พระพุทธเจ้าทำกรรมฐานครบ ทั้ง ๔๐ กอง จบ ก็รู้ชัดว่าไม่ใช่หนทางตรัสรู้ พระองค์เข้าถึงชั้นสูงสุด อรูปพรหมเท่านั้น จึงต้องเสด็จไปบำเพ็ญโดยลำพัง ๖ ปี ที่พระองค์ โดยยากลำบาก เพราะ มารขัดขวาง พระองค์ทั้งอดอาหาร กลั้นหายใจทรมานกายแสนสาหัส
ทรงเปลี่ยนแปลงหนทางปฏิบัติ ฉันจังหันให้พระวรกายมีกำลัง จนกระทั่งได้ฉันข้าวมธุปายาสของนางสุชาดา แล้วเอาถาดทองลงลอยในแม่น้ำเนรัญชรา ทรงอธิษฐาน ถาดทองก็ลอยทวนน้ำขึ้นไปไกลได้ ๒๐ วา แล้วจมลง พระองค์เห็นประจักษ์ ก็แน่พระทัยว่าจะได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ แน่แท้
... เวลาเย็น พราหมณ์ชื่อ โสตถิยพราหมณ์ น้อมนำหญ้าคาแปดกำมือ มาถวาย แล้วเอาไปทรงลาดลงที่โคนไม้ศรีมหาโพธิที่จะตรัสรู้ ก็ทรงอธิษฐานทดลองดูอีกว่า ถ้าจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แล้ว ก็ขอให้เกิดเป็นบัลลังก์แก้วขึ้นเหมือนอย่างคำอธิษฐาน พอสิ้นคำอธิษฐานแล้วก็เกิดเป็นบัลลังก์แก้วสูง ๑๔ ศอกเหมือนคำอธิษฐาน
**.. เมื่อพระองค์เห็นประจักษ์ดังนั้นก็หมดความสงสัย ก็เสด็จขึ้นนั่งบัลลังก์ ตั้งพระทัยว่าถึงเลือดเนื้อและดวงใจจะเหือดแห้ง หรือกระดูกจะกองอยู่ที่นี้ก็ตามเถิด ถ้าพระโพธิญาณไม่บังเกิด เป็นไม่ลุกจากบัลลังก์นี้เป็นอันขาด ที่พระองค์จะปักพระทัยหมายมั่นปล่อยชีวิตลงได้ก็เพราะเห็นความอธิษฐานของ พระองค์ปรากฏขึ้นแน่แท้ว่าจะได้ตรัสรู้แน่โดยไม่ต้องสงสัย
*ทรงหลับพระเนตร เข้าฌานตั้งแต่ขั้นต้น จนถึงอรูปฌาน จนจิตใส เหล่ามารและเสนามารขัดขวาง กลัวว่าพระองค์ จะบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ
...จึงส่งลูกสาวพระยามาร ๓ คือนางตัณหา นางราคา นางอรตีเข้ามาประเล้าประโลม พระองค์ได้ขับไล่นางทั้งสามให้หนีไป พระยามารก็ยกกองทัพเข้ามา นั่งช้างคิริเมขลมหาคชสาร สูงถึง ๑๕๐ โยชน์ (ล้วนแต่เป็นกายทิพย์) พระองค์ใช้ปัญญาจักษุ หรือสมันตจักษุ แลเห็น
* พระพุทธเจ้า ใช้กายอรูปพรหม ละเอียดกว่า สูงกว่า.ใหญ่โตกว่า พวกกายทิพย์เหล่ามาร สู้ไม่ได้ พ่ายแพ้ไป พระองค์ทำจิตระลึก ชาติหนหลัง ได้ร้อยชาติพันชาติ จนนับไม่ถ้วน
*พระองค์ พิจารณาเห็นอริยสัจทั้ง ๔ เห็นกายมนุษย์เป็นทุกข์ด้วยเกิด แก่ เจ็บ ตาย, เห็นกายทิพย์ กายพรหม กายอรูปพรหม เวียนเกิด ตาย ไม่สิ้นสุด, พระองค์เดินสมาบัติ(รูปฌาน อรูปฌาน)พิจารณาอริยสัจทั้ง ๔ เป็น ฌานโลกุตตระ
** จนเข้าถึ พระโสดาปัตติ - พระโสดาปัตติผล สกิคามีมรรค-สกิคามีผล –อรหัตตมรรค- -อรหัตผล อยู่จบพรหมจรรย์ ไม่ต้องทำกิจอีกต่อไป ทรงรู้ชัดว่าพระองค์เป็น”พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า”
ที่มา มโนธาตุ โพธิญาณ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น