#สำหรับวันนี้จะขอนำ "การแก้นิพพิทาญาณ" มาเพื่อเป็นการส่งเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับอารมณ์ของเรา
#คำว่า "นิพพิทาญาณ" แปลว่า ความเบื่อหน่ายในชีวิต มีบางคนคิดจนกระทั่งไม่อยากจะมีชีวิตต่อไป สำหรับ "นิพพิทาญาณ" ในจุดนี้ ถ้ามันเกิดขึ้นแก่บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย จงระมัดระวังใจให้ถึงที่สุด อย่าพยายามทำ "อัตวินิบาตกรรม" คือการฆ่าตัวเอง มันจะเป็นโทษคือจิตจะเศร้าหมอง
#ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าในสมัยองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่
ในสมัยนั้นองค์สมเด็จพระบรมครูได้แนะนำบรรดาท่านพุทธบริษัท มีภิกษุเป็นต้น ไห้รู้กำลังใจของตนว่า
#ร่างกายนี้มันไม่ใช่เรา #ไม่ใช่ของเรา #เราไม่มีในร่างกาย #ร่างกายไม่มีในเรา #ร่างกายมีสภาพโสโครกสกปรก #ไม่มีอะไรน่ารัก #ไม่มีอะไรเป็นที่น่านิยมชมเชย
#เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำอย่างนี้ ปรากฏว่าบรรดาภิกษุทั้งหลายพากันเบื่อหน่ายในร่างกายของตน ภายหลังจากที่ลับตาองค์สมเด็จพระ
ทศพลแล้ว เพราะอาศัยเธอเบื่อหน่าย เธอเกิด #นิพพิทาญาณ #เห็นว่าขันธ์ ๕ #คือร่างกายสกปรก #ขันธ์๕ คือ
#ร่างกายเต็มไปด้วยความทุกข์จะต้องปรนเปรออยู่ตลอดเวลา กินเท่าไรไม่รู้จักอิ่ม ถ่ายเท่าไรไม่รู้จักหมด ร่างกายมีแต่อาการทรยศไม่ซื่อสัตย์สุจริต
#บรรดาพวกพระทั่งหลายเหล่านั้นจึงพากันคิดว่า ร่างกายมันเป็นโทษ ร่างกายเป็นปัจจัยของความทุกข์ เบื่อหน่ายในร่างกาย จึงจ้างปริพาชกให้ฆ่าตน บอกว่า
"เธอจงเอามีดฟันคอพวกเรา เมื่อตายแล้วจงเอาบริขารเหล่านี้ไป
เป็นเหตุให้ปริพาชกคนนั้นฆ่าพระเสียมากมายหลายสิบองค์ด้วยกัน
ต่อมาความเรื่องนี้ทราบถึงองค์สมเด็จพระภควันต์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้มีพระพุทธบัญญัติ
ห้ามบรรดาพระสงฆ์ทั้งหลายทำ "อัตวินิบาตกรรมฯ
#คำว่า "อัตวินิบาตกรรม" ก็คือการฆ่าตัวเองถ้าใครทำอย่างนั้นทรงปรับเป็นโทษทั้งนี้เพราะอะไรเพราะว่าอารมณ์จิตมัวหมองอย่างนั้นไม่ใช่จะไปนิพพานได้
เพราะกำลังใจไม่ได้บริสุทธิ์เบื่อหน่ายเห็นว่าร่างกายเป็นศัตรู อารมณ์ก็เศร้าหมอง ทางที่จะไปใกล้พระนิพพานอยู่แล้วกลับเลี้ยวลงมาหาความเศร้าหมองของจิต อย่างนี้อาจจะหลั่งไหลไปสู่ "อเวจีมหานรก" ก็ได้
#ฉะนั้น #องค์สมเด็จพระจอมไตรจึงได้แนะนำบรรดา
#ภิกษุทั้งหลายว่า
#ภิกข์เว #ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย #เมื่อท่านปฏิบัติร่างกายของท่าน #พิจารณาร่างกายของท่านขยายออก #กระจายออก #คือพิจารณาอันดับแรกคือธาตุ ๔ #ว่าร่างกายของเรานี่เป็นธาตุดิน #ธาตุลม #ธาตุไฟ ธาตุน้ำ มันประกอบเข้ามา
เป็นร่างกาย เรามีความเข้าใจว่าร่างกายเป็นแท่งทีบ แต่ว่าความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ร่างกายของเราแบ่งออกเป็น
อาการ ๓๒ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เป็นต้น ทั้งหมดนี้รวมเข้าแล้วเป็นกาย แต่ทว่าร่างกายทั้งหลายเหล่านี้มัน
เต็มไปด้วยความสกปรกโสโครก มันเต็มไปด้วย "อนิจจัง" คือหาความเที่ยงไม่ได้ มันเต็มไปด้วย "ทุกขัง" คือมีความทุกข์ ไม่มีความสุข มันเต็มไปด้วย "อนัตตา" คือมันสลายตัวไปทีละน้อยๆ ทุกเวลาที่เคลื่อนไป
# เธอทั้งหลายจงอย่าสนใจในร่างกายของเธอ
# จงอย่าสนใจในร่างกายของบุคคลอื่น
# จงอย่าสนใจในทรัพย์สินทั้งหลาย
# จงทำลายความโลภโดยการตัดความอยากได้ด้วยการให้ทาน
อย่าทะเยอทะยานในทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่เป็นของดี เป็นปัจจัยให้เราเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสาร
# อย่าสนใจในความโกรธ ความพยาบาท ในบุคคลทั้งหลาย ใครเขาจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา เขาจะนินทาว่า
ร้าย ว่าเราเป็นคนเลว เราก็ไม่เลวไปตามคำเขาพูด ถ้าเขาสรรเสริญว่าเราดี ถ้าเราเลว เราก็ไม่ดีไปตามคำเขาพูด
ความดีและความชั่วอยู่ที่ความประพฤติปฏิบัติเป็นสำคัญ ถ้าเราประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย ใครจะว่าดีว่าเลวก็ช่าง อย่าสนใจทั้ง ๒ ประการ เราปฏิบัติตามคำขององค์สมเด็จพระพิชิตมารเท่านั้นเป็นพอ"
# นี่เป็นอันว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ ต่อไปองค์สมเด็จพระชินสีห์ทรงกล่าวว่า
"เธอทั้งหลายจงอย่ามัวเมาในชีวิต จงอย่าคิดว่าเราจะมีชีวิตตลอดไปกาลนาน เพราะว่าชีวิตและร่างกายของเรานี้นั้นไม่มีอะไรเป็นความสุขมันมีแต่ความทุกข์ มันไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน แต่ว่าเมื่อท่านทั้งหลายปรารถนาอย่างนี้แล้ว
ก็จงพิจารณาเห็นว่าเมื่อความเบื่อหน่ายมันเกิดขึ้นเรียกว่าเรากระจายออกแล้วก็รวม่เข้า คิดถึงว่าร่างกายของเรามันยังไม่หมดอายุขัยเพียงไร จงอย่าด่วนทำลายมันเสีย ให้มันอยู่อย่างนั้น
# และการทรงอยู่ของร่างกายแม้ว่าจะนำมาซึ่งความทุกข์ แต่ทว่าจิตใจของเรามีความสุข ยอมรับนับถือกฎของธรรมดา ว่าร่างกายที่ประกอบไปด้วยธาตุ ๔
มีความสกปรก มีความไม่ยั่งยืนอย่างนี้ ที่เราอาศัยอยู่นี่มันสกปรกจริง เป็นทุกข์จริง คือมันมีการเกิดขึ้น มีความเสื่อมไป แล้วก็มีการสลายตัวไปในที่สุด
เราจำจะต้องบริหารร่างกายก็จริงแหล่ แต่ทว่าอย่าเพิ่งทำลายมันเสีย"
ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าถ้าจิตใจของเราเกิด "นิพพิทาญาณ"ความเบื่อหน่ายตอนนี้กำลังใจของเรายังไม่ถึงความเป็นพระอรหัตตผล ชื่อว่ายังเป็นคนผู้ทรง
ฌาน มีวิปัสสนาญาณพอสมควรเท่านั้น กำลังใจของเราต้องทรงให้ดีจริงๆ ต้องน้อมใจของเรานี้ ฝึกในด้าน
ปัญญาพิจารณาหาความจริง จิตตั้งใน "สังขารุเปกขา
ญาณ" นั้นก็คือมีอาการวางเฉยตามสภาวะของสังขาร และทุกสิ่งทุกอย่างในโลก มีความรู้ตามความเป็นจริง
ว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมันเป็น "อนิจจัง"คนก็เป็น "อนิจจัง"
สัตว์ก็เป็น "อนิจจัง" วัตถุในโลกก็เป็น "อนิจจัง" คำว่า "อนิจจัง" แปลว่า มันไม่เที่ยง
# เรารู้ตามความเป็นจริงของมันว่ามันไม่เที่ยงเมื่อมันไม่เที่ยงเรายอมรับนับถือความไม่เที่ยงของมันมีความรู้สึกอยู่เสมอว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกหาอะไร
เที่ยงไม่ได้ แต่ว่าเมื่อมันไม่เที่ยงเราก็ทำใจของเราให้เที่ยง
"ทำใจของเราให้เที่ยงมันเที่ยงตรงไหน?"
# เที่ยงที่มีความรู้สึกตามกฎธรรมดาอยู่เสมอว่าร่างกายก็ดี วัตถุธาตุก็ดี ที่เกิดมาในโลกนี้มันไม่เที่ยง มันมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น และก็มีความแปรปรวนไปในท่ามกลาง มีการแตกสลายตัวไปในที่สุด สภาพของมันเป็นอย่างนี้ เมื่อสภาพของมันเป็นอย่างนี้เราก็ทรงจิตให้เที่ยงมีความรู้สึกอยู่เสมอว่าร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของบุคคลอื่นก็ดี เมื่อมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้นแล้วมันก็ค่อยๆ คลานไปหาความเสื่อม เรียกว่าคลานเข้าไป
หาความตายเข้าไปทุกขณะจิตทุกเวลา
# สภาวะของร่างกายนี้จะต้องประคบประหงมไปด้วยอาหาร ด้วยยารักษาโรค ด้วยอาภรณ์เป็นเครื่องคลุมกายมีบ้านเรือนจะต้องอาศัย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งอารมณ์ใจของคนที่เรามีความจำเป็นจะต้องรับสัมผัสก็คือทั้งอารมณ์คำชมและคำติ เป็นอันว่าเรารู้ใจมันเสียหมด
# พอเราเท่าทันมันเสียว่าปกติของโลกก็ดี ปกติของชาวโลกก็ดี ไม่มีอะไรจริงจัง คำว่า "ไม่เที่ยง" ก็คือไม่จริงจัง ร่างกายของเราคิดว่าเป็นร่างกายของเรามันก็ไม่
จริง ไม่ช้ามันก็พัง อาการป่วยไข้ไม่สบายเป็นของปกติของร่างกาย ความแก่เฒ่าเป็นปกติของร่างกาย การสัมผัส
กับอารมณ์ที่ชอบใจบ้างไม่ชอบใจบ้างเป็นธรรมดาของอารมณ์ของชาวโลก เมื่อเราเกิดขึ้นมาแล้วมีกิจที่จะต้อง
ทำ ในฐานะที่เป็นหัวหน้าครอบครัว ปกครองคนใต้บังคับบัญชาของครอบครัวเราปฏิบัติตามหน้าที่ให้ครบถ้วน แต่ว่าเราไม่ทุกข์
# ท่านบอกว่า "ชราปิ ทุกขา" ความแก่เป็นทุกข์ ไอ้ที่มันจะต้องทุกข์ได้เพราะใจเราเข้าไปยึด ถ้าเราวางเป็น
"สังขารุเปกขาญาณ" แปลว่า ความวางเฉยในขันธ์ ๕ หรือสังขาร ในเมื่อมันจะแก่ก็เชิญแก่ เพราะเรารู้ว่ามัน
จะแก่ เมื่อความแก่เข้ามาถึงจริงๆ จิตใจเราก็เฉย ไม่มีทุกข์ ไม่มีทุกข์ตอนไหน ตอนที่เรียกว่าแก่ก็แก่เพราะเรารู้ว่ามันจะแก่ เมื่อความป่วยไข้ไม่สบายเข้ามาถึงมันก็เป็นความทุกข์เพราะเราไปยึด
ที่นี่ถ้าเรามี "สังขารุเปกขาญาณ" ความวางเฉย เพราะเรารู้ว่าคนหรือสัตว์เกิดมาแล้วต้องป่วย ในเมื่อมันป่วยเข้ามาจริง ๆ เราก็เฉย ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา รักษา
หายก็หาย ไม่หายตายก็ช่างมัน เรารักษาไปตามหน้าที่การระงับทุกขเวทนา ทุกขเวทนาเกิดขึ้นจากการป่วยไข้ไม่สบายก็ดี เกิดขึ้นจากความหิว ความกระหายความต้องการในอาหารก็ดี ทุกขเวทนาเกิดขึ้นจากความ
หนาวความร้อนก็ดี เราไม่วิตกกังวล เฉยเพราะถือว่าธรรมดาของร่างกายเป็นอย่างนี้
# ต่อมาเมื่อความตายจะเข้ามาถึงใจก็เฉยมีอารมณ์ใจสบาย ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าเราทราบแล้วว่าร่างกายมันจะตายเป็นอันว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายมีอารมณ์ใจเข้าถึง "สังขารุเปกขาญาณ" มันก็มีความวางเฉยในทุกสิ่งทุกอย่างที่จะเป็นไปตามสภาวะของขันธ์
๕ คือร่างกาย ใจก็เป็นสุข
# เมื่อจิตใจของเราวางเฉยในขันธ์ ๕ ได้แล้ว มันก็เฉยทั้งภายนอกทั้งหมดร่างกายของใครที่จะพังเป็นญาติ
เป็นเพื่อน เป็นพี่ เป็นน้อง เป็นคนรัก ใจเราก็เฉย เพราะมันเฉยในร่างกายของเราได้แล้วนี่ กายของบุคคลอื่นที่
เราจะเห็นว่ามีความสำคัญกว่ากายของเรานี่มันไม่มี
# องค์สมเด็จพระชินสีห์ทรงกล่าวต่อไปว่า "บุคคลที่มีกำลังใจเข้าถึงสังขารุเปกขาญาณ มี อารมณ์จิตเป็นสุข
# สุขตรงไหน? สุขที่ยอมรับนับถือกฎของธรรมดาจิตก็เฉยในกามารมณ์คือความรักในเพศ คือเฉยในรูป
สวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสในระหว่างเพศ
เฉย.. ทำไมจึงเฉย ก็เพราะเห็นว่ามันสกปรก เห็นว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น "อนัตตา" ก็อย่าไปสนใจอะไรกับมัน และก็เฉยในความโลภอยากจะร่ำรวยประกอบอาชีพในทางทุจริตคิดมิชอบไม่ถูกตามระบอบของพระธรรม
วินัย ไม่ยื้อแย่งทรัพย์สมบัติของใคร หามาได้เท่าไรพอใจเท่านั้นด้วยความสุจริต ไม่เป็น "มิจฉาวณิชธา คือหาเลี้ยงชีพโดยไม่ชอบธรรม เฉยในความโลภ เพราะมันเฉยในร่างกายมันก็เฉยในความโลภได้ ถ้าเฉยในร่างกายมันก็เฉยในความโกรธได้ เพราะคนที่เขาจะด่า เขาจะว่า เขาจะนินทา เขาด่ากาย เขาว่ากาย เขานินทากาย
# เมื่อเราไม่สนใจในกาย จิตใจเราก็สบายมีความสุข อยากจะด่าก็เชิญ อยากจะว่าก็เชิญ และคนที่ด่าที่ว่าเราไม่มีสาระไม่มีแก่นสาร ไม่มีอะไรเป็นสรณะพอที่เราจะยอมรับฟังตามได้ด้วยความเชื่อถือ เราเฉยได้เพราะเห็นว่าคำนินทาว่าร้ายไม่เป็นประโยชน์ สรรเสริญก็ไม่
เป็นประโยชน์ นินทาก็ไม่เป็นโทษ เพราะเราไม่ยอมรับและเราก็เฉยในการยึดมั่นถือมั่นในสรรพสิ่งทั้งหลายในโลก
ทั้งหมด ปรากฏว่าเราไม่ยินดียินร้ายในเรื่องอะไรทั้งหมด จิตมันก็เป็นสุข
# ในเมื่อจิตเป็นสุขอย่างนี้ องค์สมเด็จพระมหามุนี กล่าวว่าเราเป็น"พระอรหันต์"
"อรหันต์" แปลว่า เป็นผู้ไกลจากกิเลสไกลจากความเกาะในอารมณ์ทั้งปวง ในขันธ์ ๕ ของร่างกายเรา ขันธ์ ๕ คือร่างกายของบุคคลอื่น ในวัตถุธาตุทั้งหมด
# นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัทผู้เป็นสาวกขององค์สมเด็จพระบรมสุคต จงกำหนดจิตทรงอารมณ์ไว้อย่างนี้
เป็นปกติ ความสุขจะเข้ามาถึงท่านนั่นก็คือ. พระนิพพาน"
สวัสดี *
🖊️📖จากหนังสือสนทนาธรรมเล่มที่ ๕ หน้าที่ ๘๐~๘๙
🙏🙏คำสอนหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดจันทาราม(ท่าซุง) จังหวัด อุทัยธานี
🖊️พิมพ์โดย นภา อิน 🙏🙏
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น