03 เมษายน 2563

พลาสม่าจากน้ำเลือดผู้ป่วยโควิดช่วยรักษาได้

#Science 
“#พลาสม่า(น้ำเลือด)”
01/04/20
ของเหลวสีเหลืองในเลือดหรือ “พลาสม่า” มีความสําคัญที่สุด พลาสม่าถูกนําไปใช้เพื่อต้านผลกระทบจากภาวะช็อกและการสูญเสียเลือดจากบาดแผลฉกรรจ์ พลาสม่าของเลือด (Blood Plasma)

พลาสมาได้จากการนำเลือด (blood)ไปปั่นเหวี่ยงและเติมสารป้องกันการแข็งตัวของเลือดลงไป ทำให้พลาสมาสามารถแยกชั้นจากเซลล์เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด และ เซลล์เม็ดเลือดแดง ไปอยู่ชั้นบนสุดได้ ส่วนซีรั่มก็คือพลาสมาที่ปราศจากไฟบริโนเจน (fibrinogen) หรือเป็นของเหลวที่เกิดจากการแข็งตัวของเลือด
ในอดีต ทางการแพทย์ที่กรมแพทย์ทหารบกของสหรัฐนําน้ำพลาสม่าไปใช้ประโยชน์จนสามารถช่วยชีวิตทหาร ในปี1930 ดร.ชาร์ลส์ ดรูว์ และผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยาแห่งศูนย์การแพทย์โคลัมเบีย นิวยอร์กซิตี้ ได้ทําการทดลองโดยใช้ส่วนที่เป็นของเหลวในเลือด 55 เปอร์เซ็นต์ขององค์ประกอบทั้งหมด แทนที่จะใช้เลือกทั้งหมดในการถ่ายเลือดเพิ่อช่วยทหาร https://www.silpa-mag.com/history/article_41926

เมื่อแยกพลาสม่าออกมาจากเซลล์เม็ดเลือดแดงและเซลล์เม็ดเลือดขาวของเลือดแล้ว พลาสม่ามีน้ำ 90 เปอร์เซ็นต์ และอีก 10 เปอร์เซ็นต์เป็นโปรตีนแอลบูมิน, ไฟบริโนเจน และโกลบูลิน มีสภาวะเป็นเบส ค่าพีเอช 7.4 
ทั้งหมดนี้ช่วยให้เลือดแข็งตัว ต่อสู้การติดเชื้อและรักษาความดันเลือดให้คงที่

น้ำพลาสม่า ไม่ว่าจะอยู่ในรูปไหน มันคงตัวในรูปเดิมได้นานกว่าเลือด สามารถแช่แข็งเพื่อเก็บรักษาและเคลื่อนย้าย อีกทั้งสามารถทําเป็นพลาสม่าแห้งได้และยังนํามาทําให้คืนตัวใหม่เมื่อต้องการใช้

พลาสมา ถูกนำไปผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ 3 ชนิด
–  แฟคเตอร์ VIII (Factor VIII) รักษาโรคฮีโมฟีเลีย เอ
–  อิมมูโนโกลบูลิน รักษาโรคภูมิคุ้มกันต่อต้านตัวเอง
–  อัลบูมิน (Albumin) รักษาไฟไหม้ น้ำร้อนลวก และโรคตับ
–  ผลิตเซรุ่มป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี และเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ในโครงการ บริจาคพลาสมาเพื่อทำเซรุ่ม    

•ไฟบริโนเจน สามารถเปลี่ยนเป็นสารที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือดได้ จึงมีความสำคัญในการทำให้เลือดหยุดไหลหรือการปิดปากแผลเมื่อได้รับบาดเจ็บที่ผิวหนัง
•แอลบูมิน ช่วยรักษาปริมาตรเลือดและรักษาความดันให้คงที่ และยังช่วยขนส่งสารต่างๆเช่นฮอร์โมนเอสโตรเจน กรดไขมัน บิลิรูบิน เป็นต้น นอกจากนี้ยังช่วยทำลายพิษของโลหะหนักเพื่อไม่ให้เกิดการสะสมตามอวัยวะต่างๆของร่างกายอีกด้วย
•โกลบูลิน จัดเป็นไกลโคโปรตีนชนิดหนึ่ง โดยสามารถแบ่งย่อยได้เป็นหลายชนิดด้วยกัน ทำหน้าที่ในการขนส่งลิปิด
•พลาสมาเซลล์ (plasma cell, plasma B cell, plasmocyte) เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่สร้าง antibody ขนส่งทางน้ำเลือด (blood plasma) และ ระบบน้ำเหลือง (lymphatic system) โดยพลาสมาเซลล์นั้นถูกสร้างขึ้นที่ไขกระดูก (bone marrow) เมื่อออกจากไขกระดูกก็จะเป็น B cell ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะมาเป็นพลาสมาเซลล์ พบได้ที่ต่อมน้ำเหลือง
รูปร่างกลมรี (ovoid shape) และมีนิวเคลียสที่เป็นลักษณะ eccentric nucleus

#news 
จีนเผย แพทย์นำ "พลาสมา" คนหายป่วย รักษาคนที่ยังติดไวรัสโคโรนา

บริษัทไชน่า เนชันแนล ไบโอเทก กรุ๊ป (China National Biotec Group) เปิดเผยว่าจีนได้พัฒนาน้ำเลือดหรือพลาสมา (plasma) จากผู้ป่วยไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ที่หายดีแล้ว สำหรับใช้รักษาผู้ป่วยติดเชื้อคนอื่นๆ

บริษัทฯ ระบุว่าได้จัดเก็บพลาสมาจากผู้ป่วยที่หายดีแล้วบางราย เพื่อนำไปเตรียมสารหรือผลิตภัณฑ์สำหรับรักษาโรค ซึ่งรวมถึง คอนวาเลสเซนต์ พลาสมา (convalescent plasma) หรือน้ำเลือดที่มีโปรตีนภูมิคุ้มกัน และ อิมมูนโกลบูลิน (immune globulin) หรือโปรตีนที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อต่อต้านโปรตีนบนผิวของเซลล์ไวรัส

หลังเสร็จสิ้นการทดสอบความปลอดภัยทางชีวภาพของเลือด การทดสอบฤทธิ์ต้านและทำลายไวรัส อย่างเข้มงวด บริษัทฯ จึงพัฒนาคอนวาเลสเซนต์ พลาสมาเพื่อใช้สำหรับการรักษาพยาบาล
บริษัทฯ ได้จัดตั้งคณะเจ้าหน้าที่เพื่อนำอุปกรณ์พิเศษมาใช้เก็บน้ำเลือดจากผู้ป่วยที่หายดีในนครอู่ฮั่นตั้งแต่วันที่ 20 ม.ค. ที่ผ่านมา
สำหรับการนำไปใช้รักษาทางคลินิกนั้น มีผู้ป่วยอาการวิกฤต 3 ราย ที่รักษาตัวในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเขตเจียงเซี่ย นครอู่ฮั่น ได้รับการรักษาด้วยพลาสมาดังกล่าวเมื่อวันที่ 8 ก.พ. และขณะนี้มีผู้ป่วยอาการวิกฤตที่รับการรักษาด้วยวิธีเดียวกันนี้มากกว่า 10 รายแล้ว
ผลทางคลินิกชี้ว่า หลังจากผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวผ่านไป 12-24 ชั่วโมง พวกเขามีอาการของโรคที่ดีขึ้น โดยดัชนีหลักที่บ่งชี้อาการอักเสบลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่ดัชนีสำคัญบางประการ อาทิ ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด มีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างครอบคลุม
ผู้เชี่ยวชาญอธิบายว่าร่างกายผู้ป่วยที่รักษาตัวจนหายส่วนใหญ่จะผลิตโปรตีนภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดี (Antibody) ต้านไวรัสฯ ออกมา เมื่อผู้ป่วยกลุ่มนี้มาบริจาคน้ำเลือด และผ่านขั้นตอนการทำให้ไวรัสหมดฤทธิ์ รวมถึงการตรวจสอบจุลชีพก่อโรคต่างๆ ก็จะได้คอนวาเลสเซนต์ พลาสมา โดยวิธีรักษานี้อาจเป็นหนทางที่มีประสิทธิภาพในการลดอัตราการตายของผู้ป่วยวิกฤต

บริษัทฯ ระบุว่าขั้นตอนการเก็บ เตรียม และทดสอบคอนวาเลสเซนต์ พลาสมา มีความปลอดภัย สมบูรณ์ และใช้เวลาน้อย
ด้วยเหตุนี้บริษัทฯ ร่วมกับศูนย์โลหิตนครอู่ฮั่น (Wuhan Blood Center) จึงขอความร่วมมือให้ผู้ป่วยไวรัสฯ ที่รักษาตัวจนหายแล้ว ร่วมบริจาคน้ำเลือดแก่ผู้ป่วยรายอื่นที่ยังอยู่ในภาวะเสี่ยง
ด้านจางติ้งอวี่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอู่ฮั่น จินอิ๋นถาน (Wuhan Jinyintan Hospital) โรงพยาบาลหลักสำหรับรองรับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสฯ โดยเฉพาะ ออกมายืนยันเมื่อวันพฤหัสบดี (13 ก.พ.) ว่าผลการตรวจสอบขั้นต้นชี้ว่าการถ่ายพลาสมานั้นมีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ดังกล่าว
อนึ่ง คอนวาเลสเซนต์ พลาสมา ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นวิธีรักษาที่ระบุในแผนการวินิจฉัยและการรักษาพยาบาลสำหรับไวรัสโควิด-19 ชุดที่ 5 โดยคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (NHC)
อ้างอิง,ที่มา
https://www.thansettakij.com/content/world/421677
http://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG200214221306773
https://www.matichon.co.th/foreign/news_1972705

FDA โอเค ที่จะใช้ (Convalescent Plasma )พลาสมาในกรณีฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วย COVID-19 ที่ป่วยหนัก
28/03/20
https://www.medscape.com/viewarticle/927716

การใช้ คอนวาเลสเซนต์ พลาสมาไม่ใช่เรื่องใหม่  มันถูกใช้สำหรับโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (โรคซาร์ส), โรคไข้หวัดใหญ่2009(H1N1), โรคไข้หวัดนก (H5N1), ไข้เลือดออก,อีโบลาและการติดเชื้อไวรัสอื่น ๆ 
https://jamanetwork.com/journals/jama/fullarticle/2763982
https://blooddonationthai.com/?page_id=7394
(30/03/20)
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เปิดเผยในระหว่างการแถลงข่าวที่ทำเนียบขาวในช่วงเช้าวันนี้ตามเวลาไทยว่า สหรัฐกำลังเร่งพัฒนาการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ซึ่งรวมถึงการทดลองยาต้านมาลาเรียอย่างไฮดร็อกซีคลอโรควิน และการรักษาด้วยน้ำเลือดที่มีโปรตีนภูมิคุ้มกัน (convalescent plasma)
https://www.infoquest.co.th/2020/10565
01/04/20
จีน -คณะนักวิจัย ม.ชิงหวาในกรุงปักกิ่งเผยว่า ยาที่ผลิตจากแอนติบอดีหลายชนิดที่พวกเขาค้นพบนี้น่าจะมีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีการในปัจจุบัน รวมถึงการใช้พลาสมาหรือน้ำเลือดที่มีแอนติบอดีจากผู้ป่วยที่หายแล้ว แต่ถูกจำกัดในเรื่องกรุ๊ปเลือด
แยกโมโนโคลนอลแอนติบอดี 206 ชนิดที่มีความสามารถสูงมากในจับกับโปรตีนของไวรัส จากนั้นจึงนำไปทดลองอีกครั้ง

ผลการทดสอบแอนติบอดี 20 ชนิดแรกพบว่า 4 ชนิดสามารถยับยั้งไม่ให้ไวรัสเข้าไปในเซลส์ และ 2 ชนิดยับยั้งได้ดีมาก 
https://www.mcot.net/viewtna/5e8460d9e3f8e40af4431c9b
ศึกษาเพิ่ม
http://164.115.27.97/digital/files/original/e41ecb604805960aca000a29a55b7ed8.pdf
#Watchers

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...