03 เมษายน 2563

พระสุพรรณกัลยา

"พระสุพรรณกัลยาทรงมาอุบัติใหม่แล้ว ตั้งแต่เมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๘ ทรงได้ทำนุบำรุงสุขประชาชนทั้งหลาย ทรงเป็นที่รักและเคารพยิ่งของปวงชนชาวไทยตราบจนปัจจุบันนี้​ ดังที่ทรงอธิษฐานตั้งปณิธานไว้" 

หลวงปู่โง่นได้กล่าวกับลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิด

การอุบัติใหม่ของพระพี่นางพระสุพรรณกัลยา

ปีพุทธศักราช ๒๔๙๑ 

หลวงปู่โง่น โสรโย แห่งวัดพระพุทธบาทเขารวก อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ได้รับกิจนิมนต์จาก พระมหาปีตะโกภิกขุแห่งพม่า ให้ไปช่วยงานด้านประติมากรรม ซ่อมแซมรูปลายฝาผนัง ที่เมืองพะโค(หงสาวดี)ประเทศพม่าในขณะนั้น ซึ่งประเทศพม่าได้มีเหตุการณ์ทางการเมืองภายในเกี่ยวกับสมณศักดิ์พระภิกษุ ซึ่งหลวงปู่โง่นจากประเทศไทยพลอยต้องอธิกรณ์โทษทางการเมืองไปด้วย จึงกลับมาเมืองไทยไม่ได้ ระหว่างที่ท่านถูกกักบริเวณอยู่นั้น ท่านได้ใช้เวลาในการฝึกจิต กำหนดตัวแฝง และพลังแฝงในกายได้ สามารถติดต่อกับโลกวิญญาณ และได้เข้าถึงกระแสพระวิญญาณที่สื่อสารต่อกันกับพระพี่นางได้ กล่าวคือว่า ท่านเคยเป็นนายทหารช่างในสมัยนั้น ที่มีความสามารถและมีฝีมือในการสร้างบ้านเรือนมีฝีมือดีมาก จึงไม่ถูกฆ่าตายเพราะพม่าต้องการให้ท่านไปสร้างบ้านทรงไทยที่หงสาวดีให้นั้นเอง ซึ่งได้เคยถูกพม่ากวาดต้อนไปพร้อมกับพระนางและสองพระอนุชาในครั้งนั้นด้วย หลวงปู่ยังเคยได้เกิดเป็นข้ารับใช้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และกรุงธนบุรีอีกด้วย(เกิดเป็นคนไทยหลายชาติมาแล้วนั้นเอง จนได้มาเกิดเป็นหลวงปู่โง่น โสรโย ในชาตินี้นั้นเอง) วิญญาณของพระสุพรรณกัลยาได้ขอร้องให้หลวงปู่โง่นช่วยแก้พันธนาการทางไสยศาสตร์ เพื่อดวงพระวิญญาณของพระองค์ จะได้กลับไปเมืองไทย และขอให้นำภาพลักษณ์ของพระองค์ อันเกิดจากกระแสพระวิญญาณไปเผยแพร่ ให้แก่ชาวไทยผู้ลืมพระองค์ท่านไปหมดแล้ว ซึ่งหลวงปู่โง่น โสรโย ก็ได้นำดวงพระวิญญาณของพระพี่นางมาถึงบ้านเกิดเมืองนอนแผ่นดินสยามเมื่อปีพ.ศ.๒๔๙๓ แล้วนั้นเอง

โดยพระองค์จะกลับมาทำคุณประโยชน์ ช่วยเหลือประเทศชาติ พระพุทธศาสนา และราชบัลลังค์ ตลอดจนประชาชนไทยชาวสยามให้มีความสุขอยู่ดีกินดีมีศีลมีธรรม โดยจะไม่ยินดีในการมีคู่ครองเลยเพราะทรงเข็ดขยาดและทรงทุกข์ทรมานมาแล้วนั้นเอง อีกทั้งพระองค์ยังมีปณิธานอันมุ่งมั่นแน่วแน่ ที่จะกลับมาอุบัติเป็นเจ้าหญิงอันเป็นขัตติยะนารีของวงศ์กษัตริย์ไทย เพื่อที่จะสร้างบารมี ประกอบคุณความดีเพื่อให้อยู่ในหัวใจของคนไทยทั้งประเทศ ด้วยเหตุเพราะว่าคนไทยทั้งหลายได้ลืมบุญคุณของพระองค์ที่ช่วยกู้ชาติในครั้งนั้น ในการที่พระองค์ทรงยอมเสียสละความสุขในชีวิตทั้งชีวิต เพื่อให้สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถสองพระอนุชา ได้มีโอกาสประกาศอิสระภาพและกู้ชาติบ้านเมืองไทยได้สำเร็จนั้นเอง

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น หลวงปู่โง่น โสรโย และท่านพลโทถนอม วัชรพุทธ แม่ทัพกองทัพภาคที่ ๓(ขณะนั้น) ได้ร่วมมือกันสร้างพระอนุสาวรีย์ของพระสุพรรณกัลยา มีขนาดเท่าองค์จริงและได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ ณ ริมฝั่งแม่น้ำน่านในบริเวณ "ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช" อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งอยู่ใกล้กับพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระอนุชาทั้งสองพระองค์ โดยได้นำส่วนของสรีระ เช่น กระดูก ฟัน และเครื่องประดับของมีค่าบางอย่างที่ขุดค้นได้จากแหล่งฝังพระศพ ของพระนาง(ที่หงสาวดีแห่งพม่า)นำมาบรรจุในพระอุระของพระรูปด้วย เพื่อให้ชาวไทยทุกคนได้มีโอกาสเคารพสักการะวีรสตรีผู้เสียสละยิ่งใหญ่กว่าหญิงใดในแผ่นดินสยาม ...เพียงเพื่อให้สยามหรือไทยของเราได้คงอยู่ชั่วฟ้าดินสลายนั้นเอง!...

หลวงปู่โง่นได้กล่าวกับลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดว่า พระสุพรรณกัลยาทรงมาอุบัติใหม่แล้ว ตั้งแต่เมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๘ ทรงทำนุบำรุงสุขประชาชนทั้งหลาย ทรงเป็นที่รักและเคารพยิ่งของปวงชนชาวไทยตราบจนปัจจุบันนี้

พระพี่นางสุพรรณกัลยา

พระสุพรรณกัลยา หรือ พระสุวรรณเทวี (พระนางผู้มีผิวสีทองเหลืองอร่าม)ทรงเป็นพระธิดาใน สมเด็จพระมหาธรรมราชาพระราชบิดา และ พระวิสุทธิกษัตริย์พระราชมารดา ทรงเป็นพระพี่นางของสมเด็จพระนเรศวร มหาราช หรือ พระองค์ดำ(มีผิววรกายสีดำ สมภพ พ.ศ.๒๐๙๘) และสมเด็จพระเอกาทศรถ หรือ พระองค์ขาว(มีผิวพระวรกายสีขาว สมภพ พ.ศ.๒๑๐๓) พระพี่นางสมภพเมื่อวันเสาร์ ปีมะเส็ง พุทธศักราช ๒๐๙๕ ณ พระราชวังจันทน์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก พระองค์เป็นวีรสตรี ผู้กล้าหาญ เด็ดเดี่ยว ทรงเสียสละความสุข ส่วน พระองค์ยอมพลัดพรากจาก แผ่นดินไทย ไปเป็นองค์ประกัน(เชลย) ณ กรุงหงสาวดีของพม่า เพื่อแลกกับ๒ พระอนุชา คือ องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และ สมเด็จพระเอกาทศรถ ซึ่งต่อมาพระพี่นางได้ทรงสิ้นพระชนม์ชีพในแผ่นดินของพม่าอย่างไร้พิธีอันสมพระยศ ซึ่งความเสียสละอันใหญ่หลวงของพระองค์ ในครั้งนั้นเป็นผลทำให้สองพระอนุชา คือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงกลับมากอบกู้เอกราช ของชาติไทยได้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งวีรกรรมดังกล่าวของพระสุพรรณกัลยา จึงสมควรได้รับการระลึกถึง และเทิดพระเกียรติให้แพร่หลายยิ่งขึ้นสืบไป ตลอดกาลนาน

สถานที่สักการะบูชา :"พระอนุสาวรีย์ พระสุพรรณกัลยาณี" ณ ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (กองทัพภาคที่ ๓) อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

ประวัติของพระพี่นาง(โดยย่อ)

หลังสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก เมื่อปีพุทธศักราช ๒๑๑๒ พระพี่นาง และพระอนุชาทั้งสองพระองค์(จริงๆแล้วนั้นสมเด็จพระนเรศวรได้ถูกนำไปเป็นตัวประกันในครั้งเมื่อสงครามช้างเผือก เมื่อพ.ศ.๒๑๐๖ ซึ่งพระองค์ดำขณะนั้น อายุ​ ๙​ ชันษา​(พระองค์สมภพเมื่อ พ.ศ.๒๐๙๘) แต่พระองค์ขาวยังเยาว์วัยอยู่ คือ ๒ ชันษากว่าๆ​ (สมภพเมื่อพ.ศ.๒๑๐๓) จึงยังไม่ได้นำไปเป็นตัวประกันในครั้งนั้น แต่เมื่อแพ้สงครามต่อพม่าในคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่๑ เมื่อพ.ศ.๒๑๑๒ นั้น พระเจ้าบุเรงนองได้บทเรียนครั้งใหญ่คือ การที่ได้นำพระราเมศวร(พระโอรสองค์โตของพระเจ้าจักรพรรดิและพระสุริโยทัย)ไปอยู่ที่หงสาวดีกับแม่ทัพไทยที่เก่งๆและเข้มแข็ง เช่น พระยาจักรี พระยาสุนทรสงคราม เป็นต้น โดยให้พระมหินทราธิราชพระอนุชาองค์รอง อยู่กับพระบิดา(พระเจ้าจักรพรรดิ)ที่กรุงศรีอยุธยาในคราวศึกสงครามช้างเผือก(พ.ศ.๒๐๐๖) แต่อยุธยากลับเข้มแข็งขึ้นมาและทำร้ายพระมหาธรรมราชา(พระบิดาของพระสุวรรณเทวี พระองค์ดำ และพระองค์ขาว)ที่เป็นมหาอุปราชวังหน้าอยู่ที่เมืองพระพิษณุโลก(สองแคว) ซึ่งเหตุมาจากว่าเกรงว่าพระมหาธรรมราชาจะเอาเมืองพระพิษณุโลกไปขึ้นกับพม่า แต่พระมหาธรรมราชาไม่ได้ทำอย่างนั้น แต่เพราะพระโอรสคือพระองค์ดำเป็นตัวประกันอยู่ที่พม่า เกรงว่าพม่าจะทำร้ายพระองค์ดำ จึงต้องไปเยี่ยมเยียนและไปมาหาสู่หงสาวดีบ้างในฐานะพระบิดา แต่เมื่อถูกทำลอบทำร้าย และได้นำตัวพระวิสุทธิ์กษัติย์ พระสุวรรณเทวี และพระเอกาทศรถจากเมืองพระพิษณุโลกไปกักไว้ที่กรุงศรีอยุธยา กองทัพพม่าก็เลยยกทัพใหญ่มาบุกกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง (จริงๆแล้วที่เสียกรุงครั้งที่๑ และแพ้พม่าครั้งนี้เพราะพระยาจักรีที่ถูกนำตัวไปอยู่พม่าในคราวก่อน ได้ทรยศหักหลังอยุธยาแผ่นดินเกิดของตัวเอง โดยอุบายแกล้งถูกโบยหนีกลับขอเข้าร่วมกับฝ่ายอยุธยา พระมหินทราธิราชทรงหลงกล ไว้ใจ และแต่งตั้งให้ดูแลกองทัพไทยแทนแม่ทัพคนเก่า อยุธยาก็เลยเสียทีแพ้ศึกอย่างย่อยยับ เพราะคนไทยทรยศและขายชาตินั้นเอง) เมื่อแพ้ศึกครั้งนี้ บุเรงนองได้แต่งตั้งให้พระมหาธรรมราชาเป็นกษัตริย์ครองอยุธยาแทนพระมหินทราธิราช และให้กวาดต้อนคนไทย ทหารไทย และทรัพย์สมบัติต่างๆไปพม่าหงสาวดี ให้มีแต่กองทัพพม่าอยู่รักษาอยุธยาเท่านั้น

แต่! จุดเปลิ่ยนหรือจุดสลบของพม่าหงสาวดี คือ

การตัดสินใจที่จะนำพระองค์ขาว(สมเด็จพระเอกาทศรถ)ไปเป็นตัวประกันอีกด้วย เพราะกลัวว่าเหตุการณ์จะซ้ำรอยศึกช้างเผือก คือนำพี่ชาย(พระราเมศวร)ไปแต่เหลือน้องชาย(พระมหินทราธิราช)ไว้ช่วยพ่อ ก็เลยเกิดเรื่องและสร้างปัญหาให้กับพม่าหงสาวดีขึ้นมาอีก ซึ่งแน่นอนว่าผู้แพ้ไม่มีอำนาจต่อรองใดๆ แต่พระองค์ขาวยังเป็นเด็กอยู่ เมื่อจะต้องจากพ่อจากแม่และบ้านเกิดเมืองนอนไปไกล ไปอยู่กับหมู่ศัตรูที่พม่าหงสาวดี ก็ร้องให้งอแง(ตามประสาลูกคนสุดท้อง)ถึงแม้จะมีพี่ชายคือพระองค์ดำอยู่แต่ก็หวั่นใจอยู่ดี เป็นที่น่าสงสารและเวทนายิ่งนัก ซึ่งท่านพ่อ(พระมหาธรรมราชา) และท่านแม่(พระวิสุทธิ์กษัตริย์)ก็ทำอะไรไม่ได้มากเพราะอยู่ในฐานะผู้แพ้สงครามนั้นเอง

แต่กรรมลิขิต และเทพพรหม ตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้ลิขิตไว้แล้วนั้นเอง จึงดลจิตดลใจให้พระพี่นางสุพรรณกัลยาอาสาไปกับน้องเพื่อดูแลพระองค์ขาว พระองค์ดำ และเชลยศึกของไทยจากอยุธยาทั้งหลาย พระองค์ขาวก็หยุดร้องให้ดีใจและอุ่นใจขึ้นมาบ้าง(ยังใงถึงอยู่ห่างพ่อแม่ และบ้านเกิดเมืองนอน แต่ก็อยู่กันครบทั้งสามพี่น้องคงไม่เป็นไร) ซึ่งท่านพ่อกับท่านแม่ก็เบาใจและอุ่นใจเพราะมีพี่สาวคนโตอยู่ด้วยจะได้ทำหน้าที่เป็นผู้ปกครองและพี่เลี้ยงของน้องๆแทนพ่อกับแม่ได้บ้าง(แต่ลึกๆแล้วทั้งสองพระองค์ทุกข์ทรมานเจ็บปวดแทบหัวใจสลาย แต่ทำใจดีเข้าไว้ รอวันข้างหน้า คงจะเป็นทีของสยามกรุงศรีอยุธยาบ้าง) จริงๆแล้วในการศึกสงครามเขาไม่นำเด็กผู้หญิงไปเป็นเชลยในขบวนกันหรอก(พระองค์อายุ๑๖ ปี) แต่นี่คือ! การทำงานของกรรม และการเสียสละอันยิ่งใหญ่ของหญิงไทยอันเป็นขัตติยะนารีเลือดสยามเข้มข้น ที่เสียสละและมีความกตัญญูกตเวทิตาต่อผู้มีพระคุณและแผ่นดินเกิด นามว่า “สุวรรณเทวี” หรือ “สุพรรณกัลยา” ที่จะหาหญิงใดเสมอเหมือนพระองค์ได้ไม่

ซึ่งการที่พระเจ้าบุเรงนองได้กวาดต้อนไปเป็นเชลยยังเมืองหงสาวดี พร้อมด้วยพระมหินทราธิราชเจ้าเหนือหัวผู้รบแพ้พม่าในคราวนั้น แต่พระมหินทราธิราชได้เสด็จสวรรคตที่กลางทางเสียก่อน(ทรงเสียพระทัยอย่างหนักที่หลงกลอุบายที่ทรงไว้ใจพระยาจักรี แต่กลับเนรคุณทรยศต่อชาติไทยและพระองค์ ได้ปลดแม่ทัพไทยและโยกย้ายให้อ่อนแอ แล้วก็ลอบเปิดประตูเมืองให้ทหารพม่าเข้ามาย่ำยีและเข่นฆ่าคนไทยด้วยกัน ช่างทำได้ลงคอ!...) ทั้งสามพี่น้องต้องไปเป็นเชลยอยู่หงสาวดีด้วยความยากลำบากและคับแค้นใจ แต่ก็ดูแลช่วยเหลือกันและกันอย่างดี และคอยดูแลเชลยจากสยามหรือที่พวกพม่าเรียกว่าพวก “โยเดีย” ให้เป็นอยู่ดีตามอัตภาพ ซึ่งประวัติศาสตร์ตรงนี้เป็นที่ประจักษ์และมีหลักฐานในประวัติศาสตร์ที่ว่า พระสุวรรณเทวีนั้นได้ดูแลน้องๆและเชลยไทยอย่างดี เป็นที่ประทับใจและลือกันไปทั่วพม่าและกลุ่มเชลยจากเมืองต่างๆที่ถูกกวาดต้อนมาอยู่หงสาวดี จนมีคำพูดติดปากถึงพระองค์ว่า “พระนางเลี้ยงน้อง ปกป้องคนไทย”นั้นเอง พระองค์อยู่ที่หงสาวดี ก็มีชื่อเสียงสมเป็นขัตติยะนารีจากสยาม และที่สำคัญทรงมีพระสิริโฉมงดงามเป็นที่หมายตาของเจ้าชายและกษัตริย์ของพม่า โดยเฉพาะพระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์เฒ่าจอมเจ้าเล่ห์และเจ้าชู้ ก็หมายปองและก็ทรงทำทุกวิถีทางเพื่อที่จะได้พระพี่นางมาเป็นมเหสีอีกองค์ แต่ด้วยความชาญฉลาด ความเป็นกุลสตรีจากสยาม และเลือดรักชาติ พระองค์จึงได้ทูลให้มาขอตามประเพณีไทยไม่งั้นจะอายุสั้น ซึ่งบุเรงนองก็ยอมมาทำพิธีสู่ขอกับพ่อแม่ของพระนางถึงอยุธยา แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่ยอมตกเป็นมเหสีหากไม่ให้พระอนุชาทั้งสองได้กลับมาอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา พระองค์ได้ออกอุบายและให้เหตุผลว่าจะได้ช่วยท่านพ่อป้องกันอยุธยา ซึ่งอาจจะตกเป็นเมืองขึ้นของพญาละแวกกษัตริย์เจ้าเล่ห์ของเขมร ซึ่งรุกรานไทย(ลอบกัด)อยู่ในขณะนั้น แต่จริงๆแล้วทรงเล็งการณ์ไกลและมั่นใจในพระอนุชาทั้งสองว่า จะสามารถกู้เอกราช นำความเป็นอิสรภาพ และความยิ่งใหญ่เกรียงไกรมาสู่อยุธยาและราชอาณาจักรสยามเหมือนในอดีตได้อีกนั้นเอง แต่ใช่ว่าขุนนางและขุนพลฝ่ายพม่าทั้งหลายจะไม่ล่วงรู้แผนการณ์นี้ เพราะต่างก็ซาบซึ้งในฝีไม้ลายมือของพระมหาธรรมราชา(ขุนพิเรนทรเทพ หรือออกญาพระพิษณุโลกผู้โด่งดัง) และที่สำคัญต่างก็ขยาดในฝีไม้ลายมืออันเยิ่ยมยอดในเชิงยุทธ์ของพระองค์ดำที่ได้แสดงให้เห็นตั้งแต่เด็กตั้งแต่ที่มาอยู่ที่หงสาวดีแล้ว ตลอดจนได้เห็นและซาบซึ้งถึงสติปัญญา และเชิงยุทธ์ของพระองค์ขาวบ้างแล้วนั้น ต่างก็คัดค้านถึงที่สุด แต่ต้องไม่ลืมว่า “คนยืนคุยหรือนั่งคุยกัน หรือจะสู้คนนอนคุยกันได้หรือ?” จนในที่สุดบุเรงนองต้องยอมตามที่พระนางทรงขอ แต่สองพี่น้องก็ถูกยกกำลังตามลอบสังหารขณะเดินทางกลับสยามอยู่ดี แต่ก็ด้วยบุญญาอภินิหาริย์แห่งพระมหาราชแห่งราชอาณาจักรสยาม จึงรอดพ้นและกลับมาถึงแผ่นดินเกิดได้อย่างปลอดภัย หลังจากที่ต้องทนอยู่ที่หงสาวดีถึง ๔ ปี(พระองค์ดำอยู่นานถึง ๑๐(๖+๔) ปี)

(...และแล้วขั้นตอนและกระบวนการประกาศอิสระภาพ และกู้ชาติบ้านเมืองไทยแห่งกรุงศรีอยุธยาศรีรามเทพนคร และราชอาณาจักรสยามของพระองค์ดำและพระองค์ขาวก็เริ่มขึ้น นับตั้งแต่บัดนั้นมา...ดังที่เราชาวสยาม และทั่วโลกต่างรู้จักและจดจำได้เป็นอย่างดี...พร้อมทั้งนำความพินาศฉิบหายแตกสลายมาสู่พม่าหงสาวดี และการหนีตายหัวซุกหัวซุนของพระเจ้านันทบุเรง...โปรดศึกษารายละเอียด และชมภาพยนตร์ “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช”ได้ ตั้งแต่ภาคแรกจนจบเรื่อง...ต่อไป...)

ทำให้พระพี่นางสุพรรณกัลยา มีสภาพเหมือนถูกทอดทิ้งให้ผจญชะตากรรมเพียงลำพัง กับไพร่พลเพียงเล็กน้อย ในท่ามกลางหมู่อริราชศัตรูทั้งสิ้น แต่กระนั้นพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ก็ทรงมีพระเมตตา รักใคร่สิเนหาแก่พระสุพรรณกัลยาอยู่ไม่น้อย และด้วยบารมี และสติปัญญาแห่งพระสุพรรณกัลยา ได้ปกแผ่คุ้มครองแก่คนไทย ที่ตกเป็นเชลยอยู่ในเมืองพม่ามิให้ได้รับความลำบากนั้นเอง

ต่อมา “มังไชยสิงหราช”(นันทบุเรง)โอรสของพระเจ้าบุเรงนอง เป็นผู้มักมากในกามคุณ และต้องการเป็นใหญ่ จึงร่วมมือกับชายาชาวไทยใหญ่นามว่า "สุวนันทา" วางแผนชิงราชสมบัติและแย่งอำนาจ ทำให้พระเจ้าบุเรงนองตรอมพระทัย และสวรรคตอย่างกระทันหัน เมื่อพระเจ้านันทบุเรง ขึ้นครองราชย์ ก็เกิดความวุ่นวายขึ้น เนื่องด้วยการไม่ยอมรับของพระญาติวงศ์หลายฝ่าย ทำให้พระเจ้านันทบุเรงเกิดความหวาดระแวง กอปรด้วยรู้ว่า มีการรวบรวมไพร่พล เตรียมการกู้ชาติของพระนเรศวร และพระเอกาทศรถทางเมืองไทย จึงสั่งยกทัพพม่าไปปราบ แต่ก็โดนปราบพ่ายแพ้กลับมาทุกครั้ง และครั้งใหญ่ที่สุด ใน “ศึกยุทธหัตถี”(พ.ศ.๒๑๓๕) ที่หนองสาหร่าย ดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี โดย“พระองค์ดำ”ได้ตัดหัว “พระมหาอุปราชา”(มังสามเกียด ลูกชายหัวแก้วหัวแหวนของนันทบุเรง)ตายตกจากหลังช้างศึก และ “พระองค์ขาว”ได้ตัดหัว “มังจาปะโร”(เจ้าเมืองแปร)ตายตกจากหลังช้างศึก เช่นกัน แต่แล้วนันทบุเรงกลับบ้าคลั่ง จึงได้มาลงโทษเอากับพระพี่นาง โดยได้สั่งจับจองจำพระมารดาเลี้ยง (พระสุพรรณกัลยา) และพระธิดาองค์แรกของพระนางให้อดอาหาร ลงโทษทัณฑ์ ทุบตี โบยอย่างโหดร้ายทารุณ ในขณะที่พระนางทรงครรภ์แปดเดือนแล้ว จนพระธิดาสิ้นพระชนม์ จากนั้นก็ทำทารุณกรรมต่อพระพี่นางอีกจนอ่อนเปลี้ยสิ้นเรี่ยวแรง แล้วใช้ดาบฟันฆ่าพระนางพร้อมด้วยทารกในครรภ์...โอ้..อนิจจา!
แม้ร่างกายของพระนางสิ้นสูญแล้ว ก็ยังไม่เป็นที่สาแก่ใจของพระเจ้านันทบุเรง แม้ว่าดวงพระวิญญาณของพระองค์ ก็ถูกกระทำพิธีทางไสยศาสตร์ ใช้ตราสังรัดตรึงไม่ให้วิญญาณกลับสู่เมืองไทย ทำให้วนเวียนอยู่อย่างทุกข์ทรมานนานนับร้อยๆปี ที่พม่าหงสาวดี...

ขอบพระคุณบทความจาก เพจ ศักดิ์สิทธิ์

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...