04 เมษายน 2563

คามวาสี อรัญวาสี

คามวาสี อรัญวาสี
"ธุระ" มี 2 อย่างคือ

1. คันถธุระ = ธุระฝ่ายคัมภีร์ กิจด้านการเล่าเรียน, ศึกษาพระธรรมวินัย = คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมด

2. วิปัสสนาธุระ = ธุระฝ่ายวิปัสสนากัมมัฏฐาน = กิจด้านการบำเพ็ญภาวนาหรือเจริญกรรมฐาน

ตามระบบในพระวินัย พระภิกษุต้องอยู่ในสำนักเดียวกับอุปัชฌาย์ เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยอย่างน้อย 5 พรรษา (นวกภูมิ) จึงจะพ้นจากนิสัย (นิสัยมุตตกะ) ไปอยู่ที่อื่นได้และในระหว่างนั้นก็ต้องศึกษาด้านคันถธุระเป็นพื้นฐาน อาจจะมีการปฏิบัติที่หลังหรือควบคู่ไปกับการศึกษาก็ได้ตามความเหมาะสม ปริยัติเป็นบาทฐานสู่ปฏิบัติ ปฏิบัติเป็นบาทฐานสู่ปฏิเวธ

มีพระสงฆ์จำนวนหนึ่งชอบและถนัดในด้านปริยัติ จึงมีหน้าที่รวบรวม ประมวล ถ่ายทอด เผยแพร่คำสั่งสอนของพระพุทธองค์ไปสู่ผู้อื่น และบริหารดูแลกิจการคณะสงฆ์ พระสงฆ์กลุ่มนี้เรียกว่า "พระสายปริยัติ" พระสายนี้มักจะอยู่กับที่ อยู่ในสำนัก ในวัดและอยู่ใกล้กับบ้าน ต่อมาก็อยู่ใกล้เคียงกับชาวบ้าน จึงมักถูกเรียกว่า "พระบ้าน" (คามวาสี)

ธุดงควัตร-จุดกำเนิดของพระป่า

ในการปฏิบัติ พระพุทธองค์ทรงแนะนำพระภิกษุไปอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสม ที่ที่ทรงแนะนำ เช่น สุญญาคาร (เรือนว่าง) ป่าช้า ป่า โคนไม้ เป็นต้น ซึ่งเป็นที่สัปปายะ (สะดวกและเหมาะสม) สำหรับการปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง

ในสมัยพุทธกาลพระมหากัสสปเถระนิยมชมชอบการปฏิบัติธรรมในลักษณะเช่นนี้ เท่านั้นยังไม่พอท่านยังปฏิบัติให้เคร่งครัดเพิ่มยิ่งขึ้นไปอีกโดยการปฏิบัติธุดงควัตร(ธรรมอันเป็นอุบายดับกิเลส และช่วยส่งเสริมความมักน้อยสันโดษ) จนพระบรมศาสดาสรรเสริญท่านให้เป็นเอตทัคคะในด้านนี้ ซึ่งมีพระอีกจำนวนมากที่ชอบและถนัดในการปฏิบัติในสายนี้

ต่อมาพระในสายนี้ได้เป็นตัวแทนพระภิกษุที่ปฏิบัติเคร่งครัด ที่เราเรียกว่า "พระป่า" (อรัญวาสี)

คลิกเพื่ออ่านต่อ

http://www.dhammathai.org/articles/phra.php

"เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายเป็น
ผู้ประกอบธรรม จักสรรเสริญภิกษุผู้เพ่งฌาน ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่าน
ทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า บุคคลผู้ที่ถูกต้องอมต
ธาตุด้วยกาย เป็นอัจฉริยบุคคล หาได้ยากในโลก ฯ
             เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายเป็น
ผู้เพ่งฌาน จักสรรเสริญภิกษุผู้ประกอบธรรม ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่าน
ทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า บุคคลผู้ที่แทงทะลุ
เห็นข้ออรรถอันลึกซึ้งด้วยปัญญานั้น เป็นอัจฉริยบุคคล หาได้ยากในโลก ฯ"

มหาจุนทสูตร
             [๓๑๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาจุนทะอยู่ที่นิคมชื่อสัญชาติในแคว้น
เจดีย์ ครั้งนั้น ท่านพระมหาจุนทะเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระมหาจุนทะแล้ว ท่านพระมหาจุนทะได้กล่าวดังนี้ว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบธรรมในธรรมวินัยนี้ ย่อมรุกรานภิกษุ
ผู้เพ่งฌานว่า ก็ภิกษุผู้เพ่งฌานเหล่านี้ ย่อมเพ่งฌาน ยึดหน่วงฌานว่า เราเพ่ง
ฌานๆ ดังนี้ ก็ภิกษุเหล่านี้ เพ่งฌานทำไม เพ่งฌานเพื่ออะไร เพ่งฌานเพราะ
เหตุไร ภิกษุผู้ประกอบธรรมย่อมไม่เลื่อมใสในการเพ่งฌานนั้น และภิกษุผู้เพ่งฌาน
ย่อมไม่เลื่อมใสในการประกอบธรรมนั้น ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชน
หมู่มาก เพื่อความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก
เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
             ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุผู้เพ่งฌานในธรรมวินัยนี้ ย่อม
รุกรานพวกภิกษุผู้ประกอบธรรมว่า ก็ภิกษุผู้ประกอบธรรมเหล่านี้ ย่อมเป็นผู้ฟุ้ง
เฟ้อ เย่อหยิ่ง วางท่า ปากจัด พูดพล่าม มีสติหลงใหล ไม่มีสัมปชัญญะ มีใจ
ไม่ตั้งมั่น มีจิตฟุ้งซ่าน มีอินทรีย์ปรากฏว่า เราประกอบธรรมๆ ดังนี้ ก็ภิกษุเหล่านี้
ประกอบธรรมทำไม ประกอบธรรมเพื่ออะไร ประกอบธรรมเพราะเหตุไร ภิกษุ
ผู้เพ่งฌานย่อมไม่เลื่อมใสในการประกอบธรรมนั้น และภิกษุผู้ประกอบธรรมย่อม
ไม่เลื่อมใสในการเพ่งฌานนั้น ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก ... ฯ
             ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุผู้ประกอบธรรมในธรรมวินัยนี้
ย่อมสรรเสริญภิกษุผู้ประกอบธรรมเท่านั้น ไม่สรรเสริญภิกษุผู้เพ่งฌาน ภิกษุ
ผู้ประกอบธรรมย่อมไม่เลื่อมใสในการเพ่งฌานนั้น และภิกษุผู้เพ่งฌานย่อมไม่
เลื่อมใสในการประกอบธรรมนั้น ทั้งไม่เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชน
หมู่มาก ... ฯ
             ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุผู้เพ่งฌานในธรรมวินัยนี้ ย่อม
สรรเสริญภิกษุผู้เพ่งฌานเท่านั้น ไม่สรรเสริญภิกษุผู้ประกอบธรรม ภิกษุผู้เพ่งฌาน
ย่อมไม่เลื่อมใสในการประกอบธรรมนั้น และภิกษุผู้ประกอบธรรมย่อมไม่เลื่อมใส
ในการเพ่งฌานนั้น ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความสุข
แก่ชนหมู่มาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
             เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายเป็น
ผู้ประกอบธรรม จักสรรเสริญภิกษุผู้เพ่งฌาน ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่าน
ทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า บุคคลผู้ที่ถูกต้องอมต
ธาตุด้วยกาย เป็นอัจฉริยบุคคล หาได้ยากในโลก ฯ
             เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายเป็น
ผู้เพ่งฌาน จักสรรเสริญภิกษุผู้ประกอบธรรม ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่าน
ทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า บุคคลผู้ที่แทงทะลุ
เห็นข้ออรรถอันลึกซึ้งด้วยปัญญานั้น เป็นอัจฉริยบุคคล หาได้ยากในโลก ฯ
จบสูตรที่ ๔

สุตสูตร

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เสพอานาปานสติกัมมัฏฐานอยู่ ย่อมแทงตลอดธรรมที่ไม่กำเริบต่อกาลไม่นานนัก

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

-ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีธุระน้อย
มีกิจน้อย เลี้ยงง่าย ยินดียิ่งในบริขารแห่งชีวิต ๑

-ย่อมเป็นผู้มีอาหารน้อย ประกอบ
ความเป็นผู้ไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง ๑ 

-ย่อมเป็นผู้มีความง่วงนอนน้อย ประกอบ
ความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ ๑ 

-ย่อมเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้
สดับมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑ 

-ย่อมพิจารณาจิต ตามที่หลุดพ้นแล้ว ๑ 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม
๕ ประการนี้แล เสพอานาปานสติกัมมัฏฐานอยู่ย่อมแทงตลอดธรรมที่ไม่กำเริบ ต่อกาลไม่
นานนัก ฯ

    .......................................................

อรัญญสูตร

  "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ควรเพื่อเสพอาศัยเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าและป่าชัฏ"

             [๑๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ควรเพื่อเสพอาศัยเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าและป่าชัฏ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน

-คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑ 

-เป็นพหูสูต ทรงไว้ซึ่งสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้
ได้สดับมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑ 

-เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อบำเพ็ญกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑ 

-เป็นผู้ได้ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน ๑ 

-ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ๑ 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ควรเพื่อเสพอาศัยเสนาสนะ
ที่สงัด คือ ป่าและป่าชัฏ ฯ

จบสูตรที่ ๑๐ จบผาสุวิหารวรรคที่ ๑

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...