก็ดี ความหลงก็ดี ฉันเหลือน้อยมากเบามาก จิตมีความละเอียดมาก

( ขั้นต่อไปเป็นพระอนาคามี)

ต่อไปพระก็ถามว่า “ในเมื่อผมเป็นพระสกิทาคามีแล้ว ต้องการเป็นพระอนาคามีทำอย่างไร"
ท่านสารีบุตรก็บอก "ทำตัวเดิมนั่นแหล่ะ ในที่สุดจิตมันตัด
🔹#กามฉันทะ ความพอใจในเพศ
🔹#ปฏิฆะ อารมณ์ไม่พอใจ คือความโกรธ มันจะตัดไปได้เอง ในเมื่อมันตัดไปได้แล้วก็
เป็นพระอนาคามี

(วางเฉยในร่างกายเป็นพระอรหันต์)

พระก็ถามต่อไปว่า “ในเมื่อผมเป็นพระอนาคามีแล้วผมจะเป็นพระอรหันต์ทำอย่างไร"
พระสารีบุตรก็บอกว่า "ทำตัวเดิมนั่นแหล่ะ ก็ตัดหมด ต่อไปเข้าถึง 
#สังขารุเปกขาญาณ #วางเฉยในอาการร่างกายทั้งหมด มันจะมีอะไรก็ตามถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา จิตไม่เป็นทุกข์ก็เป็นพระอรหันต์

( อรหันต์ทำหนักขึ้นเพื่อความเป็นสุข)

พระก็ถามต่อไปว่า "ถ้าเป็นอรหันต์แล้วก็เลิกทำใช่ไหม” นี่มาบทขี้เกียจ
พระสารีบุตรบอกว่า "ไม่ใช่ เป็นอรหันต์แล้วทําหนักขึ้นเพื่อความอยู่เป็นสุข

เห็นไหม นี่พูดให้ฟัง นี่ยังไม่ได้แนะนำพูดให้ฟัง

📚พิมพ์จากหนังสือธัมมวิโมกข์ ปีที่ ๒๘ ฉบับที่ ๓๐๙ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๙ หน้าที่ ๖๙~๗๐
⚜️คำสอนหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดจันทาราม(ท่าซุง) จ.อุทัยธานี
📍เพจ:คำสอนหลวงพ่อพระราชพรหมยาน , 🖊พิมพ์ธรรมทาน นภา อิน💕💕

จิตสงบมากเท่าไหร่ ปัญญาเกิดมากขึ้นเท่านั้น

เอาจิตให้อยู่ในระดับสายกลาง ไม่เครียด ไม่หย่อน ปฏิบัติไปอย่างสบาย ๆจึงจักมีปัญญาแทงตลอดในธรรมทั้งหลายได้ดี
สมเด็จองค์ปฐม ทรงตรัสสอนเป็นปกิณกะธรรม มีความสำคัญดังนี้

เอาจิตให้อยู่ในระดับสายกลาง ไม่เครียด ไม่หย่อน ปฏิบัติไปอย่างสบาย ๆ จึงจักมีปัญญาแทงตลอดในธรรมทั้งหลายได้ดี
เรื่องของคนอื่นให้ปล่อยวางไปเสียจากจิต เพราะกรรมใครกรรมมัน ให้คิดเสียว่าเราช่วยเขาไม่ได้เพราะในเรื่องของจิตใจจักต้องปฏิบัติกันเอาเอง ใครทำใครได้

และจงพยายามกันเรื่องของคนอื่นออกไปให้ได้มากที่สุดเท่าที่จักมากได้ สร้างความสงบสุขให้กับจิต จิตสงบมากเท่าไหร่ ปัญญาเกิดมากขึ้นเท่านั้น

ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๑๐ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๐
พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน ผู้รวบรวม
#สมเด็จองค์ปฐม2 #ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น2

ศาสนา ตั้งต้นที่กายกับใจ

#โอวาทธรรม
#หลวงปู่เทศก์_เทสรังสี
โอวาทธรรมหลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี

ศาสนา ตั้งต้นที่กายกับใจ

ศาสนา ตั้งต้นที่กายกับใจ 
เทวดา อินทร์ พรหม ไม่สามารถที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานได้ เพราะเหตุว่ามันสุขเกินไป 
เราเกิดมาเป็นมนุษย์นับว่าดีอักโขแล้ว 
ขอให้รักษามนุษยธรรมไว้ก็แล้วกัน
ถ้ารักษาไว้ไม่ได้ มันจะเลวลงไปกว่ามนุษย์นี้อีก ไปเกิดเป็นสิงสาราสัตว์ แต่ละภพชาติมันนานแสนนาน

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

หน้าที่ของ ภูมิเทวดา

**เรื่อง หน้าที่ของ ภูมิเทวดา หลวงพ่อฤาษีลิงดำ**
* หลวงพ่อฤาษีลิงดำ~พระราชพรหมยานฯ..ตอบปัญหาธรรม

ผู้ถาม : หลวงพ่อคะ..

~ บ้านทุกหลัง มีพระภูมิเจ้าที่ อยู่ไหมคะ..

หลวงพ่อฯ : เขาคงไม่อยู่นะ.. **พระภูมิองค์หนึ่ง รักษาเขตเป็นกิโล ๆ องค์เดียวกันนี่นะ**

**~ เคยถามเขาว่า : คนที่คุณรักษาในเขตกรุงเทพฯ เป็นกิโล นี่ คนมันมากเหลือเกิน มีเป็นล้าน แล้วคุณจะรู้ได้ยังไง ว่า เขาทำดีทำชั่ว ต่างกรรมต่างวาระ คุณรู้ได้ยังไง..**

~ เขาบอกว่า : **อารมณ์จิตผมเป็นทิพย์ครับ คือ ไม่ต้องไปถามดูหรอก มันขึ้นเอง คือว่า บัญชีมันขึ้นเอง มันจะบอกเลยว่า ใครทำอะไร.. เขาบอกว่า : เขามีหน้าที่รับทราบ คนที่ทำความดีความชั่ว.**

* **เมื่อถึงเวลาวันโกน วันกลางเดือน หรือ วันสิ้นเดือน จะมีเทวดาชั้นจาตุมหาราช มารับบัญชี และก็ จะไปส่งให้ เทวดาที่เป็นมหาอำมาตย์ใหญ่ เทวดาผู้ใหญ่ ก็เสนอท้าวมหาราช.**

~ **ท้าวมหาราช ท่านก็จะแบ่งบัญชี เป็น ๒ บัญชี ใครทำบาป กันไว้ประเภทของบาป.. ใครทำบุญ กันไว้ประเภทของบุญ.. ประเภทบาป ก็ให้เทวดา ๔ องค์ ที่เรียกว่า"เทวทูต" นำไปส่งสำนักพระยายม.**

* ตัวท่านท้าวมหาราชเอง พอเวลาวันพระ ก็นำไปส่งที่ประชุมของเทวดา บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อเทวดามาประชุมกัน ที่เทวสภา หรือ ศาลาสุธรรมา บรรดาเทวดาทั้งหลายเหล่านั้น เมื่อทราบว่าคนทำบุญมาก ก็ดีใจ.

~ แต่หน้าที่ ที่จะนำเอาบัญชีนั้นไปกราบทูล ให้พระอินทร์ทรงทราบ คือ "ท่านปัญจสิกขเทพบุตร" มีหน้าที่เป็นเลขาพระอินทร์ เมื่อพระอินทร์ทรงทราบแล้ว ก็ประกาศนามคนที่ทำบุญเหล่านั้น ให้มวลหมู่เทวดา ที่มาประชุมกันทราบ.

* ถ้าระหว่างวันพระไหน มีคนทำบุญมาก บัญชีบุญบัญชีกุศลมาก บรรดาเทวดาทั้งหลาย ก็ดีใจ กล่าวกันว่า.. ต่อแต่นี้ไปพวกบรรดาเทพนิกายมากแล้ว.

~ เพราะอาศัย ความดี ดีใจ ปลื้มใจ ที่มีพวกมาก ท่านก็พากันฟ้อนรำ ทั้งเทวดา และ นางฟ้า.. ความจริงสวยจริง ๆ นะ

* แต่วันพระไหน ถ้าบังเอิญคนทำบุญน้อย บรรดาเทวดาทั้งหลาย ได้ทราบจากบัญชีของท้าวมหาราช ก็สลดใจ วันนั้นไม่มีการฟ้อนรำ นั่งสลดใจเศร้าสร้อยไปตาม ๆ กัน..

( จากหนังสือ *หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม* เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๒๔ ของวัดท่าซุง จ.อุทัยธานี..คัดลอก โดย ยุพยง พัฒนเจริญ )

#รวมคำสอนพ่อแม่ครูอาจารย์2 #หลวงพ่อฤาษี

**พรหมกุมารลงมาเกิด หลวงพ่อฤาษี**


 จาก หนังสือ เรื่องจริงอิงนิทาน (พิเศษ)
 
 
 พอไปเกิดเป็นพรหมได้ชั่วครู่เดียว ก็มีพรหมชั้นผู้ใหญ่ทรงความเป็นพระอนาคามีมีนามว่า “ผกาพรหม” เข้ามาหาแล้วเรียกชื่อว่า “สัพเกศีพรหม” เป็นพรหมมีนามว่าสัพเกศี ตอนนี้ใครจะหาว่า มหาวีระอวดฤทธิ์อวดเดชก็เชิญนะ เชิญตามสบาย ตอนนี้เปิดกรุละ
 
 ท่านท้าวผกาพรหมบอกว่า ก่อนที่ท่านจะมาเป็นพรหม ท่านตั้งใจว่าจะให้คนไทยมีความสุข ท่านเป็นไทย เวลานี้ท่านจะมาเสวยความสุขอยู่เฉพาะผู้เดียว โดยไม่เหลียวแลคนไทยที่อยู่ข้างหลังนั้นไม่เป็นการสมควร เวลานี้ถ้าจะนับเวลาตั้งแต่ท่านออกจากกายสามเณรมาเป็นพรหมก็จะเป็นเวลาล่วงไปปีเศษ พระเจ้าพังคราชมีราชโอรสองค์แรกไปแล้วชื่อ **ทุกภิกขะกุมาร** เกิดในท่ามกลางความทุกข์มาได้ ๓ ปี แล้ว พระราชมารดาก็มีความสุข

สมควรที่ท่านจะลงไปเกิดเป็นลูกชายพระเจ้าพังคราช แล้วช่วยกู้ชาติไทยให้ปลอดภัยจากความเป็นทาส
 
 
 **หลังจากนั้น ท่านผกาพรหมก็ประกาศถามว่า พรหมองค์ใดบ้างที่นับถือพระพุทธศาสนา เคยเกิดเป็นคนไทยมาก่อน จะลงไปช่วยคนไทยที่มีความเร่าร้อนให้มีความสุข ก็มีพรหมอีก ๒๕๐ องค์ บอกว่าจะไปเกิดพร้อม ๆ กันเป็นสหชาติ จะเคลื่อนคลาดจากการคลอดบ้างก็ก่อนหลังกัน ๓ วัน
 **
 **เป็นอันว่า สัพเกศีพรหมไปเสวยสุขวิหารบนพรหมชั้นที่ ๑๑ เพียงครู่เดียว เวลาในเมืองมนุษย์ก็ผ่านไป ๑ ปีเศษ**เมื่อท่านผกาพรหมมาเตือนแบบนั้น และมีพรหมอีก ๒๕๐ ท่าน รับจะลงมาช่วยกัน **และมีพรหมอีก ๓ ท่าน บอกว่าจะมาช่วยเกิดเป็นช้างคู่บารมี**

**
 **
 เมื่อตกลงกันแล้ว ต่างคนต่างอธิษฐาน “ขอจุติละจากอัตภาพการเป็นพรหมลงมาเกิดเป็นลูกคนไทย”

ในวันนั้นพระราชมารดา คือ พระมเหสีของพระเจ้าพังคราช ประทับนอนตอนใกล้รุ่งทรงนิมิต (ฝัน) ไปว่า มีช้างเผือกเนื้อใสเป็นแก้วมีกำลังมาก เข้ามาในเขตพระราชฐาน นอกจากนั้นก็มีช้างเผือกขนาดย่อมกว่าหน่อยอีกประมาณ ๒๕๐ เชือก เข้าบ้านโน้นบ้านนี้บ้างถือวิสาสะขึ้นไปบนบ้านเขา

 
 แต่ช้างเผือกที่เป็นผู้นำมาใหญ่ และใสสะอาดมาก เป็นแก้วใสรัศมีกายสว่างเป็นพิเศษ มานั่งบนตักของพระองค์ ช้างตัวใหญ่แต่ก็รู้สึกเบา พระองค์ก็ทรงประคับประคองช้างเชือกนั้นไว้ พระองค์มีความรักคล้ายกับลูก แล้วก็ตื่นเช้ามืดใกล้เวลาหุงอาหารพอดี

จึงกราบทูลพระราชสวามีให้ทรงทราบว่าวันนี้ฝันประหลาด เวลาเช้าพระเจ้าพังคราชก็เรียกพระยาโหาราธิบดีเข้ามาเฝ้า เล่าความฝันของภรรยาว่าฝันแบบนี้จะเป็นยังไง พระยาโหราธิบดีก็ลงเลขฉบับ ๆๆ แล้วทำนายว่า

เด็กคนนี้มาจากพรหม ต่อไปจะมีอำนาจมาก จะนำไทยทั้งชาติให้เป็นสุข จะมีปัญญาดี จะมีความสามารถ และมีสหชาติ ๒๕๐ คน คือ ช้างแก้วที่เข้าไปเกิดตามบ้าน ขอพระจอมภูบาลได้โปรดให้การอารักขาเด็กในครรภ์ชองพระเมหสี ให้การอภิบาลเด็ก ๆ ในครรภ์ให้มีความสุข ทั้งนี้ เพราะจะเป็นกำลังใหญ่ของชาติ จะหมดจากความเป็นทาสของขอมต่อไป
 
 ....................................................

#**เรื่องจริงอิงนิทานพิเศษ**_**หลวงพ่อฤาษีลิงดำ**

#รวมคำสอนพ่อแม่ครูอาจารย์6 #หลวงพ่อฤาษี4

#ระวังจิตไม่ให้เป็นอารมณ์ห่วงใยกับสิ่งใดๆ

โอวาทธรรม 
หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต 
(โอวาทธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ)

🟫#ระวังจิตไม่ให้เป็นอารมณ์ห่วงใยกับสิ่งใดๆ

ความห่วงใยของจิตเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดอุปสรรคได้อย่างมากมาย เวลาจะพรากจากขันธ์ 
นักปราชญ์ท่านจึงสอนให้ระวังจิต 
ไม่ให้เป็นอารมณ์ห่วงใยกับสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น 
กลัวจิตจะประหวัดกับ สิ่งหนึ่ง สิ่งใด 
#ซึ่งเป็นที่รักบ้าง 
#เป็นอารมณ์ขุ่นมัวในใจบ้าง 
เช่น ความโกรธแค้นให้กับผู้หนึ่งผู้ใด
ขณะจิตจะออกจากร่าง เป็นขณะที่สำคัญมาก อาจไปเกาะเอาอารมณ์ที่ไม่ดีเข้า 
แล้วก็กลับมาเป็นไฟเผาตัว จากนั้นก็ไปเกิดในทุคติภพ มีนรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งล้วนเป็นภพกำเนิดที่ไม่พึงปรารถนา และให้ความทุกข์ร้อนตลอดภพนั้น ๆ

ฉะนั้นการฝึกอบรมจิต เมื่ออยู่ในฐานะที่ควรทำได้ จึงควรสนใจอย่างยิ่ง. 

(หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)
วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร
Cr. ธรรมะรักษาใจเพื่อการพ้นทุกข์
ขออนุญาตนำมาเผยแผ่เป็นธรรมทานค่ะ

#กรรมฐาน ๔๐.ห้อง เป็นน้องอานาปานสติ

อานาปานสติเป็นยอดมงกุฎของกรรมฐาน ทั้งหลายอยู่แล้ว ศาสนาอื่น ๆ นอกจากพุทธศาสนาแล้ว 
ไม่ได้เอามาสั่งสอนให้หัดปฏิบัติ

เพราะกรรมฐานอันนี้ 
บริบูรณ์พร้อมทั้งสติปัฏฐาน ๔. ไปในตัวด้วย
และเป็นแม่เหล็ก  ที่มีกำลังดึงกรรมฐานอื่น ๆ
ให้เข้ามาเป็นเมืองขึ้น ของตัวได้ 
เช่น พระมหาอนัตตคุณของพุทโธ  ธัมโม  สังโฆ
สีโล  จาโค  แก่  เจ็บ  ตาย  รูป  เวทนา  สัญญา สังขาร  วิญญาณเหล่านี้ เป็นต้น

ย่อมมีอยู่...จริงอยู่ 
พร้อมทุกลมหายใจออก-เข้าแล้ว แปดหมื่นสี่พัน-
พระธรรมขันธ์ย่อมจริง  ย่อมมีอยู่ ทุกลมหายใจออก-เข้าแล้ว  ไม่ต้องไปค้น ไปหา ไปจด ไปจำ ไปบ่น ไปท่อง ทางอื่น ก็ได้

ถ้าไม่หลงลมเข้า-ออกแล้ว
โมหะ  อวิชชา  วัฏจักร  มันจะรวมพลมาจากโลกหน่วยไหนล่ะ
หลงลมเข้า-ออก  ก็หลงหนังเหมือนกัน
ถ้าไม่หลงหนัง  ก็ไม่หลงลมเข้า-ออก  โดยนัยเดียวกัน

ดูโลก      ก็ดูทุกข์
ดูทุกข์     ก็ดูโลก
ดูสังขาร  ก็ดูทุกข์ 
ดูทุกข์     ก็ดูสังขาร
พ้นโลก   ก็พ้นทุกข์
พ้นทุกข์  ก็พ้นโลก
พ้นสังขาร  ก็พ้นทุกข์
พ้นทุกข์     ก็พ้นสังขาร
มีความหมายอันเดียวกันทั้งนั้น ไม่ผิด

รู้ลมออก-เข้า  ในปัจจุบัน
รู้ลมออก-เข้า  ในอดีต
รู้ลมออก-เข้า  ในอนาคต
รู้ ผู้รู้   ในปัจจุบัน
รู้ ผู้รู้   ในอดีต
รู้ ผู้รู้   ในอนาคต
แล้วไม่ติดข้อง อยู่...ในผู้รู้  ทั้งสามกาล
ผู้นั้น...
ก็ดับรอบแล้ว ในโลกทั้งสามด้วยในตัว

อวิชชา  
และสังขาร เป็นต้น   ก็ดับไป ณ ที่นั้นเอง
ไฟโลภ ไฟโกรธ ไฟหลง ก็ดับไป ณ ที่นั้นเอง."

โอวาทธรรมหลวงปู่มั่น  ภูริทตฺโต.

"อนัตตา" หรือ "สุญญตา" มีสอนแต่ในพระพุทธศาสนา

.
.... "คำสอนที่พระพุทธโคตมะ(สิทธัตถะ) ได้สอนด้วยพระองค์เองไม่ซ้ำใคร นั่นคือเรื่อง "อนัตตา" หรือ "สุญญตา"...
..... เราอาจจะอวดอ้างได้ว่า ในประวัติศาสตร์ของโลกเท่าที่ปรากฏชัดอยู่ ตั้งแต่ก่อนพุทธกาลมาจนกระทั่งบัดนี้ ไม่มีใครสอนเรื่อง "อนัตตา" หรือเรื่อง "สุญญตา"... 
.... นี่หมายความว่า เราพูดกันอย่างสิทธิอันชอบธรรมที่จะกล่าวอ้างว่า นี่เป็นของพุทธศาสนาแท้ ไม่มีในศาสนาอื่นหรือของคนอื่น เมื่อยกเอา Authority คือสิทธิของความเป็นเจ้าของในหลักวิชาขึ้นมากล่าวกันแล้ว ก็มีแต่เรื่อง"อนัตตา" หรือเรื่อง "สุญญตา" เท่านั้นที่เราจะกล่าวได้เต็มปากว่าเป็นของพุทธโดยแท้ คนอื่นจะมาแย่งสิทธิอันนี้ไม่มีทางที่จะทำได้ เพราะเขาไม่ได้สอนอย่างนี้ 
.... จะเห็นได้ว่าแคบถึงที่สุดแล้วระบุชัดลงมาถึงที่สุดแล้ว มีสอนเพียงประโยคเดียวว่า "สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา ว่างจากตัวตน ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น" นี่คือพุทธศาสนาทั้งหมด."
.
พุทธทาสภิกขุ 
ที่มา : ธรรมบรรยายอบรมผู้พิพากษา ปี ๒๕๐๑ หัวข้อเรื่อง"ความหมายของพุทธะ"
จากหนังสือชุดธรรมโฆษณ์ เล่มชื่อว่า "ตุลาการิกธรรม ๒"
---------------------------------------------
.
…. “ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ประโยคนี้เป็นภาษาบาลีก็มีว่า “สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย” ตามตัวพยัญชนะก็แปลว่า “ธรรมทั้งหลายทั้งปวงอันใครๆไม่ควรเพื่อเข้าไปยึดมั่นถือมั่น” หรือตามพยัญชนะจริงๆก็ว่า “ไม่ควรเพื่อจะฝังตัวเข้าไป” โดยอาศัยคำว่า “อภินิเวส” เป็นหลัก ซึ่งแปลว่า เข้าไปอย่างยิ่ง อย่างที่เราเรียกกันในภาษาไทยธรรมดาว่า ฝังจิตฝังใจ ฝังเนื้อเข้าไปในสิ่งนั้นๆจนหมดสิ้น นั่นแหละคืออาการที่เรียกว่า ความยึดมั่น คือมีจิตฝังเข้าไปยึดมั่นถือมั่น หรือว่ายึดมั่นด้วยการฝังจิตเข้าไป ด้วยความสำคัญมั่นหมายว่า “นี้ตัวเรา นี้ของเรา” ซึ่งกล่าวอย่างง่ายๆก็ได้แก่ ความรู้สึกว่า “ตัวกู-ของกู” ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั่นเอง
.
…. คำกล่าวประโยคนี้ ควรจะถือว่าเป็นหัวใจของพุทธศาสนา เพราะมีเรื่องราวกล่าวอยู่ในบาลีว่า เมื่อมีผู้มาทูลขอให้พระพุทธองค์ทรงประมวลคำสอนทั้งสิ้นให้เหลือเพียงประโยคสั้นๆเพียงประโยคเดียว พระองค์ก็ทรงทำดังนี้ และได้ตรัสประโยคที่ว่า “สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย” และทรงยืนยันว่า ถ้าได้ฟังคำนี้ก็คือได้ฟังทั้งหมด ถ้าได้ปฏิบัติในข้อนี้ ก็คือได้ปฏิบัติทั้งหมด ถ้าได้รับผลจากการปฏิบัติข้อนี้ ก็คือได้รับผลจากการปฏิบัติทั้งหมด ไม่มีอะไรมากไปกว่านี้ ดังนั้น จึงกล่าวว่า เป็นหัวใจของพุทธศาสนา.”
.
พุทธทาสภิกขุ
ที่มา : ธรรมบรรยายเรื่อง "สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น" เมื่อ วันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๐๔
-----------------------------------
.
สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย
ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น
( สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น )
.
…. “ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของมิคารมาตา ณ บุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ท้าวสักกะจอมเทพได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า
…. “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กล่าวโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้หลุดพ้นแล้วด้วยธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา มีความสำเร็จสูงสุด มีความเกษมจากโยคะสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”
…. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “จอมเทพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า “ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น” ถ้าข้อนั้นภิกษุได้สดับแล้วอย่างนี้ว่า “ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น” ภิกษุนั้นย่อมรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งธรรมทั้งปวงแล้ว...( แล้วทรงตรัสถึงผลหรืออานิสงส์ของข้อปฏิบัตินี้เป็นลำดับๆไป )
…. จอมเทพ กล่าวโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้หลุดพ้นแล้วด้วยธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา มีความสำเร็จสูงสุด มีความเกษมจากโยคะสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”
.
จูฬตัณหาสังขยสูตร
พระไตรปิฎกภาษาไทย (มจร.)
ม. มู. ๑๒/๓๙๐/๔๒๐

# ท. ส. ปัญญาวุฑโฒ - รวบรวม. #

#ปฐมฌานเป็นอย่างไร ?


การปฏิบัติจริงๆ จงอย่าบังคับเวลาของจิต  เวลาจริงๆ  เอาแค่จิตเป็นสุขในขณะที่ทำกรรมฐานไป  รู้ลมหายใจเข้าออก  รู้คำภาวนาไป  
จิตเริ่มเป็นสุข  มันจะเป็นสุขขนาดไหน  ก็พอใจขนาดนั้น แต่ว่า ถ้าจิตเริ่มเป็นสุข  อย่างนี้ไม่ใช่  ขณิกสมาธิ  เป็นอุปจารสมาธิ 

#ถ้าขณิกสมาธิ  เล็กน้อยยังไม่ถึงขั้นเป็นสุข  แค่รู้ลมหายใจเข้า  รู้ลมหายใจออกแค่ภาวนาประเดี๋ยวเดียว  จิตก็เริ่มเลือนหายไปจากอารมณ์ภาวนา ไปคิดโน่นคิดนี่ตามอารมณ์ 

บางทีก็ไปคิดอารมณ์ที่เราไม่เคยนึกไว้ก่อนก็ช่างมัน  พอรู้ตัวปั๊บว่า เลื่อนไหลไปแล้ว  ก็เริ่มต้นใหม่  รู้ลมเข้าออกใหม่  อย่างนี้ เป็น ขณิกสมาธิ.. 

อันนี้พอภาวนาไปด้วย รู้ลมหายใจเข้าออกไปด้วย " จิตเริ่มเป็นสุข"  มีความอิ่มเอิบ  มีความเบิกบานใจ  มีความชุ่มชื่นเกิดขึ้น  รู้สึกไม่อยากเลิกจากสมาธิ  จิตใจสบายมาก อย่างนี้เริ่มเข้าถึง ปีติ เป็นขั้น "#อุปจารสมาธิ"  เบื้องต้น 

หลังจากนั้น  ต่อไปอารมณ์จะเป็นสุข  
สุขยอดเยี่ยม อย่างที่ไม่เคยรู้สึกมาก่อน อย่างนี้ ชื่อว่าเป็นองค์ที่ ๔  เป็นสุขในสมาธิ  เป็นอาการเต็ม ของ  อุปจารสมาธิ

เมื่อหลังจากสุขแล้ว  ยังมีอาการทรงตัว  
ไม่สนใจอารมณ์ใดทั้งหมด  
มีการทรงตัวเฉย ๆ  และภาวนาอยู่
จิตมีอารมณ์โพลง ไม่ใช่หลับ  ไม่ใช่มืด จิตมีความสว่าง  
จิตทรงตัวเฉย ๆ  
อย่างนี้เป็น "#ปฐมฌาน"

------------
ที่มา : จากหนังสือ โอวาทหลวงพ่อวัดท่าซุง เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๔๙
แบ่งปัน : มงกุฎเพชร อภิญญา

**เมตตาได้เฉพาะคนที่ควรจักเมตตาเท่านั้น**

**สมเด็จองค์ปฐม **ทรงตรัสสอนปกิณกะธรรมไว้ มีความสำคัญดังนี้

**เรื่องของการพ้นทุกข์อยู่ที่จิต ไม่ใช่เรื่องของร่างกาย เพราะหากร่างกายนี้ไม่มีจิตอยู่แล้ว ก็ไม่มีความรู้สึกแต่อย่างไรให้พิจารณา จุดนี้ให้ดีๆ แล้วจึงจักวางอารมณ์ลงได้ด้วยเห็นกฎของความเป็นจริง**

**และจงอย่าฝืนใจใคร ให้วางกรรมใครกรรมมันให้จงหนัก เมตตาได้เฉพาะคนที่ควรจักเมตตาเท่านั้น**

**และควรมีกำหนดขอบเขตของความเมตตาด้วย มิใช่เมตตาจนเป็นที่เบียดเบียนตนเอง ถ้าทำอันใดไปแล้วคิดว่าเป็นเมตตา แต่สร้างความหนักใจและทุกข์ใจให้กับตนเอง จุดนั้นไม่ใช่เมตตา จับทางปฏิบัติให้ถูกแล้วจักถึงมรรคถึงผลได้ง่าย**

ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น** **เล่ม ๑๑เดือนมีนาคม ๒๕๔๑

รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

#สมเด็จองค์ปฐม2 ** **#ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น2

25 พฤษภาคม 2566

**ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา**

"อย่าเลย วักกลิ ร่างกายอันเปื่อยเน่าที่เธอเห็นนี้ จะมีประโยชน์อะไร? ดูกรวักกลิ ผู้ใดแล เห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเห็นธรรม. วักกลิเป็นความจริง บุคคลเห็นธรรม ก็ย่อมเห็นเรา บุคคลเห็นเราก็ย่อมเห็นธรรม."
 
 
 ข้อความข้างต้นนั้น พระพุทธองค์ตรัสต่อพระวักกลิ ปรากฏอยู่ในวักกลิสูตร เป็นข้อความที่ผู้สนใจศาสนาน่าจะได้รับรู้กันทุกคน
 
 ภาษาไทยที่แปลมาจากภาษาบาลีก็ดูง่ายๆ คือ “ผู้ใดแล เห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเห็นธรรม”
 
 แปลให้เป็นภาษาไทยอีกทีก็คือว่า ใครก็ตามเห็นธรรมะ บุคคลผู้นั้นก็ต้องเห็นพระพุทธเจ้า ถ้าใครเห็นพระพุทธเจ้า บุคคลผู้นั้นก็ต้องเห็นธรรมะ
 
** ไตรลักษณ์มีอยู่แล้วโดยปกติ**

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ตาม ธาตุ, ความตั้งอยู่แห่งธรรม, ทำนองแห่งธรรมอันนั้น ก็ตั้งอยู่แล้ว คือข้อที่ว่า **สังขาร (สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง)ทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ (ทนอยู่ไม่ได้) ธรรม (ทั้งสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง และไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง) ทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน** ตถาคตตรัสรู้เข้าใจทำนองธรรมนั้น ครั้นตรัสรู้แล้ว เข้าใจชัดแล้ว ก็บอก, แสดง, บัญญัติ, ตั้งไว้, เปิดเผย, แจกแจง, ทำให้ง่ายถึงข้อที่ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน."

ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๐/๓๖๘

#พระไตรปิฎก #รวมคำสอนพ่อแม่ครูอาจารย์10

จิตประภัสสร

#คติธรรม 
#หลวงพ่อปราโมทย์_ปาโมชฺโช
จิตประกัสสรผ่องใสได้ เพราะไม่มีราคะ โทสะ โมหะจรเข้ามา แต่เราปฏิบัติธรรมที่ไร ราคะ โทสะ โมหะ มาเยอะแยะเลย แล้วยังคิดว่าดีอยู่อีก อันนั้นเข้าใจผิดแล้ว ทำอย่างไรก็ไม่ได้ดี ไม่สงบหรอก เพราะฉะนั้น เราทำกรรมฐาน แล้วก็สังเกตจิตใจของเราไปสบายๆ จิตหลงไปคิด รู้ จิตถลำไปเพ่ง รู้
ไม่ได้ทำกรรมฐานด้วยราคะ ด้วยโทสะ ด้วยโมหะ เมื่อไรไม่มีราคะ โทสะ โมหะ เมื่อนั้นจิตก็ประกัสสร สว่าง ผ่องใส สบาย มีความสุข 

จิตที่ประภัสสรมันจะมีเวทนา คือความรู้สึกได้ 2 อย่าง คือมีความสุขเรียกว่าโสมนัสเวทนา กับอุเบกขาเวทนา ไม่สุข ไม่ทุกข์ เฉยๆ

ตัวจิตที่ประกัสสรนี้ เรียกภาษาที่ครูบาอาจารย์แต่ ก่อนท่านเรียก คือจิตผู้รู้อย่างหลวงตามหาบัวท่านบอก ตัวจิตผู้รู้นั่นล่ะคือจิตประภัสสร แต่เมื่อกี้หลวงพ่อบอกแล้ว
จิตที่ประกัสสรผ่องใสเฉยๆ แต่ไม่บริสุทธิ์ คนละเรื่องกัน ฉะนั้นจิตผู้รู้นี้ผ่องใสแต่ไม่บริสุทธิ์ ต้องมาฝึกวิปัสสนากรรมฐานต่อไป
เพื่อชำระล้างจิตผู้รู้ตัวนี้ หรือจิตประภัสสรตัวนี้ ชำระล้างจนมันเข้าถึงความบริสุทธิ์ "บุคคลเข้าถึงความบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา" ปัญญาก็คือการที่เราเห็นจิตใจของเรานี้ ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์

จิตที่เป็นจิตประกัสสรนั้น เดี๋ยวก็เศร้าหมอง เวลากิเลสมา จะห้ามกิเลสไม่ให้มา ก็ห้ามไม่ได้ กิเลสก็เป็นอนัตตา จิตก็เป็นอนัตตา
เราก็จะเห็นว่าจิตเดี๋ยวก็ผ่องใส เดี๋ยวก็เศร้าหมอง เฝ้ารู้เฝ้าดูอย่างนี้ ต่อไปปัญญามันก็เกิดจิตประภัสสร หรือจิตที่ผ่องใส หรือ
จิตผู้รู้นั้นสั่งให้เกิดก็ไม่ได้ เกิดแล้วรักษาไว้ก็ไม่ได้ จะห้ามกิเลสไม่ให้จรมาก็ไม่ได้ กิเลสมาแล้วจะไล่มันก็ไม่ไป แต่พอมีสติรู้ทันเท่านั้นเอง กิเลสดับทันทีเลย จิตก็ประภัสสรทันทีเลย

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วันสวนสันติธรรม
พระธรรมเทศนา หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช 22 เมษายน 2566

อานนท์ ปฏิบัติให้มาก ทำให้มาก แล้วจะสิ้นสงสัย


พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า
อานนท์ ปฏิบัติให้มาก ทำให้มาก แล้วจะสิ้นสงสัย
ความสงสัยจะไม่มีสิ้นไปได้ด้วยการคิด ด้วยทฤษฎี
ด้วยการคาดคะเน หรือด้วยการถกเถียง หรือจะอยู่เฉยๆ ไม่ปฏิบัติภาวนาเลย
ความสงสัยก็หายไปไม่ได้อีกเหมือนกัน
กิเลสจะหายสิ้นไปได้ ก็ด้วยการพัฒนาทางจิต
ซึ่งจะเกิดได้ด้วยการปฏิบัติที่ถูกต้องเท่านั้น
#ธรรมะ #อมตะธรรม #ธรรมะสอนใจ

สติปัญญาอัตโนมัติ

#โอวาทธรรม 
#หลวงตามหาบัว_ญาณสัมปันโน

โอวาทธรรมหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน


      ...เวลาเราฝึกนานเข้าๆ สติกับปัญญานี้จะกลมกลืนเป็นอันเดียวกัน เป็นสติปัญญาอัตโนมัติ ฆ่ากิเลสโดยอัตโนมัติเหมือนกัน ...คือสติปัญญาอัตโนมัตินี้เป็นเองตลอด ตั้งแต่ตื่นนอนพับจับติดปุ๊บเลย ติดตั้งแต่เมื่อไรก็ไม่รู้กระทั่งหลับ นี่เรียกว่าสติปัญญาอัตโนมัติ ไม่ต้องตั้ง..เป็นเองเสาะแสวงฆ่ากิเลสโดยอัตโนมัติ คุ้ยเขี่ยขุดค้นฆ่ากิเลสเป็นอัตโนมัติเหมือนกิเลสทำลายเราแต่ก่อนเป็นอัตโนมัติของมัน

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี

โลกธรรม 8

🌍โลกธรรม 8: รวม​ 8 เรื่องธรรมดาประจำโลก🌍 ที่ใครๆ ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้
☀️​1.ความหมาย "โลกธรรม 8"

โลกธรรม 8 หมายถึง ธรรมดาของโลก, เรื่องประจำของโลก​ หรือ​ ธรรมชาติของโลกที่ครอบงำสัตว์โลกและสัตว์โลกต้องเป็นไปตามธรรมดานี้ 

☀️​2. ธรรมดาของโลก 8 อย่าง

​ประกอบด้วยเรื่อง​ธรรม​ดาๆ​ ที่​แบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ 

🏵️2.1.อิฏฐารมณ์ คือ มีความพอใจ เป็นที่รักเป็นที่ปรารถนาของมนุษย์ 

🌷1. มีลาภ หมายความว่า ได้ผลประโยชน์ ได้ทรัพย์สินเงินทอง

🌷2. มียศ หมายความว่า ได้รับตำแหน่งสูงขึ้น มีอำนาจมากขึ้น

🌷3. มีสรรเสริญ คือ ได้รับสรรเสริญยกย่อง เป็นที่น่าพอใจ

🌷4. มีสุข คือ ได้รับความสบายกายและสบายใจ เบิกบาน

🏵️2.2. โลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ คือ มีความไม่พอใจ ไม่เป็นที่ปรารถนาของมนุษย์

🥀1.เสื่อมลาภ หมายความว่า เสียผลประโยชน์ ไม่ได้รับทรัพย์สิน

🥀2.เสื่อมยศ หมายถึง ถูกลดอำนาจลง ตำแหน่งตกต่ำลงไป

🥀3. มีนินทา หมายถึง ถูกตำหนิติเตียน นินทาว่าร้าย หรือถูกกล่าวร้ายจนเสียหาย

🥀4. มีทุกข์ คือ ได้รับทุกขเวทนา ทรมานกายและใจ

☀️​3.สรุปสาระสำคัญ​ของ​ "โลกธรรม 8" 

3.1 โลกธรรม 8 เป็นของคู่โลก

เมื่อมาอยู่ในโลกใบนี้ เราต้องยอมรับความจริงของโลกธรรม 8 ประการว่า มีลาภได้ ก็เสื่อมได้ มียศก็เสื่อมยศได้ มีคนสรรเสริญ มีคนนินทา มีสุข มีทุกข์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นของคู่โลก ใครก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ ป่วยการที่เราจะไปทุกข์ใจในสิ่งที่เกิดขึ้น

3.2 หลีกเลี่ยง​โลกธรรม​ 8​ ไม่ได้​

ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ไม่มีอะไรเที่ยง ไม่มีอะไรแน่นอน ไม่มีอะไรเป็นตัวของเราเอง ไม่มีใครในโลกนี้จะพบแต่ความสมหวังตลอดชีวิต จะต้องพบกับคำว่าผิดหวังบ้าง 

3.3 เรียน​รู้​ให้​เข้า​ใจ, ตั้ง​สติ​ยอมรับ​และอยู่กับ​ความเป็นจริง​ให้​ได้​

ผู้มีปัญญาได้รับการศึกษาอบรมมาอย่างดีแล้ว พึงทำใจเอาไว้กลางๆ ว่า มีคนนินทา ก็ต้องมีคนสรรเสริญ มีสุขก็ต้องมีทุกข์ มีลาภย่อมเสื่อมลาภ มียศก็ย่อมเสื่อมยศ หากเราหวังอะไรเกินเหตุ เมื่อเวลาเราผิดหวัง ไม่สมหวัง ให้ทำใจไว้ว่านั่นคือโลกธรรมทั้ง 8 คือ
มีได้ก็ต้องเสื่อมได้ เป็นของธรรมดาในโลกนี้ ไม่ว่าสัตว์หรือบุคคลใด ก็ย่อมหนีสิ่งเหล่านี้ไปไม่พ้น เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์ ก็ย่อมหนีสิ่งเหล่านี้ไปไม่พ้นอย่างแน่นอน เพราะเมื่อไม่สมปรารถนาตามที่ตนเองคิดไว้ จะได้ไม่ต้องมานั่งเสียอกเสียใจ รำพึงรำพันกับตัวเองถึงความไม่สมหวัง จะได้ไม่ต้องเป็นทุกข์มาก

☀️​4. เพราะฉะนั้น​ รักษาใจของเราให้เป็นกุศลล้วน ๆ อย่าให้มีสิ่งใดเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ หาก​มีปัญหาก็แก้ไข​ด้วยสติปัญญา อย่าใช้อารมณ์ ประ​คับ​ประคอง​หน้า​ที่การงานกันต่อไป หมั่น​สั่งสม​บุญบารมี​กันต่อเนื่อง​กัน​ไปโดยเฉพาะ​ทำทาน, รักษาศีล, สวดมนต์​และ​ทำสมาธิ​เจริญ​ภาวนา​

สรุปวิธีการรับมือ "โลกธรรม 8" ซึ่งเป็นของคู่โลก เรียบเรียงจากทบทวนคำสอนหลวงพ่อธัมมชโย

1. ยอมรับโลกธรรม 8 คือของคู่โลก ใครๆก็หลีกเลี่ยงไม่ได้
2. ตั้งสติ ในสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ว่าดีหรือร้าย
3. รักษาใจให้เป็นกุศลล้วนๆ อย่าให้เศร้าหมอง
4. แก้ปัญหาด้วยปัญญา ไม่ใช้อารมณ์
5. ดำรงชีวิตและทำภารกิจต่อไป 6. สั่งสมบุญ ทาน ศีล ภาวนา ต่อไป

🔰ที่มา :

1.โลกวิปัตติสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต (ฉบับหลวง)

https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=23&item=96&items=1

2.ทบทวนคำสอนของหลวงพ่อธัมมชโย

24 พฤษภาคม 2566

#ปัจฉิมโอวาทของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค

      หลวงพ่อปาน โสนันโท มรณภาพวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๔๘๑ เวลา ๑๘.๐๐ น.ตรงกับวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๘ รวมสิริอายุ ๖๓ ปี ๔๓ พรรษา ท่านได้กำหนดวันและเวลามรณภาพของท่านไว้ล่วงหน้าถึง ๓ ปี ก่อนมรณภาพท่านให้โอวาทเป็นครั้งสุดท้าย ให้ศิษย์ทุกคนอย่าทิ้งกรรมฐาน ฆราวาสอย่าทิ้งคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า จะเอาตัวรอดได้

ณ โอกาสนี้ ขอคัดย่อข้อความส่วนท้ายจากเทปที่หลวงพ่อฤาษีฯ ท่าน บันทึกไว้ในประวัติหลวงพ่อปาน มาให้ได้อ่านกันครับ

#ปัจฉัมโอวาทของหลวงพ่อปาน

ท่านบอกว่า “ลูกทุกคน เมื่อพ่อตายไปแล้ว จงอย่าทิ้งกรรมฐานที่พ่อให้ไว้ เป็นกรรมฐานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่าถือว่าเป็นของพ่อ ต้องถือว่าเป็นของพระพุทธเจ้า

ฆราวาสทุกคนอย่าทิ้งคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้านะ แล้วจะเอาตัวรอดได้ แต่ถ้าใครไม่ปฏิบัติจะเอาตัวไม่รอด แล้วจะมาโทษพ่อไม่ได้ เพราะสมบัติส่วนใหญ่พ่อให้ไว้หมดแล้ว คือมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ พรหมสมบัติ นิพพานสมบัติ พ่อให้หมดแล้ว ลูกทุกคนจงพยายามรักษาไว้ให้ดี” …แล้วท่านก็อธิบายกรรมฐานตามสมควร…

ฯลฯ นี่เรื่องของหลวงพ่อปานขอเล่าย่อๆ นะ เอาแค่ตาย เพราะท่านตายดี และไอ้ความตายนี่บรรดาท่านผู้ฟังทุกท่านจงจำไว้ว่า คนเราจะเกิดมาอยู่ในฐานะเช่นใดก็ตาม มันต้องตาย

#ไม่กลัวความตาย

ไอ้ความตายนี่อย่าไปกลัวมันเลย ไม่ควรกลัวตาย คนเราเดินเข้าไปหาความตายทุกวัน ถ้าขืนไปกลัวความตาย มันก็หลอกตัวเอง คนไหนยังหลอกตัวเอง คนนั้นยังเอาดีไม่ได้

ต้องพยายามรู้ตัวไว้เสมอ ว่าเราเกิดมาเพื่อตาย นี่เป็นอันดับแรก แล้วก่อนที่จะตาย เราต้องรับผลของกรรม กรรมมีอยู่ ๒ อย่างคือ กรรมดีอย่างหนึ่ง กรรมชั่วอย่างหนึ่ง

#ผลของกรรม

กรรมชั่วที่เราทำไว้ในชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี มันให้ผลเป็นทุกข์ จำไว้นะ การป่วยไข้ไม่สบายก็ตาม ความขัดข้องในทรัพย์สมบัติก็ตาม ความเดือดร้อนใดๆ ก็ตาม ที่มันประสบกับเราในชาตินี้ นั่นคือผลของความชั่วในชาติที่เป็นอดีต หรือความชั่วที่เราสร้างในชาตินี้ มันให้ผลเป็นความเร่าร้อน

ถ้าผลอันใดเกิดจากความสุขกายสบายใจ ความรื่นเริงหรรษา นั่นมันเป็นผลของความดีที่เราทำไว้แต่ชาติก่อนให้ผล หรือว่าความดีในชาตินี้ให้ผล

#มีบางคนตัดพ้อ

บางรายบอกว่าบุญก็ทำ ผ้าป่าก็ทอด กฐินก็ทอด บาตรก็ใส่ ทำไมยังป่วยไข้ไม่สบาย มีความเจ็บไข้เรื่อย มีเรื่องนั้นเรื่องนี้เข้ามาเป็นทุกข์ทำให้เกิดความเดือดร้อน ถึงกับเบื่อหน่ายในการทำบุญทำกุศล โทษพระพุทธศาสนาว่าไม่ช่วย อันนี้ฉันได้ฟังบ่อยๆ

คนประเภทนี้ไม่ไหวหรอก ชาตินี้เป็นทุกข์ แล้วชาติหน้าก็ยังเป็นทุกข์ ทุกคนควรจะรู้ตัวว่า การเกิดมานี้เราไม่ได้เกิดมาดีกันนี่ ถ้าเราเป็นคนดีเราจะมาเกิดทำไม เราก็ไปนิพพานแล้ว ไอ้ที่เรายังเกิดอยู่ เพราะเรายังมีเลวอยู่มาก ควรจะรีบชำระสะสางความเลวให้สิ้นไป ควรจะเป็นคนรู้ตัวดีกว่า อย่าเป็นคนเห็นแก่ตัว ไอ้คนรู้ตัวกับคนเห็นแก่ตัวมันต่างกัน

#ต้องคิดไว้อยู่เสมอ

เมื่อเรารู้ตัวว่า
๑.เราเกิดแล้วเราจะต้องเจ็บไข้ไม่สบาย นี่เป็นเรื่องธรรมดา
๒.เราจะต้องแก่
๓.เราจะต้องกระทบกระทั่งกับอารมณ์ที่เราไม่ปรารถนาและที่เราไม่ต้องการ
๔.เราจะต้องตาย คิดให้รู้ไว้ เมื่อรู้แล้วอย่างนี้ ถ้าอะไรมันมากระทบ เราก็รู้ตัวแล้วว่ามันจะต้องมี

เหมือนกับคนเดินไปข้างหน้า รู้ว่าข้างหน้ามีแม่น้ำขวาง เมื่อไปถึงพบแม่น้ำเข้าจริงๆ ก็ไม่มีการตกใจ เพราะรู้ว่ามีแม่น้ำ จะได้หาพาหนะเตรียมการเพื่อข้ามน้ำ ข้อนี้มีอุปมาฉันใด ชีวิตของเราก็เหมือนกัน

ถ้าบุคคลทั้งหลาย รู้ว่าสภาวะความเป็นจริงว่า เกิดมาแล้วมันมีแต่ความทุกข์ ทุกข์เพราะอาหาร ทุกข์เพราะการบริหารการงาน ทุกข์เพราะการกระทบกระทั่ง ทุกข์เพราะการป่วยไข้ ทุกข์เพราะความแก่ ทุกข์เพราะความตาย ทุกข์เพราะความพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น นี่มันเป็นตัวทุกข์ รู้แล้วว่ามันจะต้องทุกข์ เราก็ทำให้มันไม่ทุกข์เสีย ถ้ามันกระทบอะไรเข้า เราก็รู้สึกว่าอันนี้มันธรรมดา เรารู้อยู่แล้ว

แล้วเราก็คิดต่อไปด้วยว่า ทุกข์อันนี้เราจะให้มีแต่ชาตินี้ชาติเดียว ชาติต่อไปไม่ให้มันมีอีก หมายความว่า เราจะไม่เกิดมาเพื่อให้ทุกข์อีก ถ้ายังเกิดตราบใด เราก็ยังต้องมีความทุกข์อยู่เพียงนั้น

#ไม่เกิดต้องทำอย่างไร

ทีนี้คนที่จะไม่เกิดต้องทำอย่างไร มันทำไม่ยาก ทำง่ายๆ คือ

๑.รักษาศีลให้บริสุทธิ์ คนรักษาศีลน่ะเป็นคนดี ไอ้คนไม่มีศีลน่ะเป็นคนระยำ จำไว้ให้ดี ถ้าเราอยากจะเป็นคนดี เราต้องเป็นคนมีศีล ถ้าเรายังปฏิบัติศีลไม่ได้ ให้รู้ตัวว่าเราระยำเต็มทีแล้ว เลวเต็มทีแล้ว ให้รู้ตัวไว้ อย่าเป็นคนเข้าข้างตัว จงเป็นคนรู้ตัวดีกว่าคนเข้าข้างตัว

๒.รักษาสมาธิให้ตั้งมั่น ซึ่งเป็นของที่ไม่ต้องลงทุน

๓.ปลงสังขาร ไว้ว่า โลกทุกโลกเป็นแดนของความทุกข์ สังขารทุกสังขารเป็นดินแดนของความทุกข์ เราจะเกิดเป็นมนุษย์ก็ดี เทวดาก็ดี พรหมก็ดี ก็ไม่พ้นทุกข์

ถ้าเกิดเป็นเทวดาหรือพรหม ก็ต้องกลับมาเกิดเป็นมนุษย์หรือสัตว์เดรัจฉาน เราไม่ต้องการโลกทั้ง ๓ ประการ และไม่ต้องการอะไรทั้งหมด ขึ้นชื่อว่ามนุษยโลกก็ดี เทวโลกก็ดี พรหมโลกก็ดี ไม่ใช่สิ่งที่เราปรารถนา สิ่งที่เราปรารถนาจริงๆ ก็คือ พระนิพพาน ภาวนาไว้ว่า สิทตะมหานิพพานัง หรือ นิพพานัง เฉยๆ ก็ได้ นึกไว้ว่า นิพพานๆ เราต้องการพระนิพพาน

#เราต้องการนิพพาน

โลกนี้ทั้งหมดเราไม่ต้องการอะไร ความรัก ความเกลียด ความโกรธ ความเร่าร้อน เราถือเป็นของธรรมดา อะไรจะมากระทบกระทั่ง นั่นถือเป็นเรื่องธรรมดา เราจะเปลื้องสมบัติสภาวการณ์ต่างๆ ของโลกให้สิ้นไป

เราอยู่กับโลก เราจะอาศัยโลกและสมบัติของโลกชั่วคราว เมื่ออัตตภาพมีอยู่ เมื่อความสิ้นไปแห่งอัตตภาพมีเมื่อไหร่ เมื่อนั้นแหละเราจะไปพระนิพพาน

#ไม่อยากเกิดอีก

แล้วก็สร้างความไม่พอใจ แต่ว่าไม่เคียดแค้น คือถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา เห็นโลกก็ดี เห็นวัตถุก็ดี เห็นคนก็ดี เห็นสัตว์ก็ดี คิดว่าสภาพทั้งหลายเหล่านี้ เป็นดินแดนที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ทั้งนั้น เป็นดินแดนของความเกิด เราจะไม่ปรารถนาต่อไป

เมื่อมีก็ใช้ ไม่มีก็แล้วไป เมื่อมันทรงอยู่ได้ก็จะทรง เมื่อมันจะตายก็ตามที อัตตภาพนี้ตายเสียได้เร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดี เพราะเราไม่มีความปรารถนา เรารังเกียจมัน เพราะร่างกาย ทุกข์ก็ไม่ปรากฏ ความเร่าร้อนก็ไม่ปรากฏ ฉะนั้น…ขึ้นชื่อว่าความเกิดทั้งสิ้นเราไม่ปรารถนากันอีก.

บัวสี่เหล่า

๑. อุคฆฏิตัญญู(บัวพ้นน้ำ) คือ พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็วเปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำเมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที

๒. วิปจิตัญญู(บัวปริ่มน้ำ) คือ พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติมจะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำซึ่งจะบานในวันถัดไป

๓. เนยยะ(บัวใต้น้ำ) คือ พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิเมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอบด้วยศรัทธาปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อย ๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง

๔. ปทปรมะ(บัวจมน้ำ) คือ พวกที่ไร้สติปัญญา และยังเป็นมิจฉาทิฏฐิแม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียร เปรียบเสมือนดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน

~~~~~~~~~~~~~~~~~
เกร็ดความรู้เพิ่มเติม : 
ความจริงแล้ว พระพุทธเจ้าเล่าพุทธประวัติด้วย
พระองค์เอง ว่าพิจารณา ดอกบัว 3 เหล่า คือ บัวปทุม บัวอุบล บัวบุณฑริก บางดอกของแต่ละเหล่า อยู่ในน้ำ 3 ระดับ คือ ในน้ำ ปริ่มน้ำ และ พ้นน้ำ

แต่อรรถกถาเป็นแบ่งเป็น 4 เหล่าโดยแบ่งตาม
ระดับที่อยู่ในน้ำ คือ พื้นน้ำ ในน้ำ ปริ่มน้ำ และ
พ้นน้ำ เปรียบเทียบกับคน 4 จำพวกคือ ปทปรมะ
เนยยะ วิปัจจิตัญญู และ อุคฆฏิตัญญู ตามลำดับ
#บัวสี่เหล่า

อ้างอิง:
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/m_siri.php?B=4&siri=6

การสมาทานพระกรรมฐาน

"".....ตัดสินใจทันทีว่า รูปกายประเภทนี้มันเลวที่สุด ร่างกายเราก็เลว ร่างกายบุคคลอื่นก็เลว ร่างกายของสัตว์ก็เลว วัตถุธาตุก็เลว เพราะมันมีสภาพไม่เที่ยง มันสกปรกมันเป็นทุกข์ และก็มีการสลายตัวในที่สุด ไม่ช้ามันก็ตาย เรามีกายไว้มีแต่โทษ มีแต่ทุกข์ มีแต่ความหิว มีแต่ความกระหาย ป่วยไข้ไม่สบาย แก่ลงไปทุกวัน มีกิจการต่าง ๆ กวนใจอยู่เสมอ ไม่มีความสุข ร่างกายนี้มีเท่าไรมันก็มีความทุกข์เท่านั้น ขึ้นชื่อว่าร่างกายเลว ๆ อย่างนี้ จะมีกับเราชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย
เมื่อสิ้นลมปราณเมื่อไร ร่างกายเลว ๆ อย่างนี้จะไม่มีกับเราอีก เราต้องการอย่างเดียวคือ พระนิพพาน ถ้าตัดสินใจอย่างนี้กำลังจิตจะสะอาดสะอ้านมาก และก็หลับตาดูลูกแก้ว หรือลืมตาดูพระพุทธรูปหรือแสงสว่าง หลับตาฝึกดูพระพุทธรูปหรือแสงสว่าง อย่างนี้จิตจะแจ่มใส
เมื่อกำลังใจดี พุ่งกำลังใจไปจับ พระรูปพระโฉม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะเห็นชัดเจนแจ่มใส หลังจากนั้น ถ้าต้องการรู้อะไรเห็นอะไร ก็อาราธนาบารมีองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาให้ทรงช่วย เพราะว่าสมาธิของเรามีวงแคบ จะเห็นอะไรชัดเจนทุกอย่าง....""

:ที่มาจากโอวาท
หลวงพ่อพระราชพรหมยานเล่ม๒หน้า๑๐
{หลวงพ่อฤาษีลิงดำ}
วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

อย่าทิ้งคุณงามความดี

"..ขอให้พวกเราเผชิญกับความจริง คือการเปลี่ยนแปลงตามคำสอนของพระพุทธเจ้าของเรา เพราะฉะนั้น เราจะต้องเป็นผู้มีใจเข้มแข็ง ในชีวิตของเราทุก ๆ คน จะตกไปอยู่ที่ไหน ก็สร้างคุณงามความดี ถึงแม้จะหมดชีวิตไป ก็อย่าทิ้งคุณงามความดี คือข้อประพฤติปฏิบัตินั่นแหละมันดี อย่างอื่นมันดีไม่ได้หรอก อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ โก หิ นาโถ ปโรสิยา ตนแหละเป็นที่พึ่งของตน คนอื่นใครจะเป็นที่พึ่งเราได้ อันนี้มันเป็นความจริง อะไรทุกสิ่งทุกอย่าง ถึงคราวมันจะเป็นไปแล้วก็เป็นไป อย่าไปคิดอะไรมากลำบากตัวเองเปล่า ๆ จงอุตส่าห์ทำมาหาเลี้ยงชีพโดยสุจริต ดำรงชีวิตสร้างความดีต่อไป ให้มีความสามัคคี เอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือกัน มีความเมตตาอารีต่อกัน จะอยู่ที่ไหนก็ไม่มีใครอยู่ได้นานเท่าไหร่หรอก เดี๋ยวเราก็พากันจากกันไปหมดนั่นแหละ.."
 

พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท)
วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี จากหนังสือ : อุปลมณี หน้า ๕๒๖
🙇🏻‍♂️คู่กรรมคู่บารมี📖🖋️

ความสุขที่แท้

"... เราคิดว่า "กิน" นี่แหละคงจะเป็น.. 
ความสุขแน่ละ เราก็พยายามไปหามา
ให้มันกิน ครั้นกินๆ เข้าไปมากก็เกิดอึดอัด
ไม่สบายอีก 
... คิดว่า "นอน" นี่แหละต้องเป็นความสุข
แน่ละ เราก็นอน.. นอน วันยังค่ำจนหลังมัน
แข็ง ก็เกิดความไม่สบายอีก 

... คราวนี้คิดว่า "เงินทองทรัพย์สมบัติ"
นี่แหละคงเป็นความสุขแน่นอน เราก็.. 
พยายามไปหาเงินทองมาใช้จนเต็มที่ แต่..
มันก็ไม่สุขอีก 

#แล้วอะไรเล่า_ที่เป็นความสุขอันแท้จริง..!! 

... ความสุขที่แท้จริง ย่อมเกิดจาก บุญกุศล
คือ ความสงบที่เกิดขึ้นในจิตใจ ใจที่พ้นจากทุกข์โทษความดิ้นรน.. ไม่มีกระสับกระส่าย เดือดร้อนกระวนกระวาย ถ้าใครมานั่งหลง
โลก.. ติดโลก.. ว่ามันเป็นของดีวิเศษวิโสอยู่นั่น มิใช่นิสัยของบัณฑิตผู้ใฝ่ใจในธรรมของพระพุทธเจ้า ..."

#เพราะฉะนั้นเราจงพากันตั้งอกตั้งใจประกอบบุญกุศล_เพื่อจะให้เป็นทางที่พ้นไปจากโลกนี้ #นั่นแหละจะเป็นหนทางที่ถูกต้อง"
____________
#โอวาทธรรม✍️📖
#ท่านพ่อลี_ธัมมธโร🙏🙏🙏
วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ🇹🇭
⚜️⚜️⚜️⚜️⚜️⚜️⚜️⚜️⚜️⚜️⚜️

#ธาตุรู้_ธาตรู้อยู่ไหน?

ในระหว่างที่จิตเนี่ยมันอยู่ด้วยกาย อาศัยกายอยู่ 

ธรรมดาแหละเวลาร่างกายมันเจ็บป่วยไข้เป็นอะไรขึ้นมา
มันถูกดันบ้างถูกบีบบ้าง ทำให้แน่นอึดอัดขัดข้องบ้าง
ถ้าปัญญาของเรากำลังของเราเหตุปัจจัยมันไม่ถึง
มันก็ต้องไปเกาะไปเกี่ยวเวทนาเป็นธรรมดา
แต่ว่าเรากำลังที่จะสอนจิตเราให้มันรู้
นั่งนาน เวทนามา จิตมันจะได้รู้ไง
เพราะฉะนั้น #ต้องเข้าไปหาจิตให้ได้
#ธาตุรู้_ธาตรู้อยู่ไหน?
ให้มันรู้อยู่เฉยๆ รู้อยู่เฉยๆ
อันนี้เรา #ต้องเชื่อเด็ดขาดลงไปว่าจิตของเราเป็นแค่ธาตุรู้
มันเป็นอย่างอื่นไม่ได้ มันจะเป็นเวทนาธาตุไม่ได้
เวทนาธาตุมันอยู่ที่ร่างกายเท่านั้น จิตไม่มีเวทนา
แต่มันจะมีเวทนาก็ต่อเมื่อตัวจิตเนี่ยมันไปเสวย
มันไปเอาเข้ามา เวทนาจึงแปลว่าการเสวยอารมณ์
จิตไปเสวยทุกขเวทนา
เวทนามันก็เข้ามาทำให้จิตเป็นทุกข์
แต่จริงๆ แล้วมันเป็นแค่เวทนาธาตุ มันไม่ใช่ธาตุรู้ 
มันไม่ใช่วิญญาณธาตุ ตัววิญญาณธาตุคือตัวรู้นี่
เพราะฉะนั้นเวทนาก็กลายเป็นสิ่งถูกรู้ไป 
จะเป็นเวทนาทางกายก็ตาม เวทนาทางจิตก็ตาม
จิตต้องกล้าหาญที่จะปล่อย 
นี่คือปัญญาที่มันรู้แจ้ง ปัญญาขั้นสุดท้าย
จิตมันเข้าไปถึงความจริงนี้ 
.
พระอาจารย์ครรชิต สุทฺธิจิตฺโต
วัดป่าภูไม้ฮาว จ.มุกดาหาร

#สงบจากตัวกระทบเรียกว่าการภาวนา


"ดังนั้นสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราท่านจึงว่า เมื่อเราเห็นรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ  ธรรมารมณ์เกิดขึ้นมาแล้ว ควรปล่อยเขาไปเสีย 
#เมื่อหู  ได้ยิ่นเสียงก็ปล่อยเขาไปเสีย 
#เมื่อจมูก  ได้กลิ่นก็ปล่อยเขาไปเสีย  
#เมื่อรส  มันเกิดขึ้นกับ ลิ้น ของเราก็ปล่อยมันไปเสีย  
#เมื่อโผฏฐัพพะ  ที่ถูกต้องด้วยกายเกิดขึ้นมา ชอบใจไม่ชอบใจ  ก็ปล่อยเขาไปเสีย 

ให้กลับไปที่เดิมของเขาเสีย เรื่องธรรมารมณ์ที่เกิดขึ้นกับใจของเรานี้ มันไม่ต้องอาศัยอะไร ไม่ต้องอาศัยสัมผัสอะไร มันสัมผัสขึ้นที่ใจของมันเองเรียกว่า "ธรรมารมณ์" หรือธรรมะกับอารมณ์ เป็นส่วนดีก็เรียกว่ากุศล เป็นส่วนที่ชั่วก็เรียกว่า อกุศล

สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ให้ปล่อยไปตามเรื่องของเราเสีย  เรียกเรารู้มัน  อย่างนี้แล้วสุขก็ดี  ทุกข์ก็ดี  สารพัดอย่างอยู่ในรูปเดียวกัน  การทำใจให้สงบเช่นนี้เรียกว่า การภาวนา"

...... หลวงปู่ชา สุภทฺโท
Cr.วัดพระธาตุขุนบง
ขออนุญาตนำมาเผยแผ่เป็นธรรมทานค่ะ

หลักใหญ่ของพระพุทธศาสนา ศีลเป็นพื้นฐานของพระธรรมทั้งหมด


พระพุทธองค์ ทรงพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ ไว้ดังนี้
อย่ารีบเร่งศึกษาสิกขาบทศีลเพียงแค่ผ่านไป ควรจักคิดพิจารณาให้ละเอียด ทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ตามลำดับ ศีลเป็นเรื่องใหญ่ เพราะเป็นพื้นฐานของพระธรรมทั้งหมดเหมือนกับอานาปานัสสติเป็นพื้นฐานของความสงบแห่งจิต สองฐานนี้จักต้องอาศัย ซึ่งกันและกันเสมอ เพื่อความมั่นคงของธรรม เพื่อความมั่นคงของจิต จึงเป็นหลักใหญ่ของพระพุทธศาสนาทั้งสองประการ

ให้ดูท่านองคุลิมานเถระ วาระแรกท่านเข้าถึงศีลก่อน หยุดปาณาติบาตลงได้ เมื่อบวชแล้วมีศีลเป็นพื้นฐาน จึงทำให้เข้าถึงธรรมปฏิบัติได้โดยง่าย ทำให้เป็นเหตุได้บรรลุพระอรหัตผล เพราะฉะนั้น พวกเจ้าอยากให้มีพรหมวิหาร ๔ สมบูรณ์ ศีลพระนี้แหละจักชี้ชัดเมื่อพิจารณาให้ละเอียดลงไปจักได้แนวทางของการทรงพรหมวิหาร ๔ ทั้ง ๔ ประการได้อย่างสมบูรณ์

ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๗ มกราคมตอน ๑
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน
#สมเด็จองค์ปฐม #ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น
#รวมคำสอนพ่อแม่ครูอาจารย์2

คุณบิดามารดา

#อัตภาพร่างกายนี้เราได้มาจากบิดามารดา
คือบางคนเข้าใจว่าบิดามารดาเราตายไปเสียแล้ว 
ก็พากันโศกเศร้าปริเทวนารำพัน 
นึกว่าท่านตายไปจากเราเสียแล้ว 
แต่ในความเป็นจริงนั้น 
ไอ้ความไม่ตายก็ยังเหลืออยู่กับเรา 
ตัวที่นั่งอยู่กับเรานี่แหละ 
ถ้าขาดบิดามารดาแล้วก็เป็นไปไม่ได้ 

ฉะนั้นเมื่อเรานึกถึงคุณบิดามารดา 
ก็ให้นึกถึงตัวเรา ให้ทำตัวให้ดี 
ให้ทำตัวให้บริสุทธิ์ 
ให้ทำตัวเป็นผู้ประพฤติ ปฏิบัติธรรม 

เพราะว่าก้อนที่เรานั่งอยู่นี่ หรือเดินไปมา 
ก็คือก้อนของพ่อแม่นั่นเอง เป็นมรดกตกทอดมา 

ฉะนั้นบุคคลที่นึกถึง บิดา มารดา 
ที่ล่วงลับไปแล้วนั้น 
ควรมาประพฤติ ปฏิบัติ 

ศรัทธายังไม่มี ก็ปลูกศรัทธาขึ้นมา  
ความเพียรยังไม่มี 
ควรปลูกความเพียรเข้ามา  
อะไรที่มันขาดตกบกพร่องอยู่ 
ควรสะสมให้มันเกิดขึ้นมา 
เราทำเราให้มีความสุขสงบ ความสบาย 

เราทำเราให้มีความสว่างไสวได้ 
ก็คือเราปฏิบัติต่อบิดามารดา 
เรา นั่ง ยืน เดิน ที่ใด 
บิดา มารดา เราก็อยู่ที่นั่น  
ถ้าระลึกถึงบิดามารดา 
ก็มาสร้างตัวของเรานี่ ให้มีศีล มีธรรม 
การทดแทนบุญคุณพ่อคุณแม่ 
ก็คือมาสร้างตัวของเรานี่เอง

พระธรรมเทศนา
หลวงพ่อชา สุภัทโท

เทศน์อีสาน เรื่อง “พอปานนั้น”
ในงานศพโยมคุณแม่หลวงปู่ชา
  🙇🏻‍♂️กระแสธรรม📖🖋️

23 พฤษภาคม 2566

การภาวนาเข้าไปเห็นจิตผู้รู้นั้น ทำอย่างไรครับ?

คำถาม : การภาวนาเข้าไปเห็นจิตผู้รู้นั้น ทำอย่างไรครับ?
หลวงปู่ : ทำให้มากๆ ทำให้บ่อยๆ

คำถาม : ดูจิตแล้วเห็นปรุงแต่งเรื่องราวมากมาย ไม่ชนะ จะตามดับมัน?

หลวงปู่ : ต้องลำบากไปตามดับมันทำไม ดูแต่จิตอย่างเดียว มันก็ดับไปเอง มันออกไปปรุงแต่งข้างนอก มันเกิดจากต้นตอที่จิตทั้งนั้น หาแต่ต้นตอให้พบ ก็จะรู้แจ้งหมด อะไรก็ไปจากนี้ อะไรๆ ก็มารวมอยู่ที่นี้ทั้งหมด (ท่านพูดพลางเอาหัวแม่มือชี้ที่หน้าอก) สิ่งที่ได้รู้ได้เห็น แล้วอยากรู้อยากเห็นอีก นั่นแหละคือตัวกิเลส

คำถาม : เมื่อถึงโลกุตตระแล้ว มีเมตตา กรุณา อะไรไหมครับ?

หลวงปู่ : ไม่มีหรอกความเมตตากรุณา จิตอยู่เหนือสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา อยู่ในโลกทั้งหมด จิตสูงสุดหลุดพ้น อยู่เหนือโลกทั้งหมด

คำถาม : ไม่มีเมตตาหรือครับ?

หลวงปู่ : มีก็ไม่ว่า ไม่มีก็ไม่ว่า เลิกพูด เลิกว่า เลิกอะไรๆ ทั้งหมด มันเป็นเพียงคำพูดแท้ๆ ให้ดูจิตอย่างเดียวเท่านั้น ความเป็นจริงแล้ว เป็นแต่เพียงคำพูด

"สลัดทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งเป็นมายาออกเสีย ตัวผู้ที่รู้ และเข้าใจอันนี้แหละคือตัวพุทธะ"

หมดภารกิจ หมดทุกอย่าง ที่จะทำอะไรต่อไปอีก พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รวมลงอยู่ที่นี่จบอยู่ที่นี่ ไม่มียาวต่อไปอีก ไม่มีเล็ก ไม่มีใหญ่ ไม่มีหญิง ไม่มีชาย ไม่มีคำพูด มีแต่ความว่างเปล่า ว่างเปล่า... และบริสุทธิ์

หลวงปู่ดุลย์ อตุโล

" อย่าไปร่วมตกนรกกับคนอื่นเขา "

โยม:หลวงปู่เจ้าขาโยมรู้สึกเสื่อมศรัทธา
กับพระสงฆ์ทุกวันนี้จังเลยเจ้าค่ะ
หลวงปู่: ทำไมหล่ะ

โยม: ก็มีข่าวไม่ดีเกี่ยว
กับพระออกมาบ่อยจังเลย ทั้งมั่วสุม
ทั้งเรื่องสีกา พระตุ๊ดเณรแต๋ว
ล่าสุดมีข่าวพระมีเครื่องบินอีก

หลวงปู่: เขาเอาอะไรทำพระหล่ะ

โยม: ไม่เข้าใจเจ้าค่ะ

หลวงปู่: พระพุทธรูปเขาเอาอิฐ หิน ปูน
ทราย ทองคำ เงิน ทำ พระเหล่านั้น
ไม่มีข่าวเรื่องนี้เลยใช่ไหม

โยม: เจ้าค่ะ

หลวงปู่: แต่พระอย่างหลวงปู่
เขาเอาคนทำ พระสงฆ์อื่นๆ
เขาก็เอาคนทำจึงมีเรื่องแบบนี้ แต่คุณ
ต้องเข้าใจนะเรื่องการปฏิบัติ
เรื่องการพระศาสนาเป็นเรื่อง
ส่วนบุคคล ใครทำดีผลดีย่อมสนอง
ใครทำชั่วผลชั่วย่อมติดตาม

คุณความคิดหน่ะเป็นกรรมที่ไม่มีวิบากนะ
แต่การพูด การกระทำ เมื่อพูด
เมื่อทำออกไปแล้วย่อมมีวิบาก
ไม่ดีก็เสีย การที่เขาทำชั่วมัน
เป็นเรื่องของเขาไม่ใช่เรื่องของเรา
ถ้าเราไปวิจารณ์ ไปแสดงออก
แล้วเราย่อมมีส่วนในกรรมนั้น
เพราะเราเอาใจส่งไปหาเขา แทนที่เขา
จะตกนรกคนเดียวเรากับไปสมัครตกนรกกับเขาด้วย
เหมือนที่โยมรู้สึกอยู่ตอนนี้

โยม: ยังไงเจ้าค่ะ

หลวงปู่: ก็โยมไม่รู้สึกทุกข์กับข่าวที่
ได้รับหรือ

โยม: ทุกข์เจ้าค่ะ แต่ทุกข์
เพราะห่วงศาสนานะเจ้าค่ะ

หลวงปู่: ทุกข์ไหมหล่ะ ทุกข์
นั้นหล่ะนรกทางใจ อย่างที่อาตมาว่า
ส่งจิตออกไปหาเขามันก็ทุกข์มันก็ตกนรก

คุณจำไว้นะทุกคนล้วนเดิน
เข้าหาพระนิพพานเหมือนกันหมด
ช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับกำลังบุญ คือ
ความพยายามทำความดี
พัฒนาตนเองไปเรื่อยๆ
เหมือนรถที่วิ่งไปกรุงเทพนั้นหล่ะ
จุดหมายคือกรุงเทพ
จะเอารถอะไรไปมันก็ถึงกรุงเทพ
คุณอาจจะมีบุญมากหน่อย
ถึงมีรถเก๋งขี่ไปแต่คนอื่น
เขาอาจเดินไปแต่มันก็ถึง
กรุงเทพเหมือนกัน ช้าหรือเร็วเท่า
นั้นเอง

สำคัญคือคุณต้องบังคับพวงมาลัยรถเรา
อย่าไปออกคำสั่งรถคันอื่น ขับอย่างนี้
ขี่อย่างนั้น ต่างคนต่างตั้งหน้าขับไปสักวันต้อง
ถึงกรุงเทพ อย่ามัวแต่ไปวิจารณ์เขา
พระก็ดีโยมก็ดี การปฏิบัติ
เป็นเรื่องของบุคคล เขาทำชั่ว
เขาตกนรก โยมอย่าส่งใจไปร่วมกับ
เขา อย่าไปร่วมตกนรกกับเขา
ตั้งใจปฏิบัติตามหน้าที่ของเรา เจริญพร

เห็นพฤติกรรมของพระสงฆ์สมัยนี้แล้ว 
ไม่อยากนับถือพระสงฆ์

โยม: หลวงปู่ครับผมจะขอนับถือแค่พระพุทธ กับพระธรรมครับเพราะพระสงฆ์ทุกวันนี้มีแต่เรื่อง เสื่อมเสีย ผมว่าพระแท้ๆหมดแล้วจากพระศาสนา

หลวงปู่: ฮ้วย แสดงว่าบ่นับถืออาตมานำตั้วนี่
โยม: เปล่าๆ ครับหลวงปู่ ผมยังเคารพศัทธา หลวงปู่เหมือนเดิม

หลวงปู่: เอ้าไสว่าไม่นับถือพระสงฆ์เด้
โยม: เว้นหลวงปู่สิครับผม

หลวงปู่: บ่ะ เว้นหลวงปู่ก็แสดงว่าหลวงปู่ ก็ไม่ใช่พระสงฆ์สิ
โยม: (ทำหน้าเหมือนคิดหนัก).........

หลวงปู่: บักหล่าเอ้ย เวลาเขาเอาทองคำนั้น เขาไปหามาจากที่ไหน

โยม: ไปขุดดินแล้วร่อนเอาทองมาครับ
หลวงปู่: ดินมากหรือทองมาก
โยม: ดินมากครับผม ร่อนทองจากดินมาก แล้วจะได้ทองนิดเดียว

หลวงปู่: มันก็เหมือนพระสงฆ์นั้นหล่ะ พระสงฆ์ ก็ร่อนมาจากลูกชาวบ้าน ลูกสมมติสงฆ์ ไม่ใช่ เป็นพระอรหันต์แล้วมาบวชเมื่อไหร่ มันก็มีดีบ้าง เสียบ้าง จะให้ดีหมดมันก็ทำไม่ได้ จะให้มัน เสียหมดก็ทำไม่ได้

ส่วนที่มันเป็นดินก็อย่าเอา เอาส่วนที่มันเป็นทองสิ ถ้าเชื่อหลวงปู่ถ้าเคารพหลวงปู่ ก็จงเชื่อว่าพระ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมีมากมาย อย่าเหมาว่าไม่ดี ทั้งหมด ขนาดคุณยังมีข้อเสีย จะให้ดีทั้งหมด ทั้งโลกก็ไม่ได้

พระรัตนตรัยเหมือนไม้สามลำค้ำกันไว้ เอาออก อันหนึ่งมันก็ล้ม จำไว้พระก็คือนักเรียน ผู้เป็นอริยะ คือผู้สอบผ่าน ผู้เป็นข่าวคือผู้สอบตก ให้สงสาร คนสอบตก อย่าไปเกลียดคนสอบตก เพราะ ไม่มีใครอยากจะสอบตก เข้าใจนะ

สำหรับ พระญาณวิสาลเถร (หา สุภโร) หรือ หลวงปู่ไดโนเสาร์ พระภิกษุในพุทธศาสนานิกายเถรวาท คณะธรรมยุติกนิกาย ชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามตามสัญญาบัตรว่า พระญาณวิสาลเถร เจ้าอาวาสวัดสักกะวัน (ภูกุ้มข้าว) ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ และอดีตรองเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์เป็นพระเถราจารย์ผู้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด เป็นที่น่าเคารพสักการบูชาของบรรดาศิษยานุศิษย์ ซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่พุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า และได้ค้นพบกระดูกไดโนเสาร์ ทำให้มีการขุดค้น โดยเป็นแหล่งไดโนเสาร์กินพืชที่สมบูรณ์ที่สุดของประเทศไทย และยังมีการสร้างพิพิธภัณฑ์สิรินธร บริเวณที่ขุดค้นพบอีกด้วย

#ธรรมะ #อมตะธรรม #ธรรมะสอนใจ

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...