25 พฤษภาคม 2566

**ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา**

"อย่าเลย วักกลิ ร่างกายอันเปื่อยเน่าที่เธอเห็นนี้ จะมีประโยชน์อะไร? ดูกรวักกลิ ผู้ใดแล เห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเห็นธรรม. วักกลิเป็นความจริง บุคคลเห็นธรรม ก็ย่อมเห็นเรา บุคคลเห็นเราก็ย่อมเห็นธรรม."
 
 
 ข้อความข้างต้นนั้น พระพุทธองค์ตรัสต่อพระวักกลิ ปรากฏอยู่ในวักกลิสูตร เป็นข้อความที่ผู้สนใจศาสนาน่าจะได้รับรู้กันทุกคน
 
 ภาษาไทยที่แปลมาจากภาษาบาลีก็ดูง่ายๆ คือ “ผู้ใดแล เห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเห็นธรรม”
 
 แปลให้เป็นภาษาไทยอีกทีก็คือว่า ใครก็ตามเห็นธรรมะ บุคคลผู้นั้นก็ต้องเห็นพระพุทธเจ้า ถ้าใครเห็นพระพุทธเจ้า บุคคลผู้นั้นก็ต้องเห็นธรรมะ
 
** ไตรลักษณ์มีอยู่แล้วโดยปกติ**

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ตาม ธาตุ, ความตั้งอยู่แห่งธรรม, ทำนองแห่งธรรมอันนั้น ก็ตั้งอยู่แล้ว คือข้อที่ว่า **สังขาร (สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง)ทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ (ทนอยู่ไม่ได้) ธรรม (ทั้งสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง และไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง) ทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน** ตถาคตตรัสรู้เข้าใจทำนองธรรมนั้น ครั้นตรัสรู้แล้ว เข้าใจชัดแล้ว ก็บอก, แสดง, บัญญัติ, ตั้งไว้, เปิดเผย, แจกแจง, ทำให้ง่ายถึงข้อที่ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน."

ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๐/๓๖๘

#พระไตรปิฎก #รวมคำสอนพ่อแม่ครูอาจารย์10

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...