18 เมษายน 2563

ปัญญาทิฏฐิวิสุทธิ


ทิฏฐิวิสุทธินั่นคือปัญญาอันพิจารณาซึ่งนามและรูปโดยสามัญลักษณะ มีสภาวะเป็นปริณามธรรมมิได้เที่ยงแท้ มีปกติแปรผันเป็นต้น เป็นปัญญาเครื่องชำระตนให้บริสุทธิ์จากความเห็นผิดต่างๆ 

โยคาวจรเจ้าผู้ปรารถนาจะยังทิฏฐิวิสุทธิให้บริบูรณ์ พึงเข้าสู่ฌาณสมาบัติตามจิตประสงค์ ยกเว้นเสียแต่เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เพราะละเอียดเกินไป ปัญญาของโยคาวจรจะพิจารณาได้โดยยาก พึงเข้าแต่เพียงรูปฌาณ 4 อรูปฌาณ 3 ประการนั้นเถิด เมื่ออกจากฌาณสมาบัติอันใดอันหนึ่งแล้ว พึงพิจารณาองค์ฌาณ มีวิตกวิจารณ์เป็นต้น แล้วเจตสิกธรรมอันสัมปยุตต์ด้วยองค์ฌาณนั้นให้แจ้งชัดโดยลักษณะ กิจ ปัจจุปัฏฐานและอาสันนการณ์ แล้วพึงกำหนดกฏหมายว่า องค์ฌาณและธรรมอันสัมปยุตต์ด้วยองค์ฌาณนี้ล้วนแต่เป็นนามธรรม เพราะเป็นสิ่งที่น้อมไปสู่อารมณ์สิ้นด้วยกัน แล้วพึงกำหนดพิจารณาที่อยู่ของนามธรรม จนเห็นแจ้งว่า หทัยวัตถุ เป็นที่อยู่แห่งนามธรรม อุปมาเหมือนบุรุษเห็นอสรพิษภายในเรือน เมื่อติดตามสกัดดูก็รู้ว่าอสรพิษอยู่ที่นี่ๆ ฉันใด โยคาวจรผู้แสวงหาที่อยู่แห่งนามธรรมฉันนั้น ครั้นแล้วพึงพิจารณารูปธรรมสืบต่อไป จนเห็นแจ้งว่า หทัยวัตถุนั้นอาศัยซึ่งภูตรูปทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ แม้อุปาทานรูปอื่นๆ ก็อาศัยภูตรูปสิ้นด้วยกัน รูปธรรมนี้ย่อมเป็นสิ่งฉิบหายด้วยอันตรายต่างๆ มีหนาวร้อนเป็นต้น เมื่อโยคาวจรมาพิจารณารู้แจ้งซึ่งนามและรูปฉะนี้แล้ว พึงพิจารณาธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ให้เห็นแจ้งด้วยปัญญาโดยสังเขปหรือพิสดารก็ได้ ตามแต่ปัญญาของโยคาวจรจะพึงหยั่งรู้หยั่งเห็น ครั้นพิจารณาธาตุแจ่มแจ้งแล้ว พึงพิจารณาอาการ 32 ในร่างกาย มีเกสา โลมา เป็นต้น จนถึงมัตถลุงคังเป็นที่สุด ให้เห็นชัดด้วยปัญญา โดย วณโณ สี คนโธ กลิ่น รโส รส โอช ความซึมซาบ สณฐาโน สัณฐาน สั้นยาวใหญ่น้อย แล้วพึงประมวลรูปธรรมทั้งปวงมาพิจารณาในทีเดียวกันว่า รูปธรรมทั้งปวงล้วนมีลักษณะฉิบหายเหมือนกัน จะมั่น จะคง จะเที่ยง จะแท้ สักสิ่งหนึ่งก็มิได้มี เมื่อโยคาวจรเจ้าพิจารณาเห็นกองรูปดังนี้แล้ว อรูปธรรมทั้ง 2 คือจิต เจตสิก ก็ปรากฏแจ้งแก่พระโยคาวจรด้วยอำนาจทวาร คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ เพราะว่าจิตและเจตสิกนี้มีทวารทั้ง 6 เป็นที่อาศัย เมื่อพิจารณาทวารทั้ง 6 แจ้งประจักษ์แล้ว ก็รู้จักจิตและเจตสิกอันอาศัยทวารทั้ง 6 นั้นแน่แท้ จิตที่อาศัยทวารทั้ง 6 นั้นจัดเป็นโลกีย์ 81 คือทวิปัญจวิญญาณ 10 มโนธาตุ 3 มโนวิญญาณธาตุ 68 และเจตสิกที่เกิดพร้อมกับโลกียจิต 81 คือผัสโส เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิต อินทรีย์ มนสิการ ทั้ง 7 นี้เป็นเจตสิกที่สาธารณะทั่วไปในจิตทั้งปวง การกล่าวดังนี้มิได้แปลกกันเพราะจิตทั้งปวงนั้น ถ้ามีเจตสิกอันทั่วไปแก่จิตทั้งปวงเกิดพร้อมย่อมมีเพียง 7 ประการเท่านี้
เมื่อโยคาวจรบุคคลมาพิจารณา นามและรูปอันกล่าวโดยสรุปคือ ขันธ์ 5 แจ้งชัดด้วยปัญญาญาณตามความเป็นจริงแล้ว ย่อมถอนความเห็นผิด และตัดความสงสัยในธรรมเสียได้ ย่อมรู้จักทางผิดหรือถูกความดำเนินและไม่ควรดำเนิน แจ่มแจ้งแก่ใจย่อมสามารถถอนอาลัยในโลกทั้งสามเสียได้ ไม่ใยดีติดอยู่ในโลกไหนๆ จิตใจของโยคาวจรย่อมหลุดพ้นจากอาสวกิเลส เป็นสมุจเฉทประหารได้โดยแน่นอนด้วยประการฉะนี้แล

http://www.84000.org/supatipanno/dham3.html

"บทว่า จิตฺตวิสุทฺธิ ได้แก่ สมาบัติ ๘ อัน
คล่องแคล่ว เป็นปทัฏฐานแห่งวิปัสสนา."

(ปทัฏฐาน :เหตุที่ตั้งเป็นเครื่องถึง,เหตุใกล้ให้เกิด"

"บทว่า ญาณทสฺสนวิสุทฺธิ ได้แก่ ปัญญาในอริยมรรค ๔. 
               อริยมรรคปัญญานั้นย่อมชำระมลทินคือกิเลสที่ถูกฆ่าด้วยมรรคของตนๆ โดยเด็ดขาด"

 "บทว่า สมโถ จ วิปสฺสนา จ - สมถะและวิปัสสนา. 
               ชื่อว่าสมถะ เพราะยังธรรมที่เป็นข้าศึกมีกามฉันทะเป็นต้นให้สงบ คือให้หมดไป สมถะนี้เป็นชื่อของสมาธิ. 
               ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะเห็นธรรมโดยอาการหลายอย่างโดยมีความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น วิปัสสนานี้เป็นชื่อของปัญญา."

               
           ................................................

บทว่า สีลวิสุทฺธิ ได้แก่ จตุปาริสุทธิศีล อันสามารถให้ถึงความหมดจด. สีลวิสุทธินั้น ชำระมลทิน คือ ความเป็นผู้ทุศีล. 
               บทว่า ปาริสุทฺธิปธานิยงฺคํ คือ องค์เป็นประธานสูงสุดแห่งความเป็นผู้บริสุทธิ์. 
               บทว่า จิตฺตวิสุทฺธิ ได้แก่ สมาบัติ ๘ อันคล่องแคล่ว เป็นปทัฏฐานแห่งวิปัสสนา. 
               บทว่า ทิฏฺฐิวิสุทฺธิ คือ การเห็นนามรูปพร้อมด้วยปัจจัย. 
               ทิฏฐิวิสุทธินั้นชำระมลทินคือสัตวทิฏฐิ - ความเห็นว่าเป็นสัตว์ให้หมดจด. 
               บทว่า กงฺขาวิตรณวิสุทฺธิ คือ ความรู้ปัจจยาการ. 
               พระโยคาวจรเมื่อเห็นว่าธรรมทั้งหลาย ย่อมเป็นไปด้วยสามารถปัจจัยในอัทธา - กาลอันยืดยาว ๓ ด้วยกังขาวิตรณวิสุทธินั้น ข้ามมลทินคือความสงสัย ๗ ในอัทธาแม้ ๓ ย่อมบริสุทธิ์.
               บทว่า มคฺคามคฺคญาณทสฺสนวิสุทฺธิ ได้แก่ วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ คือ :- 
                         โอภาส - แสงสว่าง ๑ 
                         ญาณ - ความรู้ ๑ 
                         ปีติ - ความอิ่มใจ ๑ 
                         ปัสสัทธิ - ความสงบ ๑ 
                         สุข - ความสุข ๑ 
                         อธิโมกข์ - ความน้อมใจเชื่อ ๑ 
                         ปัคคหะ - ความเพียร ๑ 
                         อุปัฏฐาน - ความตั้งมั่น ๑ 
                         อุเบกขา - ความวางเฉย ๑ 
                         นิกันติ - ความใคร่ ๑ 
               เกิดขึ้นในขณะอุทยัพพยานุปัสสนา - พิจารณาเห็นความเกิดและความดับ, มิใช่ทาง, อุทยัพพยญาณปฏิบัติไปตามวิถี เป็นทางด้วยเหตุนั้น ชื่อว่ามัคคามัคคญาณ - ญาณในทางและมิใช่ทาง ด้วยประการฉะนี้จึงยังมลทินอันมิใช่ทางให้หมดจดด้วยญาณนั้น. 
               บทว่า ปฏิปทาญาณทสฺสนวิสุทฺธิ ได้แก่ วิปัสสนาญาณ ๙ เหล่านี้คือ :- 
               อุทยัพพยานุปัสนาญาณ - ปรีชาคำนึงเห็นทั้งความเกิดทั้งความดับ ๑ 
               ภังคานุปัสนาญาณ - ปรีชาคำนึงเห็นความดับ ๑ 
               ภยตูปัฏฐานานุปัสนาญาณ - ปรีชาคำนึงเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว ๑ 
               อาทีนวานุปัสนาญาณ - ปรีชาคำนึงเห็นโทษ ๑ 
               นิพพิทานุปัสนาญาณ - ปรีชาคำนึงถึงด้วยความเบื่อหน่าย ๑ 
               มุญจิตุกัมยตาญาณ - ปรีชาคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย ๑ 
               ปฏิสังขานุปัสนาญาณ - ปรีชาคำนึงด้วยพิจารณาหาทาง ๑ 
               สังขารุเปกขาญาณ - ปรีชาคำนึงด้วยความวางเฉยในสังขาร ๑ 
               สัจจานุโลมิกญาณ - ปรีชาเป็นไปโดยสมควรแก่กำหนดรู้อริยสัจ ๑. 
               วิปัสสนาญาณเหล่านั้น ย่อมชำระมลทินมีความสำคัญว่าเที่ยงเป็นต้น. 

     บทว่า ญาณทสฺสนวิสุทฺธิ ได้แก่ ปัญญาในอริยมรรค ๔. 
               อริยมรรคปัญญานั้นย่อมชำระมลทินคือกิเลสที่ถูกฆ่าด้วยมรรคของตนๆ โดยเด็ดขาด

http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=67&p=1

ว่าด้วยการศึกษา โดยสีลวิสุทธิ
จิตวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิ

(อานาปานสติ ปฏิจจสมุปบาท)

คำว่า ย่อมพิจารณา ฯลฯ สีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงระวังลมหายใจออกลมหายใจเข้า 

จิตวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ทิฐิวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าเห็นความระวังในสีลวิสุทธินั้นเป็นอธิสีลสิกขาความไม่ฟุ้งซ่านในจิตวิสุทธินั้นเป็นอธิจิตตสิกขา 

ความเห็นในทิฐิวิสุทธินั้นเป็นอธิปัญญาสิกขา บุคคลคำนึงถึงสิกขา ๓ ประการนี้

ศึกษาอยู่ รู้ศึกษา เห็นศึกษาพิจารณาศึกษา อธิษฐานศึกษา น้อมใจเชื่อด้วยศรัทธาศึกษา ประคองความเพียรศึกษา ดำรงสติไว้มั่นศึกษา ตั้งจิตมั่นศึกษา รู้ชัดด้วยปัญญาศึกษา รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งศึกษา กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ศึกษา ละธรรมที่ควรละศึกษา เจริญธรรมที่ควรเจริญศึกษา ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งศึกษา
เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออกหายใจเข้า เวทนาย่อมเกิดปรากฏ ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออกหายใจเข้า ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้นท่านจึง

กล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ

         

     [๓๙๐] ภิกษุเมื่อหายใจออกยาวก็รู้ว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว
ก็รู้ว่า หายใจเข้ายาว อย่างไร ฯ
             ภิกษุเมื่อหายใจออกยาว ย่อมหายใจออกในขณะที่นับยาว เมื่อหายใจ
เข้ายาว ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับยาว เมื่อหายใจออก หายใจเข้ายาว ย่อม
หายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับยาว ฉันทะย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้เมื่อหาย
ใจออกหายใจเข้ายาว หายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับยาว เมื่อหายใจ
ออกยาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ ย่อมหายใจออกในขณะที่นับยาว เมื่อ
หายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับยาว
เมื่อหายใจออกหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ ย่อมหายใจออก
บ้าง หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับยาว ความปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุเมื่อหายใจ
ออกหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ หายใจออกบ้าง หายใจเข้า
บ้างในขณะที่นับยาว เมื่อหายใจออกยาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถ ความ
ปราโมทย์ ย่อมหายใจออกในขณะที่นับยาว เมื่อหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้น
ด้วยสามารถความปราโมทย์ ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับยาว เมื่อหายใจออก
หายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์ ย่อมหายใจออกบ้าง
หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับยาว จิตของภิกษุผู้เมื่อหายใจออกหายใจเข้ายาวละเอียด
กว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์ หายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับ
ยาว ย่อมหลีกออกจากการหายใจออกหายใจเข้ายาว อุเบกขาย่อมตั้งอยู่ กาย
คือ ลมหายใจออกลมหายใจเข้ายาวด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ ย่อมปรากฏ สติเป็น
อนุปัสนาญาณ กายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุ
พิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า
สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย ฯ
             [๓๙๑] คำว่า อนุปสฺสติ ความว่า ภิกษุพิจารณากายนั้นอย่างไร ฯ
             พิจารณาโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาโดยความเที่ยง พิจารณาโดย
ความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาโดยความเป็นสุข พิจารณาโดยความเป็นอนัตตา
ไม่พิจารณาโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด
ไม่กำหนัด ย่อมให้ราคะดับไป ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อพิจารณา
โดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาโดยความเป็นทุกข์ ย่อม
ละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อ
เบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อให้
ราคะดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือได้ ภิกษุพิจารณา
กายนั้นอย่างนี้ ฯ
             [๓๙๒] ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ คือ ภาวนาด้วยอรรถว่าธรรม
ทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็น
อันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่านำไป ซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ความที่ธรรมทั้งหลาย
ไม่ล่วงเกินกันและความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่า
เป็นที่เสพ ๑ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจ
ออกลมหายใจเข้ายาว เวทนาจึงปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึง
ความดับไป สัญญาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป
วิตกย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป ฯ
             [๓๙๓] เวทนาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความ
ดับ อย่างไร ฯ
             ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างไร ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อม
ปรากฏ ด้วยอรรถว่าเพราะปัจจัยเกิดว่า เพราะอวิชชาเกิดเวทนาจึงเกิด เพราะ
ตัณหาเกิดเวทนาจึงเกิด เพราะกรรมเกิดเวทนาจึงเกิด เพราะผัสสะเกิดเวทนาจึง
เกิด แม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความเกิด ความเกิดแห่งเวทนาก็ย่อมปรากฏ ความ
เกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างนี้ ฯ
             ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างไร เมื่อมนสิการโดยความ
ไม่เที่ยง ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความสิ้นไปย่อมปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความ
เป็นทุกข์ ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความเป็นภัยย่อมปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความ
เป็นอนัตตา ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความว่างเปล่าย่อมปรากฏ ความเข้าไปตั้งอยู่
แห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างนี้ ฯ
             ความดับไปแห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างไร ความดับไปแห่งเวทนาย่อม
ปรากฏ ด้วยอรรถว่าเพราะปัจจัยดับว่า เพราะอวิชชาดับเวทนาจึงดับ เพราะตัณหา
ดับเวทนาจึงดับ เพราะกรรมดับเวทนาจึงดับ เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ แม้
เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะความแปรปรวน ความดับไปแห่งเวทนาก็ย่อมปรากฏ
ความดับไปแห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างนี้ เวทนาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไป
ตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป อย่างนี้ ฯ
             [๓๙๔] สัญญาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความ
ดับ อย่างไร ฯ
             ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างไร ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อม
ปรากฏ ด้วยอรรถว่าเพราะปัจจัยเกิดว่า เพราะอวิชชาเกิดสัญญาจึงเกิด ... ความ
เกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมปรากฏ อย่างนี้ ฯ
             ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างไร เมื่อมนสิการโดยความ
ไม่เที่ยง ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความสิ้นไปย่อมปรากฏ ... ความเข้าไปตั้งอยู่แห่ง
สัญญาย่อมปรากฏอย่างนี้ ฯ
             ความดับไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างไร ความดับไปแห่งสัญญาย่อม
ปรากฏ ด้วยอรรถว่าเพราะปัจจัยดับว่า เพราะอวิชชาดับสัญญาจึงดับ ... ความ
ดับไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างนี้ สัญญาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้ง
อยู่ ปรากฏถึงความดับไป อย่างนี้ ฯ
             [๓๙๕] วิตกย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับ
ไป อย่างไร ฯ
             ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อมปรากฏอย่างไร ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อม
ปรากฏ ด้วยอรรถว่าเพราะปัจจัยเกิดว่า เพราะอวิชชาเกิดวิตกจึงเกิด เพราะ
ตัณหาเกิดวิตกจึงเกิด เพราะกรรมเกิดวิตกจึงเกิด แม้เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะ
ความเกิด ความเกิดขึ้นแห่งวิตกก็ย่อมปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อมปรากฏ
อย่างนี้ ฯ
             ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งวิตกย่อมปรากฏอย่างไร เมื่อมนสิการโดยความไม่
เที่ยง ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความสิ้นไปย่อมปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็น
ทุกข์ ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความเป็นภัยย่อมปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็น
อนัตตา ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความว่างเปล่าย่อมปรากฏ ความเข้าไปตั้งอยู่แห่ง
วิตกย่อมปรากฏอย่างนี้ ฯ
             ความดับไปแห่งวิตกย่อมปรากฏอย่างไร ความดับไปแห่งวิตกย่อมปรากฏ
ด้วยอรรถว่าเพราะปัจจัยดับว่า เพราะอวิชชาดับวิตกจึงดับ เพราะตัณหาดับวิตกจึง
ดับ เพราะกรรมดับวิตกจึงดับ เพราะสัญญาดับวิตกจึงดับ แม้เมื่อพิจารณาเห็น
ลักษณะความแปรปรวน ความดับไปแห่งวิตกก็ย่อมปรากฏ ความดับไปแห่งวิตก
ย่อมปรากฏอย่างนี้ วิตกย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความ
ดับไป อย่างนี้ ฯ

                   อานาปานกถา ฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...