"ปฏิบัติพอเหมาะสมแก่ข้อปฏิบัติ"
และเหตุของการ ฟังธรรม บันลุธรรม
ว่าด้วยพหูสูต และอารมณ์ ๓๘ ประการ
คำว่า เธอทั้งหลายจงเพ่ง หมายความว่า จงเข้าไปเพ่งอารมณ์ ๓๘ ประการ ด้วยอารัมมณูปนิชฌาน (การเพ่งอารมณ์) และเพ่งขันธ์และอายตนะเป็นต้นโดยความไม่เที่ยงเป็นต้น ด้วยลักขณูปนิชฌาน (การเพ่งลักษณะ). มีคำอธิบายว่า เจริญสมถะและวิปัสสนา.
บทว่า อยํ โว อมฺหากํ อนุสาสนี นี้เป็นอนุศาสนี (การพร่ำสอน) ของเราตถาคตสำหรับเธอทั้งหลาย. ความว่า นี้เป็นอนุศาสนี.
มีคำอธิบายว่า เป็นโอวาทเพื่อเธอทั้งหลาย จากสำนักของเราตถาคตว่า จงเพ่ง (เผากิเลส) จงอย่าประมาท ดังนี้แล.
......................................................................
แต่เหล่าชนผู้ชื่อว่าเป็นพหูสูต เพราะมีการศึกษา(สุตะ) มาก. คำว่า พหุสสุตา นี้ เป็นชื่อของเหล่าชนผู้รู้พระพุทธภาษิต คือกถา แม้เรื่องเดียวโดยถ่องแท้แล้วปฏิบัติพอเหมาะสมแก่ข้อปฏิบัติ.
เหล่าชนผู้ชื่อว่าเกียจคร้าน เพราะจมลง (สู่ภาวะที่น่าเกลียด) คำนี้เป็นชื่อของผู้เสื่อมความเพียรแล้ว.
เหล่าชนผู้ชื่อว่าปรารภความเพียรแล้ว เพราะมีความเพียรที่ปรารภแล้ว คำนี้เป็นชื่อของเหล่าชนผู้ประกอบด้วยความเพียรชอบ.
เหล่าชนผู้ชื่อว่ามีสติหลงลืมแล้ว เพราะมีสติฟั่นเฟือนแล้ว. มีคำอธิบายไว้ว่า มีสติเสื่อมแล้ว.
เหล่าชนผู้ชื่อว่าผู้ตั้งสติได้แล้ว เพราะมีสติที่ตนตั้งไว้ใกล้ชิดแล้ว. คำว่า อุปฏฺฐิตสฺสตี นี้ เป็นชื่อของผู้ปฏิบัติทั้งหลาย ที่มีสติเผชิญหน้ากับอารมณ์อยู่เป็นนิจ.
อีกอย่างหนึ่ง ด้วยคำทั้ง ๒ นี้ ทรงบอกเสนาสนะที่เหมาะสมกับความเพียร คือทรงมอบความเป็นทายาทให้.
คำว่า เธอทั้งหลายจงเพ่ง หมายความว่า จงเข้าไปเพ่งอารมณ์ ๓๘ ประการ ด้วยอารัมมณูปนิชฌาน (การเพ่งอารมณ์) และเพ่งขันธ์และอายตนะเป็นต้นโดยความไม่เที่ยงเป็นต้น ด้วยลักขณูปนิชฌาน (การเพ่งลักษณะ). มีคำอธิบายว่า เจริญสมถะและวิปัสสนา.
ข้อว่า มา ปมาทตฺถ (เธอทั้งหลายอย่าได้ประมาท) ความว่า เธอทั้งหลายอย่าได้ประมาท คืออย่าได้เดือดร้อนในภายหลัง.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนั้นดังว่ามานี้ จึงได้ตรัสว่า เธอทั้งหลายอย่าได้เดือดร้อนภายหลัง.
บทว่า อยํ โว อมฺหากํ อนุสาสนี นี้เป็นอนุศาสนี (การพร่ำสอน) ของเราตถาคตสำหรับเธอทั้งหลาย. ความว่า นี้เป็นอนุศาสนี.
มีคำอธิบายว่า เป็นโอวาทเพื่อเธอทั้งหลาย จากสำนักของเราตถาคตว่า จงเพ่ง (เผากิเลส) จงอย่าประมาท ดังนี้แล.
อรรถกถาสัลเลขสูตร
[กรรมฐาน ๒ พร้อมทั้งอธิบาย]
กรรมฐานนั้น มีอยู่ ๒ อย่าง คือ สัพพัตถกกัมมัฏฐาน (กรรมฐานมีประโยชน์ในกุศลธรรมทั้งปวง) ๑ ปาริหาริยกัมมัฏฐาน (กรรมฐานควรบริหารรักษา) ๑. บรรดากรรมฐาน ๒ อย่างนั้นที่ชื่อว่า สัพพัตถกกัมมัฏฐาน ได้แก่เมตตา (ที่เจริญไป) ในหมู่ภิกษุเป็นต้นและมรณัสสติ (การระลึกถึงความตาย). พระอาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า อสุภสัญญา บ้าง.
จริงอยู่ ภิกษุผู้จะเจริญกรรมฐาน ครั้งแรกต้องตัดปลิโพธเสียก่อน แล้วจึงเจริญเมตตาไปในหมู่ภิกษุผู้อยู่ในสีมา, ลำดับนั้น พึงเจริญไปในเหล่าเทวดาผู้อยู่ในสีมา, ถัดจากนั้นพึงเจริญไปในอิสรชนในโคจรคาม, ต่อจากนั้นพึงเจริญไปในเหล่าสรรพสัตว์กระทั่งถึงชาวบ้านในโคจรคามนั้น.
แท้จริง ภิกษุนั้นทำพวกชนผู้อยู่ร่วมกันให้เกิดมีจิตอ่อนโยน เพราะเมตตาในหมู่ภิกษุ. เวลานั้น เธอจะมีความอยู่เป็นสุข. เธอย่อมเป็นผู้อันเหล่าเทวดาผู้มีจิตอ่อนโยน เพราะเมตตาในเหล่าเทวดาผู้อยู่ในสีมาจัดการอารักขาไว้เป็นอย่างดี ด้วยการรักษาที่ชอบธรรม. ทั้งเป็นผู้อันอิสรชนทั้งหลายผู้มีจิตสันดานอ่อนโยน เพราะเมตตาในอิรชนในโคจรคาม จัดรักษาระแวดระวังไว้อย่างดี ด้วยการรักษาที่ชอบธรรม. และเป็นผู้อันชาวบ้านเหล่านั้นผู้มีจิตถูกอบรมให้เลื่อมใส เพราะเมตตาในพวกชาวบ้านในโคจรคามนั้น ไม่ดูหมิ่นเที่ยวไป. เป็นผู้เที่ยวไปไม่ถูกอะไรๆ กระทบกระทั่งในที่ทุกสถาน เพราะเมตตาในเหล่าสรรพสัตว์.
อนึ่ง เธอเมื่อคิดว่า เราจะต้องตายแน่แท้ด้วยมรณัสสติ ละการแสวงหาที่ไม่สมควรเสีย เป็นผู้มีความสลดใจเจริญสูงขึ้นเป็นลำดับ ย่อมเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน. ตัณหาย่อมไม่เกิดขึ้น แม้ในอารมณ์ที่เป็นทิพย์ เพราะอสุภสัญญา.
เพราะเหตุนั้น คุณธรรมทั้ง ๓ (คือ เมตตา ๑ มรณัสสติ ๑ อสุภสัญญา ๑) นั้นของภิกษุนั้น ท่านเรียกว่าสัพพัตถกกัมมัฏฐาน เพราะทำอธิบายว่าเป็นกรรมฐานอันกุลบุตรพึงปรารถนา คือพึงต้องการในที่ทุกสถาน เพราะเป็นธรรมมีอุปการะมาก และเพราะความเป็นปทัฏฐานแห่งการหมั่นประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรตามที่ประสงค์ไป โดยนัยดังพรรณนามาฉะนี้.
ก็บรรดาอารมณ์ ๓๘ ประการ กรรมฐานใดที่คล้อยตามจริตของกุลบุตรใด กรรมฐานนั้น ท่านเรียกว่า ปาริหาริยกรรมฐาน เพราะเป็นกรรมฐานที่กุลบุตรนั้นควรบริหารไว้เป็นนิตย์ โดยนัยตามที่กล่าวแล้วนั่นเอง แต่ในตติยปาราชิกนี้ อานาปานกรรมฐานนี้แล ท่านเรียกว่า ปาริหาริยกรรมฐาน.
อรรถกถา มหาวิภังค์ ปฐมภาค
ปาราชิกกัณฑ์ ตติยปาราชิกสิกขาบท
อรรถกถาวิมุตติสูตรที่ ๖
พึงทราบวินิจฉัยในวิมุตติสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า วิมุตฺตายตนานิ แปลว่า เหตุแห่งการหลุดพ้น.
บทว่า ยตฺถ ได้แก่ ในวิมุตตายตนะ (เหตุแห่งการหลุดพ้น) ใด.
บทว่า สตฺถา ธมฺมํ เทเสติ ได้แก่ พระศาสดาทรงแสดงสัจธรรม ๔.
บทว่า อตฺถปฏิสํเวทิโน ได้แก่ รู้ความแห่งบาลี.
บทว่า ธมฺมปฏิสํเวทิโน ได้แก่ รู้บาลี.
บทว่า ปามุชฺชํ ได้แก่ ปีติอย่างอ่อน.
บทว่า ปีติ ได้แก่ ปีติมีกำลังอันเป็นอาการยินดี.
บทว่า กาโย ได้แก่ นามกาย.
บทว่า ปสฺสมฺภติ คือ สงบนิ่ง.
บทว่า สุขํ เวเทติ ได้แก่ ได้ความสุข.
บทว่า จิตฺตํ สมาธิยติ ได้แก่ จิตตั้งมั่นด้วยสมาธิชั้นอรหัตผล.
จริงอยู่ ภิกษุนี้เมื่อฟังธรรมนั้นย่อมรู้จักฌานวิปัสสนา มรรคและผลในที่ฌานเป็นต้นมาแล้วๆ เมื่อภิกษุนั้นรู้อย่างนี้ ปีติก็เกิด ในระหว่างปีตินั้น ภิกษุนั้นก็ไม่ท้อถอย บำเพ็ญอุปจารกรรมฐาน เจริญวิปัสสนาแล้วย่อมบรรลุพระอรหัต. ทรงหมายถึงพระอรหัตนั้น จึงตรัสว่า จิตฺตํ สมาธิยติ ดังนี้.
แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่นี้เป็นความต่างกัน.
บทว่า สมาธินิมิตฺตํ ได้แก่ สมาธิในอารมณ์ ๓๘ อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่าสมาธินิมิต.
แม้ในบทเป็นต้นว่า สุคฺคหิตํ โหติ กรรมฐานอันผู้เรียนกรรมฐานในสำนักอาจารย์ เป็นอันเรียนแล้วด้วยดี ใส่ใจไว้ด้วยดี ทรงจำไว้ด้วยดี.
บทว่า สุปฺปฏิวิทฺธํ ปญฺญาย ได้แก่ ทำให้ประจักษ์ดีด้วยปัญญา.
บทว่า ตสฺมึ ธมฺเม ได้แก่ ในธรรมคือบาลีที่มาแห่งกรรมฐานนั้น.
ในสูตรนี้ ตรัสวิมุตตายตนะแม้ทั้ง ๕ ถึงอรหัต.
จบอรรถกถาวิมุตติสูตรที่ ๖
เพราะเคยเจริญอานาปานสติมาก่อนจึงได้เป็นขิปปาภิญญา (รู้ได้เร็ว) เฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้า
***********
ภิกษุในศาสนานี้ขวนขวายอานาปานสติ นั่งเหนืออาสนะหนึ่ง ยังอาสวะทั้งหมดให้สิ้นไปแล้วบรรลุพระอรหัต.
เมื่อไม่สามารถอย่างนั้นก็เป็นสมสีสี (สิ้นชีวิตพร้อมทั้งสิ้นกิเลส) ในเวลาตาย.
เมื่อไม่สามารถอย่างนั้นก็บังเกิดในเทวโลก ครั้นฟังธรรมของเทพบุตรผู้เป็นธรรมกถึกแล้วได้บรรลุพระอรหัต.
พลาดไปจากนั้นเมื่อยังไม่เกิดพุทธุปบาทกาล ย่อมทำให้แจ้งปัจเจกโพธิ.
เมื่อยังไม่ทำให้แจ้งปัจเจกโพธินั้น ย่อมเป็นขิปปาภิญญา (รู้ได้เร็ว) เฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ดุจพระพาหิยเถระเป็นต้นฉะนั้น ย่อมมีผลมากด้วยประการฉะนี้.
………….
อรรถกถามหาราหุโลวาทสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=133
ก็ท่านพาหิยะนั้นพอฟังธรรมของพระศาสดาเท่านั้น ชำระศีลให้หมดจด อาศัยสมาธิจิตตามที่ได้แล้ว เริ่มวิปัสสนาเป็นขิปปาภิญญาบุคคล ให้อาสวะทั้งปวงสิ้นไป บรรลุพระอรหัตพร้อมปฏิสัมภิทาขณะนั้นนั่นเอง.
………….
ข้อความบางตอนในอรรถกถาพาหิยสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=47
[๒๑๖] พาหิยทารุจีริยะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้รู้แจ้งได้เร็ว (๘)
………….
ข้อความบางตอนใน ตติยวรรค เอตทัคควรรค อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐
http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=16
ด้วยบทว่า ขิปฺปาภิญฺญานํ ท่านแสดงว่า พระทารุจิริยเถระเป็นยอดของภิกษุสาวกผู้ตรัสรู้เร็ว.
จริงอยู่ พระเถระนี้บรรลุพระอรหัตเมื่อจบพระธรรมเทศนาอย่างย่อ ไม่มีกิจที่จะต้องบริกรรมมรรคผลทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ท่านจึงชื่อว่าเป็นยอดของภิกษุสาวกผู้ตรัสรู้เร็ว.
...ฯลฯ...
แท้จริง แม้ท่านพาหิยทารุจิริยะนี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ เกิดในเรือนสกุลในกรุงหงสวดี กำลังฟังธรรมของพระทศพล เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวกผู้ตรัสรู้เร็ว จึงกระทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น กระทำกุศลกรรมจนตลอดชีวิต เวียนว่ายอยู่ในเหล่าเทวดาและมนุษย์
...ฯลฯ...
พระศาสดาทรงทราบว่า ญาณของพาหิยะแก่กล้าแล้ว ด้วยเหตุเท่านี้ จึงทรงสอนด้วยพระโอวาทนี้ว่า เพราะเหตุนี้แล พาหิยะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่ารูปที่เห็นแล้ว จักเป็นเพียงเห็นแล้วดังนี้เป็นต้น. เมื่อจบเทศนา แม้พาหิยะนั้นทั้งที่อยู่ระหว่างถนนส่งญาณไปตามกระแสเทศนา ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย พาหิยะนั้นถึงที่สุดกิจของตนแล้ว...ฯลฯ...
………….
ข้อความบางตอนในอรรถกถาสูตรที่ ๘ ประวัติพระพาหิยทารุจิริยะ
ที่มา
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php…
เครดิตเพจ พระไตรปิฎกศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น