การปฏิบัติจริงๆ จงอย่าบังคับเวลาของจิต เวลาจริงๆ เอาแค่จิตเป็นสุขในขณะที่ทำกรรมฐานไป รู้ลมหายใจเข้าออก รู้คำภาวนาไป
จิตเริ่มเป็นสุข มันจะเป็นสุขขนาดไหน ก็พอใจขนาดนั้น แต่ว่า ถ้าจิตเริ่มเป็นสุข อย่างนี้ไม่ใช่ ขณิกสมาธิ เป็นอุปจารสมาธิ
#ถ้าขณิกสมาธิ เล็กน้อยยังไม่ถึงขั้นเป็นสุข แค่รู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออกแค่ภาวนาประเดี๋ยวเดียว จิตก็เริ่มเลือนหายไปจากอารมณ์ภาวนา ไปคิดโน่นคิดนี่ตามอารมณ์
บางทีก็ไปคิดอารมณ์ที่เราไม่เคยนึกไว้ก่อนก็ช่างมัน พอรู้ตัวปั๊บว่า เลื่อนไหลไปแล้ว ก็เริ่มต้นใหม่ รู้ลมเข้าออกใหม่ อย่างนี้ เป็น ขณิกสมาธิ..
อันนี้พอภาวนาไปด้วย รู้ลมหายใจเข้าออกไปด้วย " จิตเริ่มเป็นสุข" มีความอิ่มเอิบ มีความเบิกบานใจ มีความชุ่มชื่นเกิดขึ้น รู้สึกไม่อยากเลิกจากสมาธิ จิตใจสบายมาก อย่างนี้เริ่มเข้าถึง ปีติ เป็นขั้น "#อุปจารสมาธิ" เบื้องต้น
หลังจากนั้น ต่อไปอารมณ์จะเป็นสุข
สุขยอดเยี่ยม อย่างที่ไม่เคยรู้สึกมาก่อน อย่างนี้ ชื่อว่าเป็นองค์ที่ ๔ เป็นสุขในสมาธิ เป็นอาการเต็ม ของ อุปจารสมาธิ
เมื่อหลังจากสุขแล้ว ยังมีอาการทรงตัว
ไม่สนใจอารมณ์ใดทั้งหมด
มีการทรงตัวเฉย ๆ และภาวนาอยู่
จิตมีอารมณ์โพลง ไม่ใช่หลับ ไม่ใช่มืด จิตมีความสว่าง
จิตทรงตัวเฉย ๆ
อย่างนี้เป็น "#ปฐมฌาน"
------------
ที่มา : จากหนังสือ โอวาทหลวงพ่อวัดท่าซุง เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๔๙
แบ่งปัน : มงกุฎเพชร อภิญญา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น