22 เมษายน 2563

ก่อนการตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์ พระพุทองค์มีความคิดอย่างนี้

"ดูกรอานนท์ แม้เมื่อเราเองก่อนแต่การตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า"
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ข้อนี้เป็นอย่างนั้น อานนท์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น
อานนท์ ดูกรอานนท์ แม้เมื่อเราเองก่อนแต่การตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่
ได้ตรัสรู้ ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เนกขัมมะเป็นความดี วิเวกเป็นความดี จิต
ของเรานั้นยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่นในเนกขัมมะ ยังไม่หลุดพ้น
ใน เพราะเนกขัมมะ เพราะเราพิจารณาเห็นว่า นี้สงบ เรานั้นได้มีความคิดว่า
อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้จิตของเรา ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งอยู่ในเนกขัมมะ ไม่หลุดพ้น ใน เพราะเนกขัมมะ เพราะเราเห็นว่า นั่นสงบ
เรานั้นจึงคิดต่อไปว่าโทษในกามทั้งหลายที่เรายังไม่เห็น และไม่ได้กระทำให้มาก
อานิสงส์ในเนกขัมมะ เรายังไม่ได้บรรลุ และไม่ได้เสพโดยมาก เพราะฉะนั้น
จิตของเราจึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ในเนกขัมมะ ไม่หลุดพ้นในเพราะ
เนกขัมมะ เพราะเราพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ เรานั้นได้มีความคิดว่า ถ้าว่าเรา
เห็นโทษในกามทั้งหลายแล้ว พึงกระทำให้มาก บรรลุอานิสงส์ในเนกขัมมะแล้ว
พึงเสพอานิสงส์นั้นโดยมาก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ จิตของเราจะพึงแล่นไป
พึงเลื่อมใส พึงตั้งอยู่ในเนกขัมมะ พึงหลุดพ้นในเพราะเนกขัมมะ เมื่อเรา
พิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ สมัยต่อมา เรานั้นเห็นโทษในกามแล้ว
ได้กระทำให้มาก บรรลุอานิสงส์ในเนกขัมมะแล้วเสพโดยมาก จิตของเรานั้นจึง
แล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ในเนกขัมมะ หลุดพ้นในเพราะเนกขัมมะ เพราะเรา
พิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เราสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดจากวิเวกอยู่ เมื่อเรานั้นอยู่ด้วยวิหาร
ธรรมนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยกามย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเรา
เปรียบเหมือนความทุกข์ พึงบังเกิดขึ้นแก่คนผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียน
ฉะนั้น ฯ
             ดูกรอานนท์ เรานั้นมีความคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
ดูกรอานนท์ จิตของเรานั้นไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ในทุติยฌานอันไม่มี
วิตกวิจาร ไม่หลุดพ้นในเพราะทุติยฌานอันไม่มีวิตกวิจาร เพื่อพิจารณาเห็นว่า
นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัย
เครื่องให้จิตของเราไม่แล่นไป ... ในเพราะทุติยฌานอันไม่มีวิตกวิจาร เพราะ
พิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า โทษในวิตก เรา
ไม่เห็นและไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในทุติยฌานอันไม่มีวิตกวิจาร เราไม่ได้บรรลุ
และไม่ได้เสพโดยมาก เหตุนั้นจิตของเราจึงไม่แล่นไป ... ในเพราะทุติยฌานอัน
ไม่มีวิตกวิจาร เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ เรานั้นได้มีความคิดว่า ถ้าแลเรา
เห็นโทษในวิตกแล้วพึงกระทำให้มาก บรรลุอานิสงส์ในทุติยฌานอันไม่มีวิตกวิจาร
แล้วพึงเสพโดยมาก ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ คือ จิตของเราพึงแล่นไป ... ดูกร
อานนท์ สมัยต่อมา เรานั้นแล เห็นโทษในวิตก ... เสพโดยมาก ดูกรอานนท์
จิตของเรานั้นจึงแล่นไป ... ในเพราะทุติยฌานอันไม่มีวิตกวิจาร ... เรานั้นบรรลุ
ทุติยฌาน ฯลฯ ดูกรอานนท์ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันสหรคต
ด้วยวิตก ... ฉะนั้น ฯ
             ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ไฉนหนอ เราจะพึงมีอุเบกขา มีสติ
มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระ-
*อริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ดูกร
อานนท์ จิตของเรานั้นย่อมไม่แล่นไป ... ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า
อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้จิตของเราไม่แล่นไป ... ในเพราะ
ตติยฌานอันไม่มีปีติ เมื่อพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มี
ความคิดว่า โทษในปีติ เราไม่เห็นและไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในตติยฌานอัน
ไม่มีปีติ เราไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพโดยมาก เหตุนั้นจิตของเราจึงไม่แล่นไป ...
ในเพราะตติยฌานอันไม่มีปีติ เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ เรานั้นได้มีความ
คิดว่า ถ้าแลเราเห็นโทษในปีติแล้วพึงกระทำให้มาก บรรลุอานิสงส์ในตติยฌาน
อันไม่มีปีติแล้วพึงเสพโดยมาก ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ คือ จิตของเราพึงแล่น
ไป ... ดูกรอานนท์ สมัยต่อมาเรานั้นเห็นโทษในปีติ ... เสพโดยมาก ดูกรอานนท์
จิตของเรานั้นจึงแล่นไป ... ในเพราะตติยฌานอันไม่มีปีติ ... เรานั้นบรรลุตติย
ฌาน ฯลฯ ดูกรอานนท์ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันสหรคต
ด้วยปีติ ... ฉะนั้น ฯ
             ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงบรรลุจตุตถฌาน ...
ดูกรอานนท์ จิตของเรานั้น ย่อมไม่แล่นไป ... ในจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มี
สุข เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า อะไร
หนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้จิตของเราไม่แล่นไป ... ในเพราะจตุตถฌาน
อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เมื่อพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นมีความ
คิดว่า โทษในอุเบกขาและสุข เราไม่เห็นและไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ใน
จตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เราไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพโดยมาก เหตุนั้น
จิตของเราจึงไม่แล่นไป ... ในเพราะจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะพิจารณา
เห็นว่า นั่นสงบ เรานั้นได้มีความคิดว่า ถ้าแลเราเห็นโทษในอุเบกขาและสุขแล้ว
พึงกระทำให้มาก บรรลุอานิสงส์ในจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุขแล้วพึงเสพ
โดยมาก ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ คือ จิตของเราพึงแล่นไป ... ดูกรอานนท์
สมัยต่อมา เรานั้นเห็นโทษในอุเบกขาและสุข ... เสพโดยมาก ดูกรอานนท์ จิต
ของเรานั้นจึงแล่นไป ... ในเพราะจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ... เรานั้นบรรลุ
จตุตถฌาน ฯลฯ ดูกรอานนท์ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอัน
สหรคตด้วยอุเบกขา ... ฉะนั้น ฯ
             ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ไฉนหนอ เรา ... พึงบรรลุ
อากาสานัญจายตนฌาน ... ดูกรอานนท์ จิตของเรานั้น ย่อมไม่แล่นไป ... ใน
เพราะอากาสานัญจายตนฌาน เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรา
นั้นมีความคิดว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้จิตของเราไม่แล่นไป ...
ในเพราะอากาสานัญจายตนฌาน เมื่อพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรา
นั้นได้มีความคิดว่า โทษในรูปฌานทั้งหลาย เราไม่เห็นและไม่ได้ทำให้มาก
อานิสงส์ในอากาสานัญจายตนฌาน เราไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพโดยมาก เหตุนั้น
จิตของเราจึงไม่แล่นไป ... ในเพราะอากาสานัญจายตนฌาน เพราะพิจารณาเห็นว่า
นั่นสงบเรานั้นได้มีความคิดว่า ถ้าแลเราเห็นโทษในรูปฌานทั้งหลายแล้วพึงกระทำ
ให้มาก บรรลุอานิสงส์ในอากาสานัญจายตนฌานแล้ว พึงเสพโดยมาก ข้อนั้น
เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ จิตของเราพึงแล่นไป ... ดูกรอานนท์ สมัยต่อมา เราเห็น
โทษในรูปฌานทั้งหลาย ... เสพโดยมาก ดูกรอานนท์ จิตของเรานั้นจึงแล่นไป ...
ในเพราะอากาสานัญจายตนฌาน ... เรานั้นแล ... บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน ฯลฯ
ดูกรอานนท์ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยรูปฌาน
ทั้งหลาย ... ฉะนั้น ฯ
             ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ไฉนหนอ เรา ... พึงบรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌาน ... ดูกรอานนท์ จิตของเรานั้นย่อมไม่แล่นไป ... ในเพราะ
วิญญาณัญจายตนฌาน เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นได้
มีความคิดว่า อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้จิตของเราไม่แล่นไป ... ใน
เพราะวิญญาณัญจายตนฌาน เมื่อพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้น
ได้มีความคิดว่า โทษในอากาสานัญจายตนฌาน เราไม่เห็นและไม่ได้ทำให้มาก
อานิสงส์ในวิญญาณัญจายตนฌาน เราไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพโดยมาก เหตุนั้น
จิตของเราจึงไม่แล่นไป ... ในเพราะวิญญาณัญจายตนฌาน เพราะพิจารณาเห็นว่า
นั่นสงบ เรานั้นได้มีความคิดว่า ถ้าแลเราเห็นโทษในอากาสานัญจายตนฌานแล้ว
พึงกระทำให้มาก บรรลุอานิสงส์ในวิญญาณัญจายตนฌานแล้วพึงเสพโดยมาก ข้อ
นั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ คือ จิตของเราพึงแล่นไป ... ดูกรอานนท์ สมัยต่อมา เรา
นั้นเห็นโทษในอากาสานัญจายตนฌาน ... เสพโดยมาก ดูกรอานนท์ จิตของเรานั้น
จึงแล่นไป ... ในเพราะวิญญาณัญจายตนฌาน ... เรานั้นแล ... บรรลุวิญญาณัญ-
*จายตนฌาน ... ดูกรอานนท์ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันสหรคต
ด้วยอากาสานัญจายตนฌาน ... ฉะนั้น ฯ
             ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงบรรลุ
อากิญจัญญายตนฌาน ... ดูกรอานนท์ จิตของเรานั้นย่อมไม่แล่นไป ... ในเพราะ
อากิญจัญญายตนฌาน เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มี
ความคิดว่า อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้จิตของเราไม่แล่นไป ...
ในเพราะอากิญจัญญายตนฌาน เพื่อพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้น
ได้มีความคิดว่า โทษในวิญญาณัญจายตนฌาน เราไม่ได้เห็นและไม่ได้ทำให้มาก
อานิสงส์ในอากิญจัญญายตนฌาน เราไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพโดยมาก เหตุนั้น
จิตของเราจึงไม่แล่นไป ... ในเพราะอากิญจัญญายตนฌาน เพราะพิจารณาเห็น
ว่า นั่นสงบ เรานั้นได้มีความคิดว่า ถ้าแลเราเห็นโทษในวิญญาณัญจายตนฌาน
แล้วพึงกระทำให้มาก บรรลุอานิสงส์ในอากิญจัญญายตนฌานแล้วพึงเสพโดยมาก
ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ คือ จิตของเราพึงแล่นไป ... ดูกรอานนท์ สมัยต่อมา
เรานั้นเห็นโทษในวิญญาณัญจายตนฌาน ... เสพโดยมาก ดูกรอานนท์ จิตของเรา
นั้นจึงแล่นไป ... ในเพราะอากิญจัญญายตนฌาน ... เรานั้นแล ... บรรลุอากิญ-
*จัญญายตนฌาน ... ดูกรอานนท์ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอัน
สหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนฌาน ... ฉะนั้น ฯ
             ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ไฉนหนอ เรา ... พึงบรรลุเนวสัญญา-
*นาสัญญายตนฌาน จิตของเรานั้นย่อมไม่แล่นไป ... ในเพราะเนวสัญญา-
*นาสัญญายตนฌาน เพราะพิจารณาเห็นว่านั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความ
คิดว่า อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้จิตของเราไม่แล่นไป ... ใน
เพราะเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เมื่อพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์
เรานั้นได้มีความคิดว่า โทษในอากิญจัญญายตนฌาน เราไม่ได้เห็นและไม่ได้ทำ
ให้มาก อานิสงส์ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เราไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพ
โดยมาก เหตุนั้น จิตของเรา จึงไม่แล่นไป ... ในเพราะเนวสัญญานาสัญญายตน-
*ฌาน เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ เรานั้นได้มีความคิดว่า ถ้าแลเราเห็นโทษ
ในอากิญจัญญายตนฌานแล้วกระทำให้มาก บรรลุอานิสงส์ในเนวสัญญานาสัญ-
*ญายตนฌานแล้วพึงเสพโดยมาก ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ คือ จิตของเราพึงแล่นไป
... ดูกรอานนท์ สมัยต่อมา เรานั้นเห็นโทษในอากิญจัญญายตนฌาน ... เสพโดยมาก
ดูกรอานนท์ จิตของเรานั้นจึงแล่นไป ... ในเพราะเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ...
เรานั้นแล ... บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ... ดูกรอานนท์ เมื่อเรานั้นอยู่
ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากิญจัญญายตนฌาน ... ฉะนั้น ฯ
             ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ไฉนหนอ เรา เพราะล่วงเนวสัญญา-
*นาสัญญายตนฌาน พึงบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ จิตของเรานั้นย่อมไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่หลุดพ้นในเพราะสัญญาเวทยิต
นิโรธ เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า
อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่
ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่หลุดพ้นในเพราะสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะ
พิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า โทษในเนวสัญญา-
*นาสัญญายตนฌาน เราไม่เห็นและไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในสัญญาเวทยิต-
*นิโรธ เราไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพโดยมาก เหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่หลุดพ้นในเพราะสัญญาเวทยิต-
*นิโรธ เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ถ้า
แลเราเห็นโทษในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน แล้วพึงกระทำให้มาก บรรลุ
อานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วพึงเสพโดยมาก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ
จิตของเราจะพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส พึงตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ พึงหลุดพ้น
ในเพราะสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์
สมัยต่อมา เรานั้นเห็นโทษในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้วทำให้มาก บรรลุ
อานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วเสพโดยมาก ดูกรอานนท์ จิตของเรานั้นจึง
แล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ หลุดพ้นในเพราะสัญญาเวทยิต-
*นิโรธ เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นแล บรรลุสัญญา
เวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง และ
อาสวะทั้งหลายของเราได้ถึงความสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา ฯ
             ดูกรอานนท์ ก็เรายังเข้าบ้าง ออกบ้าง ซึ่งอนุบุพพวิหารสมาบัติ ๙
ประการนี้ โดยอนุโลมและปฏิโลมอย่างนี้ไม่ได้เพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณว่า
ได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น ดูกรอานนท์
ก็เมื่อใดแล เราเข้าบ้าง ออกบ้าง ซึ่งอนุบุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการนี้ โดย
อนุโลมและปฏิโลมอย่างนี้แล้ว เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้แล้ว ซึ่งอนุตร-
*สัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ก็แหละญาณทัสนะเกิดขึ้นแก่เราว่า
เจโตวิมุติของเราไม่กำเริบชาตินี้มีในที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบมหาวรรคที่ ๔
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
             ๑. วิหารสูตรที่ ๑ ๒. วิหารสูตรที่ ๒ ๓. นิพพานสูตร ๔. คาวีสูตร
๕. ฌานสูตร ๖. อานันทสูตร ๗. พราหมณสูตร ๘. เทวสูตร ๙. นาคสูตร
๑๐. ตปุสสสูตร ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๙๓๕๐-๙๕๔๓ หน้าที่ ๔๐๓-๔๑๑.
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=9350&Z=9543&pagebreak=0

-อัสสาทะ-อาทีนวะ-นิสสรณะของเวทนา 
 -(ธรรมลักษณะ ๓ ประการของเวทนา : วัตถุแห่งสัมมาทิฏฐิ)

 ภิกษุ ท. !  อะไร เป็นอัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนาทั้งหลาย ?
 (ก) ภิกษุ ท. !  ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัดจากกามและสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมบรรลุ ฌานที่หนึ่ง ซึ่งมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! ในสมัยใด ภิกษุ เพราะสงัดจากกามและสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมบรรลุฌานที่หนึ่ง .... นั้นแล้วแลอยู่. ในสมัยนั้น เธอย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเอง, ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น, และย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย. ในสมัยนั้น (ในขณะนั้น) เธอย่อมเสวย เวทนา อันไม่ทำความเดือดร้อนแต่อย่างใดเลย.   ภิกษุ ท. !  เรากล่าว อัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนาทั้งหลาย ว่า มีการไม่ทำความเดือดร้อนแก่ผู้ใดเป็นอย่างยิ่ง. 
 (ข) ภิกษุ ท. !  ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ ย่อมบรรลุ ฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียวแห่งใจ ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่.   ภิกษุ ท. !  ในสมัยใด ภิกษุ เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ ย่อมบรรลุ ฌานที่สอง .... นั้นแล้วแลอยู่. ในสมัยนั้น เธอย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเอง, ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น, และย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย. ในสมัยนั้น เธอย่อม เสวยเวทนา อันไม่ทำความเดือดร้อนแต่อย่างใดเลย.  
ภิกษุ ท. !  เรากล่าว อัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนาทั้งหลาย ว่า มีการไม่ทำความเดือดร้อนแก่ผู้ใดเป็นอย่างยิ่ง.
 (ค) ภิกษุ ท. !  ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมบรรลุ ฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า “ผู้ได้บรรลุฌานนี้ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข” ดังนี้ แล้วแลอยู่.   ภิกษุ ท. !  ในสมัยใด ภิกษุ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมบรรลุฌานที่สาม .... นั้นแล้วแลอยู่. ในสมัยนั้น เธอย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเอง, ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น, และย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย. ในสมัยนั้น เธอย่อมเสวย เวทนา อันไม่ทำความเดือดร้อนแต่อย่างใดเลย.   ภิกษุ ท. !  เรากล่าวอัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนาทั้งหลาย ว่า มีการไม่ทำความเดือดร้อนแก่ผู้ใดเป็นอย่างยิ่ง.
 (ง) ภิกษุ ท. !  ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน ย่อมบรรลุ ฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่.   ภิกษุ ท. !  ในสมัยใด ภิกษุ เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน ย่อมบรรลุฌานที่สี่ …. นั้นแล้วแลอยู่. ในสมัยนั้น เธอย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเอง, ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น,  และย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย. ในสมัยนั้น เธอย่อมเสวย เวทนา อันไม่ทำความเดือดร้อนแต่อย่างใดเลย.   ภิกษุ ท. !  เรากล่าว อัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนาทั้งหลายว่า มีการไม่ทำความเดือดร้อนแก่ผู้ใดเป็นอย่างยิ่ง.
 ภิกษุ ท. !  อะไร เป็นอาทีนวะ (โทษอันต่ำทราม) ของเวทนา ทั้งหลาย ?   ภิกษุ ท. !  เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็น ธรรมดาอันใด, อันนั้น เป็นอาทีนวะของเวทนาทั้งหลาย. 
 ภิกษุ ท. !  อะไร เป็นนิสสรณะ (อุบายเครื่องออก) จากเวทนาทั้งหลาย ?   ภิกษุ ท. !  การนำออกเสียได้ซึ่งฉันทราคะ การละเสียได้ซึ่งฉันทราคะ ในเวทนาทั้งหลาย อันใด, อันนั้น เป็นนิสสรณะจากเวทนาทั้งหลาย. 
 ภิกษุ ท. !  สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ไม่รู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่ง อัสสาทะแห่งเวทนาทั้งหลายโดยความเป็นอัสสาทะด้วย ซึ่งอาทีนวะโดยความเป็นอาทีนวะด้วย ซึ่งนิสสรณะโดยความเป็นนิสสรณะด้วย โดยอาการอย่างนี้ อยู่; สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นน่ะหรือ จักรอบรู้ซึ่งเวทนาทั้งหลายด้วยตนเอง หรือว่าจักชวนผู้อื่นให้รอบรู้ซึ่งเวทนาทั้งหลายเหมือนผู้ที่เคยปฏิบัติแล้ว  ดังนี้นั้น : นั่นไม่เป็นฐานะที่มีได้. 
 ภิกษุ ท. !  ส่วน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด รู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งอัสสาทะแห่งเวทนาทั้งหลายโดยความเป็นอัสสาทะด้วย ซึ่งอาทีนวะโดยความเป็นอาทีนวะด้วย ซึ่งนิสสรณะโดยความเป็นนิสสรณะด้วย โดยอาการอย่างนี้ อยู่; สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นนั่นแหละ จักรอบรู้ซึ่งเวทนาทั้งหลายด้วยตนเอง หรือว่าจักชักชวนผู้อื่นให้รอบรู้ซึ่งเวทนาทั้งหลายเหมือนผู้ที่เคยปฏิบัติแล้ว  ดังนี้นั้น : นั่นเป็นฐานะที่มีได้. 

 - มู. ม. ๑๒/๑๗๖-๑๗๗/๒๐๕-๒๐๘.

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...