คนบางคนย่อมพูดด้วยนิมิตที่มาปรากฏอย่างนี้.
พึงเข้าใจการกล่าวแม้ด้วยคตินิมิตและฐิตินิมิต
โดยอุบายนั้น.
บทว่า อมนุสฺสานํ คือ หมู่ยักษ์และปีศาจเป็นต้น.
บทว่า เทวตานํ คือ เหล่าเทวดาผู้ดำรงอยู่ในชั้นจาตุมหาราชเป็นต้น.
บทว่า สทฺทํ สุตฺวา ความว่า ฟังเสียงของเหล่าเทวดาและอมนุษย์ ผู้ซึ่งรู้จิตของผู้อื่นแล้วกล่าว.
ภิกษุผู้ได้เจโตปริยญาณ
ย่อมรู้จิตแม้มีประเภท ๑๖ อย่าง.
ปุถุชนทั้งหลายย่อมไม่รู้มรรคจิตและผลจิตของพระอริยะทั้งหลาย. แม้พระอริยะชั้นต่ำๆ ก็ไม่รู้มรรคจิตและผลจิตของพระอริยะชั้นสูงๆ แต่พระอริยะชั้นสูงๆ ย่อมรู้จิตของพระอริยะชั้นต่ำๆ ด้วยประการฉะนี้.
...................................................................
อาเทสนวิธาเทสนาวณฺณนา
บทว่า อาเทสนวิธาสุ คือ ในส่วนแห่งการแสดงธรรมดักใจคน.
บัดนี้ พระสารีบุตรเมื่อจะแสดงวิธีการแสดงธรรมดักใจคนเหล่านั้น จึงกราบทูลคำว่า จตสฺโส อิมา ดังนี้เป็นต้น. ด้วยคำว่า นิมิตฺเตน อาทิสติ นี้ พระสารีบุตรย่อมแสดงว่า ชื่อว่าการแสดงธรรมดักใจคนนี้จักมีได้ ด้วยอาคตนิมิตบ้าง ด้วยคตินิมิตบ้าง ด้วยฐิตินิมิตบ้าง.
ในข้อนั้นมีเรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์.
พระราชาองค์หนึ่งทรงถือเอาแก้วมุกดามา ๓ ดวง แล้วตรัสถามปุโรหิตว่า อาจารย์ อะไรอยู่ในมือของเรานี้. ปุโรหิตนั้นจึงมองดูไปข้างโน้นและข้างนี้. ก็โดยสมัยนั้น ตุ๊กแกตัวหนึ่งวิ่งแล่นออกไปด้วยหมายใจว่า เราจักจับแมลงวันกินดังนี้. ในเวลาที่จะจับ แมลงวันบินหนีไปเสีย. ปุโรหิตนั้นจึงทูลว่า ข้าแต่มหาราช แก้วมุกดา พระเจ้าข้า ดังนี้ เพราะเหตุที่แมลงวันบินหนีพ้นไปได้. พระราชาจึงตรัสถามอีกว่า แก้วมุกดาจงยกไว้ก่อน (แต่) แก้วมุกดามีกี่ดวง. ปุโรหิตนั้นจึงมองดูนิมิตนั้นอีก. ลำดับนั้น ไก่เปล่งเสียงขันขึ้น ๓ ครั้งในที่ไม่ไกล. พราหมณ์จึงกราบทูลว่า ๓ ดวง พระเจ้าข้า ดังนี้.
คนบางคนย่อมพูดด้วยนิมิตที่มาปรากฏอย่างนี้. พึงเข้าใจการกล่าวแม้ด้วยคตินิมิตและฐิตินิมิต โดยอุบายนั้น.
บทว่า อมนุสฺสานํ คือ หมู่ยักษ์และปีศาจเป็นต้น.
บทว่า เทวตานํ คือ เหล่าเทวดาผู้ดำรงอยู่ในชั้นจาตุมหาราชเป็นต้น.
บทว่า สทฺทํ สุตฺวา ความว่า ฟังเสียงของเหล่าเทวดาและอมนุษย์ ผู้ซึ่งรู้จิตของผู้อื่นแล้วกล่าว.
บทว่า วิตกฺกวิปฺผารสทฺทํ ได้แก่ เสียงของหมู่ชนผู้หลับและประมาทแล้วเป็นต้น ผู้เพ้ออยู่ ซึ่งบังเกิดขึ้นมาด้วยการแผ่ซ่านไปแห่งวิตก.
บทว่า สุตฺวา คือ ได้ยินเสียงนั้น.
เสียงนั้นเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นผู้ตรึกเรื่องใด เขาย่อมดักใจได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ด้วยอำนาจแห่งการตรึกนั้น.
บทว่า มโนสงฺขารา ปณิหิตา คือ จิตตสังขารตั้งมั่นด้วยดีแล้ว.
บทว่า วิตกฺเกสฺสติ คือ เขาย่อมรู้ว่า ผู้นี้จักตรึก คือจักให้ (จิตตสังขาร) เป็นไป.
อนึ่ง เขาเมื่อรู้ ย่อมรู้ด้วยการมาของนิมิต ย่อมรู้ด้วยนิมิตอันเป็นส่วนเบื้องต้น ตรวจดูจิตในภายในสมาบัติย่อมรู้ได้.
บุคคลย่อมรู้ว่า ในเวลาบริกรรมกสิณนั้นเอง บุคคลนี้เริ่มภาวนากสิณด้วยอาการใดจักยังปฐมฌาน ฯลฯ หรือจตุตถฌาน หรือสมาบัติ ๘ ให้เกิดได้ บุคคลนี้ชื่อว่าย่อมรู้ด้วยการมาปรากฏของนิมิต.
บุคคลบางคนย่อมรู้เมื่อเริ่มบำเพ็ญสมถะวิปัสสนา คือรู้ว่า บุคคลนี้เริ่มบำเพ็ญวิปัสสนาโดยอาการใด จักยังโสดาปัตติมรรคให้เกิด ฯลฯ หรือยังอรหัตตมรรคให้เกิด ผู้นี้ชื่อว่าย่อมรู้ได้ด้วยนิมิตอันเป็นส่วนเบื้องต้น.
บุคคลบางคนย่อมรู้ว่า มโนสังขารของบุคคลนี้ตั้งมั่นด้วยดี โดยอาการใด เขาจักตรึกถึงวิตกชื่อนี้ เป็นลำดับแห่งจิตชื่อนี้ เมื่อบุคคลนั้นออกจากวิตกนี้ สมาธิอันเป็นฝ่ายเสื่อม หรือเป็นฝ่ายตั้งอยู่ หรือเป็นฝ่ายแห่งความวิเศษขึ้น หรือเป็นฝ่ายทำลายกิเลสจักมีได้ หรือจักยังอภิญญาให้เกิดขึ้น ผู้นี้ชื่อว่าตรวจดูจิตในภายในสมาบัติแล้วจึงรู้ได้.
ในบรรดาชนเหล่านั้น ปุถุชนผู้ได้เจโตปริยญาณ ย่อมรู้จิตของปุถุชนเท่านั้น หารู้จิตของพระอริยทั้งหลายได้ไม่. แม้ในพระอริยะทั้งหลาย พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในมรรคเบื้องต่ำ ย่อมไม่รู้จิตของพระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในมรรคเบื้องสูงได้. ส่วนพระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในมรรคเบื้องสูง ย่อมรู้จิตของพระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในมรรคเบื้องต่ำได้.
ก็ในบรรดาท่านเหล่านั้น พระโสดาบันย่อมเข้าโสดาปัตติผลสมาบัติ พระสกทาคามีย่อมเข้าสกทาคามีผลสมาบัติ พระอนาคามีย่อมเข้าอนาคามีผลสมาบัติ พระอรหันต์ย่อมเข้าอรหัตตผลสมาบัติ.
พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในผลเบื้องสูงย่อมไม่เข้าสมาบัติอันตั้งอยู่ในเบื้องต่ำ. ความจริง สมาบัติเบื้องต่ำของท่านเหล่านั้นก็มีความเป็นไปในสมาบัตินั้นเหมือนกัน.
บทว่า ตเถว ตํ โหติ ความว่า เรื่องนี้ย่อมเป็นอย่างนั้นแลโดยส่วนเดียว. ความจริง ขึ้นชื่อว่าความเป็นโดยประการอื่นที่รู้ด้วยอำนาจเจโตปริยญาณย่อมไม่มี.
คำที่เหลือพึงประกอบเข้าโดยนัยก่อนนั้นแล.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=73&p=2
อรรถกถาเจโตปริยญาณนิทเทส
[๒๕๕] พึงทราบวินิจฉัยในเจโตปริยญาณนิทเทสดังต่อไปนี้
บทว่า โส เอวํ ปชานาติ - ภิกษุนั้นย่อมรู้อย่างนี้.
ความว่า บัดนี้ พระสารีบุตรเถระจะยกวิธีที่ควรกล่าวขึ้นแสดง.
บทมีอาทิว่า อิทํ รูปํ โสมนสฺสินฺทฺริยสมุฏฺฐิตํ - รูปนี้เกิดขึ้นด้วยโสมนัสสินทรีย์เป็นวิธีอันภิกษุผู้เพ่งเป็นอาทิกรรมิกควรปฏิบัติอย่างไร? อันภิกษุผู้เพ่งประสงค์จะยังญาณนั้นให้เกิดขึ้น ควรให้ทิพจักษุญาณเกิดก่อน. เพราะเจโตปริยญาณนั้นย่อมสำเร็จด้วยสามารถแห่งทิพจักษุ. ญาณนั้นเป็นบริกรรมของทิพจักษุนั้น. เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นเจริญอาโลกกสิณเห็นสีของโลหิตอันเป็นไปอยู่ เพราะอาศัยหทัยรูปของคนอื่นด้วยทิพจักษุจึงควรแสวงหาจิต. เพราะโลหิตนั้น เมื่อกุศลโสมนัสยังเป็นไปอยู่ ย่อมมีสีแดงคล้ายสีของลูกไทรสุก. เมื่ออกุศลโสมนัสยังเป็นไปอยู่ โลหิตนั้นย่อมมีสีขุ่นมัว. เมื่อโทมนัสยังเป็นอยู่ ย่อมมีสีดำขุ่นมัวเหมือนสีลูกหว้าสุก. เมื่อกุศลอุเบกขายังเป็นไปอยู่ ย่อมมีสีใสเหมือนน้ำมันงา. เมื่ออกุศลอุเบกขายังเป็นไปอยู่ โลหิตนั้นย่อมขุ่นมัว.
เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นเห็นสีโลหิตหทัยของคนอื่นว่า รูปนี้เกิดขึ้นด้วยโสมนัสสินทรีย์. รูปนี้เกิดขึ้นด้วยโทมนัสสินทรีย์ รูปนี้เกิดขึ้นด้วยอุเบกขินทรีย์ดังนี้ แล้วแสวงหาจิตควรทำเจโตปริยญาณให้มีกำลัง. เพราะเมื่อเจโตปริยญาณนั้นมีกำลังอย่างนี้ ภิกษุย่อมรู้จิตอันมีประเภทเป็นกามาวจรเป็นต้น แม้ทั้งหมดโดยลำดับ ก้าวไปจากจิตสู่จิต เว้นการเห็นรูป (สี) ของหทัย.
แม้ในอรรถกถา ท่านก็กล่าวไว้ว่า
ถามว่า ผู้ประสงค์จะรู้จิตของผู้อื่นในอรูปภพ
ย่อมเห็นหทัยรูปของใคร? ย่อมแลดูความวิการแห่ง
อินทรีย์ของใคร? ตอบว่า ไม่แลดูของใครๆ นี้เป็น
วิสัยของผู้มีฤทธิ์ คือ ภิกษุคำนึงถึงจิตในที่ไหนๆ
ย่อมรู้จิต ๑๖ ประเภท. ก็นี้เป็นกถาด้วยอำนาจแห่ง
การไม่ทำความยึดมั่น.
____________________________
๑- วิสุทธิมรรค เล่ม ๒ หน้า ๒๔๗-๘
บทว่า ปรสตฺตานํ - แห่งสัตว์อื่น คือแห่งสัตว์ที่เหลือเว้นตน.
บทว่า ปรปุคฺคลานํ - แห่งบุคคลอื่น.
แม้บทนี้ก็มีความอย่างเดียวกับบทว่า ปรสตฺตานํ นี้ แต่ท่านกล่าวความต่างกันด้วยความไพเราะแห่งเทศนา และด้วยพยัญชนะ ด้วยสามารถเวไนยสัตว์.
บทว่า เจตสา เจโต ปริจฺจ ปชานาติ - กำหนดรู้ใจด้วยใจ คือ กำหนดรู้ใจของสัตว์เหล่านั้น ด้วยใจของตนโดยประการต่างๆ ด้วยอำนาจจิตมีราคะเป็นต้น.
วา ศัพท์ ในบทมีอาทิว่า สราคํ วา เป็นสมุจจยัตถะ คือ อรรถว่ารวบรวม.
ในบทนั้น จิตสหรคตด้วยโลภะ ๘ อย่าง ชื่อว่าจิตมีราคะ.
กุศลจิตและอัพยากตจิตเป็นไปในภูมิ ๔ ที่เหลือชื่อว่าจิตปราศจากราคะ.
ส่วนจิต ๔ ดวงเหล่านี้ คือ จิตที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ ดวง จิตที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะ ๒ ดวง ไม่สงเคราะห์เข้าในทุกะนี้. แต่พระเถระบางพวกสงเคราะห์จิตแม้เหล่านี้ ด้วยบทว่า วีตราค - ปราศจากราคะ.
ส่วนจิตสหรคตด้วยโทมนัส ๒ อย่าง ชื่อว่าจิตมีโทสะ. กุศลจิตและอัพยากตจิต เป็นไปในภูมิ ๔ แม้ทั้งหมด ชื่อว่าจิตปราศจากโทสะ. อกุศลจิต ๑๐ ที่เหลือไม่สงเคราะห์เข้าในทุกะนี้.
แต่พระเถระบางพวกสงเคราะห์อกุศลจิตแม้เหล่านั้นด้วยบทว่า วีตโทสํ - ปราศจากโทสะ.
แต่ในบทนี้ว่า สโมหํ วีตโมหํ - จิตมีโมหะ จิตปราศจากโมหะ.
สองบทนี้สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะ ด้วยสามารถเป็นเอกเหตุกะของโมหะ ชื่อว่าจิตมีโมหะ. อกุศลจิตแม้ ๑๒ อย่าง พึงทราบว่า ชื่อว่าจิตมีโมหะ เพราะโมหะเกิดในอกุศลทั้งหมด. กุศลและอัพยากฤตที่เหลือเป็นจิตปราศจากโมหะ.
ส่วนจิตที่เนื่องด้วยถีนมิทธะเป็นจิตหดหู่ จิตที่เนื่องด้วยอุทธัจจะเป็นจิตฟุ้งซ่าน.
รูปาวจรจิตและอรูปาวจรจิต เป็นจิตมหรคต. จิตเป็นไปในภูมิ ๓ แม้ทั้งหมดเป็นจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า. โลกุตรจิตเป็นจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า.
จิตที่ถึงอุปจาระและจิตถึงอัปปนา เป็นจิตมีสมาธิ. จิตที่ไม่ถึงทั้งสองอย่างนั้นเป็นจิตไม่มีสมาธิ.
จิตที่ถึงตทังควิมุตติ วิกขัมภนวิมุตติ สมุจเฉทวิมุตติ ปฏิปัสสัทธิวิมุตติและนิสสรณวิมุตติ เป็นจิตพ้นแล้ว.
จิตที่ไม่ถึงวิมุตติ ๕ นี้ พึงทราบว่าเป็นจิตยังไม่พ้นแล้ว.
ภิกษุผู้ได้เจโตปริยญาณ ย่อมรู้จิตแม้มีประเภท ๑๖ อย่าง.
ปุถุชนทั้งหลายย่อมไม่รู้มรรคจิตและผลจิตของพระอริยะทั้งหลาย. แม้พระอริยะชั้นต่ำๆ ก็ไม่รู้มรรคจิตและผลจิตของพระอริยะชั้นสูงๆ แต่พระอริยะชั้นสูงๆ ย่อมรู้จิตของพระอริยะชั้นต่ำๆ ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาเจโตปริยญาณนิทเทส
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น