ออกบวชเมื่อมีอายุมากแล้ว
มีร่างกายอ้วน นุ่งห่มจีวรรีดเรียบร้อย
ท่านมักนั่งอยู่ที่โรงฉันของวัดพระเชตวัน
พระภิกษุต่างถิ่นทั้งหลายที่มาเพื่อจะเฝ้า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อเห็นพระติสสะแล้วก็เข้าไปหาเพื่ออุปัฏฐากเพราะคิดว่า
“นี่คงเป็นพระเถระผู้ใหญ่”
พระภิกษุหนุ่มองค์หนึ่งถามพระติสสะว่า
“ท่านมีพรรษาเท่าไร ?”
ท่านตอบว่า “ยังไม่มีพรรษา ข้าพเจ้าบวชเมื่อแก่”
พระภิกษุหนุ่มนั้นจึงกล่าวว่า
“ท่านไม่รู้จักประมาณตน ท่านเห็นพระเถระผู้ใหญ่มาแล้ว ไม่ทำการอุปัฏฐาก นั่งเฉยอยู่"
พระติสสะเกิดขัตติยมานะขึ้น ถามว่า
“พวกท่านมาสู่สำนักใคร ?”
ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า “มาสู่สำนักของพระศาสดา” แล้วกล่าวว่า “พวกท่านคิดว่าข้าพเจ้า ‘เป็นใคร?’
แล้วพระติสสะก็ร้องไห้ เสียใจ
รีบไปกราบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสสอนว่า
เธอควรอุปัฏฐากภิกษุผู้มีพรรษามากกว่า
การที่เธอไม่ทำการอุปัฏฐาก ไม่สมควร
เธอจงขอโทษภิกษุเหล่านั้นเสีย.
พระติสสะ ทูลว่า พวกภิกษุนี้ได้ด่าข้าพระองค์
ข้าพระองค์ไม่ยอมขอโทษเธอ.
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสว่า ติสสะ เธออย่าได้ทำอย่างนี้ เธอจงขอโทษภิกษุเหล่านั้นเสีย.
พระติสสะ ทูลว่า ข้าพระองค์ไม่ยอมขอโทษภิกษุเหล่านี้.
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระติสสะนี้เป็นคนว่ายาก”
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ติสสะนี้มิใช่เป็นผู้ว่ายากแต่ในบัดนี้เท่านั้น
ในกาลก่อน ติสสะนี้ก็เป็นคนว่ายากเหมือนกัน"
จากนั้น
พระพุทธองค์เล่าประวัติของพระติสสะในอดีตชาติ
เมื่อเล่าจบแล้วพระพุทธองค์ตรัสสรุปว่า
"ชนเหล่าใดผูกโกรธว่า ผู้โน้นด่าเรา ผู้โน้นตีเรา
ผู้โน้นชนะเรา ผู้โน้นลักสิ่งของของเรา
เวรของชนเหล่านั้นย่อมไม่ระงับ.
ส่วนชนเหล่าใด ไม่ผูกโกรธว่าผู้โน้นด่าเรา
ผู้โน้นตีเรา ผู้โน้นชนะเรา ผู้โน้นลักสิ่งของของเรา เวรของชนเหล่านั้นย่อมระงับได้.”
ในเวลาจบพระธรรมเทศนา พระภิกษุ 100,000 รูป
ที่ได้ฟังธรรมในครั้งนั้น ได้บรรลุเป็นพระอริยเจ้า คือ บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันบ้าง พระสกทาคามีบ้าง พระอนาคามีบ้าง และพระอรหันต์บ้าง
ส่วนพระติสสะเมื่อได้ฟังประวัติในอดีตชาติของตนเองแล้วก็สลดใจและเป็นคนว่าง่ายขึ้น
อ้างอิง : พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล
ฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย เล่ม 40 หน้า 57 - 67
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น