17 เมษายน 2563

คัมภีร์มหาวงษ์ พงศาวดารลังกา

คัมภีร์มหาวงษ์ พงศาวดารลังกาและคัมภีร์อื่นๆ ทางพุทธศาสนา
อ้างอิงจากหนังสือ "ตีลังกา สืบหาชมพูทวีป" หน้า ๒๐๕ - ๒๒๓
คัมภีร์มหาวงษ์ พงศาวดารลังกา เป็นคัมภีร์ที่กล่าวถึงลังกาทวีป หรือเกาะลังกา จากการค้นคว้าจะพบว่า เกาะลังกา ตั้งอยู่ในประเทศไทยบริเวณจังหวัดลพบุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา เพราะฉะนั้นคัมภีร์มหาวงษ์ เป็นคัมภีร์ของไทย กล่าวถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นที่เรียกว่าประเทศไทย เมื่อในสมัยโบราณ

คัมภีร์มหาวงษ์ เชื่อถือได้ถึงปริเฉทที่ ๓๘ เท่านั้น แบ่งเป็นเล่มที่ ๑ และ ๒ โดยพระมหานาม และรัชกาลที่ ๑ แปลจากภาษาบาลีเป็นภาษาไทยปริเฉทที่ ๑-๓๘ เท่านั้น 
ส่วนเล่มที่ ๓ ผู้เขียนคาดว่าเป็นเรื่องราวที่แต่งขึ้นใหม่ เป็นเรื่องราวของซีลอน (ศรีลังกา) ไม่ใช่ของลังกาทวีป (ประเทศไทย) แต่อย่างใด

ผู้เขียนมีข้อสังเกตหลายประการว่า เล่มที่ ๓ ที่มีการแต่งขึ้นใหม่ บางปริเฉทก็ไม่ปรากฎผู้แต่ง และมีการแต่งซ้ำปริเฉท ๓๗ และ ๓๘ ที่พระมหานามได้แต่งไว้ แต่เนื้อหาจะไม่ตรงกับของเดิมและมีการแต่งเพิ่มขึ้นมา และบางปริเฉทก็หายไป เช่น ปริเฉทที่ ๔๐

เนื้อหาของมหาวงษ์ที่พระมหานามแต่งขึ้น เป็นการบรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในลังกาทวีป (ประเทศไทย) เริ่มตั้งแต่พระเจ้าวิชัยปฐมกษัตริย์แห่งลังกา ถูกพระราชบิดา (สีหพาหุ) เนรเทศมาจากสิงห์บุรี พร้อมกับบริวารทั้ง ๗๐๐ แล้วมาขึ้นที่เกาะฝ่ามือแดง สันนิษฐานว่า คือ เขาทับควาย ขณะนั้นภูมิประเทศแถวลพบุรี เป็นทะเล (ทะเลที่ไม่ลึก) ไปมาหาสู่กันได้ไม่ลำบาก

มหาวงษ์ตั้งแต่ปริเฉทที่ ๓๙ เป็นต้นไป เป็นเรื่องราวที่แต่งขึ้นใหม่ เพื่อให้เข้ากับเรื่องราวของซีลอน (ศรีลังกาปัจจุบัน) ซึ่งถ้าไม่พิจารณาให้ดี จะเห็นว่าเป็นเนื้อเรื่องเดียวกัน แต่ไม่ใช่เลย มหาวงษ์ฉบับของพระมหานาม มีเรื่องราวที่บ่งบอกขนบธรรมเนียมประเพณีไทย เช่น การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ พิธีมูรธาภิเษกหรือน้ำรดพระเศียร ในงานราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์ขณะราชาภิเษก และขณะขึ้นครองราชย์จะมีราชครู ที่เป็นครูบาอาจารย์ที่นับถือกันถูกแต่งตั้งให้เป็นพระมหาบรมอรรคราชครูประจำพระองค์ ดังคำที่ว่า "กษัตริย์สากยราชเมื่อยังทรงพระเยาว์อยู่นั้น กราบนมัสการพระมหาอรรคราชครู ครั้นได้มุทธาภิเษกเป็นบรมกษัตริย์แล้วก็จะไม่กราบนมัสการ แต่จะยกพระหัตถ์ขึ้นประนมไหว้พระมหาบรมอรรคราชครูเท่านั้น พระบาลีว่า เอสา ธัมมตา" อีกทั้งเครื่องราชกกุภัณฑ์ของกษัตริย์ ฯลฯ จะสังเกตได้ว่า สิ่งเหล่านี้เป็นของบรรพบุรุษไทยที่สืบเนื่องกันมาตั้งแต่ช้านาน และสืบทอดมาจนปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้เป็นประเพณี ราชประเพณีของไทยแต่โบราณ คงจะเป็นที่อื่นไปไม่ได้
คัมภีร์อื่นๆ ก็เช่นกัน เป็นการเขียนมาทีหลัง เช่น ทีปวงศ์ สุวรรณปุรวงศ์ ฯลฯ

สุวรรณปุรวงศ์ เป็นการเขียนขึ้นมาทีหลัง จะเขียนเกี่ยวกับพระเจ้าอโสกว่า ประสูติเมื่อพ.ศ.๒๓๙ และพระราชนัดดาของพระเจ้าอโสก ได้มาเป็นต้นตระกูลของราชวงศ์โคตมะ (อ้างอิงจากเสนีย์อนุชิต) เรื่องราวการค้นคว้าของอ.เสนีย์ฯ ผู้เขียนเห็นด้วยคือ ราชวงศ์โคตมะ มาจากหลานของพระเจ้าอโสก แต่คงไม่ใช่พระโอรสของพระสังฆมิตตาเถรีกับพระอัคคีพลแน่นอน  เพราะหลานพระเจ้าอโสกองค์นี้คือ พระสุมนสามเณร ที่ไปกับพระมหินทร์และพระสังฆมิตตาเถรีไปเผยแผ่ศาสนาในลังกา น่าจะเป็นหลานพระเจ้าอโสกที่เกิดขึ้นกับสนมองค์อื่นมากกว่า เพราะในตำราเมืองไทยหลายตำรา เช่น โคตรน่านเจ้า ก็มีบันทึกไว้ เพราะสุวรรณปุรวงศ์ เป็นหนังสือที่เขียนขึ้นมาใหม่เพื่อสนับสนุนถึงพระเจ้าอโสกองค์ที่ฝรั่งอุปโลกน์ขึ้นมาว่า เป็นคนอินเดีย

ถ้าสังเกตให้ดี คัมภีร์ที่เขียนมาทีหลังเพื่อสนับสนุนว่าพระเจ้าอโสกเป็นคนอินเดีย พระพุทธเจ้าเป็นคนอินเดีย อยู่ในอินเดีย จะใส่พ.ศ.เกิดของพระเจ้าอโสกที่ผิดไปจากพระอรรถกถา หรือตำนานโบราณ หรือคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา อย่างที่เคยอธิบายไว้แล้วว่า ฝรั่งเขียนให้พระเจ้าอโสกประสูติปีพ.ศ.๒๓๙ แต่ลืมนึกไปว่า ผลงานชิ้นโบว์แดงของพระเจ้าอโสกคือ การสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๓ ซึ่งทำเมื่อปีพ.ศ.๒๓๕ และ การเผยแผ่พระศาสนาไปอีก ๙ สาย เหล่านี้ล้วนทำก่อนพระเจ้าอโสกที่อินเดียจะประสูติทั้งสิ้น แล้วพระเจ้าอโสกที่อินเดียจะเป็นศาสนูปถัมภกหรือ??? คำตอบคือ ไม่ใช่แน่นอน

ผู้เขียนสังเกตอีกว่าว่า บางท่านเขียนเรื่องราวบรรยายเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาก็จะบอกว่า พระอรรถกถาเขียนไว้พ.ศ.นี้ แต่ฝรั่งบอกพ.ศ.นี้ (บอกสองอย่าง คือ พ.ศ.แบบชาวพุทธบันทึก และ พ.ศ.แบบฝรั่งบอก) อย่างนี้เป็นต้น และจะมาบอกว่า เราชาวพุทธนับพ.ศ.ผิด เรานับผิดไปเกือบ ๖๐ ปี ก็เป็นเพราะเหตุนี้ เพราะว่า ฝรั่งมาเขียนให้พระเจ้าอโสกประสูติหลังการทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๓ เมื่อพ.ศ.๒๓๕ ถึง ๔ ปี พอทุกอย่างไม่ลงตัวก็มาบอกว่า เราชาวพุทธนับพ.ศ.ผิดไปเสียอีก ลองเอาเรื่องนี้ไปพิจารณากันดูให้ดี

บ้านเมืองเรามีผู้ทรงความรู้มากมาย มีพระอริยะเจ้ามาโดยตลอด ท่านเหล่านั้นคงทราบดีว่า อะไรผิดอะไรถูก แต่ปัจจุบันพอฝรั่ง (ที่ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา) มาบอกว่า คนไทยพุทธนับพ.ศ.ผิด ที่ถูกต้องเป็นอย่างที่เค้าอยากให้เป็น (ห่างไปเกือบ ๖๐ ปี) เพื่อเอาพระเจ้าอโสกและพระพุทธเจ้าไปอยู่อินเดีย คนพุทธรุ่นใหม่ๆ ก็เชื่อไปตามกระแสที่เค้าสร้าง โดยไม่กลับมาพิจารณาความเป็นจริง

กลับมาเรื่องคัมภีร์มหาวงษ์ เป็นที่สังเกตอีกอย่าง รัชกาลที่ ๑ ท่านทรงแปลแค่ปริเฉท ๑-๓๘ ที่เป็นข้อมูลที่ถูกต้องเท่านั้น ส่วนที่เหลือ (ปริเฉทที่ ๓๙ เป็นต้นไป)  เรื่องจริง เรื่องไม่จริง ถ้าเราอ่านผ่านๆ จะมองแทบไม่ออกเลย แต่ถ้าลองมาศึกษาแล้วเปรียบเทียบ สอบกลับกับคัมภีร์อื่นๆ ทางพระพุทธศาสนา จะเห็นได้ว่า มีการแต่งคัมภีร์หลายคัมภีร์ เพื่อให้บิดเบือนไปจากความเป็นจริง

https://facebook.com/groups/Buddhafacts

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...