1. รูปขันธ์ (กองรูปคือกายประกอบด้วยธาตุ 4 อาการ 32,)
2. เวทนาขันธ์ (กองเวทนา, ส่วนที่เป็นการเสวยอารมณ์, ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ)
3. สัญญาขันธ์ (กองสัญญา ความจำได้หมายรู้, ส่วนที่เป็นความกำหนดหมาย, ความกำหนดได้หมายรู้ในอารมณ์ 6 เช่นว่า ขาว เขียว ดำ แดง เป็นต้น)
4. สังขารขันธ์ (กองสังขาร, ส่วนที่เป็นความปรุงแต่งของจิต, สภาพที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลางๆ, คุณสมบัติต่างๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแต่งคุณภาพของจิต ให้เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต มีสมาธิ ไม่มีสมาธิ ฟุ้งซ่าน โลภ โกรธ หลงเป็นต้น)
5. วิญญาณขันธ์ (กองวิญญาณคือ จิตเป็นธรรมชาติรู้, ส่วนที่เป็นความรู้แจ้งอารมณ์, ความรู้อารมณ์ทางอายตนะทั้ง 6 มีการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ได้แก่ วิญญาณ 6 (จิตที่กำหนดรู้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
ขันธ์ 5 นี้ ย่อลงมาเป็น 2 คือ นาม และ รูป; รูปขันธ์จัดเป็นรูปคือกาย ประกอบด้วยธาตุ 4 อาการ 32, 4 ขันธ์ นอกนั้นเป็นนาม. คือ : วิญญาณขันธ์เป็น จิต, เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ เป็น ธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิต เรียก เจตสิก, รูปขันธ์ เป็น รูป, ส่วน นิพพาน เป็นขันธวินิมุต คือ พ้นจากขันธ์ 5
สํ.ข. [17/95/58](https://84000.org/tipitaka/read/?17%2F95%2F58);
#พระไตรปิฎก2 #กฎแห่งกรรม2 #รวมคำสอนพ่อแม่ครูอาจารย์13
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น