อา. ดูกรท่านผู้มีอายุ เพราะบุคคลไม่ได้เจริญ ไม่ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ พระสัทธรรมจึงเสื่อม และเพราะบุคคลได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔
พระสัทธรรมจึงไม่เสื่อม สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกาย
ในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย พิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรท่านผู้มีอายุ เพราะบุคคลไม่ได้
เจริญ ไม่ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล พระสัทธรรมจึงเสื่อม เพราะบุคคลได้
เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล พระสัทธรรมจึงไม่เสื่อม.
จบ สูตรที่ ๓
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๔๕๕๗-๔๕๗๗ หน้าที่ ๑๘๙-๑๙๐.
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=4557&Z=4577&pagebreak=0
อภิธรรมภาชนีย์
สติปัฏฐานอุทเทส
[๓๗๔] สติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
สติปัฏฐานนิทเทส
กายานุปัสสนา
[๓๗๕] ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นกายในกาย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องใน
มรรค นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน
เวทนานุปัสสนา
[๓๗๖] ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา อยู่ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับ
เนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน
จิตตานุปัสสนา
[๓๗๗] ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นจิตในจิต อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องใน
มรรค นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนา
[๓๗๘] ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นธรรมในธรรม อยู่ในสมัยใด ในสมัย
นั้น สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่อง
ในมรรค นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน
สติปัฏฐานธรรม
[๓๗๙] ในสภาวธรรมเหล่านั้น สติปัฏฐาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐม-
ฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นธรรมในธรรม อยู่ในสมัยใด
ในสมัยนั้น สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วย
สติปัฏฐาน
สติปัฏฐานอุทเทส
[๓๘๐] สติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
สติปัฏฐานนิทเทส
กายานุปัสสนา
[๓๘๑] ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
พิจารณาเห็นกายในกาย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น สติ ความตามระลึก ฯลฯ
สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน
เวทนานุปัสสนา
[๓๘๒] ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น สติ ความตามระลึก ฯลฯ
สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน
จิตตานุปัสสนา
[๓๘๓] ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้กระทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้น
นั่นแหละ พิจารณาเห็นจิตในจิต อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น สติ ความตามระลึก ฯลฯ
สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนา
[๓๘๔] ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
พิจารณาเห็นธรรมในธรรม อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น สติ ความตามระลึก ฯลฯ
สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน
สติปัฏฐานธรรม
[๓๘๕] ในสภาวธรรมเหล่านั้น สติปัฏฐาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน สภาวธรรมที่เหลือ
ชื่อว่าสัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน
อภิธรรมภาชนีย์ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๒๓}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๓๑๙-๓๒๓.
http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=35&siri=29
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น