03 เมษายน 2563

อารมณ์ณานและวิธีแก้

🚩🚩อุปสรรคของอานาปานุสสติ
#อุปสรรคของอานาปานุสสติกรรมฐาน
นี่มีมาก ด้วยว่าเป็นกรรมฐานที่มีความละเอียด ฉะนั้นจะต้องต่อสู้กันหนัก ถ้าเราสามารถต่อสู้กับอานาปานุสสติกรรมฐานได้กรรมฐานกองอื่นๆ ก็ไม่มีความสำคัญ เราสามารถจะทำกรรมฐานอีก ๓๙ กองได้ภายในกองละ ๗ วันเป็นอย่างช้า
#อุปสรรคอันดับแรกก็คือว่าการทรงอารมณ์ไม่ละเอียดพอ นั่นก็คือลมหยาบ อานาปานุสสติกรรมฐานนี่อาศัยลมเป็นสำคัญ ถ้าวันใดปรากฏว่าลมหายใจของท่านหยาบ วันนั้นจะปรากฏว่าอาการคุมสติสัมปชัญญะ คือ การทรงสมาธิไม่ดีตามสมควร จะมีอาการอึดอัดบางครั้งจะรู้สึกว่ามีอาการอึดอัดเกิดขึ้น ถ้าอาการอย่างนี้มีแก่ท่านทั้งหลายหรือว่าเกรงว่าอาการอย่างนี้จะมี เมื่อเวลาเริ่มต้นที่จะเจริญพระกรรมฐาน คือกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ให้ท่านทั้งหลายชักลมหายใจยาวๆสัก ๓-๔ ครั้งคือหายใจยาวๆ หายใจเข้ายาวๆ หายใจออกยาวๆ สัก ๓-๔ ครั้ง เพื่อเป็นการระบายลมหยาบให้หมดไป
#จากนั้นก็เริ่มกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก แต่ว่าอย่าลืมการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกนี่ อย่าบังคับให้หายใจเข้าออกหนักๆ หรือว่าเบาๆ อย่าบังคับให้ยาวหรือสั้น ด้วยอาการที่ตั้งใจทำอย่างนั้น ถ้าหากว่าทำอย่างนี้ไม่ถูก
#ทว่าการเจริญอานาปานสติกรรมฐาน ต้องการสติสัมปชัญญะ เป็นใหญ่ฉะนั้นลมหายใจของเราจะหนักก็ดี จะเบาก็ดี จะสั้นก็ตาม จะยาวก็ตาม ปล่อยไปตามสภาพของร่างกายที่ต้องการ แต่ทว่า เราเอาจิตเข้าไปรู้ไว้เท่านั้น หายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้า หายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออก หายใจเข้ายาวหรือสั้น หายใจออกยาวหรือสั้นก็รู้อยู่ นี่เป็นแบบหนึ่
#และอีกแบบหนึ่งในกรรมฐาน ๔๐ ท่านให้กำหนดฐานลม ฐาน คือ เวลาหายใจเข้าลมกระทบจมูก กระทบหน้าอก กระทบศูนย์เหนือสะดือ เวลาหายใจออกลมกระทบศูนย์เหนือสะดือ กระทบหน้าอก กระทบจมูกหรือว่าริมฝีปาก ถ้าคนริมฝีปากเชิดจะกระทบริมฝีปาก ถ้าริมฝีปากงุ้มจะกระทบจมูก เป็นความรู้สึก
#แต่ว่าเมื่อความรู้สึกอย่างนี้ขอท่านทั้งหลายจงอย่าบังคับลมหายใจให้แรงปล่อยไปตามปกติแต่เอาจิตตามนึกถึงเท่านั้นขอให้ทำอย่างนี้จะมีผล
ข้อสังเกตถ้าเวลาเราหายใจเข้าหายใจออกความรู้สึกมีแต่เพียง ว่ากระทบจมูกอย่างเดียวและสามารถจะจับความรู้สึกอย่างนี้ได้นานๆ สักหน่อย ถ้าอาการอย่างนี้ปรากฏจึงทราบว่า นั่นจิตของท่านทรงได้แค่อุปจารสมาธิ ถ้าสามารถรู้การสัมผัส ๒ ฐานคือหายใจเข้ากระทบจมูกกระทบหน้าอกและหายใจออกรู้กระทบหน้าอกกระทบจมูก ๒ จุดนี่ อย่างนี้แสดงว่าจิตของท่านเข้าถึงอุปจารสมา
ธิ 
#ถ้ารู้ถึง ๓ ฐานคือหายใจเข้ากระทบจมูก กระทบหน้าอก กระทบศูนย์เหนือสะดือ แล้วก็เวลาหายใจออกกระทบศูนย์เหนือสะดือ กระทบหน้าอก กระทบริมฝีปากหรือจมูกรู้ได้ชัดเจน อย่างนี้แสดงว่าจิตของท่านเข้าถึงปฐมฌาน นี่เป็นอาการสังเกตถ้าหากว่าอารมณ์จิตของท่านละเอียดยิ่งไปกว่านั้น หรือว่าเป็นปฐมฌานละเอียด หรือว่าเป็นฌานที่ ๒ ฌานที่ ๓ อย่างนี้ท่านจะรู้ลมหายใจเข้าหายใจออกมันไหลไปเหมือนกับกระแสน้ำไหลกระทบไปตลอดสาย ทั้งหายใจเข้าและหายใจออก
#อย่างนี้แสดงว่าจิตของท่านเข้าถึงปฐมฌานละเอียด หรือว่าฌานที่ ๒ หรือว่าฌานที่ ๓ สำหรับปฐมฌานลมยังอยากอยู่แต่ถ้าว่า ลมรู้สึกว่าจะเบากว่าอุปจารสมาธิ พอไปถึงฌานที่ ๓ จะรู้สึกว่าลมหายใจเบาลงอีกไป
#ถึงฌานที่ ๓ ลมหายใจที่กระทบรู้สึกว่าจะเบามาก เกือบไม่มีความรู้สึก
#ถ้าเข้าถึงฌานที่ ๔ ท่านจะมีความรู้สึกว่าไม่หายใจเลย แต่ความจริงร่างกายหายใจเป็นปกติ ที่ความรู้สึกน้อยลงไปก็เพราะว่าจิตกับประสาทห่างกันออกมาตั้งแต่ปฐมฌานจิตก็ห่างจากประสาทไปนิดนึง มาถึงฌานที่ ๒ ติดก็ห่างจากประสาทมากไปหน่อยนึง พอถึงฌานที่ ๔ ห่างไปมากเกือบจะไม่มีการสัมผัสกันเลย
#ถึงฌานที่ ๔ จิตปล่อยประสาทไม่รับรู้การกระทบกระทั่งทางประสาททั้งหมดจึงไม่รู้สึกว่าเราหายใจข้อนี้เป็นข้อสังเกต

ที่มา
🖊️📖 หนังสือธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๑๑๐ หน้า ๙๖-๙๘
🙏🙏คำสอนหลวงพ่อ​พระราช​พรหมยาน​ วัด​จันทาราม(ท่าซุง) จังหวัด​อุทัยธานี

🖊️พิมพ์​พระธรรม​ นภา​ อิน🙏🙏

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...